คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,515 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8332/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาในศาลแขวง: การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งตัวผู้ต้องหาและการผัดฟ้องตามกฎหมาย
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 296 อยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา เมื่อท้องที่ศาลจังหวัดหลังสวนยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการและมีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 บังคับสำหรับคดีที่เกิดขึ้นในบางท้องที่ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2532 ลงวันที่ 17 เมษายน 2532 ระบุไว้ในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บังคับแก่คดีที่เกิดขึ้นในท้องที่อำเภอทุกอำเภอของจังหวัดชุมพร คดีนี้จึงอยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 7
พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ให้จำเลยทราบวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2543 ย่อมถือว่าจำเลยถูกจับตั้งแต่วันดังกล่าว พนักงานสอบสวนต้องส่งตัวจำเลยพร้อมสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้ฟ้องภายในกำหนด 48 ชั่วโมง โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2543 โดยไม่ได้ขอผัดฟ้องและพ้นกำหนดเวลาตามบทบัญญัติดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตให้ฟ้องจากอัยการสูงสุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 9 จึงไม่ชอบ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8332/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาที่ศาลแขวง: การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งตัวผู้ต้องหาและระยะเวลาการฟ้องทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2543 พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่าทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ จำเลยให้การปฏิเสธ ความผิดฐานดังกล่าวมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม ป.อ. มาตรา 296 ซึ่งเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา เมื่อท้องที่ศาลจังหวัดหลังสวนยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการ ซึ่งตาม พ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 2 และมาตรา 3 บัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดในท้องที่ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการ สำหรับคดีอาญาที่อัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนการที่จะให้ใช้บังคับสำหรับคดีที่เกิดขึ้นในท้องที่ใดเมื่อใดให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ซึ่งมีการตราพระราชกฤษฎีกาแล้วและมีผลตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2532 คดีนี้จึงอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาฐานทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ให้จำเลยทราบวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2543 กรณีย่อมถือว่าจำเลยถูกจับในข้อหาคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงตั้งแต่วันดังกล่าว พนักงานสอบสวนต้องส่งตัวจำเลยพร้อมสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้ฟ้องภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมง ถ้าไม่สามารถฟ้องได้ทันภายในกำหนด พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการต้องขอผัดฟ้อง คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2543 โดยไม่ได้ขอผัดฟ้องและพ้นกำหนดเวลาตามบทบัญญัติดังกล่าว โดยไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตให้ฟ้องจากอัยการสูงสุดตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 9 จึงไม่ชอบ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8316/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาพยายามฆ่า แม้ไม่ได้แจ้งในตอนแรก แต่หากสอบสวนแล้วพบความผิดฐานนี้ พนักงานอัยการก็มีอำนาจฟ้องได้
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ เมื่อพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสแก่จำเลย แม้ไม่ได้แจ้งข้อหาพยายามฆ่า แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในข้อหาพยายามฆ่าแล้ว พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7542/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมพิพาทถึงที่สุดแล้ว การฟ้องคดีประเด็นเดียวกันอีก ย่อมเป็นฟ้องซ้ำ
คดีเดิม ช. ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยให้ขับไล่โจทก์และบริวารออกจากที่ดินเนื้อที่ 1 ไร่เศษ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดิน น.ส. 3 ก. เลขที่ 2482 อันเป็นที่พิพาทคดีนี้ โดยโจทก์ให้การและนำสืบต่อสู้คดีว่า โจทก์และ พ. ร่วมกันซื้อที่ดินตามฟ้อง ซึ่งคดีดังกล่าวถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยว่าที่ดิน 1 ไร่เศษ เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินพิพาทและเป็นของ ช. ห้ามโจทก์และบริวารเข้าเกี่ยวข้อง คำพิพากษาคดีเดิมจึงผูกพันคู่ความคือ ช. และโจทก์คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่า เจ้าหน้าที่ได้ออก น.ส. 3 ก. เลขที่ 2482 ซึ่งมีชื่อจำเลยทั้งสองในทะเบียนที่ดินทับที่ดินของโจทก์และ พ. โดยจำเลยทั้งสองดำเนินการขอออกโฉนดที่ดินต่อจาก ช. ทำให้โจทก์และกองมรดกของ พ. ได้รับความเสียหาย ขอให้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และมรดกของ พ. กับขอให้เพิกถอน น.ส. 3 ก. เลขที่ 2482 แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. ซึ่งถือได้ว่าเป็นบริวารของโจทก์ในคดีเดิม โจทก์ก็คือคู่ความฝ่ายจำเลยในคดีเดิมนั่นเอง ส่วนจำเลยทั้งสองซึ่งร่วมกันซื้อที่ดิน น.ส. 3 ก. เลขที่ 2482 จาก ช. และ ย. จำเลยทั้งสองก็คือผู้รับโอนสิทธิจากคู่ความในคดีเดิมคือ ช. ซึ่งเป็นฝ่ายโจทก์ในคดีเดิม ดังนี้ เมื่อคดีมีประเด็นข้อพิพาทต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ที่ดิน น.ส. 3 ก. เลขที่ 2482 ตามฟ้องเป็นของจำเลยทั้งสองในฐานะผู้รับโอนสิทธิจาก ช. อันจะพึงส่งผลให้จำเลยทั้งสองมีสิทธิขอให้ทางราชการออกโฉนดที่ดินให้ได้หรือไม่ จึงเป็นคดีที่มีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้ย่อมเป็นฟ้องซ้ำกับคดีเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7062/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงจากจำเลย
โจทก์ตกลงให้ อ. ทำสัญญากู้ยืมเงินจากสหกรณ์เป็นเงิน 500,000 บาท โดยโจทก์จดทะเบียนจำนองที่ดินของโจทก์เป็นประกันหนี้ เหตุที่ต้องให้ อ. เป็นผู้กู้ยืม เพราะโจทก์ไม่ได้เป็นสมาชิกของสหกรณ์ดังกล่าว ต่อมา อ. ไปรับเงินที่กู้ยืมซึ่งเมื่อคิดหักชำระหนี้สินและค่าหุ้นแล้ว คงได้รับเป็นเงิน 431,928 บาท จึงต้องถือว่า อ. เป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่ต้องรับผิดต่อสหกรณ์ และเป็นเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในเงินที่กู้ยืมจากสหกรณ์ ตราบเท่าที่ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ต่อให้แก่ผู้ใด ทั้งโจทก์ไม่ได้มอบให้จำเลยเป็นตัวแทนไปรับเงินจาก อ. ดังนั้นการที่ อ. มอบเงินให้แก่จำเลยเพื่อฝากต่อให้แก่โจทก์ย่อมเป็นเรื่องความรับผิดระหว่าง อ. กับจำเลย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะนำคดีมาฟ้องจำเลยในความผิดฐานยักยอกเงินดังกล่าวที่เป็นของ อ. ไปได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7062/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงจากจำเลย
โจทก์ต้องการกู้ยืมเงินจากสหกรณ์ แต่โจทก์มิได้เป็นสมาชิกจึงขอให้ อ. ทำสัญญากู้ยืมเงินจากสหกรณ์แทนโดยโจทก์นำที่ดินมาจำนองเป็นประกัน สหกรณ์อนุมัติให้ อ. กู้ยืมเงินและสหกรณ์หักค่าหุ้นและเงินกู้ระยะสั้นที่ อ. ค้างชำระออก ก่อนส่งมอบเงินที่เหลือให้แก่ อ. พฤติการณ์ถือว่า อ. เป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่ต้องรับผิดต่อสหกรณ์ และเป็นเจ้าของเงินที่กู้ยืมจากสหกรณ์ เมื่อโจทก์มิได้มอบให้จำเลยเป็นตัวแทนไปรับเงินจาก อ. ดังนั้น หาก อ. มอบเงินที่กู้ยืมมาจากสหกรณ์ให้แก่จำเลยเพื่อนำไปส่งมอบให้แก่โจทก์ ก็เป็นเรื่องความรับผิดระหว่าง อ. กับจำเลย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะนำคดีมาฟ้องจำเลยในความผิดฐานยักยอกได้ดังกล่าว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6658/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่สมบูรณ์-ขาดเจตนา: เช็คที่ลงลายมือชื่อไว้ก่อนกรอกรายละเอียด ไม่เป็นหลักฐานการกู้เงิน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยกู้ยืมเงิน ม. แล้วมอบเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้ไว้เป็นประกันเงินกู้โดยลงแต่เพียงลายมือชื่อสั่งจ่าย ไม่ได้กรอกข้อความและจำนวนเงินไว้ ม. กรอกข้อความและจำนวนเงินในภายหลัง แล้วโจทก์นำมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ เช็คพิพาททั้งสองฉบับจึงมีรายการขาดตกบกพร่องในขณะออกเช็ค โดยไม่มีคำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้ใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 988 (2) ไม่สมบูรณ์เป็นเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 987 และมาตรา 910 ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง ทั้งเช็คพิพาททั้งสองฉบับก็มิใช่หลักฐานการกู้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6658/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่สมบูรณ์-หลักฐานกู้เงิน: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
