พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยมรดกใช้ ป.พ.พ. ก่อน หากเป็นมรดกจึงใช้กฎหมายอิสลามได้ ศาลล่างพิพากษาถูกต้องฟ้องขาดอายุความ
แม้โจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นอิสลามศาสนิกอยู่ในจังหวัดนราธิวาส แต่ในการวินิจฉัยว่าทรัพย์สินใดเป็นมรดกหรือไม่ จะนำกฎหมายอิสลามมาใช้บังคับไม่ได้ ต้องใช้ ป.พ.พ. เป็นหลักวินิจฉัยก่อน
คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาททั้งที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายอิสลามและที่มิใช่ข้อกฎหมายอิสลามปะปนกันอยู่ การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่มีดะโต๊ะยุติธรรมนั่งพิจารณาพร้อมด้วยผู้พิพากษา การพิจารณาคดีจะไม่เป็นการชอบด้วย พ.ร.บ. ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489 มาตรา 4 วรรคแรก ก็แต่เฉพาะข้อพิพาทที่ต้องใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับเท่านั้น ส่วนการพิจารณาคดีในประเด็นข้ออื่นหาได้อยู่ในบังคับที่ต้องมีดะโต๊ะยุติธรรมร่วมพิจารณาด้วยไม่
ประเด็นข้อพิพาทที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของมารดาจำเลยทั้งสอง หรือเป็นมรดกของบิดาโจทก์และจำเลยทั้งสอง และประเด็นข้อพิพาทที่ว่าคดีขาดอายุความแล้วหรือไม่ ทั้งสองข้อหานี้หาใช่ข้อกฎหมายอิสลามที่ดะโต๊ะยุติธรรมจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดไม่ แม้ดะโต๊ะยุติธรรมจะมิได้ร่วมนั่งพิจารณาด้วย ก็ไม่ทำให้กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นต้องเสียไปแต่อย่างใด
จำเลยทั้งสองได้ให้การต่อสู้อย่างชัดแจ้งว่าฟ้องของโจทก์ขาดอายุความเรียกร้องขอส่วนแบ่งมรดกแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 และในชั้นพิจารณา จำเลยทั้งสองก็นำสืบว่าเจ้ามรดกถึงแก่ความตายในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2534 จึงเป็นการนำสืบตามข้อต่อสู้ในเรื่องอายุความแล้ว ส่วนที่จำเลยทั้งสองเบิกความตอบคำถามค้านของทนายโจทก์ว่า หากที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นมรดกก็จะยอมแบ่งให้แก่โจทก์นั้น เป็นเพียงการแสดงความบริสุทธิ์ใจของจำเลยทั้งสองที่ไม่ประสงค์จะฉ้อโกงโจทก์ หาใช่เป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/24 ที่ต้องแสดงเจตนาอย่างชัดแจ้งก่อนการฟ้องคดีไม่
คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาททั้งที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายอิสลามและที่มิใช่ข้อกฎหมายอิสลามปะปนกันอยู่ การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่มีดะโต๊ะยุติธรรมนั่งพิจารณาพร้อมด้วยผู้พิพากษา การพิจารณาคดีจะไม่เป็นการชอบด้วย พ.ร.บ. ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489 มาตรา 4 วรรคแรก ก็แต่เฉพาะข้อพิพาทที่ต้องใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับเท่านั้น ส่วนการพิจารณาคดีในประเด็นข้ออื่นหาได้อยู่ในบังคับที่ต้องมีดะโต๊ะยุติธรรมร่วมพิจารณาด้วยไม่
ประเด็นข้อพิพาทที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของมารดาจำเลยทั้งสอง หรือเป็นมรดกของบิดาโจทก์และจำเลยทั้งสอง และประเด็นข้อพิพาทที่ว่าคดีขาดอายุความแล้วหรือไม่ ทั้งสองข้อหานี้หาใช่ข้อกฎหมายอิสลามที่ดะโต๊ะยุติธรรมจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดไม่ แม้ดะโต๊ะยุติธรรมจะมิได้ร่วมนั่งพิจารณาด้วย ก็ไม่ทำให้กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นต้องเสียไปแต่อย่างใด
จำเลยทั้งสองได้ให้การต่อสู้อย่างชัดแจ้งว่าฟ้องของโจทก์ขาดอายุความเรียกร้องขอส่วนแบ่งมรดกแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 และในชั้นพิจารณา จำเลยทั้งสองก็นำสืบว่าเจ้ามรดกถึงแก่ความตายในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2534 จึงเป็นการนำสืบตามข้อต่อสู้ในเรื่องอายุความแล้ว ส่วนที่จำเลยทั้งสองเบิกความตอบคำถามค้านของทนายโจทก์ว่า หากที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นมรดกก็จะยอมแบ่งให้แก่โจทก์นั้น เป็นเพียงการแสดงความบริสุทธิ์ใจของจำเลยทั้งสองที่ไม่ประสงค์จะฉ้อโกงโจทก์ หาใช่เป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/24 ที่ต้องแสดงเจตนาอย่างชัดแจ้งก่อนการฟ้องคดีไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3849/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการใช้กฎหมายอิสลามในคดีครอบครัวและมรดก: การให้ทรัพย์สินระหว่างมีชีวิตอยู่
บทบัญญัติมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489 นั้น หมายความว่าคดีแพ่งที่เกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวและมรดกตาม ป.พ.พ.ว่าด้วยครอบครัวและมรดกของผู้นับถือศาสนาอิสลามอันเกิดขึ้นในศาลของสี่จังหวัดดังกล่าว ให้ศาลใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับแทน ดังนั้น กรณีที่จะเป็นคดีต้องด้วยพ.ร.บ.ดังกล่าวจึงต้องเป็นคดีมรดกตาม ป.พ.พ.เสียก่อน
คดีนี้เป็นเรื่องเจ้ามรดกยกที่ดินอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นสิทธิแก่จำเลยและจำเลยร่วมตั้งแต่เจ้ามรดกยังไม่ถึงแก่ความตาย การยกที่ดินพิพาทให้ดังกล่าวแม้จะทำตามหลักกฎหมายอิสลามที่เรียกว่าพิธีแฮร์เบอะ โดยทำพิธีอย่างถูกต้องที่บ้านโต๊ะอิหม่ามก็ตาม กรณีก็ไม่ใช่เรื่องมรดกเพราะเป็นเรื่องให้ระหว่างมีชีวิตอยู่ บทกฎหมายในเรื่องนี้จึงต้องใช้ ป.พ.พ.บังคับแก่คดี
คดีนี้เป็นเรื่องเจ้ามรดกยกที่ดินอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นสิทธิแก่จำเลยและจำเลยร่วมตั้งแต่เจ้ามรดกยังไม่ถึงแก่ความตาย การยกที่ดินพิพาทให้ดังกล่าวแม้จะทำตามหลักกฎหมายอิสลามที่เรียกว่าพิธีแฮร์เบอะ โดยทำพิธีอย่างถูกต้องที่บ้านโต๊ะอิหม่ามก็ตาม กรณีก็ไม่ใช่เรื่องมรดกเพราะเป็นเรื่องให้ระหว่างมีชีวิตอยู่ บทกฎหมายในเรื่องนี้จึงต้องใช้ ป.พ.พ.บังคับแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3849/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกทรัพย์สินให้ระหว่างมีชีวิตอยู่ไม่ใช่การมรดก ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บทบัญญัติมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูลพ.ศ. 2489 นั้น หมายความว่าคดีแพ่งที่เกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวและมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยครอบครัวและมรดกของผู้นับถือศาสนาอิสลามอันเกิดขึ้นในศาล ของสี่จังหวัดดังกล่าว ให้ศาลใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับแทน ดังนั้น กรณีที่จะเป็นคดีต้องด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงต้องเป็นคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เสียก่อน คดีนี้เป็นเรื่องเจ้ามรดกยกที่ดินอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นสิทธิแก่จำเลยและจำเลยร่วมตั้งแต่เจ้ามรดกยังไม่ถึงแก่ความตาย การยกที่ดินพิพาทให้ดังกล่าวแม้จะทำตามหลักกฎหมายอิสลาม ที่เรียกว่าพิธีแฮร์เบอะ โดยทำพิธีอย่างถูกต้องที่บ้านโต๊ะอิหม่ามก็ตาม กรณีก็ไม่ใช่เรื่องมรดกเพราะเป็นเรื่องให้ระหว่างมีชีวิตอยู่ บทกฎหมายในเรื่องนี้จึงต้องใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บังคับแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3574/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสในกฎหมายอิสลาม: การปรับใช้ ป.พ.พ. เมื่อกฎหมายอิสลามไม่ได้บัญญัติชัดเจน
แม้โจทก์และจำเลยเป็นอิสลามศาสนิกอยู่ในจังหวัดนราธิวาสซึ่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลาและสตูล พ.ศ.2489 มาตรา 3 บัญญัติให้ใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับแทนบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.ว่าด้วยการนั้นก็ตาม แต่เนื่องจากกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกไม่มีบัญญัติไว้ว่าทรัพย์สินที่ซื้อมาระหว่างสมรสเป็นสินสมรสระหว่างผู้ซื้อกับคู่สมรสหรือเป็นสินส่วนตัวของผู้ซื้อ จึงต้องใช้ ป.พ.พ.มาปรับแก่กรณี
โจทก์สมรสกับจำเลยตามกฎหมายอิสลามตั้งแต่ พ.ศ.2521และโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทและจดทะเบียนโอนใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของ ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส โดยซื้อมาจากเงินที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ร่วมกัน จึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 1474 (1)
โจทก์สมรสกับจำเลยตามกฎหมายอิสลามตั้งแต่ พ.ศ.2521และโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทและจดทะเบียนโอนใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของ ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส โดยซื้อมาจากเงินที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ร่วมกัน จึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 1474 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังหย่าตามหลักกฎหมายอิสลาม: ข้อตกลงการแบ่งและสถานะสินสมรส
