พบผลลัพธ์ทั้งหมด 790 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1504/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การเปลี่ยนแปลงได้หากไม่ขัดแย้งชัดเจนและยังอยู่ในอำนาจต่อสู้คดี ศาลต้องพิจารณาตามพฤติการณ์
จำเลยให้การตอนต้นว่า โจทก์ได้ขายรถยนต์พิพาทให้แก่ พ. แล้ว พ. นำรถยนต์พิพาทมาขายให้จำเลย แต่ตอนหลังกลับให้การว่า พ. เป็นตัวแทนหรือตัวแทนเชิดของโจทก์ โจทก์ต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตและเสียค่าตอบแทน เป็นคำให้การปฏิเสธข้ออ้างคำฟ้องของโจทก์ในข้อเท็จจริง ซึ่งมีผลทำให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทตามกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงตามที่จำเลยให้การต่อสู้เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับ พ. โดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับจำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิให้การต่อสู้คดีไปตามพฤติการณ์แห่งข้อเท็จจริงเท่าที่จำเลยพึงให้การได้ ทั้งในการซื้อขาย เจ้าของทรัพย์อาจทำสัญญาซื้อขายโดยตนเองหรือโดยมีตัวแทนไม่ว่าโดยชัดแจ้งหรือปริยายทำการขายทรัพย์สินนั้นแทนก็ได้ คำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงมิใช่เป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันหรือไม่ชัดแจ้งจนถึงขนาดที่ไม่อาจนำสืบไปในทางหนึ่งทางใดได้ ถือว่าเป็นคำให้การที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีร้ายแรง: พิจารณาพฤติการณ์และผลเสียหายควบคู่กับข้อบังคับ
การจะถือว่ากรณีใดเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ มิใช่จะดูแต่เพียงว่าข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกำหนดว่าเป็นความผิดร้ายแรงแล้ว ต้องถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงเสมอไป ต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นแต่ละกรณีไปตลอดจนผลเสียหายที่เกิดขึ้นมีมากน้อยเพียงใดด้วยข้อเท็จจริงคดีนี้ได้ความว่า โจทก์ร่วมกับ พ. นำร้าน บ. ซึ่ง พ. เช่าจากจำเลยไปให้ ว. เช่าช่วงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากจำเลย หลังจาก ว. เข้าไปดำเนินกิจการในร้านเสริมสวยแล้ว ต่อมาได้นำเงินนวน 12,000 บาท มอบให้โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้เงินกู้ซึ่ง พ. เป็นหนี้โจทก์แทน พ. และร่วมกับ ศ. ซื้อเครื่องปรับอากาศราคา 18,000 บาท ให้แก่โจทก์เนื่องในโอกาสที่จะขึ้นบ้านใหม่ นอกจากนี้ ว. และ ย. ได้ชำระค่าแหวนทองคำฝังเพชรและพลอย 1 วง ราคา 9,000 บาท ซึ่งโจทก์สั่งทำไว้แทนโจทก์ กับ ย. สามีของ ว. ก็ได้ซื้อกล้องถ่ายรูปดิจิตอล 1 กล้อง ราคาประมาณ 10,000 บาท จากประเทศญี่ปุ่นให้แก่โจทก์ พฤติการณ์และการกระทำของโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ได้เรียกรับผลประโยชน์ซึ่งเป็นทรัพย์สินจาก ว. เป็นแหวนเพชร กล้องถ่ายรูปดิจิตอลและเครื่องปรับอากาศ 1 เครื่อง เพื่อช่วยเหลือ ว. เช่าช่วง และช่วยเหลือในการต่อสัญญาเช่ากับจำเลยออกไปอีก 3 ปี โดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่ที่โจทก์ทำงานอยู่กับจำเลย ทำให้จำเลยเสียชื่อเสียงและมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของจำเลย การกระทำของโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมปล้นทรัพย์: พฤติการณ์ร่วมกันหลบหนีแม้ไม่มีอาวุธ ถือเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ได้ ศาลลดโทษผู้เข้ามอบตัว
