พบผลลัพธ์ทั้งหมด 81 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่า: เช่าเพื่อค้า vs. อยู่อาศัย
สัญญาเช่ามีข้อความว่าเช่าเพื่อการค้า ผู้เช่าก็มีสิทธิจะต่อสู้และนำสืบได้ว่าตนเช่าเพื่ออยู่อาศัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าที่ดินยังไม่ได้รับการส่งมอบ - สิทธิฟ้องกล่าวอ้างกับผู้อื่น
ทำสัญญาเช่าที่ดินเขามา แต่เขายังมิได้จัดการมอบที่ดินให้ครอบครองตามสัญญาเช่านั้น เมื่อมีผู้เข้าไปเกี่ยวข้องในที่ดินนั้น ผู้เช่ายังหามีสิทธิที่ฟ้องว่ากล่าวผู้นั้นไม่ กรณีเป็นเรื่องระหว่างเจ้าของที่ดินผู้ให้เช่าจะจัดการกับผู้นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้รับโอนกรรมสิทธิในการขอเข้าอยู่ในเคหะที่เช่า และการเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้เช่าค้างชำระ
ผู้ให้เช่าเดิมตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯ มาตรา 16(6)นั้น หมายความถึงผู้รับโอนกรรมสิทธิมาจากผู้เช่าเดิมด้วย
(อ้างฎีกาที่ 845/2490)
ผู้รับโอนกรรมสิทธิห้องแถวที่ให้เช่าย่อมมีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการฯ เพื่อขอเข้าอยู่ในในเคหะที่ให้เช่าได้
ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะผู้เช่าไม่ยอมออกจากเคหะที่เช่านั้น ผู้ให้เช่ามีสิทธิให้ชดใช้ได้ตั้งแต่วันครบกำหนดที่มติกรรมการให้ออกจนกว่าผู้เช่าจะออกไปโดยพิเคราะห์ถึงทำเล การค้าและผลกำไรของร้านใกล้เคียง แต่ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิเลิกสัญญา และเรียกค่าเสียหายก่อนได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการฯ นอกจากค่าเช่าที่ค้างเท่านั้น แต่ถ้าผู้ให้เช่าไม่ฟ้องเรียกค่าเช่า ศาลจะบังคับให้ใช้ค่าเสียหายแทนค่าเช่าไม่ได้
(อ้างฎีกาที่ 845/2490)
ผู้รับโอนกรรมสิทธิห้องแถวที่ให้เช่าย่อมมีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการฯ เพื่อขอเข้าอยู่ในในเคหะที่ให้เช่าได้
ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะผู้เช่าไม่ยอมออกจากเคหะที่เช่านั้น ผู้ให้เช่ามีสิทธิให้ชดใช้ได้ตั้งแต่วันครบกำหนดที่มติกรรมการให้ออกจนกว่าผู้เช่าจะออกไปโดยพิเคราะห์ถึงทำเล การค้าและผลกำไรของร้านใกล้เคียง แต่ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิเลิกสัญญา และเรียกค่าเสียหายก่อนได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการฯ นอกจากค่าเช่าที่ค้างเท่านั้น แต่ถ้าผู้ให้เช่าไม่ฟ้องเรียกค่าเช่า ศาลจะบังคับให้ใช้ค่าเสียหายแทนค่าเช่าไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 920/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าตึกเพื่อค้ากับข้ออ้างเช่าเพื่ออยู่อาศัย: สิทธิภายใต้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
อุทธรณ์ของจำเลยมีปัญหาข้อกฎหมายที่จะต้องวินิจฉัยว่าในกรณีที่ผู้เช่าทำสัญญาเช่าตึกเพื่อทำการค้า ผู้เช่าจะนำสืบว่าได้เช่าเป็นที่อยู่อาศัยเพื่อรับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯลฯ(ฉบับที่ 2)2490 ได้หรือไม่นั้น นับว่าคดีของจำเลยมีเหตุผลที่สมควรจะให้ทุเลาการบังคับคดีไว้ในระหว่างอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าช่วงเมื่อถูกบังคับคดี: การทุเลาการบังคับคดีสำหรับผู้เช่าช่วงที่พิสูจน์ได้
ศาลอุทธรณ์สั่งไม่ทุเลาการบังคับคดี คู่ความย่อมฎีกาคัดค้านคำสั่งนัน้ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาขับไล่จำเลยและบริวารออกจากสถานที่เช่า ผู้ร้องก็ถูกบังคับให้ออกด้วย ในฐานะเป็นบริวารจำเลย ผู้ร้องยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีไว้ระหว่างอุทธรณ์ โดยอ้างว่าผู้ร้องเป็นผู้เช่าช่วง มิใช่บริวารจำเลยมีเอกสารประกอบข้ออ้างและปรากฎว่า ในสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลย มีข้อความอนุญาตให้ผู้เช่า ให้เช่าช่วงได้ดังนี้ นับว่าคดีมีเหตุที่สมควรทุเลาการบังคับคดีไว้ในระหว่างอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาขับไล่จำเลยและบริวารออกจากสถานที่เช่า ผู้ร้องก็ถูกบังคับให้ออกด้วย ในฐานะเป็นบริวารจำเลย ผู้ร้องยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีไว้ระหว่างอุทธรณ์ โดยอ้างว่าผู้ร้องเป็นผู้เช่าช่วง มิใช่บริวารจำเลยมีเอกสารประกอบข้ออ้างและปรากฎว่า ในสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลย มีข้อความอนุญาตให้ผู้เช่า ให้เช่าช่วงได้ดังนี้ นับว่าคดีมีเหตุที่สมควรทุเลาการบังคับคดีไว้ในระหว่างอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าช่วงเมื่อถูกบังคับคดี – เหตุสมควรทุเลาการบังคับคดี