เช็คพิพาททั้งสองฉบับจำเลยเพียงแต่ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย โดยไม่ได้กรอกข้อความและจำนวนเงินไว้ เช็คพิพาททั้งสองฉบับดังกล่าวจึงมีรายการขาดตกบกพร่องในขณะออกเช็ค โดยไม่มีคำสั่งปราศจากเงื่อนไขให้ใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 988 (2) จึงไม่สมบูรณ์เป็นเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 987 และมาตรา 910 ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง ทั้งเช็คพิพาททั้งสองฉบับก็มิใช่หลักฐานการกู้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6523/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีความผิดฐานยื่นขอสิทธิบัตรโดยแสดงข้อความเท็จ: เฉพาะพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้นที่เป็นผู้เสียหาย
ความผิดฐานยื่นขอรับอนุสิทธิบัตรโดยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 87 เป็นการกระทำความผิดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนั้น เฉพาะพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้นที่จะเป็นผู้เสียหาย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ถึงแม้โจทก์จะได้รับความเสียหายเนื่องจากเป็นการกระทำที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อโจทก์ แต่พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 ได้กำหนดกระบวนการที่จะแก้ไขความเสียหายไว้แล้วว่าในกรณีที่อนุสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์ บุคคลที่กล่าวอ้างความไม่สมบูรณ์ของอนุสิทธิบัตร หรือบุคคลที่มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการอาจฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรนั้นได้ ตามมาตรา 65 นว ซึ่งถือเป็นกระบวนการในการพิสูจน์สิทธิของอนุสิทธิบัตรซึ่งโจทก์ก็ได้ดำเนินการฟ้องจำเลยต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6432/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่มีอำนาจฟ้องคดีเนื่องจากเป็นการกระทำภายในหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่กระทบสิทธิโจทก์โดยตรง
โจทก์ทั้งสองขอรับเงินบำเหน็จตกทอดของนาย ป. กับนาง อ. ข้าราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุขซึ่งถูกคนร้ายยิงถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 จึงทำหนังสือเสนอให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังพิจารณา แต่กรมบัญชีกลางแจ้งให้จำเลยที่ 1 สอบสวนข้อเท็จจริงก่อนว่าการตายของนาย ป. กับ นาง อ. มีสาเหตุเนื่องมาจากความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของผู้ตายทั้งสองหรือไม่ เพื่อประกอบการพิจารณาสั่งจ่ายเงินบำเหน็จตกทอด จำเลยที่ 1 จึงมีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นคณะกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริงดังกล่าว คณะกรรมการดังกล่าวสอบสวนแล้วมีความเห็นหรือมติว่าสาเหตุการตายของนาย ป. เนื่องมาจากความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของนาย ป. ส่วนสาเหตุการตายของนาง อ. ไม่ได้เนื่องมาจากความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของนาง อ. กรมบัญชีกลางจึงไม่จ่ายเงินบำเหน็จตกทอดของนาย ป. ให้แก่โจทก์ทั้งสอง คงจ่ายให้เฉพาะส่วนของนาง อ. การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าวหาได้กระทำการใดอันจะถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ทั้งสอง ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นการกระทำในอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย แต่ความเห็นดังกล่าวหามีผลเป็นการวินิจฉัยชี้ขาด หรือฟังเป็นยุติที่กรมบัญชีกลางจะต้องปฏิบัติตามแต่อย่างใดไม่ กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 ได้กระทำการอันเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองเช่นเดียวกัน โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งเจ็ด
of 452