คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ละเมิดสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 128 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1167/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือแจ้งข้อเท็จจริงจากเจ้าพนักงานการพิมพ์ ไม่ถือเป็นการข่มขู่หรือละเมิดสิทธิ โจทก์ยังสามารถใช้สิทธิได้
ฟ้องว่าเจ้าพนักงานการพิมพ์มีหนังสือถึงโจทก์ใจความว่าหนังสือพิมพ์ของโจทก์ไม่ได้พิมพ์ออกโฆษณาและจำหน่ายติดต่อกัน เป็นระยะเวลา 30 วันใบอนุญาตของโจทก์สิ้นสุดลงตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 จึงเรียนมาเพื่อทราบเป็นการข่มขู่โจทก์มิให้พิมพ์โฆษณาหนังสือพิมพ์ของโจทก์ ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนหนังสือดังกล่าวของโจทก์ ดังนี้หนังสือที่จำเลยมีถึงโจทก์ เพียงแต่แจ้งข้อเท็จจริงตามความเข้าใจของจำเลยให้โจทก์ทราบ เพื่อจะได้ไม่ปฏิบัติผิดกฎหมายขึ้น ไม่เป็นการข่มขู่หรือกระทบกระเทือนสิทธิของโจทก์ ศาลย่อมไม่รับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความต่างของเครื่องหมายการค้า เพื่อวินิจฉัยการละเมิดสิทธิ
เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีลักษณะประกอบกัน 3 ประการ คือ ลิง ควายและกวาง เฉพาะลิงนั้นถือธงด้วย ซึ่งมองไปก็เห็นลักษณะอันเด่นชัดของภาพทั้ง 3 ได้ทันที ตลอดถึงธงที่ถือก็เห็นได้ชัดเจน ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีลักษณะคนขี่ควายอย่างเดียว ไม่เหมือนกัน รูปร่างและลักษณะท่าทางของลิงก็แตกต่างกับรูปร่างลักษณะท่าทางของคน เห็นได้ชัด ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีลักษณะไม่เหมือนหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อันจะทำให้สาธารณชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1138/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งกรรมสิทธิ์ที่ดินทางเดินหลังสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำ เพราะเป็นการละเมิดสิทธิใหม่
เดิมโจทก์ฟ้อง ข. แล้ว ข.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งแยกที่ดินโฉนดที่ 773 ให้แก่โจทก์ เป็นเนื้อที่ครึ่งหนึ่ง ทางด้านหลังของที่ดิน และยอมให้ทางเดินเข้าออกแก่โจทก์ทางด้านตะวันออกของที่ดินเป็นเนื้อที่ 6 ศอก ศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว ข. ยังไม่ได้แบ่งแยกที่ดินให้โจทก์ตามยอม ก็มาถึงแก่กรรมเสียก่อน โจทก์แจ้งให้จำเลยทั้ง 4 ซึ่งเป็นทายาทของ ข. ไปลงชื่อในคำขอจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดิน เพื่อขอรับโฉนดที่ดินที่ออกใหม่ แต่จำเลยไม่ยอมรับรองว่าที่ดินทางเดินกว้าง 6 ศอกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยทั้ง 4 ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ห้ามจำเลยคัดค้านขัดขวางในการที่โจทก์เข้าครอบครองเป็นเจ้าของ ดังนี้ เท่ากับโจทก์อ้างว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว แต่จำเลยทั้ง 4 กลับโต้แย้งกรรมสิทธิ์ที่ทางเดินของโจทก์ และคัดค้านขัดขวางในการที่โจทก์เข้าครอบครองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินทางเดินดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทั้ง 4 ละเมิดสิทธิของโจทก์ขึ้นใหม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยขึ้นเป็นคดีอีกคดีหนึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1137/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตปลูกอาคารชิดเขตที่ดินและการละเมิดสิทธิของเจ้าของที่ดินข้างเคียง