พยานโจทก์เบิกความได้สอดคล้องต้องกัน และไม่เคยรู้จักจำเลยที่ 2 และที่ 3 มาก่อน คำเบิกความของพยานโจทก์จึงน่าเชื่อถือ พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวกมาด้วยกันและหลบหนีไปด้วยกัน แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะไม่มีอาวุธปืนติดตัวไปด้วย และไม่ใช่เจ้าของรถจักรยานยนต์ที่ใช้เป็นยานพาหนะในการกระทำผิดก็ตาม แต่พวกของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เอาทรัพย์สินของผู้เสียหายไป ทั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์และจำเลยที่ 3 นั่งเป็นคนแรกพาคนร้ายมาและพากันหลบหนีไป โดยใช้ถุงพลาสติกครอบปิดป้ายทะเบียนรถไว้ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังกล่าวถือได้ว่าร่วมกระทำความผิดด้วยกัน จึงฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ร่วมกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้ามอบตัวต่อเจ้าพนักงานตำรวจและรับว่าไปในที่เกิดเหตุและหลบหนีไปด้วยกันอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา นับว่ามีเหตุบรรเทาโทษ จึงสมควรลดโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 78 และให้มีผลถึงความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้ามอบตัวต่อเจ้าพนักงานตำรวจและรับว่าไปในที่เกิดเหตุและหลบหนีไปด้วยกันอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา นับว่ามีเหตุบรรเทาโทษ จึงสมควรลดโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 78 และให้มีผลถึงความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความผิดฐานแจ้งความเท็จและการเบิกความอันเป็นเท็จ ศาลพิจารณาพฤติการณ์และเจตนาของผู้เบิกความ
แม้ในคดีก่อนจำเลยเบิกความโดยเชื่อและสงสัยว่าโจทก์เป็นผู้ลักเอาทรัพย์ไป เนื่องจากขณะเกิดเหตุมีโจทก์และจำเลยอยู่ในบ้านพักจำเลยเพียง 2 คน แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ก่อนเกิดเหตุ 1 วัน จำเลยหลงลืมสร้อยคอทองคำพร้อมพระเลี่ยมทองที่อ้างว่าได้หายไปไว้ที่บ้าน ร. โดยในวันรุ่งขึ้นจำเลยทราบทางโทรศัพท์จาก บ. และจำเลยไปรับทรัพย์ของจำเลยที่อ้างว่าได้หายไปคืนจาก บ. จากนั้นจำเลยก็ไปแจ้งให้พนักงานสอบสวนบันทึกเรื่องการได้รับทรัพย์คืนไว้เป็นหลักฐานในวันเดียวกัน ทั้งจำเลยยังไปขอโทษโจทก์และเป็นผู้ประกันตัวโจทก์ในระหว่างสอบสวน ต่อมาจำเลยก็พยายามบรรเทาผลร้ายดังกล่าวด้วยการเสนอชดใช้ค่าทำขวัญเป็นเงิน 30,000 บาท ให้แก่โจทก์ แต่โจทก์เรียกร้องเป็นเงินถึง 600,000 บาท จึงตกลงกันไม่ได้ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยเท่ากับเป็นการยอมรับว่าจำเลยเข้าใจโจทก์คลาดเคลื่อนไปจากความจริง จึงมิใช่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นคนร้ายลักทรัพย์ของจำเลยไป แม้หลังจากจำเลยรู้ความจริงแล้ว จำเลยมิได้ถอนคำร้องทุกข์ดังที่โจทก์ฎีกา ก็น่าจะเป็นเพราะจำเลยรู้ว่าคดีนั้นเป็นความผิดต่อแผ่นดินไม่อาจถอนคำร้องทุกข์ได้จึงไม่เป็นข้อพิรุธ ทั้งในคดีก่อนศาลชั้นต้นก็มิได้วินิจฉัยว่าจำเลยปั้นแต่งเรื่องขึ้นเพื่อกลั่นแกล้งปรักปรำกล่าวหาโจทก์และคำเบิกความของจำเลยไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ดังนี้ จึงถือไม่ได้ว่าคำเบิกความของจำเลยในคดีก่อนเป็นข้อสำคัญในคดี การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเบิกความอันเป็นเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8387/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาหลายปัจจัย ทั้งพฤติการณ์ ความร้ายแรง และผลกระทบต่อองค์กร
