พบผลลัพธ์ทั้งหมด 80 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2329/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทค่าระวางขนส่งสินค้า ศาลพิจารณาหลักฐานเอกสารและการโต้แย้งของจำเลยเพื่อพิพากษาตัดสิน
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 3 ให้คำจำกัดความของคำว่า "อุปกรณ์แห่งค่าระวาง" ว่า "ค่าใช้จ่ายอย่างใดที่ผู้ขนส่งได้เสียไปโดยควรในระหว่างขนส่ง ซึ่งตามประเพณีในการขนส่งทางทะเลถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าระวาง..." ดังนั้น ค่าระวางและอุปกรณ์แห่งค่าระวางซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าระวางจึงมีอายุความเป็นอย่างเดียวกัน ในกรณีนี้ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มิได้กำหนดอายุความของสิทธิเรียกร้องค่าระวางไว้ แต่ใน ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (3) บัญญัติไว้ว่า "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความสองปี...(3)...ค่าระวาง..." อายุความเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องค่าระวางจึงมีกำหนด 2 ปี ตามบทมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15235/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าที่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ข้อจำกัดความรับผิดใช้ไม่ได้
แม้การขนส่งสินค้าตามฟ้องผู้ขายหรือผู้เอาประกันภัยตกลงว่าจ้างจำเลยให้ทำการขนส่งแบบสินค้าทั่วไป โดยมีเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งในความเสียหายหรือสูญหายของสินค้าที่ขนส่งก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยปล่อยปละละเลยไม่ดูแลรักษาสินค้าตามฟ้องอันเป็นการผิดวิสัยผู้ประกอบวิชาชีพขนส่งทำให้สินค้าตามฟ้องสูญหาย ถือเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง สัญญาขนส่งทางอากาศตามฟ้องมีข้อตกลงจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งไม่เกิน 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อการขนส่งสินค้าครั้งนี้ แต่สัญญาขนส่งทางอากาศเป็นลักษณะของสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง ย่อมตกอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 373 ดังนั้น ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามสัญญาขนส่งทางอากาศตามฟ้อง ย่อมไม่อาจใช้บังคับได้ในกรณีที่ผู้ขนส่งกระทำการโดยฉ้อฉลหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ข้อจำกัดดังกล่าวจึงไม่อาจใช้บังคับแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11572/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการขนส่งสินค้าชำรุด และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทเรื่องค่าเสียหายโดยศาล
ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง บัญญัติว่า ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น การที่จำเลยให้การในตอนต้นว่า จำเลยไม่เคยรับขนส่งสินค้าที่พิพาท และชื่อผู้ขนส่งตามที่ระบุไว้ในใบรับขนของทางอากาศก็ไม่ใช่ชื่อของจำเลย ส่วนตอนท้ายจำเลยให้การว่า หากศาลฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าแล้ว จำเลยสามารถจำกัดความรับผิดได้ไม่เกิน 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อน้ำหนักสินค้า 1 กิโลกรัม คำให้การดังกล่าวเมื่ออ่านโดยรวมแล้วสามารถเข้าใจได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องของโจทก์ และยังให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่จำต้องรับผิดตามจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมา คำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงหลายทางไม่ชัดแจ้งว่าข้อเท็จจริงที่ให้การนั้นเป็นไปในทางหนึ่งทางใด อันจะถือเป็นคำให้การที่ขัดกันดังที่โจทก์อุทธรณ์ คำให้การของจำเลยชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสองแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7164/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศ กรณีสินค้าสูญหายระหว่างอยู่ในคลังสินค้า และการจำกัดความรับผิด