การที่เทศบาลอนุญาตให้จำเลยปลูกอาคารชิดแนวเขตที่ดินของโจทก์โดยไม่เว้นระยะ 50 เซนติเมตรอันเป็นการฝ่าฝืนเทศบัญญัตินั้น เทศบัญญัตินี้มิได้บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้ที่ดินข้างเคียงราคาตกต่ำและมิใช่กฎหมายที่ประสงค์จะปกป้องโจทก์ จะถือว่าการฝ่าฝืนกฎหมายนั้นเป็นการทำให้โจทก์เสียหายโดยผิดกฎหมายเพราะเหตุนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 422 ยังมิได้ การกระทำของเทศบาลยังไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1351 มิได้บัญญัติถึงกับให้เจ้าของที่ดินติดต่อต้องงดเว้นไม่ก่อสร้างสิ่งใดลงใกล้แนวเขตที่ดินเสียเลยและตลอดไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1410/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้องเช่าเพื่อค้าไม่เป็นเคหะควบคุม สิทธิเช่าไม่อ้างอิง พ.ร.บ.ควบคุมเคหะ ผู้เช่าละเมิดสิทธิเจ้าของ
จำเลยเช่าห้องพิพาททำการค้าและได้ประกอบการค้าด้วยจึงไม่เป็นเคหะควบคุม และไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินฯ
เมื่อห้องพิพาทมิใช่เคหะควบคุม แม้จำเลยจะได้แจ้งความจำนงขอเช่าไปให้โจทก์ทราบตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินฯ การกระทำของจำเลยก็ไม่ผูกมัดโจทก์ เพราะกรณีนี้ไม่อยู่ในบทบังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้
เมื่อจำเลยอยู่ในที่เช่าโดยไม่มีสัญญาเช่าหรือสิทธิอะไรตามกฎหมาย โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยออกไปเมื่อไรก็ย่อมทำได้ ไม่จำเป็นต้องทำการบอกกล่าวกันก่อนแต่ประการใด
เมื่อปรากฏว่าจำเลยขืนอยู่ในห้องพิพาทโดยไม่มีสิทธิที่จะอ้างอิงแต่อย่างใดถือได้ว่าจำเลยได้ละเมิดสิทธิโจทก์และโจทก์ได้รับความเสียหายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271-1273/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเครื่องหมายการค้าและการละเมิดสิทธิ โจทก์มีสิทธิแต่ผู้เดียวในการค้าขายสินค้ามีเครื่องหมายการค้านั้น
การที่คู่ความทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลใดเป็นผู้แทนตนในคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 60 นั้น แม้การมอบอำนาจจะมีหนังสือมอบอำนาจก็ตาม แต่กฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าในการยื่นคำฟ้องต่อศาล โจทก์จะต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจนั้นติดมากับฟ้องด้วย ซึ่งต่างกับกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61,63 และ 64 ซึ่งบัญญัติไว้ชัดเจนว่าต้องยื่นใบแต่งทนาย แสดงใบมอบอำนาจ ทำหนังสือแต่งตั้งหรือยื่นใบมอบฉันทะต่อศาล ฉะนั้น แม้โจทก์จะมิได้ยื่นใบมอบอำนาจต่อศาลในขณะยื่นคำฟ้อง ก็ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายแต่ประการใด
ผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้า หาใช่จำกัดเฉพาะผู้ทำสินค้าขึ้นเท่านั้นไม่ แม้โจทก์จะมิใช่ผู้ประดิษฐ์หรือผลิตสินค้า แต่เป็นผู้รับโอนเครื่องหมายการค้าที่เจ้าของเดิมจดทะเบียนไว้ พร้อมด้วยกิจการบริการจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย โจทก์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะค้าขายสินค้าที่มีเครื่องหมายซึ่งได้จดทะเบียนไว้นั้น ฉะนั้น การที่จำเลยสั่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าในบังคับแห่งสิทธิของโจทก์เข้ามาจำหน่ายโดยมิได้รับความยินยอม ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ เพราะการสั่งสินค้าเข้ามาจำหน่ายย่อมเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ติดมากับสินค้านั้นด้วย (วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271-1273/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจทางกฎหมายและการละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้า ผู้รับโอนสิทธิมีอำนาจฟ้องร้องได้