การกระทำผิดของลูกจ้างจะเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่นั้น ต้องวิเคราะห์ถึงปัจจัยต่าง ๆ ประกอบกันหลายประการ อาทิ ตำแหน่งหน้าที่การงานของลูกจ้าง ลักษณะและพฤติการณ์การกระทำความผิดของลูกจ้าง ตลอดจนผลเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำผิดว่ามีมากน้อยเพียงใด คดีนี้ ส. ซึ่งเป็นพนักงานรีดกาสมัครใจทะเลาะวิวาทกับ ว. พนักงานแผนกปั้มในบริเวณที่ทำงาน ขณะเกิดเหตุเป็นช่วงเวลาที่โจทก์อนุญาตให้พนักงานในโรงงานรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าลูกจ้างของโจทก์ต่างก็มีการดื่มสุรากันภายในบริเวณโรงงานโดยไม่ได้มีการทำงานตามปกติ ซึ่งทั้ง ส. และ ว. ต่างก็ดื่มสุรา ดังนั้น เมื่อโจทก์อนุญาตให้พนักงานรับประทานอาหารและเครื่องดื่มโดยพนักงานต่างก็ดื่มสุรากัน จึงเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ถือเอาการดื่มสุราในบริเวณโรงงานในช่วงเวลานั้นเป็นความผิดวินัยแก่พนักงาน จึงจะนำมาเป็นโทษแก่ ส. มิได้ สำหรับการทะเลาะวิวาทนั้นโดยตำแหน่งหน้าที่ของ ส. และ ว. ต่างก็เป็นพนักงานระดับปฏิบัติการซึ่งเหตุวิวาทมาจาก ว. เดินมาแผนกรีดกาแล้วกล่าววาจาท้าทายก่อน ส. จึงใช้แผ่นเหล็กซึ่งวางอยู่บริเวณดังกล่าวตี ว. แต่ก็ตีไปเพียง 1 ที โดยไม่แรง เมื่อมีผู้ห้ามปรามก็เลิกรากันไปโดยดี แม้จะปรากฏว่าหลังเลิกจากงานแล้ว ว. ได้ไปแย่งชิงมีดพกของพนักงานรักษาความปลอดภัยก็เป็นการกระทำของ ว. โดย ส. มิได้เกี่ยวข้องแต่อย่างใดอีก การทะเลาะวิวาทจึงมิได้เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานและมิได้เกิดขึ้นต่อหน้าลูกค้าผู้มาติดต่องานกับโจทก์ จึงไม่มีผลกระทบต่อชื่อเสียงหรือการบังคับบัญชาของโจทก์ ทั้งไม่ปรากฏว่า ว. ได้รับอันตรายถึงบาดเจ็บ แม้ ส. จะฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์เอกสารหมาย จ.4 หมวดที่ 11 วินัยข้อ 12 แต่ก็ยังถือมิได้ว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรงที่นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่จำต้องตักเตือนตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3759/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหาพยายามฆ่า แม้แจ้งข้อหาทำร้ายร่างกายก่อน และการพิพากษาเจตนาฆ่าจากพฤติการณ์การกระทำ
การที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะที่จำเลยกระทำความผิด เพื่อให้ผู้ต้องหาทราบว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิดและเพื่อให้ผู้ต้องหาเข้าใจถึงการกระทำของผู้ต้องหาซึ่งเป็นความผิดนั้น โดยไม่ต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิด เมื่อแจ้งข้อหาอันเป็นหลักแห่งความผิดแล้วก็ไม่จำต้องแจ้งข้อหาความผิดอันเกี่ยวพันกันด้วยอีกพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนความผิดทุกข้อหาได้ กรณีของจำเลยเมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาว่าจำเลยทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสแล้ว แม้ไม่แจ้งข้อหาว่าพยายามฆ่าผู้อื่นซึ่งเป็นความผิดที่เกี่ยวพันกัน พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ถือได้ว่ามีการสอบสวนความผิดฐานดังกล่าวแล้ว พนักงานอัยการโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
