พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4433/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา และการแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
การที่ ง. จัดการสินสมรสโดยยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสี่โดยเสน่หาและมิใช่การให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ง. ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(เดิม)เมื่อไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ การให้ดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกที่ดินพิพาทอันเป็นสินสมรสส่วนของตนคืนได้ โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ง. ตั้งแต่พ.ศ. 2465 ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5พ.ศ. 2477 ซึ่งตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 ดังนั้นการแบ่งสินสมรสของโจทก์กับ ง. จึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 หาใช่แบ่งคนละส่วนเท่ากันตามมาตรา 1533 ไม่ปรากฎว่าโจทก์กับ ง. ต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน เมื่อ ง. ถึงแก่ความตาย สินสมรสต้องแบ่งเป็นสามส่วน เป็นของ ง. สองส่วน อีกส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งนั้นเป็นการพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งสินสมรสมากกว่าส่วนที่โจทก์ควรจะได้รับตามกฎหมาย เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ฎีกาในปัญหานี้ศาลฎีกาก็เห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4433/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินสินสมรสให้บุตรหลานต้องได้รับความยินยอมจากภริยา การแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
การที่ ง. ยกที่ดินสินสมรสให้จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นบุตรและหลานโดยเสน่หามิใช่การให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยา เมื่อไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์การให้ดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกที่ดินอันเป็นสินสมรสส่วนของตนคืนได้ โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ง. ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 พ.ศ. 2477 ซึ่งตาม พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่ง พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 ดังนั้นการแบ่งสินสมรสของโจทก์กับ ง. จึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 68 หาใช่แบ่งคนละส่วนเท่ากันตาม มาตรา 1533 ไม่ เมื่อโจทก์กับ ง. ต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน สินสมรสต้องแบ่งเป็น 3 ส่วน เป็นของ ง.2 ส่วน เป็นของโจทก์ 1 ส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1294/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสภาพการสมรสโดยการแยกกันอยู่เป็นเวลานานและการสมรสใหม่ ย่อมทำให้การสมรสเดิมสิ้นสุดลงตามกฎหมาย
คดีพิพาทกันว่า ใครควรเป็นทายาทอันจะมีสิทธิรับบำนาญตกทอดของผู้ตายตาม พ.ร.บ. บำเหน็จบำนาญ พ.ศ. 2494 เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