การที่คู่ความทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลใดเป็นผู้แทนตนในคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 60 นั้น แม้การมอบอำนาจจะมีหนังสือมอบอำนาจก็ตามแต่กฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าในการยื่นคำฟ้องต่อศาล โจทก์จะต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจนั้นติดมากับฟ้องด้วย ซึ่งต่างกับกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61, 63 และ 64 ซึ่งบัญญัติไว้ชัดเจนว่าต้องยื่นใบแต่งทนาย แสดงใบมอบอำนาจทำหนังสือแต่งตั้งหรือยื่นใบมอบฉันทะต่อศาล ฉะนั้นแม้โจทก์จะมิได้ยื่นใบมอบอำนาจต่อศาลในขณะยื่นคำฟ้องก็ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายแต่ประการใด
ผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้า หาใช่จำกัดเฉพาะผู้ทำสินค้าขึ้นเท่านั้นไม่ แม้โจทก์จะมิใช่ผู้ประดิษฐ์หรือผลิตสินค้า แต่เป็นผู้รับโอนเครื่องหมายการค้าที่เจ้าของเดิมจดทะเบียนไว้ พร้อมด้วยกิจการบริการจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย โจทก์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะค้าขายสินค้าที่มีเครื่องหมายซึ่งได้จดทะเบียนไว้นั้น ฉะนั้น การที่จำเลยสั่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าในบังคับแห่งสิทธิของโจทก์เข้ามาจำหน่ายโดยมิได้รับความยินยอม ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ เพราะการสั่งสินค้าเข้ามาจำหน่ายย่อมเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ติดมากับสินค้านั้นด้วย(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่15/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินมือเปล่าและการละเมิดสิทธิในที่ดิน การพิสูจน์การครอบครองและอายุความ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ครอบครองที่ดินมือเปล่าไว้แปลงหนึ่งสำหรับทำนาและบำรุงต้นไม้ไว้เผาถ่าน ได้ทำประโยชน์ในที่ดินนี้ตลอดมาจนทุกวันนี้ จำเลยได้บุกรุกเข้าตัดฟันต้นไม้ในที่ดินของโจทก์เพื่อทำฟืนหรือเผาถ่าน ขอให้ใช้ค่าเสียหายและห้ามเข้าเกี่ยวข้อง แล้วโจทก์แถลงรับสมดังคำให้การของจำเลยว่า เมื่อ 5-6 ปีมานี้จำเลยเข้าไปตัดฟันไม้ในที่พิพาทนี้ ฝ่ายโจทก์ไปแจ้งความ จำเลยต่อสู้ว่าที่ดินเป็นของจำเลยแล้วเรื่องก็เงียบไป คำแถลงของโจทก์ดังนี้ ไม่เป็นการตัดคำฟ้องของโจทก์ในข้อที่ว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่พิพาทมายังฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ครอบครองมาในระหว่าง 5-6 ปีมานี้ ต้องสืบพยานกันในข้อนี้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายกรณีถูกปลดออกจากราชการ: ละเมิดสิทธิรับราชการ vs. ผิดสัญญาจ้าง
กระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากราชการฐานผิดวินัย แต่การสั่งตั้งกรรมการพิจารณาโทษที่ให้ปลดโจทก์ออกจากราชการนั้นเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องละเมิดสิทธิในการรับราชการของโจทก์ หาใช่เป็นเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่ ฉะนั้น การที่โจทก์จะฟ้องเรียกเงินเดือนที่ไม่ได้รับระหว่างถูกปลดจากราชการย่อมต้องใช้อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 จะใช้อายุความ 5 ปี ตามมาตรา 166 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดสิทธิข้าราชการ: ไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน ใช้ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448
กระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากราชการฐานผิดวินัยแต่การสั่งตั้งกรรมการพิจารณาโทษที่ให้ปลดโจทก์ออกจากราชการนั้นเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายดังนี้ กรณีเป็นเรื่องละเมิดสิทธิในการรับราชการของโจทก์ หาใช่เป็นเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่ฉะนั้น การที่โจทก์จะฟ้องเรียกเงินเดือนที่ไม่ได้รับในระหว่างถูกปลดจากราชการย่อมต้องใช้อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 จะใช้อายุความ 5 ปี ตามมาตรา 166 หาได้ไม่
of 13