คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่จดทะเบียน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาหมั้น สินสอด และของขวัญในงานแต่งงานที่ไม่จดทะเบียนสมรส
ชายและหญิงทำพิธีแต่งงานและอยู่กินร่วมกันฉันสามีภรรยามาเป็นเวลา 6 เดือน และเป็นความประสงค์ของทั้งสองฝ่ายที่ไม่ต้องการจดทะเบียนสมรส ชายจะอ้างว่าหญิงผิดสัญญาเพราะเหตุไม่ยอมจดทะเบียนสมรสนั้นไม่ได้
เงินของขวัญและสิ่งของของขวัญที่ชายหญิงได้รับในวันแต่งงานชายหญิงนั้นย่อมเป็นเจ้าของร่วมกัน เมื่อชายหญิงได้เอาเงินของขวัญใช้จ่ายร่วมกันเป็นค่าเลี้ยงแขกในวันแต่งงานหมดแล้ว ชายจะมาฟ้องเรียกเอาส่วนครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินของขวัญนั้นไม่ได้ ส่วนสิ่งของของขวัญ เมื่อได้ความว่าอยู่กับหญิงเช่นนี้ ชายยอมฟ้องเรียกเอาครึ่งหนึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า สิทธิในการฟ้องร้องเมื่อยังมิได้จดทะเบียน และผลของการไม่จดทะเบียนภายในกำหนดเวลา
คดีที่ฟ้องขอแสดงสิทธิที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ดีกว่าผู้อื่นตามความใน ม.17 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 นั้น เป็นคดีที่ขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวนเป็นราคาจริงได้ตาม ม.189 (3) แม้ในฟ้องจะได้กล่าวอ้างว่าเครื่องหมายการค้ามีราคาถึง 10,000 บาท ก็ตามก็ไม่ใช่เรื่องทุนทรัพย์ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.แพ่ง ม.258
แม้โจทก์จะมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ดีกว่าจำเลยก็ตาม แต่โจทก์มิได้จดทะเบียนไว้ภายในกำหนดเวลา 5 ปี ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม.29 วรรคต้นแล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะขอห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าได้
ฎีกาที่ 1843/2497

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 570/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกคืนเงินสินสอดและทองหมั้นหลังไม่จดทะเบียนสมรส: สิทธิเรียกร้องของผู้ให้
ชายหญิงตกลงสมรสกันแต่ไม่ได้จดทะเบียนเมื่อปรากฎว่าขายบิดพลิ้วไม่ยอมไปจดทะเบีนแล้วขายจะมาฟ้องเรียกเงินสินสอดและทองหมั้นคืนจากหญิงและบิดามารดาหญิงไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 570/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกคืนเงินสินสอดและทองหมั้นหลังไม่จดทะเบียนสมรส: สิทธิของผู้ให้สินสอดเมื่อฝ่ายรับบิดพลิ้ว
ชายหญิงตกลงสมรสกันแต่ไม่ได้จดทะเบียนเมื่อปรากฏว่าชายบิดพลิ้วไม่ยอมไปจดทะเบียนแล้วชายจะมาฟ้องเรียกเงินสินสอดและทองหมั้นคืนจากหญิงและบิดามารดาหญิงไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของห้องแถวบนที่ดินผู้อื่นมีสิทธิความเป็นเจ้าของ แม้ไม่จดทะเบียน การขายโดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นโมฆะ
เจ้าของห้องแถวที่ปลูกอยู่ในที่ดินของผู้อื่นนั้น การเป็นเจ้าของห้องแถวไม่ต้องจดทะเบียนก็ทรงสิทธิเป็นเจ้าของได้ ฉะนั้นการที่มีผู้อื่นเอาห้องแถวนั้นไปขายแก่คนภายนอก แม้การซื้อขายนั้นผู้ซื้อจะสุจริตและสตางค์เสียค่าตอบแทนทำสัญญากันที่อำเภอก็ตาม เมื่อเจ้าของห้องแถวไม่รู้เห็นยินยอมแล้ว ก็้เข้าหลักกฎหมายที่ว่า ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน เจ้าของจึงขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายนั้นได้กรณีไม่เข้าตามมาตรา 1299 หรือ 1300