จำเลยใช้อาวุธสปาต้ายาวประมาณ 1 ฟุตครึ่ง ซึ่งเป็นมีดขนาดใหญ่ที่อาจใช้เป็นอาวุธฟันทำอันตรายบุคคลอื่นถึงแก่ความตายได้ ฟันบริเวณศีรษะของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญจนกะโหลกศีรษะแตกยุบและสมองฉีกขาด แสดงให้เห็นว่าโจทก์ร่วมถูกจำเลยใช้อาวุธสปาต้าฟันอย่างแรง และเป็นการเลือกฟันที่ส่วนสำคัญของร่างกาย ประกอบกับแพทย์ผู้ตรวจร่างกายโจทก์ร่วมให้การว่า บาดแผลของโจทก์ร่วมต้องรีบรักษา หากล่าช้าอาจถึงแก่ความตายได้เนื่องจากเลือดออกมาก บาดแผลติดเชื้อเข้าไปในสมองและมีเลือดคั่งในสมองมาก แม้จำเลยจะฟันโจทก์ร่วมเพียงครั้งเดียว จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าโจทก์ร่วมอาจถึงแก่ความตายได้ ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาพยาบาลจากแพทย์ทันท่วงที การกระทำของจำเลยจึงฟังได้ว่าเป็นการกระทำโดยมีเจตนาฆ่าโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าโจทก์ร่วม
จำเลยใช้อาวุธสปาต้ายาวประมาณ 1 ฟุตครึ่ง ซึ่งเป็นมีดขนาดใหญ่ที่อาจใช้เป็นอาวุธฟันทำอันตรายบุคคลอื่นถึงแก่ความตายได้ ฟันบริเวณศีรษะของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญจนกะโหลกศีรษะแตกยุบและสมองฉีกขาด แสดงให้เห็นว่าโจทก์ร่วมถูกจำเลยใช้อาวุธสปาต้าฟันอย่างแรง และเป็นการเลือกฟันที่ส่วนสำคัญของร่างกาย ประกอบกับแพทย์ผู้ตรวจร่างกายโจทก์ร่วมให้การว่า บาดแผลของโจทก์ร่วมต้องรีบรักษา หากล่าช้าอาจถึงแก่ความตายได้เนื่องจากเลือดออกมาก บาดแผลติดเชื้อเข้าไปในสมองและมีเลือดคั่งในสมองมาก แม้จำเลยจะฟันโจทก์ร่วมเพียงครั้งเดียว จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าโจทก์ร่วมอาจถึงแก่ความตายได้ ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาพยาบาลจากแพทย์ทันท่วงที การกระทำของจำเลยจึงฟังได้ว่าเป็นการกระทำโดยมีเจตนาฆ่าโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าโจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษประหารชีวิตในคดียาเสพติด: ศาลมีดุลพินิจพิจารณาพฤติการณ์แต่ละคดี
ป.อ. มาตรา 52 (2) บัญญัติว่า ในการลดโทษประหารชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการลดมาตราส่วนโทษหรือลดโทษที่จะลง ถ้าจะลดกึ่งหนึ่งให้ลดเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือโทษจำคุกตั้งแต่ยี่สิบห้าปีถึงห้าสิบปี จึงเป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องๆ ไปว่าสมควรจะลดโทษเพียงใด และการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำเลยเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยแต่ละคนในแต่ละคดีจะถือเอาคำพิพากษาคดีอื่นมาเป็นแนวทางในการกำหนดโทษของจำเลยในคดีนี้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1792/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองอุทธรณ์โดยอัยการและการพิจารณาโทษคดีเช็ค การแก้ไขโทษให้เหมาะสมกับพฤติการณ์
