คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เฉลี่ยทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเฉลี่ยทรัพย์ที่อายัดหลังชำระหนี้เกินกำหนดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น ศาลได้ออกหมายอายัดเงินของจำเลยไปยังธนาคาร ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยและได้มีคำสั่งกำหนดให้ธนาคารส่งเงินที่โจทก์ขออายัดมาภายใน 7 วัน ธนาคารได้ส่งเงินที่ศาลอายัดมาให้เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2525 ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่นได้ยื่นคำร้อง ในวันที่ 8 พฤศจิกายน2525 ขอเฉลี่ยเงินที่ธนาคารส่ง มา ดังนี้เป็นกรณีที่ผู้ร้องเพิ่งมายื่นคำร้องภายหลัง ที่ธนาคารส่งเงินมา ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะขอ เฉลี่ยทรัพย์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 290 วรรคสี่
แม้ศาลจะได้สั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเฉลี่ยเงินรายนี้ไปก่อน แล้วเมื่อศาลเห็นว่าเป็นการผิดระเบียบ ก็อาจสั่งให้ เพิกถอนเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 และแม้โจทก์จะไม่คัดค้านมาก่อน หรือมาคัดค้านใน ตอนหลัง ก็หาลบล้างอำนาจของศาลในเรื่องนี้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเฉลี่ยทรัพย์ที่อายัด: ต้องยื่นคำขอภายใน 3 เดือนนับจากวันอายัด หากเกินกำหนดไม่มีสิทธิ
ระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น ศาลได้ออกหมายอายัดเงินของจำเลยไปยังธนาคาร ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยและได้มีคำสั่งกำหนดให้ธนาคารส่งเงินที่โจทก์ขออายัดมาภายใน 7 วัน ธนาคารได้ส่ง เงินที่ศาลอายัดมาให้เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2525 ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่นได้ยื่นคำร้อง ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2525 ขอเฉลี่ยเงินที่ธนาคารส่ง มา ดังนี้เป็นกรณีที่ผู้ร้องเพิ่งมายื่นคำร้องภายหลัง ที่ธนาคารส่งเงินมา ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะขอ เฉลี่ยทรัพย์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคสี่ แม้ศาลจะได้สั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเฉลี่ยเงินรายนี้ไปก่อน แล้ว เมื่อศาลเห็นว่าเป็นการผิดระเบียบ ก็อาจสั่งให้ เพิกถอนเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 และแม้โจทก์จะไม่คัดค้านมาก่อน หรือมาคัดค้านใน ตอนหลัง ก็หาลบล้างอำนาจของศาลในเรื่องนี้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1619/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาขอเฉลี่ยทรัพย์ ต้องพิสูจน์ความยากลำบากในการบังคับคดีจากทรัพย์สินอื่นก่อน
ผู้ร้องขอเข้าเฉลี่ยทรัพย์ โจทก์คัดค้านว่าหนี้ที่ผู้ร้องขอเฉลี่ย เป็นหนี้สมยอมและผู้ร้องสามารถยึดทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้มาชำระหนี้ได้ ต่อมาคู่ความยอมรับกันว่าผู้ร้อง เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยจำเลยมีที่ดินอีก 1 แปลงติดจำนองธนาคารอยู่แล้วคู่ความไม่สืบพยานดังนี้ เมื่อจำเลยมีที่ดินอีก 1 แปลง ยังไม่ถูกยึด ผู้ร้องย่อมดำเนินการยึดเอามาชำระหนี้ได้ แม้หากจำเลยนำที่ดินไปจำนองไว้แล้วผู้ร้องก็ยังบังคับเอาชำระหนี้ได้ ส่วนหนี้จำนองจะมีจำนวนเท่าใดเมื่อบังคับคดีแล้วจะมีเงินเหลือ เพียงพอชำระหนี้ผู้ร้องได้โดยสิ้นเชิงหรือไม่ ผู้ร้องมีหน้าที่นำสืบให้ศาลรับฟัง เมื่อผู้ร้องไม่สืบพยาน จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องไม่สามารถเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นๆ ของลูกหนี้ได้ศาลจึงต้องยกคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1619/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยทรัพย์: เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องพิสูจน์ความยากลำบากในการบังคับคดีจากทรัพย์สินอื่นก่อน
ผู้ร้องขอเข้าเฉลี่ยทรัพย์ โจทก์คัดค้านว่าหนี้ที่ผู้ร้องขอเฉลี่ยเป็นหนี้สมยอมและผู้ร้องสามารถยึดทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้มาชำระหนี้ได้ ต่อมาคู่ความยอมรับกันว่าผู้ร้อง เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลย จำเลยมีที่ดินอีก 1 แปลงติดจำนองธนาคารอยู่แล้วคู่ความไม่สืบพยาน ดังนี้ เมื่อจำเลยมีที่ดินอีก 1 แปลง ยังไม่ถูกยึด ผู้ร้องย่อมดำเนินการยึดเอามาชำระหนี้ได้ แม้หากจำเลยนำที่ดินไปจำนองไว้แล้ว ผู้ร้องก็ยังบังคับเอาชำระหนี้ได้ ส่วนหนี้จำนองจะมีจำนวนเท่าใด เมื่อบังคับคดีแล้วจะมีเงินเหลือ เพียงพอชำระหนี้ผู้ร้องได้โดยสิ้นเชิงหรือไม่ ผู้ร้องมีหน้าที่นำสืบให้ศาลรับฟัง เมื่อผู้ร้องไม่สืบพยาน จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องไม่สามารถเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นๆ ของลูกหนี้ได้ ศาลจึงต้องยกคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3808/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: ลูกหนี้ไม่อาจอ้างข้อตกลงนอกศาลขัดขวางการบังคับคดีหรือการขอเฉลี่ยทรัพย์
เมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคำบังคับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะดำเนินการบังคับคดี โดยวิธียึดหรือ อายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา จะยกเอาข้อตกลงที่อ้างว่าได้กระทำกันนอกศาล ซึ่งเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษายังปฏิเสธว่ามิได้ตกลงลดหนี้ให้เช่นนั้น มาเป็นเหตุมิให้มีการบังคับคดีตามคำพิพากษานั้นหาได้ไม่
ในกรณีการขอเฉลี่ยทรัพย์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดี ลูกหนี้ตามคำพิพากษาจึงไม่อาจยกเอาข้อตกลงที่อ้างว่าได้กระทำกันนอกศาลดังกล่าว มาอ้างเป็นเหตุมิให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษานั้น โดยการร้องขอ เฉลี่ยทรัพย์ได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ภาษีอากรในการเฉลี่ยทรัพย์จากการบังคับคดี แม้หนี้จากการชำระค่าทดแทน
แม้หนี้ตามคำพิพากษาจะเป็นหนี้ค่าทดแทนซึ่งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 62 จะกำหนดว่าเงินทดแทนไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีก็ตาม ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ค่าภาษีอากร ย่อมมีสิทธิที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยทรัพย์จากการบังคับคดี: เจ้าหนี้ภาษีอากรมีสิทธิแม้หนี้เป็นค่าทดแทน
แม้หนี้ตามคำพิพากษาจะเป็นหนี้ค่าทดแทนซึ่งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 62 จะกำหนดว่าเงินทดแทนไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีก็ตาม ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ค่าภาษีอากร ย่อมมีสิทธิที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากร, การประเมินภาษี, สิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้, การเฉลี่ยทรัพย์
ในกรณีที่จำเลยยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบรายการการค้า หรือบางเดือนมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีการค้าของจำเลยได้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าตามมาตรา 88 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร หาใช่ 5 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (1) ไม่
ตามมาตรา 84, 85 ทวิกำหนดให้จำเลยต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีการค้าเป็นรายเดือนภาษีไม่ว่าจะมีรายรับหรือไม่ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ดังนั้นวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าของจำเลยเดือนแรกสุดของภาษีการค้าปี พ.ศ.2511 คือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2511 การที่เจ้าพนักงานประเมิน ประเมินและแจ้ง การประเมินภาษีการค้าประจำปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 จึงอยู่ภายในกำหนด 10 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (2) แล้ว
หากเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีเชื่อว่าจำเลยยื่นรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 ไว้ไม่ครบถ้วน โดยปรากฏว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลปีแรก พ.ศ.2511 ยื่นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2512 ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องหักไว้ตามมาตรา 50 และมีหน้าที่ต้องยื่นรายการแสดงการหักภาษีพร้อมกับชำระภาษี ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ภายใน 7 วันนับแต่วันจ่ายเงินตาม มาตรา 52 และ 59 แต่จำเลยมิได้ยื่นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกหมายเรียกลงวันที่ 23 มีนาคม 2515 เรียกกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยไปไต่สวนและให้นำบัญชีพร้อมด้วยเอกสารไปส่งมอบให้เจ้าพนักงานตรวจสอบ จึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายใน 5 ปี ถูกต้องตามมาตรา19 และ 23 แล้ว ส่วนที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้จำเลยเสียภาษีเพิ่ม เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับแจ้งเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 ก็ชอบด้วยมาตรา 20 แล้วการประเมินตามมาตรา 20 ไม่ จำต้องยื่นภายในกำหนด 5 ปีนับแต่วันยื่นรายการ เมื่อนับจากวันที่จำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินเสียภาษีเพิ่ม ยังไม่เกิน 10 ปีสิทธิเรียกร้องเก็บภาษีของเจ้าพนักงานจึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ภาษีที่ค้างภายในกำหนด 10 ปีแล้วจึงมีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้อง อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 เพราะหากจำเลยไม่นำเงินภาษีไปชำระภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะสั่งยึด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อนำมาชำระค่าภาษีค้างได้ โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องศาล ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงการที่ผู้ร้องใช้สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีอากรโดยยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2522 จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 แม้ผู้ร้องทั้งสองจะมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และไม่เป็นหนี้บุริมสิทธิ ก็ขอเฉลี่ยทรัพย์ที่ยึดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ได้ (อ้างฎีกาที่ 1879/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากรและการเฉลี่ยทรัพย์: การประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมายและการใช้สิทธิเรียกร้องหนี้ภาษีค้างชำระ
ในกรณีที่จำเลยยื่นแบบแสดงรายการการค้า โดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบรายการการค้า หรือบางเดือนมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีการค้าของจำเลยได้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าตามมาตรา 88 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร หาใช่ 5 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (1) ไม่
ตามมาตรา 84,85 ทวิ กำหนดให้จำเลยต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีการค้าเป็นรายเดือนภาษีไม่ว่าจะมีรายรับหรือไม่ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ดังนั้นวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าของจำเลยเดือนแรกสุดของภาษีการค้าปี พ.ศ.2511 คือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2511 การที่เจ้าพนักงานประเมิน ประเมินและแจ้ง การประเมินภาษีการค้าประจำปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 จึงอยู่ภายในกำหนด 10 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (2) แล้ว
หากเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีเชื่อว่าจำเลยยื่นรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 ไว้ไม่ครบถ้วน โดยปรากฏว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลปีแรก พ.ศ.2511 ยื่นเมื่อวันที่12 มิถุนายน 2512 ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณที่จ่ายซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องหักไว้ตามมาตรา 50 และมีหน้าที่ต้องยื่นรายการแสดงการหักภาษีพร้อมกับชำระภาษี ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ภายใน 7 วัน นับแต่วันจ่ายเงินตามมาตรา 52 และ 59 แต่จำเลยมิได้ยื่นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกหมายเรียกลงวันที่ 23 มีนาคม 2515 เรียกกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยไปไต่สวนและให้นำบัญชีพร้อมด้วยเอกสารไปส่งมอบให้เจ้าพนักงานตรวจสอบ จึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายใน 5 ปี ถูกต้องตามมาตรา19 และ 23 แล้ว ส่วนที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้จำเลยเสียภาษีเพิ่ม เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับแจ้งเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 ก็ชอบด้วยมาตรา 20 แล้ว การประเมินตามมาตรา 20 ไม่ จำต้องยื่นภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการ เมื่อนับจากวันที่จำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินเสียภาษีเพิ่ม ยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องเก็บภาษีของเจ้าพนักงานจึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ภาษีที่ค้างภายในกำหนด 10 ปีแล้ว จึงมีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้อง อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 173 เพราะหากจำเลยไม่นำเงินภาษีไปชำระภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะสั่งยึด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อนำมาชำระค่าภาษีค้างได้ โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องศาลตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงการที่ผู้ร้องใช้สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีอากรโดยยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2522 จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 แม้ผู้ร้องทั้งสองจะมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และไม่เป็นหนี้บุริมสิทธิ ก็ขอเฉลี่ยทรัพย์ที่ยึดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ได้ (อ้างฎีกาที่ 1879/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 221/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเฉลี่ยทรัพย์หลังการขายทอดตลาด: กำหนดระยะเวลา 14 วันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2519 ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2520 อันเป็นวันภายหลังจากสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับจากวันขายทอดตลาดแล้ว ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคสาม ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอเฉลี่ย
of 16