พบผลลัพธ์ทั้งหมด 80 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 920/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับปรุงอาคารรุกล้ำทางหลวงไม่ถือเป็นการปลูกสร้างใหม่ หากไม่เพิ่มการกีดขวาง
รื้อหลังคาแล้วทำหลังคาไหม่ และทำฝาเพิ่มขึ้น กับ+เสาที่ชุดไนโรงเรือนที่ปลูกกีดขวางทางหลวงนั้น ไม่ถือว่าการกะทำตอนหลังนี้เปนการกะทำกีดขวางทางหลวงอันเปนผิดตามมาตรา 336(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 78-80/2483
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำทางหลวงด้วยการทำนา: การปลูกต้นข้าวไม่ถือเป็นการปลูกสร้างสิ่งกีดขวาง
กฎหมาย อาญามาตรา 336 ข้อ 2 ที่บัญญัติห้ามไม่ให้ปลูกเรือน ปักรั้วหรือปลูกสร้างสิ่งใดๆ ให้ล้ำเข้าไปในทางหลวงนั้น ไม่มีความหมายถึงปลูกต้นข้าว ด้วยการเอาข้าวไปปักดำนั้น ไม่ได้หมายความว่าเอาของเกะกะไปวางในถนนหลวงดังบัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณ อาญามาตรา 336 ข้อ 13
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2475
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตให้ปลูกสร้างรุกล้ำที่ดินต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนจึงสมบูรณ์
การอนุญาตให้ปลูกขายคาเหลื่อมล้ำเข้ามาในที่ดิน เป็นสิทธิเหนือที่ดินจักต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน มิฉะนั้นไม่สมบูรณ์ ที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 796/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลูกสร้างบนที่ดินที่ไม่มีกรรมสิทธิ และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ปลูกสร้างโรงเรือนลงไปในที่ ๆ ตนรู้ว่ายังไม่มีกรรมสิทธิ จะเรียกเอาค่าที่ปลูกสร้างแก่เจ้าของที่ดินไม่ได้เอาที่ดินเปนประกันเงินกู้โดยไม่ไปทำให้ถูกต้องตามกฎหมายแลทำสัญญากันเองว่าถ้าไม่ใช้เงินภายใน 1 ปีให้ที่เปนสิทธิแก่เจ้าของเงินนั้น เมื่อผู้กู้ไม่ใช้ตามกำหนด เจ้าของเงินจะเอาที่เปนกรรมสิทธิไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์หลังมรณะ: สิทธิในทรัพย์สินของผู้ปลูกสร้างบนที่ดินมรดก
ผู้ร้องกล่าวในคำร้องว่า ผู้ร้องปลูกสร้างบ้านเลขที่ 7/1 บนที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของจำเลยหลังจากจำเลยเสียชีวิตแล้ว แต่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินแปลงดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินรวมถึงบ้านเลขที่ 7/1 ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องด้วย จึงเป็นการนำยึดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1734 เจ้าหนี้กองมรดกชอบแต่จะได้รับการชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น หากข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง บ้านเลขที่ 7/1 ย่อมเป็นทรัพย์สินของผู้ร้อง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กองมรดกของจำเลยหามีสิทธิบังคับชำระหนี้ไม่ การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านหลังดังกล่าวเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีให้ปล่อยทรัพย์สินเช่นว่านั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องทำการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 461/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดิน: สิทธิในการปลูกสร้างและให้เช่าช่วงเป็นไปตามข้อตกลงเดิม โจทก์ไม่มีสิทธิกำหนดเวลาหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข
ตามสัญญาแบ่งเช่าที่ดินมีกำหนด 30 ปี ข้อ 4 ที่ระบุว่าเช่าเพื่อปลูกสร้างตึกให้เช่าไม่มีเงินกินเปล่านั้น ต. ผู้ให้เช่าเดิมกับจำเลยทั้งสามไม่ได้กำหนดรายละเอียดและเวลาไว้ว่าจำเลยทั้งสามจะต้องปลูกสร้างตึกขึ้นจำนวนเท่าใดและในเวลาใด จึงต้องแปลความว่าเป็นสิทธิของจำเลยทั้งสามที่จะปลูกสร้างตึกจำนวนเท่าใดและในเวลาใดก็ได้ หรือหากจะมีการตกลงกำหนดกันใหม่ก็ต้องเป็นไปตามข้อตกลงของ ต. กับจำเลยทั้งสาม หาใช่ว่า ต. ฝ่ายเดียวจะเป็นผู้กำหนดเวลานั้นใหม่ได้ การที่โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทมาจาก ต. โจทก์ก็ต้องรับโอนสิทธิและหน้าที่ของ ต. มาด้วย โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะกำหนดเวลาให้จำเลยทั้งสามปลูกสร้างตึกได้ฝ่ายเดียว การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทั้งสามดำเนินการปลูกสร้างตึกโดยอ้าง
