พบผลลัพธ์ทั้งหมด 132 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3206/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับพนักงานที่เข้าทำงาน/ได้ขึ้นเงินเดือนระหว่างปี ต้องคำนวณจากเงินได้ที่ได้รับจริงเท่านั้น
วิธีการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากรมาตรา 50(1) สำหรับผู้มีเงินได้ที่เข้าทำงานระหว่างปีหรือได้รับเงินเดือนขึ้นระหว่างปีนั้น ให้นำเงินเดือนเริ่มตั้งแต่เดือนที่จ่ายคำนวณล่วงหน้าจนถึงสิ้นปี เป็นเงินได้พึงประเมินสำหรับคำนวณภาษีตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ หากมีการจ่ายเงินโบนัสก็จะนำเงินโบนัสรวมกับเงินเดือนที่จ่ายเป็นเงินได้พึงประเมินสำหรับคำนวณภาษีด้วย แล้วหารด้วยจำนวนเดือนที่จ่ายหักไว้เป็นภาษีแต่ละเดือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2153/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กิจการสาธารณูปโภคย่อมมีวัตถุประสงค์แสวงหากำไร แม้เป็นรัฐวิสาหกิจ พนักงานยังคงเป็นลูกจ้าง
การดำเนินกิจการสาธารณูปโภคนั้น มิใช่ว่าจะเป็นการดำเนินกิจการที่มิได้มุ่งหวังกำไรโดยเด็ดขาดหรือเป็นกิจการที่ให้เปล่า กิจการของการประปานครหลวงอาจมีได้ทั้งกำไรและขาดทุน นอกจากนี้ในด้านรายได้กฎหมายก็ได้กำหนดไว้ว่า เมื่อมีเงินเหลือจากค่าใช้จ่าย ค่าสัมภาระเงินสงเคราะห์ ประโยชน์ตอบแทน โบนัส เงินสำรอง และเงินลงทุนแล้วให้นำส่งเป็นรายได้ของรัฐ ดังนั้น เงินที่นำส่งเป็นรายได้ของรัฐก็คือกำไรจากกิจการของจำเลยนั่นเอง กิจการของจำเลยจึงอยู่ภายใต้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
การที่พระราชบัญญัติการประปานครหลวงฯ กำหนดให้พนักงานของจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญานั้นเป็นเพียงกำหนดฐานะของพนักงานของจำเลย ซึ่งตามปกติถือไม่ได้ว่าเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ให้มีฐานะอย่างเจ้าพนักงานเพื่อประโยชน์ในการติดต่อและปฏิบัติงานกับบุคคลภายนอกและความรับผิดทางอาญา ซึ่งพนักงานของจำเลยได้กระทำต่อจำเลยหรือรัฐซึ่งเป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยคงเป็นไปในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างอยู่นั่นเอง ถึงหากจำเลยจะเรียกชื่อลูกจ้างประจำเป็นพนักงาน ก็หาได้เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างไม่
การที่พระราชบัญญัติการประปานครหลวงฯ กำหนดให้พนักงานของจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญานั้นเป็นเพียงกำหนดฐานะของพนักงานของจำเลย ซึ่งตามปกติถือไม่ได้ว่าเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ให้มีฐานะอย่างเจ้าพนักงานเพื่อประโยชน์ในการติดต่อและปฏิบัติงานกับบุคคลภายนอกและความรับผิดทางอาญา ซึ่งพนักงานของจำเลยได้กระทำต่อจำเลยหรือรัฐซึ่งเป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยคงเป็นไปในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างอยู่นั่นเอง ถึงหากจำเลยจะเรียกชื่อลูกจ้างประจำเป็นพนักงาน ก็หาได้เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1558/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากละเลยระเบียบการตรวจสอบลายเซ็นสั่งจ่ายข้าวสารและการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงาน
ระเบียบงานของโจทก์มีว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหัวหน้ากองข้าวสาร มีหน้าที่กำหนดตัวบุคคลผู้มีอำนาจเซ็นสั่งจ่ายข้าวสาร และส่งตัวอย่างลายเซ็นชื่อของผู้มีอำนาจสั่งจ่ายข้าวสารไปให้แผนกคลังสินค้าเพื่อตรวจสอบก่อนที่จะจ่ายข้าวสาร แต่จำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่แผนกคลังสินค้าที่มีหน้าที่จ่ายข้าวสารตามใบสั่ง จำเลยที่ 1 กำหนดตัวบุคคลซึ่งมีอำนาจเซ็นสั่งจ่ายข้าวสารแล้ว แต่ไม่ได้ส่งตัวอย่างลายเซ็นชื่อของผู้มีอำนาจเซ็นสั่งจ่ายไปให้แผนกคลังสินค้าได้มีผู้ปลอมลายเซ็นชื่อของผู้มีอำนาจสั่งจ่ายข้าวสารและเจ้าหน้าที่แผนกคลังสินค้าได้จ่ายข้าวสารไปตามใบสั่งซึ่งมีลายเซ็นปลอม ดังนี้การที่จำเลยที่ 1 ฝ่าฝืนระเบียบ ไม่ส่งตัวอย่างลายเซ็นของผู้ที่มีอำนาจสั่งจ่ายให้แผนกคลังสินค้าทราบ เพื่อตรวจสอบลายเซ็นนั้นไม่เป็นเหตุโดยตรงที่ทำให้มีบุคคลปลอมลายเซ็นของผู้มีอำนาจสั่งจ่าย จึงจะถือว่าจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายเพราะเหตุนี้ไม่ได้
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ช่วยหัวหน้าคลังสินค้ากลาง มีหน้าที่จะต้องตรวจลายเซ็นชื่อผู้สั่งจ่ายในใบสั่งจ่ายข้าวสารตาม ระเบียบ การที่ไม่มีตัวอย่างลายเซ็นชื่อของผู้มีอำนาจสั่งจ่ายในใบสั่งจ่ายสินค้าที่แท้จริงไว้เพื่อตรวจสอบ โดยจำเลยที่ 2 มิได้เรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ซึ่งมีหน้าที่ส่งตัวอย่างลายเซ็นให้ส่งตัวอย่างลายเซ็นมาให้ ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ละเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวอันเป็นการประมาทเลินเล่อมาตั้งแต่ต้น จำเลยที่ 2 มอบให้จำเลยที่ 4 ถึงที่ 7 ทำหน้าที่ตรวจสอบใบสั่งจ่ายสินค้าแทน. ผู้ทำแทนก็ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ครบถ้วน เมื่อมีการปลอมลายมือผู้สั่งจ่ายแล้วนำมาเบิกสินค้าข้าวสาร จำเลยที่ 4 ถึงที่ 7 ตรวจดูลายเซ็นโดยเทียบกับลายเซ็นที่ผู้สั่งจ่ายเซ็นไว้ในใบสั่งจ่ายเก่าๆ ที่ยื่น เพราะไม่มีตัวอย่างลายเซ็นที่แท้จริงไว้ตรวจสอบ แล้วจ่ายข้าวสารไปตามใบสั่งจ่ายปลอมทำให้โจทก์เสียหาย ดังนี้ จำเลยที่ 2 จะปัดความรับผิดหาได้ไม่
จำเลยที่ 3 เป็นผู้ช่วยหัวหน้าคลังสินค้ากลาง ซึ่งเก็บเฉพาะข้าวสาร และเป็นผู้เก็บรักษากุญแจโกดังแต่ผู้เดียว มีหน้าที่ปฏิบัติการควบคุม ตรวจตราใบสั่งจ่ายสินค้าและรับจ่ายข้าวสารด้วย จึงปฏิเสธความรับผิดไม่ได้
ส่วนจำเลยที่ 4 มีหน้าที่ฝึกสอนจำเลยที่ 5 ถึงที่ 7 ในการจ่ายข้าวสารตามใบสั่งจ่าย แต่ไม่มีตัวอย่างลายเซ็นของผู้มีอำนาจสั่งจ่ายมาให้ตรวจสอบ จำเลยที่ 4 ถึงที่ 7 เป็นพนักงานชั้นผู้น้อย ไม่มีหน้าที่ทวงถามให้มีการส่งตัวอย่างลายเซ็นมา การฝึกสอนก็เพียงให้ดูว่าใบสั่งจ่ายที่ผู้มาขอรับมีรายการอะไรบ้างลายเซ็นชื่อผู้สั่งจ่ายครบถ้วนหรือไม่ โดยให้ดูจากลายเซ็นชื่อผู้สั่งจ่ายเก่าๆ จำเลยที่ 5 ถึงที่ 7ก็สั่งจ่ายข้าวสารไปตามระเบียบที่จำเลยที่ 4 ฝึกสอน เมื่อมีการปลอมลายเซ็นและมีการจ่ายข้าวสารไปตามลายเซ็นปลอมนั้น.โดยให้การจ่ายก็ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวเช่นนี้ จะถือว่าจำเลยที่ 5 ถึงที่ 7 ไม่ปฏิบัติตามระเบียบเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์มิได้ แต่จำเลยที่ 4 มีหน้าที่ต้องตรวจสอบรายการสินค้าที่จะจ่ายหรือขอดูหลักฐานเอกสารใบขายเงินสด หรือใบเสร็จรับเงินจากผู้ซื้อที่มารับของตามระเบียบว่าด้วยการรับจ่ายฯลฯ ให้ถูกต้องเสียก่อน เมื่อจำเลยที่ 4 ไม่ปฏิบัติตามจึงต้องรับผิดตามจำนวนเงินในใบจ่ายสินค้าฉบับที่จำเลยที่ 4เป็นผู้เขียนตามใบสั่งจ่ายสินค้าปลอมนั้น
