คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มัดจำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินค่าสิ่งของ/มัดจำโดยไม่มีใบรับเงิน ศาลรับฟังได้
การนำสืบถึงเงินที่ผู้ซื้อจ่ายให้แก่ผู้ขาย เป็นส่วนหนึ่งของราคาสิ่งของหรือเป็นเงินมัดจำนั้นไม่มีใบรับเงิน ศาลก็รับฟังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขายและการพิสูจน์การวางมัดจำ
โจทก์ได้ทำสัญญาขายที่รายพิพาทให้ผู้อื่น ภายหลังเมื่อจำเลยบอกเลิกสัญญาจะขายที่รายพิพาทนี้จะถือว่าโจทก์ต้องเสียหายเพราะจำเลยผิดสัญญาไม่ได้ โจทก์ฟ้องเรียกเงินมัดจำ 200 บาทตามสัญญาคืนจำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ได้วางเงินมัดจำเช่นนี้จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบหักล้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางมัดจำและการทำสัญญาใหม่ การวางมัดจำเป็นเพียงหลักฐานเบื้องต้น ไม่ผูกพันโดยเด็ดขาดหากยังไม่ได้ทำสัญญา
การวางมัดจำต่อกันแล้วเป็นแต่ข้อสันนิษฐานว่ามีสัญญาต่อกัน ไม่ใช่ให้ถือโดยเด็ดขาดว่ามีสัญญาต่อกันแล้ว
ในกรณีที่คู่กรณีตกลงจะทำสัญญาต่อกันเป็นหนังสือนั้นฤายังไม่ได้เซ็นสัญญาต่อกัน ก็สันนิษฐานว่ายังไม่สัญญาต่อกัน ในกรณีที่ตกลงซื้อขายกันโดยมีข้อสัญญาเป็นพิเศษเมื่อครบอายุสัญญา และในระหว่างเจรจาต่อสัญญากันใหม่ก็ยังมีการซื้อขายต่อกันอยู่นั้น ถือว่าซื้อขายกันโดยมิได้มีข้อสัญญาเป็นพิเศษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายไม้สัก: การทำสัญญาเป็นหนังสือและวางมัดจำเป็นองค์ประกอบสำคัญ
จำเลยยื่นประมูลจะส่งไม้สักให้โจทก์ ๆ ได้ตกลงตามใบประมูลนั้นแล้ว แต่ในใบประมูลของจำเลยก็ดี ในคำสนองรับของโจทก์ก็ดี มีข้อความแสดงว่าโจทก์จำเลยยังจะต้องทำสัญญาซื้อขายกันตามธรรมเนียมอีกดังนี้ ตราบใดที่ยังมิได้ทำสัญญาซื้อขายกันจะเรียกว่าได้มีสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยอันสมบูรณ์แล้วหาได้ไม่ "กรณีเป็นที่สงสัย" ตามความในมาตรา 366 หรือไม่นั้นเป็นข้อเท็จจริงเมื่อจำเลยทำคำให้การต่อสู้คดีบรรยายข้อความเข้าในบทกฏหมายมาตราใดแล้ว แม้มิได้อ้างบทมาตรานั้นมาด้วยก็ดี ศาลก็มีอำนาจหยิบยกเอามาตรานั้นขึ้นมาเป็นบทวินิจฉัยได้ไม่เป็นการผิดวิธีพิจารณา (ดูฏีกาที่ 931/2480)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 649/2478

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานสัญญาจากกู้เป็นมัดจำไม่อาจทำได้ หากยอมรับสัญญากู้แล้ว และเป็นการสืบแก้ไขสัญญา
เคยถูกฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้แลได้ทำยอมใช้เงินแล้วภายหลังเมื่อมาฟ้องเรื่องสัญญาซื้อขายที่ดินจะอ้างว่าสัญญากู้นั้นเป็นหนังสือทำแทนการรับเงินมัดจำไม่ได้สัญญามีข้อความชัดว่าเป็นเรื่องกู้เงินกัน คู่ความจะขอสืบว่าเป็นสัญญารับเงินมัดจำนั้น สืบไม่ได้ เพราะเป็นการสืบแก้ไขสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10316/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มัดจำสัญญาซื้อขาย: การริบมัดจำเมื่อผู้ซื้อผิดสัญญา และหลักการไม่ถือว่าเป็นเบี้ยปรับ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 บัญญัติว่า "เมื่อเข้าทำสัญญา ถ้าได้ให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำ ท่านให้ถือว่าการที่ให้มัดจำนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญานั้นได้ทำกันขึ้นแล้ว อนึ่ง มัดจำนี้ย่อมเป็นประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นด้วย" เช่นนี้ ย่อมแสดงว่า มัดจำคือทรัพย์สินซึ่งได้ให้ไว้ในวันทำสัญญา เพื่อเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญาจะซื้อขายได้ทำขึ้นแล้ว และเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาโดยคู่สัญญามีเจตนาจัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนเมื่อชำระหนี้ ซึ่งตามสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำ ข้อ 4 ระบุว่า ถ้าผู้จะซื้อปฏิบัติผิดสัญญาไม่ไปรับโอน ให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิก ผู้จะขายไม่จำต้องบอกกล่าว และผู้จะซื้อยินยอมให้ผู้จะขายริบมัดจำที่ชำระแล้วได้ทั้งหมด เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายปฏิบัติผิดสัญญา จำเลยย่อมริบมัดจำทั้งหมดได้ตามข้อสัญญาดังกล่าว โดยจำเลยไม่จำต้องนำสืบถึงความเสียหายที่ได้รับนั้น เพราะมัดจำมิใช่เบี้ยปรับ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้ให้อำนาจศาลที่จะลดมัดจำดังเช่นเบี้ยปรับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 918/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นนอกฟ้อง, มัดจำ, การเลิกสัญญาซื้อขาย, การชำระหนี้บางส่วน, การคืนเงิน
ประเด็นแห่งคดีย่อมเกิดจากคำฟ้องและคำให้การ มิใช่เป็นข้อโต้แย้งที่เพิ่งเกิดขึ้นจากที่คู่ความนำสืบโต้แย้งในระหว่างการพิจารณา คดีนี้ตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลย ประเด็นแห่งคดีจึงมีเพียงว่าการที่ไม้สักต้องห้ามขนย้ายออกนอกเขตพื้นที่จังหวัดลำพูน ถือว่าจำเลยไม่สามารถส่งมอบบ้านไม้สักให้แก่โจทก์อันจะถือว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา ตามหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านไม้สัก และหนังสือที่โจทก์แจ้งให้จำเลยคืนเงินจำนวน 100,000 บาท ที่รับไว้ที่เป็นเอกสารแนบท้ายคำฟ้อง ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องนั้นก็ไม่มีข้อความส่วนใดที่ระบุว่าจำเลยมีหน้าที่ต้องขออนุญาตรื้อถอนบ้านหรือขออนุญาตย้ายไม้สัก ดังนั้นที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าเมื่อจำเลยยังไม่ได้ยื่นคำขออนุญาตรื้อถอนบ้านต่อเจ้าพนักงานจึงถือว่าจำเลยยังไม่ได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิที่ยังไม่ขอปฏิบัติการชำระหนี้แก่จำเลยเช่นกันและถือว่าโจทก์มิได้ผิดสัญญานั้น จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
คำว่า "มัดจำ" ป.พ.พ. มาตรา 377 บัญญัติว่า "เมื่อเข้าทำสัญญา ถ้าได้ให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำ ท่านให้ถือว่าการที่ให้มัดจำนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญานั้นได้ทำกันขึ้นแล้ว..." ดังนั้นเงินที่โจทก์ให้ไว้แก่จำเลยในวันทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านไม้สัก จึงถือว่าเป็นมัดจำตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายวางมัดจำเป็นฝ่ายผิดสัญญาละเลยไม่ชำระหนี้แก่จำเลย จำเลยจึงมีสิทธิริบเงินจำนวน 50,000 บาท ดังกล่าวได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 (2) ส่วนเงินอีกจำนวน 50,000 บาท ที่โจทก์นำมามอบไว้ให้แก่จำเลยภายหลังจากวันทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านไม้สัก แม้จะมีข้อความของตอนท้ายหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า " สัญญาเพิ่มเติม ผู้ซื้อจะโอนเงินค่ามัดจำเพิ่มเติมให้แก่ผู้ขาย 50,000 บาท รวมเป็นค่ามัดจำ 100,000 บาท" ก็ตาม แต่เงินจำนวนดังกล่าวนี้ โจทก์ได้ให้ไว้แก่จำเลยภายหลังจากวันทำสัญญา จึงไม่ถือว่าเป็นมัดจำ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 377 แต่เป็นเพียงเงินที่ชำระราคาซื้อขายบ้านไม้สักบางส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12146/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำที่ฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อย/ศีลธรรมอันดี ทำให้การเรียกร้องคืนเงินมัดจำเป็นโมฆะ