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนสินสอดและค่าใช้จ่ายแต่งงานเมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรส ฝ่ายชายฟ้องเรียกไม่ได้หากไม่มีความผิดในการไม่จดทะเบียน
ชายหญิงแต่งงานกันแล้วอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยานานราว 8 เดือนแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ต่อมาเพราะเหตุใดไม่ได้ความหญิงแยกไปอยู่เสียที่อื่น ภายหลังจึงแต่งงานกับชายอื่นเสีย ดังนี้ เมื่อไม่ได้ความว่าฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดในกรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับชายแล้วฝ่ายชายก็จะฟ้องเรียกสินสอดคืนไม่ได้ ตามแบบอย่างฎีกาที่ 269/2488
เงินค่าใช้จ่ายในการแต่งงาน ไม่ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1439(2) ชายจะฟ้องเรียกไม่ได้ตามแบบอย่างฎีกาที่945/2491

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1690/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในมรดกของบุตรเกิดนอกสมรส: การไม่จดทะเบียนสมรสและไม่รับรองบุตร
ชายหญิงได้เสียกันเองโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสเมื่อเกิดบุตรขึ้นมา บุตรที่เกิดมานั้นย่อมไม่ใช่บุตรอันชอบด้วยกฎหมายของชายและเมื่อต่อมาชายก็มิได้จดทะเบียนรับรองหรือร้องขอ ต่อศาลให้แสดงว่าเป็นบุตรอีกเช่นนี้ ชายนั้นจึงไม่ใช่บิดาหรือทายาทของบุตรนั้น และย่อมไม่มีสิทธิที่จะรับมรดกของบุตรและไม่อาจที่จะยกอายุความมรดก 1 ปีมาต่อสู้แก่ทายาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาการสมรส & สินสอด: แม้ไม่จดทะเบียนสมรส หากเจตนาเพียงทำพิธีตามประเพณี โจทก์เรียกคืนสินสอดไม่ได้
ชายหญิงได้แต่งงานอยู่กินด้วยกันฉันท์สามีภริยา มาช้านาจนกระทั่งมีบุตรโดยต่างฝ่ายต่างสมัครใจที่จะไม่ไปจดทะเบียนสมรสนั้น ถือได้ว่าชายหญิงมีเจตนาเพียงแต่ทำพิธีแต่งงานตามประเพณีและอยู่กินฉันท์สามีภริยาเท่านั้น มิได้ถือเอาการจดทะเบียนสมรสเป็นสำคัญมาแต่แรกเมื่อกรณีเป็นดั่งนี้ ทรัพย์ที่ที่ได้ให้กันโดยเรียกว่า เป็นของหมั้นก็ดีการให้เงินอันเรียกว่าสินสอดก็ดีหาได้ให้ในฐานะเป็นของหมั้นและสินสอดไม่ฉะนั้นแม้จะถือว่ามิได้มีการสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ฝ่ายชายก็เรียกเงินและทรัพย์ที่ให้ไว้ดังกล่าวคืนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินให้เป็นทางสาธารณะแก่เทศบาล ไม่ต้องจดทะเบียนเช่นการโอนให้เอกชน
การยกที่ดินให้ใช้เป็นทางสาธารณะแล้วจะให้แก่รัฐหรือเทศบาลก็มีผลเช่นเดียวกัน และไม่จำต้องจดทะเบียนอย่างการโอนให้แก่เอกชน
คดีที่ฎีกาได้แต่ฉะเพาะในปัญหาข้อกฎหมายนั้นศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดมาแล้ว
ค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้ใช้แทนนั้นเป็นดุลยพินิจและเป็นข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมเริ่มต้นเมื่อมีการแบ่งแยกที่ดิน และอายุความ 10 ปี, สัญญาไม่จดทะเบียนไม่ผูกมัด
เจ้าของที่ดินเดิมทำสัญญาให้เจ้าของที่ดินข้างเคียงใช้ทางเดินผ่านที่ดินของตนได้ เมื่อมิได้จดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ ข้อสัญญานี้ไม่ผูกมัดผู้ซื้อที่ดินจากเจ้าของเดิมนั้น,
ที่ดินแปลงเดียวเจ้าของเดียวกันไม่มีภาระจำยอม,ที่ดินแปลงใหญ่เดิมเป็นของเจ้าของเดียวกัน และทางรายพิพาทอยู่ในที่แปลงนี้ ต่อมาได้มีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินนี้ออกเป็น 4 แปลงต่างเจ้าของกัน ทางเดินรายพิพาทไปตกอยู่ในที่ดินแปลงหนึ่งดังนี้ อายุความในภาระจำยอมเหนือทางที่ดินรายนี้เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อได้มีการแบ่งแยกที่ดิน เป็นต้นไป เมื่อยังไม่ถึง 10 ปี ภาระจำยอมก็ยังไม่เกิด+
of 8