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ช่วยหัวหน้าคลังสินค้ากลาง มีหน้าที่จะต้องตรวจลายเซ็นชื่อผู้สั่งจ่ายในใบสั่งจ่ายข้าวสารตาม ระเบียบ การที่ไม่มีตัวอย่างลายเซ็นชื่อของผู้มีอำนาจสั่งจ่ายในใบสั่งจ่ายสินค้าที่แท้จริงไว้เพื่อตรวจสอบ โดยจำเลยที่ 2 มิได้เรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ซึ่งมีหน้าที่ส่งตัวอย่างลายเซ็นให้ส่งตัวอย่างลายเซ็นมาให้ ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ละเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวอันเป็นการประมาทเลินเล่อมาตั้งแต่ต้น จำเลยที่ 2 มอบให้จำเลยที่ 4 ถึงที่ 7 ทำหน้าที่ตรวจสอบใบสั่งจ่ายสินค้าแทน. ผู้ทำแทนก็ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ครบถ้วน เมื่อมีการปลอมลายมือผู้สั่งจ่ายแล้วนำมาเบิกสินค้าข้าวสาร จำเลยที่ 4 ถึงที่ 7 ตรวจดูลายเซ็นโดยเทียบกับลายเซ็นที่ผู้สั่งจ่ายเซ็นไว้ในใบสั่งจ่ายเก่าๆ ที่ยื่น เพราะไม่มีตัวอย่างลายเซ็นที่แท้จริงไว้ตรวจสอบ แล้วจ่ายข้าวสารไปตามใบสั่งจ่ายปลอมทำให้โจทก์เสียหาย ดังนี้ จำเลยที่ 2 จะปัดความรับผิดหาได้ไม่
จำเลยที่ 3 เป็นผู้ช่วยหัวหน้าคลังสินค้ากลาง ซึ่งเก็บเฉพาะข้าวสาร และเป็นผู้เก็บรักษากุญแจโกดังแต่ผู้เดียว มีหน้าที่ปฏิบัติการควบคุม ตรวจตราใบสั่งจ่ายสินค้าและรับจ่ายข้าวสารด้วย จึงปฏิเสธความรับผิดไม่ได้
ส่วนจำเลยที่ 4 มีหน้าที่ฝึกสอนจำเลยที่ 5 ถึงที่ 7 ในการจ่ายข้าวสารตามใบสั่งจ่าย แต่ไม่มีตัวอย่างลายเซ็นของผู้มีอำนาจสั่งจ่ายมาให้ตรวจสอบ จำเลยที่ 4 ถึงที่ 7 เป็นพนักงานชั้นผู้น้อย ไม่มีหน้าที่ทวงถามให้มีการส่งตัวอย่างลายเซ็นมา การฝึกสอนก็เพียงให้ดูว่าใบสั่งจ่ายที่ผู้มาขอรับมีรายการอะไรบ้างลายเซ็นชื่อผู้สั่งจ่ายครบถ้วนหรือไม่ โดยให้ดูจากลายเซ็นชื่อผู้สั่งจ่ายเก่าๆ จำเลยที่ 5 ถึงที่ 7ก็สั่งจ่ายข้าวสารไปตามระเบียบที่จำเลยที่ 4 ฝึกสอน เมื่อมีการปลอมลายเซ็นและมีการจ่ายข้าวสารไปตามลายเซ็นปลอมนั้น.โดยให้การจ่ายก็ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวเช่นนี้ จะถือว่าจำเลยที่ 5 ถึงที่ 7 ไม่ปฏิบัติตามระเบียบเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์มิได้ แต่จำเลยที่ 4 มีหน้าที่ต้องตรวจสอบรายการสินค้าที่จะจ่ายหรือขอดูหลักฐานเอกสารใบขายเงินสด หรือใบเสร็จรับเงินจากผู้ซื้อที่มารับของตามระเบียบว่าด้วยการรับจ่ายฯลฯ ให้ถูกต้องเสียก่อน เมื่อจำเลยที่ 4 ไม่ปฏิบัติตามจึงต้องรับผิดตามจำนวนเงินในใบจ่ายสินค้าฉบับที่จำเลยที่ 4เป็นผู้เขียนตามใบสั่งจ่ายสินค้าปลอมนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 711/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของพนักงานที่ไม่มีหน้าที่รักษาทรัพย์สิน – การเบียดบังทรัพย์สินต้องมีการบรรยายฟ้อง
จำเลยเป็นคนขับรถขององค์การ ร.ส.พ. โจทก์ร่วมซึ่งรับบรรทุกสินค้าผ่านแดน ไม่มีหน้าที่รักษาทรัพย์เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจนับสินค้าในรถแล้วใช้ลวดมัดประตูตู้ทึบประทับตราเมื่อรถออกเดินทางก็ควบคุมไปด้วยถือว่าสินค้าเหล่านี้อยู่ในความดูแลรักษาของเจ้าหน้าที่ศุลกากรและเจ้าหน้าที่ของโจทก์ร่วมผู้ควบคุมรถหาใช่จำเลยไม่เมื่อไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเบียดบังทรัพย์หรือยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นไปโดยทุจริตจะขอให้ลงโทษจำเลยตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ "พนักงาน" ตามข้อบังคับบริษัท แม้ไม่ได้มาทำงานประจำทุกวัน