ศ. กรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์เคยเป็นภริยาของ น. และได้เสนอขอเช่าที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์จากจำเลยที่ 1 โดยรู้เห็นกับ น. ไวยาวัจกรของจำเลยที่ 1 เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าเป็นการร่วมหาประโยชน์จากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริต ย่อมทำให้เห็นได้ว่า ศ. สมรู้ร่วมคิดกับ น. ซึ่งเป็นไวยาวัจกรของจำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ตามกฎมหาเถรสมาคม (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2536 ในการดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ ได้กระทำการฝ่าฝืนอำนาจหน้าที่ของตน มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับโจทก์คู่สัญญาโดย ศ. ผู้แทนโจทก์ซึ่งเคยเป็นภริยาของตนเอง ถือเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 411 ที่โจทก์ผู้กระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการฝ่าฝืนศีลธรรมอันดี หาอาจเรียกร้องคืนทรัพย์ได้ไม่ โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องคืนเงินตามเช็คจำนวน 1,000,000 บาท ที่สั่งจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อจะได้ทำสัญญาเช่าที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ตามฟ้องจากจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8942/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มัดจำสัญญาซื้อขาย: ศาลลดริบได้หากสูงเกินส่วนตาม พ.ร.บ.ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
เงินที่โจทก์ชำระให้จำเลยที่ 1 ในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายนั้น เป็นการให้เพื่อเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญาจะซื้อจะขายได้ทำขึ้นแล้ว และเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา โดยคู่สัญญามีเจตนาจัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนเมื่อชำระหนี้ หรือหากโจทก์ละเลยไม่ชำระหนี้ก็ให้ริบเงินนั้นได้ตามสัญญา เงินจำนวนนี้จึงเป็นมัดจำมิใช่เบี้ยปรับ เพราะเบี้ยปรับเป็นกรณีที่ลูกหนี้สัญญาจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อตนไม่ชำระหนี้อันเป็นการกำหนดค่าเสียหายเอาไว้ล่วงหน้าเท่านั้น คู่สัญญามิได้มีเจตนาให้เอาเบี้ยปรับเป็นการใช้เงินบางส่วนเมื่อชำระหนี้ แม้ตาม ป.พ.พ. มิได้ให้อำนาจศาลที่จะลดมัดจำดังเช่นเบี้ยปรับ แต่ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 7 บัญญัติว่า ในสัญญาที่มีการให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำ หากมีกรณีที่จะต้องริบมัดจำ ถ้ามัดจำนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงให้ริบได้เพียงเท่าความเสียหายที่แท้จริงก็ได้ โดยบทกฎหมายดังกล่าวเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งให้ศาลพิจารณาตามที่เห็นสมควรหากมัดจำสูงเกินส่วน ศาลจึงมีอำนาจลดมัดจำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8163/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายโดยวางมัดจำ: ศาลรับฟังพยานบุคคลประกอบเอกสารได้ หากกฎหมายไม่ได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารเท่านั้น
โจทก์และจำเลยมีเจตนาก่อนิติสัมพันธ์กันเป็นสัญญาจะซื้อขายโดยการวางมัดจำตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง ซึ่งมิได้กำหนดแบบไว้ว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ สัญญาจะซื้อจะขายเกิดขึ้นนับแต่เวลาที่โจทก์วางมัดจำ มิใช่เพิ่งเกิดในภายหลังเมื่อมีการทำสัญญาจะซื้อจะขายเป็นหนังสือ เมื่อ ป.วิ.พ. มาตรา 94 จำกัดเฉพาะกรณีที่กฎหมายกำหนดว่า ข้อเท็จจริงในเรื่องที่ฟ้องร้องกันนั้นจะต้องแสดงให้ปรากฏด้วยการนำสืบพยานเอกสาร จึงต้องห้ามนำพยานบุคคลเข้าสืบเพื่อเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารที่ได้นำมาแสดงแล้ว จึงไม่ตกอยู่ในบังคับข้อห้ามดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังพยานบุคคลว่าจำเลยตกลงจะหาสถาบันการเงินให้โจทก์กู้ยืมชำระหนี้คืนจำเลยโดยมีระยะเวลาผ่อนนาน 15 ปี ได้
of 9