พบผลลัพธ์ทั้งหมด 173 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของพนักงานสอบสวนและนิติบุคคลจากการละเมิดต่อของกลางที่สูญหาย
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานสอบสวนยึดรถยนต์ของโจทก์มาเก็บรักษาไว้เป็นของกลาง ย่อมมีหน้าที่เก็บรักษารถยนต์ดังกล่าวพร้อมอุปกรณ์ไว้ในที่ปลอดภัย ทั้งต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรมิให้รถยนต์ดังกล่าวและอุปกรณ์ต้องสูญหายหรือเสียหายการที่จำเลยที่ 2 นำรถยนต์ดังกล่าวไปจอดไว้ริมถนนนอกเขตสถานีตำรวจและไม่จัดให้มีผู้ดูแลรักษา แม้จะมีระเบียบกรมตำรวจระบุให้ผู้บังคับกองหรือหัวหน้าสถานีตำรวจเป็นผู้เก็บรักษาของกลาง ก็เป็นระเบียบภายในกรมตำรวจทั้งไม่มีข้อความระบุให้บุคคลดังกล่าวรับผิดชอบในเรื่องนี้แต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น เมื่ออุปกรณ์รถยนต์ดังกล่าวหายไปจึงเป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการในสังกัดกรมตำรวจ จำเลยที่ 1 ย่อมมีฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 เมื่อจำเลยที่ 2 กระทำตามหน้าที่และทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์.
จำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการในสังกัดกรมตำรวจ จำเลยที่ 1 ย่อมมีฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 เมื่อจำเลยที่ 2 กระทำตามหน้าที่และทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของพนักงานสอบสวนและนิติบุคคลจากความประมาทเลินเล่อในการเก็บรักษาสินค้ากลาง
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานสอบสวนยึดรถยนต์ของโจทก์มาเก็บรักษาไว้เป็นของกลาง ย่อมมีหน้าที่เก็บรักษารถยนต์ดังกล่าวพร้อมอุปกรณ์ไว้ในที่ปลอดภัย ทั้งต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรมิให้รถยนต์ดังกล่าวและอุปกรณ์ต้องสูญหายหรือเสียหายการที่จำเลยที่ 2 นำรถยนต์ดังกล่าวไปจอดไว้ริมถนนนอกเขตสถานีตำรวจและไม่จัดให้มีผู้ดูแลรักษา แม้จะมีระเบียบกรมตำรวจระบุให้ผู้บังคับกองหรือหัวหน้าสถานีตำรวจเป็นผู้เก็บรักษาของกลาง ก็เป็นระเบียบภายในกรมตำรวจทั้งไม่มีข้อความระบุให้บุคคลดังกล่าวรับผิดชอบในเรื่องนี้แต่เพียงผู้เดียวดังนั้น เมื่ออุปกรณ์รถยนต์ดังกล่าวหายไปจึงเป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการในสังกัดกรมตำรวจ จำเลยที่ 1 ย่อมมีฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 76 เมื่อจำเลยที่ 2 กระทำตามหน้าที่และทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์.
จำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการในสังกัดกรมตำรวจ จำเลยที่ 1 ย่อมมีฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 76 เมื่อจำเลยที่ 2 กระทำตามหน้าที่และทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาแจ้งความร้องทุกข์ต้องมุ่งหวังให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี แม้ฟ้องเองภายหลังก็ไม่ทำให้การแจ้งความไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นชอบ
การร้องทุกข์ที่ชอบด้วยกฎหมายจะต้องเป็นการแจ้งความในลักษณะของการกล่าวหาโดยมีเจตนาให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี เมื่อบันทึกการแจ้งความมีข้อความแสดงชัดว่าในขณะที่แจ้งโจทก์ไม่มีเจตนาให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลย ซึ่งถือว่าไม่เป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมาย การที่โจทก์มาฟ้องคดีเองในภายหลัง ก็หามีผลให้คำร้องทุกข์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวกลับกลายเป็นชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่ โจทก์แจ้งความว่า จึงมอบอำนาจให้ผู้แจ้งมาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อประสงค์ให้จำเลยได้รับโทษตามกฎหมายและโจทก์ประสงค์ขอรับเช็คของกลางคืนไปเพื่อดำเนินการฟ้องร้องกับจำเลยและผู้เกี่ยวข้องในทางศาลเองต่อไป โดยไม่ขอมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการแต่อย่างใด ดังนี้แม้แจ้งความดังกล่าวมีข้อความว่า มาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อประสงค์ให้จำเลยรับโทษตามกฎหมาย แต่ก็มีข้อความต่อไปว่าโจทก์ขอรับเช็คคืนเพื่อดำเนินการฟ้องร้องเองจึงเห็นเจตนาของโจทก์ได้ว่าไม่ประสงค์ให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลย แจ้งความดังกล่าวจึงไม่ใช่คำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการร้องทุกข์สำคัญกว่าการฟ้องเอง การแจ้งความต้องประสงค์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี
การร้องทุกข์ที่ชอบด้วยกฎหมายจะต้องเป็นการแจ้งความในลักษณะของการกล่าวหาโดยมีเจตนาให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี เมื่อบันทึกการแจ้งความมีข้อความแสดงชัดว่าในขณะที่แจ้งโจทก์ไม่มีเจตนาให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลย ซึ่งถือว่าไม่เป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมาย การที่โจทก์มาฟ้องคดีเองในภายหลัง ก็หามีผลให้คำร้องทุกข์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวกลับกลายเป็นชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่ โจทก์แจ้งความว่า จึงมอบอำนาจให้ผู้แจ้งมาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อประสงค์ให้จำเลยได้รับโทษตามกฎหมายและโจทก์ประสงค์ขอรับเช็คของกลางคืนไปเพื่อดำเนินการฟ้องร้องกับจำเลยและผู้เกี่ยวข้องในทางศาลเองต่อไป โดยไม่ขอมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการแต่อย่างใด ดังนี้แม้แจ้งความดังกล่าวมีข้อความว่า มาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อประสงค์ให้จำเลยรับโทษตามกฎหมาย แต่ก็มีข้อความต่อไปว่าโจทก์ขอรับเช็คคืนเพื่อดำเนินการฟ้องร้องเองจึงเห็นเจตนาของโจทก์ได้ว่าไม่ประสงค์ให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลย แจ้งความดังกล่าวจึงไม่ใช่คำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3562/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพที่ได้จากการล่อลวงของพนักงานสอบสวนเป็นโมฆะ ไม่สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานได้
คำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยในฐานะพยานเกิดจากการให้คำมั่นสัญญาของพนักงานสอบสวนที่ว่าจะกันจำเลยไว้เป็นพยานส่วนคำให้การในฐานะผู้ต้องหาเป็นผลโดยตรงจากคำให้การในฐานะพยาน จึงเป็นคำให้การที่เกิดจากการล่อลวงของพนักงานสอบสวน แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็รับฟังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3562/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพที่เกิดจากการล่อลวงของพนักงานสอบสวนเป็นโมฆะ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็รับฟังไม่ได้
คำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยในฐานะพยานเกิดจากการให้คำมั่นสัญญาของพนักงานสอบสวนที่ว่าจะกันจำเลยไว้เป็นพยานส่วนคำให้การในฐานะผู้ต้องหาเป็นผลโดยตรงจากคำให้การในฐานะพยานจึงเป็นคำให้การที่เกิดจากการล่อลวงของพนักงานสอบสวนแม้จำเลยให้การรับสารภาพก็รับฟังไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3396/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดรถยนต์ที่ซื้อมาโดยสุจริต: อำนาจหน้าที่พนักงานสอบสวน & สิทธิผู้ซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่ง
จำเลยที่ 3 เป็นพนักงานสอบสวน ในการสืบสวนสอบสวนจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายในการแสวงหาข้อเท็จจริง รวบรวมหลักฐานและดำเนินการทั้งหลายเกี่ยวกับความผิดเพื่อทราบข้อเท็จจริง พิสูจน์ความผิดและเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ การที่จำเลยที่ 3 สืบสวนทราบว่ารถยนต์ของ ช. ที่ถูกยักยอกไปอยู่ในความครอบครองของโจทก์ และยึดรถยนต์ดังกล่าวมาเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีจึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 3 และกรมตำรวจจำเลยที่ 4 ต้นสังกัด จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
โจทก์ซื้อรถยนต์จากท้องตลาดโดยสุจริต ก็หาได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อนั้นไม่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 เพียงแต่บัญญัติว่าผู้ซื้อไม่จำต้องคืนให้แก่เจ้าของแท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมา ดังนี้เมื่อเจ้าของติดตามรถยนต์ดังกล่าวคืนโดยตำรวจยึดรถยนต์นั้นไปและศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระราคาเพราะเหตุที่โจทก์ถูกรอนสิทธิแล้ว โจทก์จึงขอบังคับให้ส่งมอบรถยนต์แก่โจทก์อีกไม่ได้