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทจำเลยมิได้นิยามคำว่า "พนักงาน" ไว้ จึงต้องถือว่าคำนี้มีความหมายตามที่เข้าใจกันโดยทั่วไปการที่โจทก์มิได้มาทำงานที่บริษัทจำเลยเป็นประจำทุกวันเพราะลักษณะงานในหน้าที่ของโจทก์ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการบริษัทจำเลยไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้นหาทำให้โจทก์ไม่เป็นพนักงานไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 139/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารรับเช็คลงวันล่วงหน้าและภาระความรับผิดต่อการยักยอกเงินของพนักงาน
คนของโจทก์รับเงินจากลูกค้าแล้วยักยอกไว้ โดยออกเช็คส่วนตัวลงวันล่วงหน้าเข้าบัญชีธนาคารแทน ธนาคารพาณิชย์จะรับเช็คลงวันล่วงหน้าได้หรือไม่ และวันที่ในใบรับเช็คจะต้องตรงกับวันที่ที่ลงในเช็คหรือไม่นั้นไม่มีระเบียบหรือกฎข้อบังคับของธนาคารหรือของทางราชการวางไว้ธนาคารจำเลยที่ 2 ย่อมถือปฏิบัติในการบริการความสะดวกแก่ลูกค้าโดยการรับเช็คลงวันล่วงหน้าไว้เพื่อเรียกเก็บเงินให้ในเมื่อเช็คนั้นถึงกำหนดโดยที่ธนาคารจำเลยที่ 2 ยอมรับเสี่ยงภัยในความเสียหายนั้นเองได้ โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 ทำให้โจทก์เสียหาย เพราะรับเช็คลงวันล่วงหน้าจากคนของโจทก์ จึงไม่ทราบว่าคนของโจทก์ยักยอกเงินไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.ขนส่ง: ผู้ประกอบการขนส่ง vs. พนักงานขับรถและผู้จัดการเดินรถ
ผู้ที่จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ.2497มาตรา 14 ซึ่งห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตการขนส่งสาธารณะเข้าทำการขนส่งในเส้นทางใดในลักษณะที่เป็นการแข่งขันกับผู้ได้รับใบอนุญาตการขนส่งประจำทางในเส้นทางนั้น คือผู้ที่ได้รับใบอนุญาตการขนส่งสาธารณะ เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตการขนส่งสาธารณะคือบริษัท พ. จำเลยที่ 1 เป็นเพียงคนขับรถ จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการฝ่ายเดินรถของบริษัท พ. มิใช่เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตการขนส่งสาธารณะจำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 14
ผู้ที่จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ.2497 มาตรา 51 คือผู้ที่ประกอบการรับจัดการขนส่งโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนเมื่อปรากฏว่าการขนส่งคนโดยสารเป็นการประกอบการรับจัดการขนส่งของบริษัทพ.จำเลยที่ 1 เป็นเพียงบุคคลที่ทำหน้าที่ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งโดยเป็นคนขับหรือควบคุมเครื่องอุปกรณ์การขนส่ง ส่วนจำเลยที่ 2 ดำเนินการรับจัดการขนส่งแทนบริษัท พ. ในฐานะที่เป็นผู้จัดการฝ่ายเดินรถของบริษัท พ. ดังนี้ จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดตามมาตรา 51
ผู้ที่จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ.2497 มาตรา 51 คือผู้ที่ประกอบการรับจัดการขนส่งโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนเมื่อปรากฏว่าการขนส่งคนโดยสารเป็นการประกอบการรับจัดการขนส่งของบริษัทพ.จำเลยที่ 1 เป็นเพียงบุคคลที่ทำหน้าที่ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งโดยเป็นคนขับหรือควบคุมเครื่องอุปกรณ์การขนส่ง ส่วนจำเลยที่ 2 ดำเนินการรับจัดการขนส่งแทนบริษัท พ. ในฐานะที่เป็นผู้จัดการฝ่ายเดินรถของบริษัท พ. ดังนี้ จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดตามมาตรา 51