สามีกับภรรยาคนแรกแยกจากกัน มิได้อยู่ร่วมกันฉันทก์สามีภรรยาทั่ว ๆ ไป เป็นเวลา 35-36 ปี จนกระทั่งสามีถึงแก่กรรม เมื่อภรรยาคนแรกแยกจากสามี ๆ ได้ภรรยาคนที่สองอยู่กินด้วยกันรวม 15 ปี ก็เลิกร้างกันไป แล้วสามีจึงได้จดทะเบียนสมรสกับภรรยาคนที่สามและอยู่กินร่วมกันประมาณ 20 ปี จนกระทั่งสามีถึงแก่กรรม และปรากฏว่าก่อนที่สามีจะแยกทางกับภรรยาคนแรก ได้มีเรื่องขึ้งโกรธกันขึ้น โดยภรรยาคนแรกประพฤตินอกใจสามี ่จึงต้องละทิ้งสามีไปเที่ยวอาศัยคนโน้นบ้าง คนนี้บ้าง ต่างฝ่ายต่างขาดการติดต่อซึ่งกันและกันฉันท์สามีภรรยา จนเป็นที่เห็นว่าทั้งสองหมดเยื่อใยต่อกัน พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่า สามีและภรรยาคนแรกได้สมัครในหย่าขาดจากสามีภรรยากันแล้วตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 51 แม้มิได้ทำพิธีหย่าเป็นหนังสือ ก็เป็นการใช้ได้ตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 18/2502)
สามีกับภรรยาคนแรกแยกจากกัน มิได้อยู่ร่วมกันฉันทก์สามีภรรยาทั่ว ๆ ไป เป็นเวลา 35-36 ปี จนกระทั่งสามีถึงแก่กรรม เมื่อภรรยาคนแรกแยกจากสามี ๆ ได้ภรรยาคนที่สองอยู่กินด้วยกันรวม 15 ปี ก็เลิกร้างกันไป แล้วสามีจึงได้จดทะเบียนสมรสกับภรรยาคนที่สามและอยู่กินร่วมกันประมาณ 20 ปี จนกระทั่งสามีถึงแก่กรรม และปรากฏว่าก่อนที่สามีจะแยกทางกับภรรยาคนแรก ได้มีเรื่องขึ้งโกรธกันขึ้น โดยภรรยาคนแรกประพฤตินอกใจสามี ่จึงต้องละทิ้งสามีไปเที่ยวอาศัยคนโน้นบ้าง คนนี้บ้าง ต่างฝ่ายต่างขาดการติดต่อซึ่งกันและกันฉันท์สามีภรรยา จนเป็นที่เห็นว่าทั้งสองหมดเยื่อใยต่อกัน พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่า สามีและภรรยาคนแรกได้สมัครในหย่าขาดจากสามีภรรยากันแล้วตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 51 แม้มิได้ทำพิธีหย่าเป็นหนังสือ ก็เป็นการใช้ได้ตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 18/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1611/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์เรือนหอในกฎหมายลักษณะผัวเมีย การชำระราคาสำคัญกว่ารูปแบบสัญญา
โจทก์แต่งงานกับบุตรจำเลย ๆ ได้ขายเรือนของจำเลยให้แก่โจทก์เป็นเรือนหอซึ่งในขณะนั้นความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยายังใช้กฎหมายลักษณะผัวเมียอยู่ ซึ่งตามกฎหมายนั้นเรือนหอเป็นสินเดิมของฝ่ายที่ออกทรัพย์ปัญหาว่ากรรมสิทธิ์ในเรือนหอเป็นของใคร จึงอยู่ที่ว่าได้ชำระราคากันแล้วหรือยัง หาใช่เรื่องการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามลักษณะซื้อขายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสก่อนใช้ ป.ม.แพ่ง บรรพ 5: ใช้กฎหมายผัวเมียเดิม
สมรสกันก่อนใช้ ป.ม.แพ่ง ฯ บรรพ 5 การแบ่งสินสมรสต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมียเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2478
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิในเรือนหอตามกฎหมายผัวเมียเดิม: เงินค่าเรือนหอทำให้เรือนหอตกเป็นของฝ่ายชาย
ขายให้เงินแก่ฝ่ายหญิงเป็นค่าเรือนหอที่ปลูกอยู่แล้วในที่ดินของฝ่ายหญิง เมื่อพ.ศ.2469 เรือนนั้นต้องเป็นเรือนหอและตกได้แก่ขาย อ้างฎีกาที่ 612/125 การใช้กฎหมายเรื่องผัวเมียที่เกิดขึ้นในสมัยกฎหมายผัวเมียอย่างเก่า ต้องใช้กฎหมายเก่านั้นบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายผัวเมีย ไม่มีอำนาจฟ้อง
พูดยกที่ดินโฉนดแผนที่ให้แก่กัน เป็นการใช้ไม่ได้ ตามกฎหมายผัวเมีย เทียบฎีกาที่ 441,442/2471 ลูกเขยฟ้องพ่อตาไม่เป็นอุทลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1060/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจยึดทรัพย์จากผู้ต้องหา และสถานะภรรยาตามกฎหมาย: กฎมณเฑียรบาลไม่กระทบกฎหมายผัวเมีย
เจ้าทุกข์มีอำนาจยึดทรัพย์ของจำเลย การเปนผัวเมียกันกฎมณเฑียรบาลไม่แก้ไขกฎหมายผัวเมีย ทรัพย์ระวางผัวเมียต้องรับผิดชอบ