ศาลอุทธรณ์สั่งไม่ทุเลาการบังคับคดี คู่ความย่อมฎีกาคัดค้านคำสั่งนั้นได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาขับไล่จำเลยและบริวารออกจากสถานที่เช่า ผู้ร้องก็ถูกบังคับให้ออกด้วย ในฐานะเป็นบริวารจำเลย ผู้ร้องยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีไว้ระหว่างอุทธรณ์ โดยอ้างว่าผู้ร้องเป็นผู้เช่าช่วง มิใช่บริวารจำเลยมีเอกสารประกอบข้ออ้างและปรากฏว่า ในสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลย มีข้อความอนุญาตให้ผู้เช่าให้เช่าช่วงได้ ดังนี้ นับว่าคดีมีเหตุที่สมควรทุเลาการบังคับคดีไว้ในระหว่างอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาขับไล่จำเลยและบริวารออกจากสถานที่เช่า ผู้ร้องก็ถูกบังคับให้ออกด้วย ในฐานะเป็นบริวารจำเลย ผู้ร้องยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีไว้ระหว่างอุทธรณ์ โดยอ้างว่าผู้ร้องเป็นผู้เช่าช่วง มิใช่บริวารจำเลยมีเอกสารประกอบข้ออ้างและปรากฏว่า ในสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลย มีข้อความอนุญาตให้ผู้เช่าให้เช่าช่วงได้ ดังนี้ นับว่าคดีมีเหตุที่สมควรทุเลาการบังคับคดีไว้ในระหว่างอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 217/2475
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าที่ดินและการครอบครองปรปักษ์: สิทธิของผู้เช่าและการสับเปลี่ยนการครอบครอง
ที่ดิน เช่า ปกครองปรปักษ์ต่างแลกที่นาที่เช่าเขา ทำจะเถียงว่าปกครองปรปักษ์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4778/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า: ผู้เช่าไม่มีสิทธิบอกเลิกก่อนครบกำหนด หากไม่มีข้อตกลงหรือฝ่ายจำเลยผิดสัญญา
ป.พ.พ. มาตรา 386 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การเลิกสัญญาเช่นนั้น ย่อมทำด้วยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง" จากบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวกำหนดสิทธิในการเลิกสัญญาไว้ 2 ประการ คือ โดยข้อสัญญาหรือโดยกฎหมายให้อำนาจไว้ เมื่อสัญญาเช่าบ้านไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนสัญญาเช่าถึงกำหนดโดยข้อสัญญาได้ โจทก์จึงต้องอาศัยสิทธิการบอกเลิกสัญญาโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งข้อเท็จจริงยุติแล้วว่า จำเลยมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา แม้โจทก์จะขนย้ายทรัพย์สินและออกไปจากบ้านเช่าพร้อมกับทำหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบ ก็มิใช่เป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าบ้านโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะโจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าบ้านกับจำเลยได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยยอมตกลงเลิกสัญญาเช่าบ้านกับโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าบ้านแต่เพียงฝ่ายเดียว สัญญาเช่าบ้านระหว่างโจทก์กับจำเลยยังคงมีผลผูกพันคู่สัญญา จำเลยจึงไม่จำต้องคืนเงินดังกล่าวอันเป็นค่าเช่าล่วงหน้าส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6275/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าช่วงที่ดินต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ หากไม่มีหลักฐาน ผู้เช่าช่วงไม่มีสิทธิอ้างการเช่า และถือเป็นการอยู่โดยละเมิด
การเช่าช่วงที่ดินพิพาทถือเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่งจึงต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 538 ซึ่งจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ เมื่อจำเลยเข้าไปอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าเช่าช่วงจากโจทก์ แต่ไม่ได้ทำหนังสือสัญญาเช่าช่วงกับโจทก์แต่อย่างใด และไม่ปรากฏว่ามีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อของจำเลยผู้เช่า จำเลยจึงไม่อาจยกการเช่าช่วงขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ การที่จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทจึงต้องถือว่าจำเลยอยู่โดยอาศัยสิทธิของโจทก์ จำเลยจะอ้างว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินแก่โจทก์แล้ว เพื่อต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยหาได้ไม่ เมื่อโจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทอีกต่อไปและได้บอกกล่าวให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทต่อมาย่อมเป็นการอยู่โดยละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4207/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาเช่า สิทธิของผู้ให้เช่าและผู้เช่า การกระทำละเมิดจากการปิดกั้นการเข้าใช้สถานที่
เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดและผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้เช่าจำต้องออกไปจากที่เช่า เมื่อสัญญาเช่าเลิกต่อกันแล้วผู้เช่าไม่ยอมออกไปจากที่เช่า ผู้ให้เช่าชอบที่จะใช้สิทธิฟ้องร้องทางศาลเนื่องจากผู้เช่ากระทำการอันเป็นการโต้แย้งสิทธิผู้ให้เช่าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 สิทธิของผู้ให้เช่าที่จะขับไล่ให้ผู้เช่าออกจากที่เช่าต้องกระทำโดยทางศาลให้ศาลเป็นผู้บังคับ ผู้ให้เช่าหามีสิทธิที่จะทำการบุกรุกเข้าไปปิดประตูใส่กุญแจห้ามมิให้กรรมการผู้จัดการของผู้เช่าเข้าไปภายในอาคารไม่ ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองเข้าไปในอาคารของโจทก์แล้วทำการปิดประตูใส่กุญแจห้ามมิให้กรรมการผู้จัดการของโจทก์เข้าไปภายในอาคารจึงเป็นการทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420