ข้อเท็จจริงได้ความตามสำเนาใบตราส่งสินค้าทางอากาศ (Air Waybill) ซึ่งเป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศในคดีนี้ว่า สัญญาดังกล่าวฝ่ายผู้ขายได้จัดส่งสินค้ามาให้ผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่ง โดยมีจำเลยทั้งสามเป็นผู้รับผิดชอบในการขนส่งสินค้าของผู้ขายเพื่อให้ถึงมือผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่ง จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับขนส่งสินค้าทางอากาศจึงต้องร่วมกันรับผิดชอบกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดูแลมิให้สินค้าที่ขนส่งสูญหายในระหว่างการขนส่งจนกว่าจะถึงมือผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่ง ตราบใดที่ผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่งยังไม่ได้รับสินค้านั้นไว้ สินค้านั้นก็ยังไม่พ้นความดูแลหรือความรับผิดชอบของผู้ขนส่ง แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่า เหตุแห่งการสูญหายของสินค้าพิพาทเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้านั้นอยู่ในคลังสินค้าของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) กรณีก็ถือว่าเหตุแห่งการสูญหายของสินค้าที่ขนส่งเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งหรือระหว่างที่สินค้านั้นยังอยู่ในความรับผิดชอบดูแลของผู้ขนส่งเนื่องจากในระหว่างนั้นผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่งยังมิได้รับสินค้าที่ผู้รับขนส่งสินค้าขนส่งมา จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ร่วมรับขนส่งยังมิได้รับสินค้าที่ผู้รับขนส่งสินค้าขนส่งมา จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ร่วมรับขนส่งสินค้าดังกล่าวจึงต้องร่วมรับผิดต่อความเสียหายอันเนื่องมาจากการสูญหายของสินค้าที่รับขนส่งต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้านั้นซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่ง
นอกจากนี้ในสำเนาใบตราส่งสินค้าทางอากาศ ไม่ปรากฏว่าผู้ส่งหรือตัวแทนของผู้ส่งสินค้าได้ลงลายมือชื่อแสดงความตกลงในการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งในเรื่องเงื่อนไขความรับผิด ที่ระบุไว้ที่ด้านหลังใบตราส่งเพียงจำนวน 20 ดอลลาร์สหัรัฐต่อสินค้าสูญหาย 1 กิโลกรัม คงมีเพียงตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์ชื่อผู้ส่งสินค้าไว้เท่านั้น นอกจากนี้ยังปรากฏว่าในช่อง "Other Charges" ของสำเนาใบตราส่งดังกล่าวมีตัวอักษรและตัวเลขไว้ว่า Secu/c 102, 22 อันมีความหมายว่า ผู้ส่งได้จ่ายเงินเพิ่มเป็นค่าประกันในการดูแลรักษาสินค้าไว้แล้ว กรณีจึงถือไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงในเรื่องเงื่อนไขการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งด้วยโดยชัดแจ้ง ข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 625 จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์
นอกจากนี้ในสำเนาใบตราส่งสินค้าทางอากาศ ไม่ปรากฏว่าผู้ส่งหรือตัวแทนของผู้ส่งสินค้าได้ลงลายมือชื่อแสดงความตกลงในการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งในเรื่องเงื่อนไขความรับผิด ที่ระบุไว้ที่ด้านหลังใบตราส่งเพียงจำนวน 20 ดอลลาร์สหัรัฐต่อสินค้าสูญหาย 1 กิโลกรัม คงมีเพียงตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์ชื่อผู้ส่งสินค้าไว้เท่านั้น นอกจากนี้ยังปรากฏว่าในช่อง "Other Charges" ของสำเนาใบตราส่งดังกล่าวมีตัวอักษรและตัวเลขไว้ว่า Secu/c 102, 22 อันมีความหมายว่า ผู้ส่งได้จ่ายเงินเพิ่มเป็นค่าประกันในการดูแลรักษาสินค้าไว้แล้ว กรณีจึงถือไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงในเรื่องเงื่อนไขการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งด้วยโดยชัดแจ้ง ข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 625 จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5738/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการขนส่งสินค้า: การโจรกรรมบนทางหลวงเป็นเหตุที่ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 2 รับมอบสินค้าพิพาทซึ่งบรรจุอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์เมื่อเวลา 23 นาฬิกา การที่จำเลยที่ 2 ให้รถยนต์บรรทุกสินค้าพิพาทออกเดินทางในเวลากลางคืนต่อเนื่องจากเวลาที่รับมอบสินค้าพิพาท โดยพนักงานขับรถของจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์บรรทุกสินค้าพิพาทไปตามทางหลวงซึ่งจัดไว้เป็นทางสัญจรสาธารณะ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ประกอบการขนส่งด้วยความระมัดระวังตามสมควรแล้ว การที่สินค้าพิพาทสูญหายเพราะถูกโจรกรรมในระหว่างสัญจรบนทางหลวงจึงเป็นเหตุสุดวิสัยที่จำเลยที่ 2 จะป้องกันขัดขวางได้ และกรณีเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4586/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมขนส่งสินค้าและการรับฟังพยานหลักฐานจากสำเนาเอกสารที่ไม่มีการโต้แย้ง
ในขณะที่โจทก์นำสืบอ้างสำเนากรมธรรม์ประกันภัยและสำเนาหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงของบริษัท พ. เป็นพยาน จำเลยที่ 1 มิได้ดำเนินการโต้แย้งหรือคัดค้านการนำสืบสำเนาเอกสารว่าไม่มีต้นฉบับ หรือต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือแต่บางส่วนหรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องตรงกับต้นฉบับ ศาลไม่ควรรับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 125 จำเลยที่ 1 เพียงแต่ถามค้าน ป. พยานโจทก์เกี่ยวกับสำเนากรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวว่า ข้อความเกี่ยวกับรถยนต์คันดังกล่าวปรากฏตามเอกสารดังกล่าว ซึ่งเป็นเพียงสำเนาไม่ใช่ต้นฉบับเท่านั้น ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าสำเนาเอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าวนั้น ถูกต้องตรงกับต้นฉบับแล้ว ศาลจึงรับฟังเอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าวเป็นพยานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าสูญหาย กรณีสินค้ามีค่า และการจำกัดความรับผิด
สินค้าที่ขนส่งเป็นของมีค่า และโจทก์ผู้ส่งได้บอกสภาพแห่งของว่าเป็นนาฬิกาและบอกราคาของไว้ในขณะที่ส่งมอบแก่จำเลยผู้ขนส่งแล้ว จำเลยจึงต้องใช้ความระมัดระวังดูแลสินค้าเป็นพิเศษในการขนส่ง เมื่อสินค้าสูญหาย จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเท่าราคาสินค้าซึ่งเป็นราคาที่บอกแก่ตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 616, 620 ทั้งโจทก์ไม่ได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของจำเลยตามข้อความที่ปรากฏด้านหลังของใบรับขนทางอากาศ ข้อความจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตามมาตรา 625 โจทก์จึงไม่จำต้องเพิ่มส่วนความรับผิดของจำเลยโดยเลือกชำระค่าบริการเพิ่มแทนการยอมรับการจำกัดความรับผิด อีกทั้งการที่โจทก์ไม่เสียค่าบริการเพิ่มจะถือว่าโจทก์มีส่วนทำความผิดก่อให้เกิดความเสียหายด้วยและอาศัยเป็นพฤติการณ์ในการลดค่าเสียหายของโจทก์หาได้ไม่ จำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดขอใช้ค่าเสียหายเท่าราคาสินค้าที่ขนส่งตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งร่วม: การขายพื้นที่บรรทุกสินค้าและผลประโยชน์ที่ได้รับ
แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ตามที่จำเลยที่ 3 อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 3 และบริษัท ล. เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากกัน โดยจำเลยที่ 3 ประกอบธุรกิจรับขนคนโดยสาร ส่วนบริษัท ล. ประกอบธุรกิจรับขนของ แต่ที่ว่างสำหรับรรทุกของใต้ท้องเครื่องบินโดยสารของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ได้ขายพื้นที่ดังกล่าวแก่บริษัท ล. เพื่อไปบริการรับขนสินค้าในนามตนเอง เมื่อจำเลยที่ 2 ได้มอบหมายให้บริษัท ล. ขนส่งสินค้าดังกล่าวและบริษัท ล. ได้ดำเนินการส่งสินค้าดังกล่าวมากับเครื่องบินของจำเลยที่ 3 โดยใช้พื้นที่บรรทุกใต้ท้องเครื่องบินโดยสารที่จำเลยที่ 3 ขายให้ดังกล่าวขนสินค้า ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 3 เข้ามาเกี่ยวข้องกับสินค้าที่ถูกขนส่งนั้น โดยเป็นผู้มีหน้าที่ในการนำสินค้าจากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งและได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเพื่อบำเหน็จเป็นทางการค้าปกติของตน เช่นนี้ต้องถือว่าการส่งสินค้าครั้งนี้ จำเลยที่ 3 เป็นผู้ร่วมขนส่งด้วยทอดหนึ่ง โดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดในการสูญหายของสินค้าดังกล่าวด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 618
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4781/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อความเสียหายจากการขนส่งสินค้า: กรณีมีชื่อบริษัทติดรถ
แม้จำเลยจะอ้างว่ารถยนต์กระบะบรรทุกเป็นของ บ. เอง ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ บ. เป็นผู้จ่าย ทั้ง บ. ก็ไม่ได้อยู่ในบังคับบัญชาของจำเลย แต่เมื่อรถยนต์กระบะบรรทุกคันเกิดเหตุ ปรากฏชื่อบริษัทของจำเลยอยู่ข้างตัวรถ การที่จำเลยสั่งให้ บ. เข้าไปรับสินค้าโดยใช้รถยนต์กระบะบรรทุกคันดังกล่าว จำเลยจึงเป็นนายจ้างของ บ. ต้องรับผิดกับ บ. ในเหตุละเมิดที่เกิดขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3460/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สิน (รถยนต์) ที่ใช้ในการกระทำความผิดทางศุลกากรและการขนส่งสินค้าหลีกเลี่ยงภาษี
เมื่อฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำความผิดของจำเลย ฐานช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งบุหรี่ของกลาง อันเป็นสินค้าที่ได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร และบรรยายฟ้องตอนท้ายว่าจำเลยใช้รถยนต์เก๋งของกลางดังกล่าวเป็นยานพาหนะในการย้าย ซ่อนเร้น และขนบุหรี่ของกลางที่ยังมิได้เสียภาษีและมิได้ผ่านพิธีการศุลกากรจากพื้นที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อนำไปยังจังหวัดระนอง เห็นได้ว่าฟ้องของโจทก์บรรยายเป็นที่เข้าใจแล้วว่าจำเลยใช้รถยนต์เก๋งของกลางเป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 246 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง จึงฟังได้ว่ารถยนต์เก๋งของกลางเป็นทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดเป็นทรัพย์ที่ให้ริบตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 165 วรรคหนึ่ง เจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 165 ต้องการให้ศาลมีอำนาจริบทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการย้าย ซ่อนเร้น หรือขนของที่มิได้เสียอากร การที่จำเลยใช้รถยนต์เก๋งของกลางเป็นยานพาหนะในการย้าย ซ่อนเร้น และขนบุหรี่ของกลาง 610 ซอง จากพื้นที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อมุ่งหน้าไปยังจังหวัดระนอง อันเป็นระยะทางข้ามจังหวัด หากไม่มีรถยนต์เก๋งของกลางมาบรรทุกบุหรี่ของกลางจำนวนมากถึง 610 ซอง ย่อมไม่สามารถขนย้ายบุหรี่ของกลางจำนวนมากดังกล่าวได้สำเร็จ ลักษณะการกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นการใช้รถยนต์เก๋งของกลางดังกล่าวเป็นยานพาหนะในการย้าย ซ่อนเร้น และขนบุหรี่ของกลางที่ยังไม่ได้เสียภาษีและไม่ผ่านพิธีการศุลกากรตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว