พบผลลัพธ์ทั้งหมด 140 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาอุทธรณ์คำวินิจฉัย คชก.จังหวัด: นับแต่วันมีคำวินิจฉัย แม้ผู้อุทธรณ์ยังไม่ทราบ
พระราชบัญญัติ ญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 57ได้กำหนดระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดไว้อย่างช้าที่สุดไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัยกำหนดระยะเวลาอย่างช้าที่สุดดังกล่าวไม่คำนึงว่าผู้อุทธรณ์ได้ทราบถึงคำวินิจฉัยนั้นแล้วหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาอุทธรณ์คำวินิจฉัย คชก.จังหวัด: นับจากวันที่ คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัย ไม่รอการรับทราบ
พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 57 กำหนดระยะเวลาให้คู่กรณีหรือผู้มีส่วนในการเช่านาที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด ยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยได้อย่างช้าที่สุดไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัย กำหนดระยะเวลาดังกล่าวไม่คำนึงถึงว่าผู้อุทธรณ์ได้ทราบถึงคำวินิจฉัยนั้นแล้วหรือไม่ เมื่อ คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัย วันที่ 29 พฤษภาคม 2533 แต่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยในวันที่ 13 สิงหาคม 2533ซึ่งพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัยโจทก์จึงไม่มีอำนาจอุทธรณ์คำวินิจฉัยนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 221/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบเนื่องจากผู้คัดค้านไม่ได้โต้แย้งประเด็นคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์อย่างชัดเจน
คดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าข้ออ้างของผู้คัดค้านไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี พิพากษายกอุทธรณ์ของผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านฎีกาโดยมิได้กล่าวอ้างว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ชอบอย่างไร คงกล่าวมาในฎีกาเพียงว่า ทรัพย์ที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นของผู้ตายนั้น ผู้ตายได้ยกให้ผู้คัดค้านแล้ว ซึ่งเรื่องนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัยโดยให้เหตุผลว่าไม่เป็นประเด็นแห่งคดีที่ผู้ร้องร้องขอมา ผู้คัดค้านก็มิได้ฎีกาว่าปัญหาที่ยกขึ้นมานั้นจะเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีหรือไม่ อย่างไร ถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 โดยชัดแจ้งตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรกบัญญัติไว้ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามสัญญาประกันต่อศาล: คำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดแล้ว ไม่อุทธรณ์ฎีกาได้
กรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลสั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาแล้วฝ่ายผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันหรือพนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์คำสั่งศาลดังกล่าวได้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประการใด คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4245/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในชั้นตรวจคำขอรับชำระหนี้ ไม่ถือเป็นคำวินิจฉัยที่ทำให้เสียหาย
ในชั้นการตรวจคำขอรับชำระหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจสอบสวนเรื่องหนี้สินแล้วทำความเห็นส่งสำนวนต่อศาล การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนการนำพยานมาให้สอบสวนและมีคำสั่งยกคำร้องที่ขออนุญาตนำพยานหลักฐานมาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนใหม่ เป็นการกระทำในขั้นตอนของการสอบสวนตรวจคำขอรับชำระหนี้เท่านั้น และยังไม่เป็นการแน่นอนว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะทำความเห็นควรให้ยกคำขอรับชำระหนี้นั้นหรือไม่ต่อมาหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นควรอนุญาตหรือให้ยกคำขอรับชำระหนี้ด้วยเหตุใดก็ตาม ลำพังความเห็นดังกล่าวก็หามีผลบังคับแต่อย่างใดไม่ ศาลอาจวินิจฉัยยกหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นได้ คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวข้างต้นจึงยังไม่เป็นการกระทำหรือเป็นคำวินิจฉัยที่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3960/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ไม่รับคำขอรับชำระหนี้ ถือเป็นคำวินิจฉัยที่สามารถคัดค้านต่อศาลได้
คำสั่งไม่รับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 91 เป็นการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่กฎหมายให้อำนาจไว้มิใช่เพียงความเห็นที่เสนอต่อศาลเพื่อพิจารณาสั่งเท่านั้น ผู้ร้องซึ่งได้รับความเสียหายชอบที่จะยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องคัดค้านคำสั่งดังกล่าวต่อศาลภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบการกระทำหรือคำวินิจฉัยนั้นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2181/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำพิพากษาเล็กน้อยได้ แม้ไม่มีอุทธรณ์ฎีกา หากไม่กระทบคำวินิจฉัยเดิม