โจทก์ฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรส ประเด็นหย่าและสินสมรสบางรายการยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คงมีประเด็นชั้นฎีกาเพียงว่ามีข้อตกลงแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยอย่างไร บ้านและรถยนต์กระบะเป็นสินสมรสหรือไม่ จึงเป็นคดีที่พิพาทกันเรื่องสิทธิในครอบครัว แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นเงิน 57,500 บาทก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจัดการมรดก: การพิสูจน์ความเป็นบุตรตามหลักกฎหมายอิสลาม และอำนาจศาลในการวินิจฉัยข้อกฎหมายอิสลาม
การที่ผู้คัดค้านมิใช่ทายาทของผู้ตายในอันที่จะมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 ทั้งยังฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมายมิให้เป็น ผู้จัดการมรดกของผู้ตายอีกด้วย ฉะนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฟังว่า ผู้ร้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตามหลักกฎหมายอิสลามของผู้ตาย เป็นทายาทผู้มีส่วนได้เสียและไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมายการที่ผู้คัดค้านฎีกาคัดค้านเพียงว่า ผู้ร้องมิใช่บุตรของผู้ตายจึงมีผลเช่นเดียวกับผู้คัดค้านซึ่งมิใช่ทายาทและมิได้มีส่วนได้เสียในมรดกของผู้ตายมาคัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดก ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิคัดค้านการตั้ง ผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องมรดก คดีเกิดในจังหวัดนราธิวาส ผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นอิสลามศาสนิก จึงตกอยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามมาตรา 3 ที่ต้องใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับแทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตามมาตรา 4 บัญญัติให้ดะโต๊ะยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม ปัญหาที่ว่าผู้ร้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยหลักกฎหมายอิสลามของผู้ตายหรือไม่และผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ตามหลักกฎหมายอิสลามหรือไม่เป็นข้อกฎหมายอิสลามที่ดะโต๊ะยุติธรรมต้องเป็นผู้ชี้ขาดศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่มีอำนาจวินิจฉัยข้อกฎหมายอิสลามได้ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ในปัญหาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสตามกฎหมายอิสลามและลักษณะผัวเมีย การแบ่งมรดกและผลของพินัยกรรม
เจ้ามรดกได้รับที่พิพาทจากบิดาในระหว่างที่สมรสกับมารดาโจทก์ตามกฎหมายอิสลามก่อนวันที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ใช้บังคับ ตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกไม่มีบัญญัติว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นสินสมรสหรือไม่ ต้องใช้กฎหมายลักษณะผัวเมียอันเป็นกฎหมายในขณะนั้นบังคับ ที่พิพาทจึงเป็นสินสมรส ต่อมามารดาโจทก์ถึงแก่กรรม เมื่อไม่ปรากฏว่าทั้งเจ้ามรดกและมารดาโจทก์มีสินเดิมหรือไม่ ที่พิพาทจึงตกเป็นของมารดาโจทก์1 ส่วนและตกเป็นของเจ้ามรดกเอง 2 ส่วน เฉพาะทรัพย์ส่วนที่เป็นของมารดาโจทก์นั้นต้องแบ่งแก่ทายาทตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก ข้อความในพินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงผูกพันที่พิพาทเฉพาะส่วนของเจ้ามรดก ไม่มีผลผูกพันส่วนของมารดาโจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิจะได้รับทั้งส่วนที่เป็นมรดกของมารดาโจทก์และส่วนของเจ้ามรดกที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ปัญหาว่าส่วนของมารดาโจทก์จะต้องแบ่งกันตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก และโจทก์ซึ่งเป็นทายาทจะได้รับส่วนของมารดาโจทก์เท่าใด เป็นข้อกฎหมายอิสลามที่ดะโต๊ะยุติธรรมต้องเป็นผู้ชี้ขาด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามฯพ.ศ. 2489 มาตรา 3,4 จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2812-2816/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลื่อนล้างกัน, ค่าสินไหมทดแทน, กฎหมายอิสลามครอบครัวและมรดก, อำนาจฟ้อง