โจทก์ซื้อรถยนต์จากท้องตลาดโดยสุจริต ก็หาได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อนั้นไม่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 เพียงแต่บัญญัติว่าผู้ซื้อไม่จำต้องคืนให้แก่เจ้าของแท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมา ดังนี้เมื่อเจ้าของติดตามรถยนต์ดังกล่าวคืนโดยตำรวจยึดรถยนต์นั้นไปและศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระราคาเพราะเหตุที่โจทก์ถูกรอนสิทธิแล้ว โจทก์จึงขอบังคับให้ส่งมอบรถยนต์แก่โจทก์อีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3396/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดรถยนต์ของพนักงานสอบสวนเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีอาญา: การกระทำตามอำนาจหน้าที่โดยชอบ
จำเลยที่3เป็นพนักงานสอบสวนได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้ทำการสอบสวนกรณีมีผู้ร้องทุกข์ว่ารถยนต์คันพิพาทถูกยักยอกจำเลยที่3จึงมีหน้าที่ตามกฎหมายในการแสวงหาข้อเท็จจริงรวบรวมหลักฐานและดำเนินการทั้งหลายเกี่ยวกับความผิดเพื่อทราบข้อเท็จจริงพิสูจน์ความผิดและเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษการที่จำเลยที่3สืบสวนทราบว่ารถยนต์คันพิพาทอยู่ในความครอบครองของโจทก์แล้วจำเลยที่3ยึดรถยนต์ดังกล่าวจากโจทก์ไปเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีจึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยที่3จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3396/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พนักงานสอบสวนยึดรถยนต์ที่ได้มาจากการซื้อขายโดยสุจริต: การกระทำตามอำนาจหน้าที่และสิทธิในทรัพย์สิน
จำเลยที่3เป็นพนักงานสอบสวนในการสืบสวนสอบสวนจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายในการแสวงหาข้อเท็จจริงรวบรวมหลักฐานและดำเนินการทั้งหลายเกี่ยวกับความผิดเพื่อทราบข้อเท็จจริงพิสูจน์ความผิดและเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษการที่จำเลยที่3สืบสวนทราบว่ารถยนต์ของช.ที่ถูกยักยอกไปอยู่ในความครอบครองของโจทก์และยึดรถยนต์ดังกล่าวมาเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีจึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยที่3และกรมตำรวจจำเลยที่4ต้นสังกัดจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์ซื้อรถยนต์จากท้องตลาดโดยสุจริตก็หาได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อนั้นไม่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1332เพียงแต่บัญญัติว่าผู้ซื้อไม่จำต้องคืนให้แก่เจ้าของแท้จริงเว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมาดังนี้เมื่อเจ้าของติดตามรถยนต์ดังกล่าวคืนโดยตำรวจยึดรถยนต์นั้นไปและศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระราคาเพราะเหตุที่โจทก์ถูกรอนสิทธิแล้วโจทก์จึงขอบังคับให้ส่งมอบรถยนต์แก่โจทก์อีกไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4785/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความของจำเลยที่ 1 ไม่ทำให้โจทก์เสียหายจากการยึดรถยนต์ของพนักงานสอบสวน จึงไม่เป็นการละเมิด
จำเลยที่ 1 ขายรถยนต์คันพิพาทให้โจทก์รับชำระราคาแล้วบางส่วน ตกลงกันว่าจะโอนทะเบียนกันเมื่อชำระราคาหมดแล้วโจทก์มอบรถยนต์ ดังกล่าวให้ห้างฯ ย. จัดจำหน่าย และห้างฯย.ให้ค.เช่าซื้อไปต่อมาจำเลยที่1พาค.ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่า ค. เช่าซื้อรถ มาจากห้างฯย. แล้วเกิดการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในรถระหว่างโจทก์ กับจำเลยที่ 1 พนักงานสอบสวนได้ยึดรถยนต์คันพิพาทไป แต่เหตุที่พนักงานสอบสวนยึดรถยนต์ก็เนื่องจากสอบสวนได้ความว่ารถยนต์เป็นของจำเลยที่ 2 ไม่ได้ต่อทะเบียน จึงดำเนินคดีกับจำเลยที่ 2 อันเป็นเรื่องอยู่ในอำนาจหน้าที่และดุลพินิจของพนักงานสอบสวนโดยเฉพาะ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1กระทำละเมิดต่อโจทก์