เมื่อคดีถึงที่สุดโดยไม่มีการอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น อำนาจในการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงในคำพิพากษาจึงอยู่แก่ศาลชั้นต้นที่มีคำพิพากษานั้น และไม่ใช่กรณีที่ต้องอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 143 หาได้จำกัดเฉพาะที่เกิดจากการขีดเขียนหรือถ้อยคำเท่านั้นไม่ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้แล้วว่าจำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยจำนวน 239,195.80 บาท แก่โจทก์ด้วย แต่เมื่อพิพากษามิได้นำดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นยอดหนี้ที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ จึงเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษาที่แก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 เพราะไม่เป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม
ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 143 หาได้จำกัดเฉพาะที่เกิดจากการขีดเขียนหรือถ้อยคำเท่านั้นไม่ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้แล้วว่าจำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยจำนวน 239,195.80 บาท แก่โจทก์ด้วย แต่เมื่อพิพากษามิได้นำดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นยอดหนี้ที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ จึงเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษาที่แก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 เพราะไม่เป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีเพิกถอนเครื่องหมายการค้า: การโต้แย้งคำวินิจฉัยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าต้องไม่เกินขอบเขต
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า แต่นายทะเบียนฯ ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนให้เพราะเห็นว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่มี ลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้ว โจทก์จึงอุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าคณะกรรมการฯ มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของนายทะเบียนฯ โจทก์เห็นว่าคำสั่งของคณะกรรมการฯ ไม่ตรงด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เพราะเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่มีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าพิพาทได้ถูกนายทะเบียนฯ เพิกถอนแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทได้ เมื่อปรากฏว่าคณะกรรมการฯวินิจฉัยว่า การเพิกถอนเครื่องหมายการค้ายังไม่ครบ 12 เดือนนับแต่วันที่นายทะเบียนฯ สั่งเพิกถอน จึงต้องถือว่าเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วยังอยู่ในระยะเวลาที่เจ้าของจะใช้สิทธิยื่นขอจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 38 ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วได้ถูกเพิกถอนแล้ว จึงไม่อาจรับฟังได้ และคำฟ้องของโจทก์เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และความเห็นในเนื้อหาแห่งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ว่าไม่ถูกต้อง โจทก์มิได้กล่าวอ้างความไม่ถูกต้องสมบูรณ์ของคำวินิจฉัยดังกล่าว อาทิความบกพร่องของการเป็นกรรมการ ความไม่ชอบของการประชุมหรือการออกเสียงลงคะแนน เป็นต้น คำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ย่อมเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 19 เบญจ วรรคท้ายโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเครื่องหมายการค้า: การโต้แย้งคำวินิจฉัยคณะกรรมการฯ ต้องแสดงเหตุความไม่สมบูรณ์ ไม่ใช่แค่ความเห็นต่าง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า แต่นายทะเบียนฯ ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนให้เพราะเห็นว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้ว โจทก์จึงอุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า คณะกรรมการฯ มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของนายทะเบียนฯ โจทก์เห็นว่าคำสั่งของคณะกรรมการฯไม่ตรงด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเพราะเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่มีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าพิพาทได้ถูกนายทะเบียนฯเพิกถอนแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทได้ เมื่อปรากฏว่าคณะกรรมการฯ วินิจฉัยว่า การเพิกถอนเครื่องหมายการค้ายังไม่ครบ 12 เดือน นับแต่วันที่นายทะเบียนฯสั่งเพิกถอน จึงต้องถือว่าเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วยังอยู่ในระยะเวลาที่เจ้าของจะใช้สิทธิยื่นขอจดทะเบียนได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 38 ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วได้ถูกเพิกถอนแล้ว จึงไม่อาจรับฟังได้และคำฟ้องของโจทก์เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายและความเห็นในเนื้อหาแห่งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ว่าไม่ถูกต้องโจทก์มิได้กล่าวอ้างความไม่ถูกต้องสมบูรณ์ของคำวินิจฉัยดังกล่าวอาทิ ความบกพร่องของการเป็นกรรมการ ความไม่ชอบของการประชุมหรือการออกเสียงลงคะแนน เป็นต้น คำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯย่อมเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 19 เบญจวรรคท้าย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6239/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาในคดีผิดสัญญาประกันต่อศาล: คำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ห้ามฎีกาอีก
ในกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล เมื่อศาลมีคำสั่งประการใดแล้วผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันหรือพนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์ได้และคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด จะฎีกาต่อมาอีกไม่ได้.