พบผลลัพธ์ทั้งหมด 386 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9116/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในสัญญาซื้อลดเช็คและการสละอายุความของดอกเบี้ย
จำเลยทำสัญญาขายลดเช็คพิพาททั้งสองฉบับในนามตนเองมิได้กระทำแทนจำเลยร่วม ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ ส่วนจำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้อง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยร่วม ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยร่วมมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเป็นคุณแก่จำเลยร่วมได้
จำเลยได้ทำหนังสือถึงโจทก์ว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่แต่ไม่สามารถชำระเงินได้หมดทันที ขอผ่อนชำระเป็นงวด ๆ และขอลดดอกเบี้ย ถือได้ว่าจำเลยยอมรับสภาพความรับผิดสำหรับดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 188 (เดิม) มาตรา 193/28 (ใหม่) และเป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความสำหรับดอกเบี้ยตามมาตรา 192 (เดิม) มาตรา 193/24 (ใหม่) เมื่อนับจากวันที่ทำหนังสือดังกล่าวถึงวันฟ้องไม่เกิน 5 ปี คดีโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ย จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยได้ทำหนังสือถึงโจทก์ว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่แต่ไม่สามารถชำระเงินได้หมดทันที ขอผ่อนชำระเป็นงวด ๆ และขอลดดอกเบี้ย ถือได้ว่าจำเลยยอมรับสภาพความรับผิดสำหรับดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 188 (เดิม) มาตรา 193/28 (ใหม่) และเป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความสำหรับดอกเบี้ยตามมาตรา 192 (เดิม) มาตรา 193/24 (ใหม่) เมื่อนับจากวันที่ทำหนังสือดังกล่าวถึงวันฟ้องไม่เกิน 5 ปี คดีโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ย จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4380/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินหลังสละสิทธิ: ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงราคา/วิธีการชำระเงินตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ ก่อน
แม้จำเลยร่วมได้ลงลายมือชื่อในหนังสือปฏิเสธไม่ซื้อนาที่มีข้อความระบุว่า ฟ.และ ซ.เจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 6783 เนื้อที่ 20 ไร่เศษ ซึ่งจำเลยเช่าทำนาอยู่มีความประสงค์จะขายที่ดินโฉนดแปลงดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นในราคาไร่ละ60,000 บาท ผู้เช่านาได้บอกปฏิเสธไม่ซื้อที่ดินแปลงนี้และยินยอมให้เจ้าของที่ดินขายให้แก่บุคคลอื่นไปได้ อันถือได้ว่าจำเลยร่วมสละสิทธิที่จะซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 6783จำนวน 20 ไร่เศษ ในราคาไร่ละ 60,000 บาท เป็นเงินกว่า 1,200,000 บาทแล้วก็ตาม แต่ถ้า ฟ.และ ซ.จะขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้บุคคลอื่นในราคาหรือวิธีการชำระเงินที่แตกต่างไปจากราคาและวิธีการที่จำเลยร่วมสละสิทธิ ตามหนังสือปฏิเสธไม่ซื้อนา ฟ.และ ซ.จะต้องแจ้งให้จำเลยร่วมทราบโดยดำเนินการตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 53 วรรคหนึ่งใหม่ การที่ ฟ.และซ.ขายที่นาพิพาทเนื้อที่ 9 ไร่ 42 ตารางวา ซึ่งแบ่งแยกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 6783เนื้อที่ 20 ไร่เศษดังกล่าวในราคาไร่ละ 60,000 บาท เป็นเงิน 5 แสนบาทเศษจึงเป็นการขายที่ดินที่มีจำนวนเนื้อที่และราคาน้อยกว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 6783 ถือได้ว่าเป็นการขายที่ดินในราคาหรือวิธีการชำระเงินที่แตกต่างไปจากราคาและวิธีการที่จำเลยร่วมสละสิทธิตามหนังสือปฏิเสธไม่ซื้อที่นา ดังนี้ ฟ.และ ซ.จึงต้องแจ้งให้จำเลยร่วมทราบโดยดำเนินการตามมาตรา 53 วรรคหนึ่งดังกล่าวข้างต้น จะถือว่าหนังสือปฏิเสธไม่ซื้อนาฉบับเดิม เป็นการปฏิเสธไม่ซื้อที่นาพิพาทที่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 6783 ด้วยไม่ได้ เมื่อ ฟ.และ ซ.ขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมโดยยังมิได้ดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 53 วรรคหนึ่ง จำเลยร่วมในฐานะผู้เช่าผู้รับโอนที่นาพิพาทได้ตามมาตรา 54
