คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทำไม้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 74 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5804/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไม้หวงห้าม: การจำแนกประเภทไม้และการพิพากษาคดีทำไม้ในเขตป่าสงวน
พระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ.2530 มิได้กำหนดให้ไม้มะกอกทุกชนิดในป่าเป็นไม้หวงห้าม คงมีลำดับที่ 110 ที่กำหนดให้มะเกิ้ม มะเหลี่ยม มะกอกเหลี่ยม มะจิ้น มะกอกเลือด มะกอกเกลื้อน มะเลื่อมและมะกอกเลื่อม ซึ่งเป็นพรรณไม้สกุล Canarium เท่านั้น เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้มะกอกทั่วไปซึ่งมิใช่พรรณไม้ในสกุลดังกล่าว จึงมิใช่ไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4858/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันฐานทำไม้และมีไม้หวงห้าม การปรับบทความผิดและการแก้ไขโทษ
การะกระทำความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ฐานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต ฐานมีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครอง และฐานมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองนั้น ลักษณะของความผิดในแต่ละข้อหาอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างแยกจากกันได้ ทั้งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปกับไม้หวงห้ามแปรรูปของกลางเป็นคนละชนิดและคนละจำนวนกัน แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 และที่ 4 จะกระทำความผิดในคราวเดียวกันก็ตาม การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสามดังกล่าว ก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 กับพวกร่วมกันมีไม้นนทรี ไม้ติ้ว ไม้โมง อันยังมิได้แปรรูป รวมจำนวน 21 ท่อน ซึ่งเกินกว่า 20 ท่อน ไว้ในครอบครอง จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ให้การรับสารภาพ จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันมีไม้หวงห้ามดังกล่าวอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองเกิน 20 ท่อน ดังที่โจทก์ฟ้อง การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ย่อมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ มาตรา 69 วรรคสอง (2) ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ มาตรา 69 วรรคหนึ่ง จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง แต่เนื่องจากโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขกำหนดอัตราโทษได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 และปัญหาการปรับบทดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 และที่ 6 จะมิได้ฎีกา แต่เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาแก้ไขให้มีผลตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 6 ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3322/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำไม้ในพื้นที่ป่า การแปรรูปไม้ และการมีไม้แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลยกฟ้องฐานแปรรูปและมีไม้แปรรูป
เมื่อไม้ของกลางที่ปรากฏจากพยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นท่อนยังมิได้มีการกระทำใด ๆ ให้ไม้เปลี่ยนรูปหรือขนาดไป จึงถือว่าไม้ดังกล่าวยังมิได้แปรรูปอันจะเป็นการแปรรูปไม้ตามคำนิยามของคำว่า แปรรูปไม้ ในมาตรา 4 (3) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า "แปรรูป หมายความว่า การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ไม้ดังนี้ คือ ก. เลื่อย ผ่า ถาก ขุด หรือกระทำด้วยประการอื่นใดแก่ไม้ให้เปลี่ยนรูปหรือขนาดไปจากเดิม..." ลำพังเพียงการตัดไม้แล้วทอนเป็นท่อนยังไม่ถือเป็นการแปรรูปไม้ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดฐานร่วมกันแปรรูปไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต และเมื่อไม้หวงห้ามของกลางเป็นไม้อันยังมิได้แปรรูป จำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีความผิดฐานร่วมกันมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามฟ้องด้วยเช่นกัน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายืนตามกันมาว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดทั้งสองฐานนี้จึงไม่ชอบ ซึ่งศาลฎีกาเมื่อเห็นว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 ไม่เป็นความผิดในสองฐานนี้ย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215, 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4655/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ การครอบครองพื้นที่ และความรับผิดทางแพ่ง
ความผิดฐานร่วมกันทำไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานร่วมกันยึดถือครอบครองทำประโยชน์ แผ้วถาง หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ตามพฤติการณ์การกระทำความผิดในคดีนี้ สามารถแยกการกระทำและเจตนาในการกระทำออกจากกันได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันทำไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ฯ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 นั้น ไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ซึ่งกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวเพิ่มขึ้น จึงไม่อาจแก้ไขโทษที่จะลงแก่จำเลยที่ 1 ได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
of 8