ว่า บัดนี้ระยะเวลาการเช่าล่วงเลยมาเป็นระยะเวลาถึง 8 ปีเศษ และจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติตาม จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญา และในเรื่องการให้เช่าช่วงนั้น ตามสำเนาหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินมีกำหนด 30 ปี ระบุว่า ให้เช่าช่วงได้โดยไม่ได้มีข้อความระบุว่าต้องเป็นการให้เช่าช่วงตึกเท่านั้น จึงต้องแปลความหมายว่าในการเช่าที่ดินพิพาทนี้จำเลยทั้งสามมีสิทธินำที่ดินพิพาทไปให้เช่าช่วงได้ โดยอาจให้เช่าช่วงเฉพาะที่ดินหรือเมื่อมีการปลูกสร้างตึกก็นำตึกพร้อมที่ดินไปให้เช่าช่วงได้เช่นกัน การที่จำเลยทั้งสามยังไม่ได้ปลูกสร้างตึกและนำที่ดินไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงจึงไม่ถือว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญาเช่าเช่นกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดตามสำเนาหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินมีกำหนด 30 ปี
ที่จำเลยทั้งสามฎีกาขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายให้จำเลยทั้งสามนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้ง จำเลยทั้งสามมิได้อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่จำเลยทั้งสามมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ว่า บัดนี้ระยะเวลาการเช่าล่วงเลยมาเป็นระยะเวลาถึง 8 ปีเศษ และจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติตาม จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญา และในเรื่องการให้เช่าช่วงนั้น ตามสำเนาหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินมีกำหนด 30 ปี ระบุว่า ให้เช่าช่วงได้โดยไม่ได้มีข้อความระบุว่าต้องเป็นการให้เช่าช่วงตึกเท่านั้น จึงต้องแปลความหมายว่าในการเช่าที่ดินพิพาทนี้จำเลยทั้งสามมีสิทธินำที่ดินพิพาทไปให้เช่าช่วงได้ โดยอาจให้เช่าช่วงเฉพาะที่ดินหรือเมื่อมีการปลูกสร้างตึกก็นำตึกพร้อมที่ดินไปให้เช่าช่วงได้เช่นกัน การที่จำเลยทั้งสามยังไม่ได้ปลูกสร้างตึกและนำที่ดินไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงจึงไม่ถือว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญาเช่าเช่นกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดตามสำเนาหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินมีกำหนด 30 ปี
ที่จำเลยทั้งสามฎีกาขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายให้จำเลยทั้งสามนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้ง จำเลยทั้งสามมิได้อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่จำเลยทั้งสามมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7537/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานปลูกสร้างสิ่งล้ำน้ำ การระบุสถานที่เกิดเหตุที่ชัดเจนเพียงพอต่อการเข้าใจข้อหา
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่า พื้นที่น่านน้ำทะเลไทยที่จำเลยปลูกสร้าง ล่วงล้ำเข้าไปอันเป็นสถานที่เกิดการกระทำความผิดนั้น อยู่ในบริเวณพื้นที่น่านน้ำทะเลไทย ซึ่งพอสมควรที่จะทำให้จำเลย เข้าใจข้อหาได้ดี และครบองค์ประกอบ ความผิดฐานปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใด ล่วงล้ำเข้าไปเหนือน้ำ ในน้ำทะเล ภายในน่านน้ำไทย ตาม พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 มาตรา 117 ประกอบ ป.วิ.อ. 158 (5) หาจำต้องบรรยายเพิ่มเติมว่าปลูกสร้างห่างจากฝั่งเพียงใดไม่ ฟ้องของโจทก์ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอาศัยสิ้นสุดเมื่อรื้อถอนโรงเรือน การปลูกสร้างใหม่โดยไม่ได้รับอนุญาตไม่ก่อให้เกิดสิทธิใหม่ เจ้าของที่ดินมีสิทธิขับไล่