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์และโจทก์ร่วมจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยร่วมผู้เช่านาเดิม และให้จำเลยร่วมชำระเงินค่าที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมโดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยร่วมนำเงินค่าที่นาพิพาทมาวางศาล ยังไม่สมบูรณ์ ศาลฎีกาจึงแก้ไขโดยกำหนดระยะเวลาให้จำเลยร่วมผู้เช่านานำเงินค่าที่นาพิพาทมาวางศาล มิฉะนั้นให้ถือว่าไม่ติดใจซื้อ
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติของ คชก.จังหวัดมิได้ขอให้บังคับผู้ใดให้โอนทรัพย์สินให้แก่โจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลสำหรับฟ้องโจทก์เพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. 2 (ก) ในศาลชั้นต้น โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง200 บาท
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์และโจทก์ร่วมจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยร่วมผู้เช่านาเดิม และให้จำเลยร่วมชำระเงินค่าที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมโดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยร่วมนำเงินค่าที่นาพิพาทมาวางศาล ยังไม่สมบูรณ์ ศาลฎีกาจึงแก้ไขโดยกำหนดระยะเวลาให้จำเลยร่วมผู้เช่านานำเงินค่าที่นาพิพาทมาวางศาล มิฉะนั้นให้ถือว่าไม่ติดใจซื้อ
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติของ คชก.จังหวัดมิได้ขอให้บังคับผู้ใดให้โอนทรัพย์สินให้แก่โจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลสำหรับฟ้องโจทก์เพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. 2 (ก) ในศาลชั้นต้น โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4096/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีของผู้ขอเฉลี่ยทรัพย์หลังเจ้าหนี้สละสิทธิ/เพิกเฉยการบังคับคดี
กรณีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้ยึดทรัพย์สินสละสิทธิในการบังคับคดีหรือเพิกเฉยไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด ป.วิ.พ.มาตรา 295 ทวิ บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ศาลสั่งถอนการบังคับคดีนั้นเสียส่วนมาตรา 290 วรรคแปด บัญญัติให้ผู้ขอเฉลี่ยทรัพย์ตามวรรคแรกมีสิทธิขอให้ดำเนินการบังคับคดีต่อไป เมื่อใจความทั้งสองมาตราหาได้กำหนดไว้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีกับผู้ขอเฉลี่ยทรัพย์จะต้องร้องขอภายในกำหนดเวลา หรือเงื่อนไขอย่างไรศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536 ให้ถอนการบังคับคดี จึงย่อมมีผลโดยตรงเฉพาะโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ขอให้ศาลบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 โดยไม่อาจบังคับคดีต่อไปได้เท่านั้น แต่ไม่กระทบถึงสิทธิของผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ที่ได้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 4 และ 5สิงหาคม 2524 ตามลำดับโดยชอบที่จะดำเนินการบังคับคดีต่อไป เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ร้องทั้งสองซึ่งจำต้องร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เพราะไม่อาจยึดหรืออายัดทรัพย์สินซ้ำตามมาตรา 290 วรรคแรก ได้