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1653/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพนักงานปลอมแปลงเอกสารและยักยอกทรัพย์ โดยองค์กรมีทุนจากรัฐ
แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์มีทุนทั้งหมดหรือทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบเป็นของรัฐแต่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ซึ่งเรียกโดยย่อว่า"ร.ส.พ." ก็จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ พ.ศ.2496 ซึ่งมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวบัญญัติว่า "ให้กำหนดทุนของ ร.ส.พ. เป็นจำนวนเงินห้าสิบล้านบาทโดยรัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิมสิบล้านบาทและจ่ายเพิ่มเติมเป็นคราว ๆตามจำนวนที่รัฐบาลเห็นสมควร" และทางราชการได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์มีทุนห้าสิบล้านบาทโดยทุนทั้งหมดเป็นของรัฐ ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว
จำเลยเป็นพนักงานประเภทประจำขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์อันเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายในตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล มีหน้าที่ช่วยงานในการถ่ายภาพเอ็กซเรย์ฯ รับเงินค่าเอ็กซเรย์และออกใบเสร็จรับเงินด้วย จำเลยจึงเป็นพนักงานตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 3 เมื่อจำเลยได้รับเงินค่าเอ็กซเรย์จากผู้ที่มาเอ็กซเรย์รายละ 35 บาทแล้ว จำเลยก็เขียนจำนวนเงินและวันเดือนปีที่รับเงินในใบเสร็จรับเงินท่อนแรกที่เป็นต้นฉบับและมอบให้แก่ผู้ชำระเงินไปตามความจริง ภายหลังจำเลยจึงเขียนใบเสร็จรับเงินท่อนที่สองและท่อนที่สามที่เป็นสำเนา โดยเขียนจำนวนเงินน้อยลงกว่าที่ได้รับและเขียนวันเดือนปีที่ได้รับเงินไม่ตรงความจริง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมสำเนาใบเสร็จรับเงินอันเป็นเอกสารสิทธิ ต่อมาจำเลยใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินที่จำเลยปลอมขึ้นไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์เพื่อแสดงว่าจำเลยได้รับเงินค่าเอ็กซเรย์ไว้เท่าจำนวนที่ปรากฏในสำเนาใบเสร็จรับเงินปลอม จึงเป็นการใช้เอกสารสิทธิปลอมและยักยอกเบียดบังเงินค่าเอ็กซเรย์ส่วนที่เหลือจากนำส่งเจ้าหน้าที่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ แต่การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
จำเลยเป็นพนักงานประเภทประจำขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์อันเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายในตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล มีหน้าที่ช่วยงานในการถ่ายภาพเอ็กซเรย์ฯ รับเงินค่าเอ็กซเรย์และออกใบเสร็จรับเงินด้วย จำเลยจึงเป็นพนักงานตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 3 เมื่อจำเลยได้รับเงินค่าเอ็กซเรย์จากผู้ที่มาเอ็กซเรย์รายละ 35 บาทแล้ว จำเลยก็เขียนจำนวนเงินและวันเดือนปีที่รับเงินในใบเสร็จรับเงินท่อนแรกที่เป็นต้นฉบับและมอบให้แก่ผู้ชำระเงินไปตามความจริง ภายหลังจำเลยจึงเขียนใบเสร็จรับเงินท่อนที่สองและท่อนที่สามที่เป็นสำเนา