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 ทวิ บัญญัติว่า "ในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 22 ถ้าผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา... หรือพนักงานอัยการซึ่งอธิบดีกรมอัยการได้มอบหมายลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัย ก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาต่อไป" โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์พร้อมกับแนบหนังสือรับรองของอธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขต 1 และหนังสือมอบหมายของอัยการสูงสุดให้อธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงมีอำนาจรับรองอุทธรณ์แทนมาท้ายอุทธรณ์ และในตอนท้ายของอุทธรณ์มีข้อความระบุไว้ด้วยว่า คดีนี้อธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขต 1 ซึ่งอัยการสูงสุดได้มอบหมายให้ลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยได้ลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์แล้ว ตามหนังสือแนบท้ายอุทธรณ์นี้ แม้ในตอนท้ายของอุทธรณ์ดังกล่าวจะมิได้ระบุว่าให้ถือว่าหนังสือรับรองเป็นส่วนหนึ่งของอุทธรณ์ดังที่จำเลยฎีกาก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์ดังกล่าวก็ย่อมถือได้แล้วว่าหนังสือรับรองแนบท้ายอุทธรณ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของอุทธรณ์และอธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขต 1 ได้ลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ตามความประสงค์ของกฎหมายแล้ว ทั้งมาตรา 22 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ ก็มิได้บัญญัติว่าการรับรองอุทธรณ์จะต้องระบุวันเดือนปีที่ทำการรับรองและต้องมีรายละเอียดของเหตุผลที่สมควรให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีดังกล่าวแต่ประการใด ดังนั้น เมื่อข้อความในหนังสือรับรองแสดงให้เห็นชัดเจนว่าอธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขต 1 ได้พิจารณาแล้วเห็นว่ารูปคดีนี้มีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัย จึงรับรองอุทธรณ์คดีนี้ หนังสือรับรองดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 724/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 724/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการใช้อาวุธปืน: การพิจารณาจากพฤติการณ์และสภาพศพของผู้ตาย
จำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้านมีหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยให้แก่ราษฎรในหมู่บ้าน นอกจากอาวุธปืนยาวลูกซองเดี่ยวขนาด 12 ที่ใช้ยิงผู้ตาย ซึ่งเป็นอาวุธปืนที่ทางราชการมอบให้ไว้ใช้ตรวจรักษาความปลอดภัยในหมู่บ้านแล้ว จำเลยยังมีอาวุธปืนยาวลูกซองเดี่ยว (NTS) แบบสไลด์ แอ็คชั่น (SLIDE ACTION) บรรจุ 4 นัด ขนาด 12 ที่ใช้ยิงขึ้นฟ้าในวันเกิดเหตุอีก 1 กระบอก จำเลยย่อมมีความชำนาญในการใช้อาวุธปืนและทราบดีอยู่แล้วว่าอาวุธปืนเป็นอาวุธที่ร้ายแรงสามารถทำอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ง่าย แต่จำเลยยังใช้อาวุธปืนยาวลูกซองเดี่ยวขนาด 12 ของกลางที่มีกระสุนบรรจุอยู่ในการข่มขู่ผู้ตาย ในขณะผู้ตายนั่งอยู่บนแคร่ จำเลยเดินถืออาวุธปืนเข้าไปหาผู้ตายเพื่อข่มขู่ โดยปากกระบอกปืนชี้ไปหาผู้ตายในระยะใกล้จนผู้ตายสามารถจับปากกระบอกปืนได้ จำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่าอาวุธปืนของกลางอาจลั่นถูกผู้ตายถึงแก่ชีวิตได้ แต่จำเลยยังคงกระทำการดังกล่าว เมื่อเกิดการดึงปืนกันจนปืนลั่นถูกผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงเป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่าผู้ตาย หาใช่เป็นการกระทำโดยประมาทไม่