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหมายนัดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม2536 ถึงผู้ร้องทั้งสองแจ้งว่าถ้าหากประสงค์จะสวมสิทธิบังคับคดีแทนโจทก์ ให้แถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 7 วัน ผู้ร้องทั้งสองได้แถลงแจ้งความประสงค์ในวันดังกล่าวแล้ว แม้จะกระทำในเวลาภายหลังที่ศาลมีคำสั่งให้ถอนการบังคับคดีก็ย่อมมีผลให้ผู้ร้องทั้งสองสามารถดำเนินการบังคับคดีต่อไปโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 290 วรรคแปด โดยไม่จำต้องให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตอีก
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหมายนัดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม2536 ถึงผู้ร้องทั้งสองแจ้งว่าถ้าหากประสงค์จะสวมสิทธิบังคับคดีแทนโจทก์ ให้แถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 7 วัน ผู้ร้องทั้งสองได้แถลงแจ้งความประสงค์ในวันดังกล่าวแล้ว แม้จะกระทำในเวลาภายหลังที่ศาลมีคำสั่งให้ถอนการบังคับคดีก็ย่อมมีผลให้ผู้ร้องทั้งสองสามารถดำเนินการบังคับคดีต่อไปโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 290 วรรคแปด โดยไม่จำต้องให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อห้ามโอนที่ดินและสิทธิครอบครอง: สัญญาฝ่าฝืนเป็นโมฆะ แม้พ้นกำหนดห้ามโอนก็ยังต้องพิสูจน์การสละสิทธิ
ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมีข้อกำหนดห้ามโอนสิบปีนับแต่วันที่ 25สิงหาคม 2520 สัญญาขายฝากทำกันเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2523 จึงอยู่ในระยะเวลาห้ามโอน เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา113 เดิม ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การที่จำเลยทำสัญญาและมอบให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท โจทก์ก็หาได้สิทธิครอบครองตามกฎหมายไม่ เพราะอยู่ในกำหนดห้ามโอน หลังจากนั้นต่อมาเมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนแล้ว แม้โจทก์จะได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแต่ก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้สละสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์แต่อย่างใด กลับได้ความว่าโจทก์ได้ให้เงินจำเลยทั้งสองไปชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่ทุกปี และมิได้ขอให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ถือไม่ได้ว่าภายหลังพ้นกำหนดห้ามโอนแล้วจำเลยทั้งสองสละสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท
ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกประเด็นเรื่องโจทก์เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทเป็นเจตนายึดถือเพื่อตนยังไม่ครบ 1 ปี ขึ้นวินิจฉัยเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นนั้น กรณีของโจทก์นี้จะได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทต่อเมื่อได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาจากจำเลยทั้งสองโดยการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ แต่เมื่อโจทก์ฎีกาว่าไม่มีประเด็นนี้เสียแล้ว โจทก์ก็ไม่อาจได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ดังนั้น แม้การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นก็ตาม แต่ก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงทำให้โจทก์ชนะคดีแต่ประการใด ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249วรรคหนึ่ง
ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกประเด็นเรื่องโจทก์เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทเป็นเจตนายึดถือเพื่อตนยังไม่ครบ 1 ปี ขึ้นวินิจฉัยเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นนั้น กรณีของโจทก์นี้จะได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทต่อเมื่อได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาจากจำเลยทั้งสองโดยการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ แต่เมื่อโจทก์ฎีกาว่าไม่มีประเด็นนี้เสียแล้ว โจทก์ก็ไม่อาจได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ดังนั้น แม้การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นก็ตาม แต่ก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงทำให้โจทก์ชนะคดีแต่ประการใด ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9206/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อต่อสู้หลังโอนสิทธิเรียกร้อง: อายุความและการสละสิทธิ