เมื่อลูกจ้างของฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยต่างมีความประมาทพอ ๆ กัน มิได้ยิ่งหย่อนกว่ากัน สมควรให้ค่าสินไหมทดแทนอันจะพึงใช้แก่กันนั้นเป็นพับ และเป็นผลถึงโจทก์และจำเลยในฐานะที่ต่างฝ่ายต่างเป็นนายจ้างของลูกจ้างผู้กระทำละเมิดดังกล่าวไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเช่นกัน
โจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3 เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดยะลา ซึ่งได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานีนราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษให้ใช้บังคับแก่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม อันเกี่ยวด้วยครอบครัวและมรดก เฉพาะในสี่จังหวัดดังกล่าว แทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 บรรพ 6 เมื่อโจทก์ที่ 2 ที่ 3 นำสืบว่าได้แต่งงานเป็นสามีภรรยาโดยถูกต้องตามกฎหมายอิสลาม ซึ่งจำเลยมิได้นำสืบหักล้างจึงต้องฟังว่าโจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3 เป็นสามีภรรยาและเป็นบิดามารดาของบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นสิทธิเฉพาะตัวที่กฎหมายได้รับรอง โดยมิต้องคำนึงว่าจะเกิดเป็นคดีพิพาทในจังหวัดใด ๆ ก็ตาม และเมื่อมีผู้กระทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรของโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ก็มีอำนาจฟ้องผู้กระทำละเมิดให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้
โจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3 เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดยะลา ซึ่งได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานีนราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษให้ใช้บังคับแก่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม อันเกี่ยวด้วยครอบครัวและมรดก เฉพาะในสี่จังหวัดดังกล่าว แทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 บรรพ 6 เมื่อโจทก์ที่ 2 ที่ 3 นำสืบว่าได้แต่งงานเป็นสามีภรรยาโดยถูกต้องตามกฎหมายอิสลาม ซึ่งจำเลยมิได้นำสืบหักล้างจึงต้องฟังว่าโจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3 เป็นสามีภรรยาและเป็นบิดามารดาของบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นสิทธิเฉพาะตัวที่กฎหมายได้รับรอง โดยมิต้องคำนึงว่าจะเกิดเป็นคดีพิพาทในจังหวัดใด ๆ ก็ตาม และเมื่อมีผู้กระทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรของโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ก็มีอำนาจฟ้องผู้กระทำละเมิดให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2812-2816/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาททั้งสองฝ่ายและผลกระทบต่อค่าสินไหมทดแทน รวมถึงการใช้กฎหมายอิสลามบังคับกรณีครอบครัว
เมื่อลูกจ้างของฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยต่างมีความประมาทพอ ๆ กัน มิได้ยิ่งหย่อนกว่ากัน สมควรให้ค่าสินไหมทดแทนอันจะพึงใช้แก่กันนั้นเป็นพับ และเป็นผลถึงโจทก์และจำเลยในฐานะที่ต่างฝ่ายต่างเป็นนายจ้างของลูกจ้างผู้กระทำละเมิดดังกล่าวไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเช่นกัน
โจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3 เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดยะลา ซึ่งได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานีนราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษให้ใช้บังคับแก่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม อันเกี่ยวด้วยครอบครัวและมรดก เฉพาะในสี่จังหวัดดังกล่าว แทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 บรรพ 6 เมื่อโจทก์ที่ 2 ที่ 3 นำสืบว่าได้แต่งงานเป็นสามีภรรยาโดยถูกต้องตามกฎหมายอิสลาม ซึ่งจำเลยมิได้นำสืบหักล้างจึงต้องฟังว่าโจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3 เป็นสามีภรรยาและเป็นบิดามารดาของบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นสิทธิเฉพาะตัวที่กฎหมายได้รับรอง โดยมิต้องคำนึงว่าจะเกิดเป็นคดีพิพาทในจังหวัดใด ๆ ก็ตาม และเมื่อมีผู้กระทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรของโจทก์ที่ 2 ที่ 3ถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ก็มีอำนาจฟ้องผู้กระทำละเมิดให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้
โจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3 เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดยะลา ซึ่งได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานีนราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษให้ใช้บังคับแก่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม อันเกี่ยวด้วยครอบครัวและมรดก เฉพาะในสี่จังหวัดดังกล่าว แทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 บรรพ 6 เมื่อโจทก์ที่ 2 ที่ 3 นำสืบว่าได้แต่งงานเป็นสามีภรรยาโดยถูกต้องตามกฎหมายอิสลาม ซึ่งจำเลยมิได้นำสืบหักล้างจึงต้องฟังว่าโจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3 เป็นสามีภรรยาและเป็นบิดามารดาของบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นสิทธิเฉพาะตัวที่กฎหมายได้รับรอง โดยมิต้องคำนึงว่าจะเกิดเป็นคดีพิพาทในจังหวัดใด ๆ ก็ตาม และเมื่อมีผู้กระทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรของโจทก์ที่ 2 ที่ 3ถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ก็มีอำนาจฟ้องผู้กระทำละเมิดให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1575/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดะโต๊ะยุติธรรมในการวินิจฉัยข้อกฎหมายอิสลาม และการฟ้องอาญามาตรา 157
จำเลยดำรงตำแหน่งเป็นดะโต๊ะยุติธรรมประจำศาลจังหวัดปัตตานีได้วินิจฉัยชี้ขาดและลงลายมือชื่อในคำพิพากษาที่วินิจฉัยข้อกฎหมายอิสลามเรื่องมรดกของศาลดังกล่าวตามอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามฯ จำเลยจึงมีฐานะเป็นผู้พิพากษา มีอำนาจหน้าที่ที่จะนั่งพิจารณาร่วมกับผู้พิพากษาศาลชั้นต้น และวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายนั้นได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นดะโต๊ะยุติธรรม ได้วินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามในเรื่องสละมรดกของโจทก์ที่ 1 แตกต่างไปจากคำแปลหลักกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวมรดกมาตรา 194 วรรค 1 ซึ่งทางราชการกระทรวงยุติธรรมได้จัดทำขึ้น หากจำเลยวินิจฉัยชี้ขาดตามคำแปลดังกล่าว มรดกที่โจทก์ที่ 1 สละ ย่อมตกได้แก่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของโจทก์ที่ 1 การกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ฝ่าฝืนระเบียบปฏิบัติ ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ดังนี้ เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่เห็นพ้องด้วยข้อวินิจฉัยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้โจทก์จะอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านคำวินิจฉัยนั้นไม่ได้ ก็เป็นเรื่องกฎหมายวิธีสบัญญัติ เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบอย่างไรเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ฟ้องของโจทก์จึงไม่เข้าองค์ประกอบความผิดของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นดะโต๊ะยุติธรรม ได้วินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามในเรื่องสละมรดกของโจทก์ที่ 1 แตกต่างไปจากคำแปลหลักกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวมรดกมาตรา 194 วรรค 1 ซึ่งทางราชการกระทรวงยุติธรรมได้จัดทำขึ้น หากจำเลยวินิจฉัยชี้ขาดตามคำแปลดังกล่าว มรดกที่โจทก์ที่ 1 สละ ย่อมตกได้แก่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของโจทก์ที่ 1 การกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ฝ่าฝืนระเบียบปฏิบัติ ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ดังนี้ เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่เห็นพ้องด้วยข้อวินิจฉัยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้โจทก์จะอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านคำวินิจฉัยนั้นไม่ได้ ก็เป็นเรื่องกฎหมายวิธีสบัญญัติ เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบอย่างไรเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ฟ้องของโจทก์จึงไม่เข้าองค์ประกอบความผิดของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157