โดยเขียนจำนวนเงินน้อยลงกว่าที่ได้รับและเขียนวันเดือนปีที่ได้รับเงินไม่ตรงความจริง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมสำเนาใบเสร็จรับเงินอันเป็นเอกสารสิทธิ ต่อมาจำเลยใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินที่จำเลยปลอมขึ้นไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์เพื่อแสดงว่าจำเลยได้รับเงินค่าเอ็กซเรย์ไว้เท่าจำนวนที่ปรากฏในสำเนาใบเสร็จรับเงินปลอม จึงเป็นการใช้เอกสารสิทธิปลอมและยักยอกเบียดบังเงินค่าเอ็กซเรย์ส่วนที่เหลือจากนำส่งเจ้าหน้าที่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ แต่การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1558/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดของพนักงาน: เริ่มนับเมื่อใด
บิลเก็บเงินค่าน้ำของโจทก์ขาดบัญชีไป และโจทก์รู้ว่า ก. และ ว. เป็นผู้ทำละเมิดจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2515 โจทก์ได้ตั้งกรรมการสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงว่ามีผู้บังคับบัญชาของ ก. และ ว. คนใดบ้านที่จะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดของบุคคลทั้งสอง และได้ทราบผลของการสอบสวนเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2516 ว่าจำเลยทั้งสี่ในฐานะผู้บังคับชาของ ก. และ ว. จะต้องร่วมรับผิดด้วย โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2517 เช่นนี้ต้องถือว่าโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2516 อันเป็นวันที่โจทก์ทราบผลของการสอบสวนจากคระกรรมการสอบสวน โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2517 ภายใน 1 ปี คดีโจทก์สำหรับจำเลยทั้ง 4 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพนักงานเบียดบังเงินและสนับสนุนการทุจริตเบิกจ่ายเงิน ร.ส.พ.
ร.ส.พ.สาขาจังหวัดขอนแก่นดำเนินงานอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของผู้จัดการ ร.ส.พ.สาขาจังหวัดอุดรธานี จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานของ ร.ส.พ.ประจำอยู่ที่สาขาจังหวัดขอนแก่นจำเลยที่2 เป็นเจ้าของรถร่วมที่นำรถยนต์เข้าร่วมกิจการขนส่งสินค้ากับ ร.ส.พ. จำเลยที่ 1 มีหน้าที่รักษาเงินของ ร.ส.พ.สาขาขอนแก่น ได้เบียดบังเอาเงินของ ร.ส.พ.ซึ่งอยู่ในหน้าที่รักษาของจำเลยที่ 1 เอง ด้วยวิธีทำหลักฐานเท็จเบิกจ่ายเงินไป โดยให้จำเลยที่ 2 ทำหลักฐานเท็จยื่นต่อจำเลยที่ 1 ขอเบิกเงินค่าขนส่งสินค้า อันเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ดังนี้ จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานฯมาตรา 4 ส่วน จำเลยที่ 2 มีความผิดตามบทมาตราดังกล่าวประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 และจำเลยที่ 1 เป็นพนักงานยังได้ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตในการขอเบิกจ่ายเงินประเภทที่จะต้องขอเบิกจ่ายต่อ ร.ส.พ.สาขาอุดรธานี ด้วยการทำหลักฐานเท็จเสนอขออนุมัติจ่าย จนผู้จัดการ ร.ส.พ.สาขาอุดรธานีหลงเชื่ออนุมัติให้จ่ายเงินแก่จำเลยที่ 2 ที่สถานี ร.ส.พ.สาขาอุดรธานี การกระทำของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้เป็นความผิดตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และจำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดส่วนนี้ การกระทำผิดของจำเลยหาต้องด้วยมาตรา 8 ด้วยไม่ และเมื่อเป็นความผิดตามบทมาตราดังกล่าวแล้ว ก็ไม่ต้องปรับบทด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 อีก