คำว่า "ข้อต่อสู้ที่มีต่อผู้โอน" ตาม ป.พ.พ.มาตรา 308 นั้นหมายความว่า ข้อต่อสู้ที่มีอยู่ในวันที่มีการโอนสิทธิเรียกร้อง การที่จำเลยหรือลูกหนี้รู้ว่ามีข้อต่อสู้ดังกล่าวในวันที่ทำการโอนสิทธิเรียกร้อง แต่ก็ยังให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้อง ถือว่าจำเลยหรือลูกหนี้สละข้อต่อสู้นั้นแล้ว จำเลยจึงไม่อาจยกข้อต่อสู้ที่มีอยู่ต่อผู้โอนดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนได้ แต่ถ้าข้อต่อสู้นั้นเกิดขึ้นภายหลังวันโอนสิทธิเรียกร้อง ย่อมไม่ตัดสิทธิของจำเลยหรือลูกหนี้ที่จะยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ ดังนั้น เมื่อขณะที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับบริษัท ว. คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความฟ้องเรียกเอาค่าจ้างทำของซึ่งมีกำหนด 5 ปี จำเลยจึงยังไม่อาจยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ ต่อมาจำเลยได้ให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องไปโดยไม่อิดเอื้อน และโจทก์นำคดีมาฟ้องหลังจากคดีขาดอายุความแล้วจำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความดังกล่าวนั้นขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: สละสิทธิ - ครอบครองต่อเนื่องนานเกิน 10 ปี ทำให้ได้กรรมสิทธิ์
โฉนดที่ดินพิพาทเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 36 ตารางวา มีชื่อจำเลยและสามีถือกรรมสิทธิ์รวมกัน 4 ใน 6 ส่วน โจทก์ 1 ใน 6 ส่วน และ พ.1ใน 6 ส่วน เมื่อโจทก์อายุ 13 ปี ได้รื้อบ้านในที่ดินพิพาทถวายวัดแล้วย้ายไปอยู่กับตา ที่ดินพิพาทจึงเป็นที่ว่าง แล้วโจทก์ไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทนานถึง45 ปี จึงมาฟ้องคดีนี้ ส่วนจำเลยเข้าปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทจนถึงวันฟ้องเป็นเวลาประมาณ 40 ปี โดยไม่เคยมีผู้ใดคัดค้านการครอบครองของจำเลย สภาพที่ดินพิพาทใช้เป็นที่อยู่อาศัยมีบ้านจำเลยและบุตรปลูกอยู่ 2 หลัง ไม่สามารถแบ่งแยกให้ผู้อื่นเข้าไปปลูกบ้านอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นอีกได้เพราะเหลือเนื้อที่เพียง 330 ตารางวาเนื่องจากที่ดินบางส่วนตามโฉนดพังลงคลอง พฤติการณ์ที่โจทก์ละทิ้งที่ดินพิพาทไปเป็นเวลานานหลายสิบปี เชื่อได้ว่าโจทก์สละสิทธิในที่ดินส่วนของตน และถือได้ว่าจำเลยครอบครองปรปักษ์ที่ดินส่วนของโจทก์นานเกินกว่าสิบปีจนได้กรรมสิทธิ์ตามป.พ.พ. มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ที่ดิน: การสละสิทธิของเจ้าของรวมและการได้กรรมสิทธิ์โดยอายุความ
โฉนดที่ดินพิพาทเนื้อที่1ไร่1งาน36ตารางวามีชื่อจำเลยและสามีถือ กรรมสิทธิ์รวมกัน4ใน6ส่วนโจทก์1ใน6ส่วนและ พ. 1ใน6ส่วนเมื่อโจทก์อายุ13ปีได้รื้อบ้านในที่ดินพิพาทถวายวัดแล้วย้ายไปอยู่กับตาที่ดินพิพาทจึงเป็นที่ว่างแล้วโจทก์ไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทนานถึง45ปีจึงมาฟ้องคดีนี้ส่วนจำเลยเข้าปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทจนถึงวันฟ้องเป็นเวลาประมาณ40ปีโดยไม่เคยมีผู้ใดคัดค้านการครอบครองของจำเลยสภาพที่ดินพิพาทใช้เป็นที่อยู่อาศัยมีบ้านจำเลยและบุตรปลูกอยู่2หลังไม่สามารถแบ่งแยกให้ผู้อื่นเข้าไปปลูกบ้านอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นอีกได้เพราะเหลือเนื้อที่เพียง330ตารางวาเนื่องจากที่ดินบางส่วนตามโฉนดพังลงคลองพฤติการณ์ที่โจทก์ละทิ้งที่ดินพิพาทไปเป็นเวลานานหลายสิบปีเชื่อได้ว่าโจทก์สละสิทธิในที่ดินส่วนของตนและถือได้ว่าจำเลยครอบครองปรปักษ์ที่ดินส่วนของโจทก์นานเกินกว่าสิบปีจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6628/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ครอบครองรถยนต์จากการประมาทเลินเล่อ และข้อยกเว้นการสละสิทธิไล่เบี้ยตามกรมธรรม์ประกันภัย
จำเลยรับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันไว้จากผู้เอาประกันภัยเพื่อรับจ้างติดตั้งหลังคาไฟเบอร์กล๊าส จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องดูแลรักษารถยนต์มิให้สูญหายเพื่อจะได้คืนรถยนต์ให้ผู้ว่าจ้าง เมื่อรถยนต์สูญหายไปในระหว่างที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยเนื่องจากลูกจ้างของจำเลยประมาทเลินเล่อ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว
โจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจาก ส.ผู้เอาประกันภัยฟ้องจำเลยผู้กระทำละเมิดทำให้รถยนต์ที่ ส.เอาประกันภัยไว้กับโจทก์สูญหายไป เมื่อ ส.มีสิทธิฟ้องจำเลยโดยมิต้องทวงถามก่อน โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิจาก ส. จึงฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องทวงถามจำเลยก่อน
จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดตามเงื่อนไขท้ายกรมธรรม์ประกันภัย แต่ศาลอุทธรณ์มิได้ยกขึ้นวินิจฉัย เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1)ประกอบมาตรา 247 แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยเอง โดยไม่ย้อนสำนวน
ข้อตกลงตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ว่า ในกรณีที่มีความเสียหายหรือสูญหายเกิดขึ้นต่อรถยนต์ เมื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย บริษัทสละสิทธิในการไล่เบี้ยจากผู้ใช้รถยนต์นั้น หมายถึงบุคคลผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยให้นำรถยนต์ไปใช้อย่างยานพาหนะ แต่จำเลยครอบครองรถยนต์เนื่องจากรับจ้าง ส.ผู้เอาประกันภัยติดตั้งหลังคาไฟเบอร์กล๊าส จึงไม่ใช่ผู้นำรถยนต์ไปใช้อย่างยานพาหนะ กรณีไม่ต้องตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อดังกล่าวที่ถือว่าโจทก์สละสิทธิไล่เบี้ย
โจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจาก ส.ผู้เอาประกันภัยฟ้องจำเลยผู้กระทำละเมิดทำให้รถยนต์ที่ ส.เอาประกันภัยไว้กับโจทก์สูญหายไป เมื่อ ส.มีสิทธิฟ้องจำเลยโดยมิต้องทวงถามก่อน โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิจาก ส. จึงฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องทวงถามจำเลยก่อน
จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดตามเงื่อนไขท้ายกรมธรรม์ประกันภัย แต่ศาลอุทธรณ์มิได้ยกขึ้นวินิจฉัย เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1)ประกอบมาตรา 247 แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยเอง โดยไม่ย้อนสำนวน
ข้อตกลงตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ว่า ในกรณีที่มีความเสียหายหรือสูญหายเกิดขึ้นต่อรถยนต์ เมื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย บริษัทสละสิทธิในการไล่เบี้ยจากผู้ใช้รถยนต์นั้น หมายถึงบุคคลผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยให้นำรถยนต์ไปใช้อย่างยานพาหนะ แต่จำเลยครอบครองรถยนต์เนื่องจากรับจ้าง ส.ผู้เอาประกันภัยติดตั้งหลังคาไฟเบอร์กล๊าส จึงไม่ใช่ผู้นำรถยนต์ไปใช้อย่างยานพาหนะ กรณีไม่ต้องตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อดังกล่าวที่ถือว่าโจทก์สละสิทธิไล่เบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6166/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางพิพาทมิใช่ทางสาธารณะ การใช้ทางเป็นเพียงความเอื้อเฟื้อ การลงชื่อในบันทึกไม่ถือเป็นการสละสิทธิ
