คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 645/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดิน: การครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จและการพิสูจน์กรรมสิทธิ์เดิม
ผู้ครอบครองที่บ้าน ที่สวนอยู่ตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ บทที่ 42 ย่อมได้กรรมสิทธิ์
เข้าแย่งการครอบครองเมื่อ 5 ปีมานี้ การแย่งการครอบครองที่บ้าน ที่สวนซึ่งผู้ครอบครองมีกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ ผู้แย่งการครอบครองจะต้องครอบครองโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 จึงจะได้กรรมสิทธิ์
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินหลังสามีเสียชีวิต: ไม่ต้องฟ้องภายใน 1 ปี และพิจารณาอายุการครอบครองตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ
ในกรณีที่มีผู้ครอบครองที่ดินของสามีที่ตายไปแล้ว ภริยาไม่จำต้องเรียกร้องเอาคืนภายใน 1 ปี ตามอายุความมรดกเพราะกรณีไม่ใช่เรียกร้องตามสิทธิของเจ้าหน้าอันมีต่อกองมรดก และไม่ใช่เป็นเรื่องพิพาทในระหว่างทายาท
การที่จะใช้กฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จบทที่ 42 บังคับในกรณีที่เจ้าของที่ดินไม่ครอบครองที่ดินนั้น ต้องแล้วแต่ว่าที่ดินนั้นได้เป็นที่บ้านที่สวนตั้งแต่เมื่อใด คือ ก่อนหรือหลังวันที่ 1 เมษายน 2475 ซึ่งเป็นวัน ประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สิน ถ้าเป็นที่บ้านที่สวนมาก่อน ก็ต้องนำเอากฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จมาบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินหลังสามีเสียชีวิต: อายุความ & กฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ
ในกรณีที่มีผู้ครอบครองที่ดินของสามีที่ตายไปแล้วภริยาไม่จำต้องเรียกร้องเอาคืนภายใน 1 ปี ตามอายุความมรดก เพราะกรณีไม่ใช่เรียกร้องตามสิทธิของเจ้าหนี้อันมีต่อกองมรดกและไม่ใช่เป็นเรื่องพิพาทในระหว่างทายาท
การที่จะใช้กฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ บทที่ 42 บังคับในกรณีที่เจ้าของที่ดินไม่ครอบครองที่ดินนั้น ต้องแล้วแต่ว่าที่ดินนั้นได้เป็นที่บ้านที่สวนตั้งแต่เมื่อใด คือ ก่อนหรือหลังวันที่ 1 เมษายน 2475ซึ่งเป็นวันประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สิน ถ้าเป็นที่บ้านที่สวนมาก่อน ก็ต้องนำเอากฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จมาบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1570/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: การพิจารณาอายุความตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จและกฎหมายปัจจุบันเมื่อที่ดินมีประวัติครอบครองก่อนมีการออกกฎหมาย
ที่พิพาทแม้โจทก์จะได้เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาว่าจำเลยบุกรุกมาแล้ว และในดคีอาญานั้นแม้ศาลจะได้พิจารณายกฟ้องโจทก์เพราะเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นผิดทางอาญาโดยมิได้กล่าวถึงสิทธิในทางแพ่งแต่อย่างใด ต่อมาโจทก์จึงฟ้องคดีแพ่งขอให้ศาลบังคับจำเลยและบริวารออกจากที่พิพาท ดังนี้การที่จะวินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือจำเลยต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 47
เมื่อที่พิพาทเป็นที่บ้านที่สวนมาก่อนประกาศใช้ ป.พ.พ.บรรพ 4 และ พ.ร.บ. ออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2479 แล้ว ดังนี้แม้ที่พิพาทจะเป็นที่มือเปล่าก็ตาม ก็ต้องนำกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จบทที่ 42 มาใช้บังคับคดีโดยถืออายุความสละที่ดิน 9 ปี 10 ปีไม่ใช่อายุความ 1 ปี ตามนัยฎีกาที่ 759/2494.
(ฎีกาที่ 759/2494)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดิน: การพิสูจน์สภาพเป็น 'ที่สวน' ตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ และอายุความครอบครอง
ที่ส่วนหนึ่งของสวน แม้จะไม่มีไม้ยืนต้นอยู่เต็มเนื้อที่แต่ก็มีอยู่ไม่น้อยย่อมเป็นที่สวนตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จบทที่ 42 ต้องใช้อายุความ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 759/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินโดยมือเปล่าและการคุ้มครองตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จบทที่ 42 หากยังไม่ถึง 9-10 ปี
ผู้ที่ได้ครอบครองที่บ้านที่สวนอยู่โดยมือเปล่าก่อนมีป.ม.ก.ม.แพ่งและพาณิชย์และ ก.ม.ว่าด้วยการออกโฉนดที่ดินนั้น ได้รับความคุ้มครองตาม ก.ม.ลักษณะเบ็ดเสร็จบทที่ 42 คือสละที่ดินไปยังไม่ถึง 9 ปี 10 ปี ก็ยังไม่ขาดสิทธิในที่นั้น