แม้การอยู่อาศัยที่ ป. ได้ให้ไว้แก่ ฮ. และจำเลยที่ 1 จะเป็นบุคคลสิทธิใช้ยันโจทก์ทั้งสอง ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ป. ให้ปฏิบัติตามได้ก็ตาม แต่ ป.พ.พ. มาตรา 1402 บัญญัติว่า "บุคคลใดรับสิทธิอาศัยในโรงเรือน บุคคลนั้นย่อมมีสิทธิอยู่ในโรงเรือนนั้นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า" และมาตรา 1408 บัญญัติว่า "เมื่อสิทธิอาศัยสิ้นลงผู้อาศัยต้องส่งทรัพย์สินคืนแก่ผู้ให้อาศัย" เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า บ้านเลขที่ 30 (เดิม) ซึ่งเป็นโรงเรือนได้ถูกรื้อถอนไปแล้วโดยจำเลยทั้งสองเช่นนี้ สิทธิอาศัยที่ ฮ. และจำเลยที่ 1 ได้ทำไว้กับ ป. ย่อมสิ้นลงจึงไม่มีโรงเรือนอันจะมีสิทธิอาศัยตามบทกฎหมายข้างต้น การที่จำเลยทั้งสองปลูกบ้านเลขที่ 30 (ใหม่) ขึ้นแทนภายหลังจากที่ ป. ถึงแก่ความตาย โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งสองก็หาก่อให้เกิดสิทธิอาศัยขึ้นมาใหม่แต่อย่างใดไม่ และการที่จำเลยทั้งสองปลูกบ้านเลขที่ 30 (ใหม่) ในที่ดินพิพาทโดยไม่ได้รับความยินยอม บ้านเลขที่ 30 (ใหม่) จึงเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทตกเป็นของเจ้าของที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 144 ทั้งเป็นการปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดิน่ของผู้อื่นโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1311 การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 30 (ใหม่) เช่นนี้พอถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ประสงค์จะให้บ้านเลขที่ 30 (ใหม่) ซึ่งเป็นโรงเรือนคงอยู่ตามมาตรา 1311
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอาศัยสิ้นสุดเมื่อโรงเรือนถูกรื้อถอน การปลูกสร้างใหม่โดยไม่ได้รับอนุญาตไม่ก่อให้เกิดสิทธิอาศัย ผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องขับไล่
การอยู่อาศัยที่ ป.ได้ให้ไว้แก่ ฮ. และจำเลยที่ 1 เป็นบุคคลสิทธิใช้ยันโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก ป.ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองรื้อบ้านซึ่งเป็นโรงเรือนไปแล้ว สิทธิอาศัยย่อมสิ้นลง จึงไม่มีโรงเรือนอันจะมีสิทธิอาศัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1402 และมาตรา 1408 การที่จำเลยทั้งสองปลูกบ้านขึ้นแทนภายหลังจากที่ ป.ถึงแก่ความตายโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งสองก็หาก่อให้เกิดสิทธิอาศัยขึ้นมาใหม่ไม่และเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทตกเป็นของเจ้าของที่ดินพิพาทตามมาตรา 144 ทั้งเป็นการปลูกโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริตตามมาตรา 1311 การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินพิพาทและบ้านพอถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ประสงค์จะให้บ้านคงอยู่ตามมาตรา 1311 ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาทและบ้าน โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกชอบที่จัดการตามที่จำเป็นได้ตามมาตรา 1719 และมาตรา 1736 วรรคสอง จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7084/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในบ้านที่ปลูกบนที่ดินของผู้อื่น: กรณีบุตรปลูกสร้างด้วยความยินยอมของผู้เป็นบิดามารดา
บ้านที่โจทก์ปลูกสร้างขึ้นในที่ดินพิพาทของ พ. กับ ศ. ซึ่งเป็นบิดามารดาโดยได้รับความยินยอมจาก พ. กับ ศ. จึงเป็นเรื่องบุตรได้สิทธิปลูกทำโรงเรือนในที่ดินของบิดามารดา จึงเป็นการปลูกสร้างโรงเรือนหรือการปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่งผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธินั้นปลูกสร้างไว้ในที่ดินนั้นด้วย ย่อมไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 บ้านทรงบังกะโลซึ่งโจทก์ต่อเติมขึ้นภายหลัง ย่อมไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทของจำเลยซึ่งได้รับโอนมาโดยพินัยกรรมของ ศ. เช่นกัน