โจทก์ฟ้องอ้างว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าทางพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณะ แต่พิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ห้ามจำเลยขัดขวางโจทก์ในการใช้ทางพิพาท จำเลยอุทธรณ์ โจทก์มิได้อุทธรณ์แต่กล่าวแก้ในคำแก้อุทธรณ์ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ ดังนั้นประเด็นเรื่องทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่จึงยังไม่ยุติ ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยได้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทางพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณะ โจทก์ก็ย่อมฎีกาได้
ทางพิพาทมีสภาพเป็นคันดินกว้าง 1.50 เมตร ยาวเพียง160 เมตร และเป็นทางตัน อยู่ในแนวเขตโฉนดที่ดินของจำเลย การที่โจทก์กับญาติหรือบุคคลอื่นใช้ทางพิพาทเข้าออกสู่ทางสาธารณะเป็นเรื่องความเอื้อเฟื้อถ้อยทีถ้อยอาศัยของชาวชนบท หาใช่เป็นการสละสิทธิทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะไม่การที่จำเลยลงชื่อในบันทึกตามคำบอกหรือคำแนะนำของกำนันยอมรับว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ ไม่เป็นผลให้ทางพิพาทกลับเป็นทางสาธารณะและไม่เป็นการสละสิทธิให้เป็นทางสาธารณะ
บันทึกที่จำเลยลงชื่อยอมรับว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะจะไม่กีดขวางโจทก์และราษฎรอีก 4 ครัวเรือนในการใช้เส้นทางร่วมกันเป็นเพียงข้อเท็จจริงประกอบที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยก็ทราบดีว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะเท่านั้น มิใช่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นสิทธิบังคับให้จำเลยเปิดทางพิพาทและศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ หาได้มีประเด็นเรื่องผลบังคับตามข้อตกลงในบันทึกไม่ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะยกประเด็นข้อตกลงในบันทึกขึ้นวินิจฉัยให้ ก็เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็น
ทางพิพาทมีสภาพเป็นคันดินกว้าง 1.50 เมตร ยาวเพียง160 เมตร และเป็นทางตัน อยู่ในแนวเขตโฉนดที่ดินของจำเลย การที่โจทก์กับญาติหรือบุคคลอื่นใช้ทางพิพาทเข้าออกสู่ทางสาธารณะเป็นเรื่องความเอื้อเฟื้อถ้อยทีถ้อยอาศัยของชาวชนบท หาใช่เป็นการสละสิทธิทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะไม่การที่จำเลยลงชื่อในบันทึกตามคำบอกหรือคำแนะนำของกำนันยอมรับว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ ไม่เป็นผลให้ทางพิพาทกลับเป็นทางสาธารณะและไม่เป็นการสละสิทธิให้เป็นทางสาธารณะ
บันทึกที่จำเลยลงชื่อยอมรับว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะจะไม่กีดขวางโจทก์และราษฎรอีก 4 ครัวเรือนในการใช้เส้นทางร่วมกันเป็นเพียงข้อเท็จจริงประกอบที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยก็ทราบดีว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะเท่านั้น มิใช่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นสิทธิบังคับให้จำเลยเปิดทางพิพาทและศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ หาได้มีประเด็นเรื่องผลบังคับตามข้อตกลงในบันทึกไม่ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะยกประเด็นข้อตกลงในบันทึกขึ้นวินิจฉัยให้ ก็เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5787/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อที่นาหลังสละสิทธิ - การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต - อำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 ตกลงขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่านาก่อนแล้ว เมื่อโจทก์แสดงความประสงค์ไม่ซื้อที่นาพิพาทและยินยอมให้จำเลยที่ 1ขายที่นาพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว การที่โจทก์กลับมาร้องขอต่อคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลเพื่อวินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 ขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์นั้น เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2ขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์