พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาทางสาธารณประโยชน์อยู่ที่นายอำเภอ ไม่ใช่กรมที่ดิน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ที่ดินที่ตกเป็นที่สาธารณประโยชน์ ถ้าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น อำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาย่อมตกเป็นของอธิบดีกรมที่ดินตามที่บัญญัติไว้ใน ป.ที่ดินฯ มาตรา 8 แต่สำหรับทางสาธารณประโยชน์นั้น พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ฯ มาตรา 122 ได้บัญญัติให้กรมการอำเภอเป็นผู้มีหน้าที่ตรวจตรารักษา ซึ่งต่อมาได้โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯ มาตรา 62 วรรคสาม เห็นได้ว่าอำนาจในการกำหนดแนวเขตทางหรืออำนาจในการดูแลรักษาทางอันเป็นสาธารณประโยชน์ มิใช่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมที่ดินจำเลยและส่วนราชการของจำเลย เมื่อส่วนราชการของจำเลยไม่มีหน้าที่กำหนดให้ทางพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์ การที่เจ้าพนักงานที่ดินประจำส่วนราชการของจำเลยได้รังวัดที่ดินและระบุว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะตามที่ผู้ได้รับมอบอำนาจจากนายอำเภอหัวหินนำชี้และรังวัดแนวเขตที่ดิน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ดูแลรักษาทางสาธารณประโยชน์: นายอำเภอ vs. กรมที่ดิน และการไม่มีอำนาจฟ้อง
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ถ้าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น อำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาตกเป็นของอธิบดีกรมที่ดิน ตาม ป. ที่ดิน มาตรา 8 แต่สำหรับทางสาธารณประโยชน์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 122 ได้บัญญัติให้กรมการอำเภอเป็นผู้มีหน้าที่ตรวจตรารักษา ซึ่งต่อมาได้โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 62 วรรคสาม ดังนั้น อำนาจในการกำหนดแนวเขตทางสาธารณะจึงมิใช่เป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลย การที่เจ้าพนักงานที่ดินในสังกัดส่วนราชการของจำเลยได้รังวัดที่ดินและระบุว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะตามที่ผู้ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอนำชี้และระวังแนวเขตที่ดิน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7344/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรมที่ดินกรณีโฉนดที่ดินคลาดเคลื่อน และอายุความในการฟ้องเพิกถอนโฉนดที่ดิน
การออกโฉนดที่ดินเป็นงานที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกรมที่ดิน เมื่อโจทก์เห็นว่าการออกโฉนดที่ดิน คลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องกรมที่ดินได้ แม้ป.ที่ดิน มาตรา 61 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมโดย ป.ที่ดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2428 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จะมีบทบัญญัติให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินสำหรับจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครที่ออกโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม ก็เป็นเพียงบทบัญญัติที่กฎหมายประสงค์จะกระจายอำนาจให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดได้ด้วยเท่านั้น ไม่ได้ห้ามมิให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการออกโฉนดที่ดินฟ้องกรมที่ดินแต่อย่างใด
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 2 เลขที่ 3816 ในส่วนรุกล้ำเข้ามาในโฉนดที่ดินพิพาทของผู้ตาย ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 เป็นการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินของผู้ตาย ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความและไม่อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ดังนั้น แม้จะเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 2 เลขที่ 3816 ในส่วนรุกล้ำเข้ามาในโฉนดที่ดินพิพาทของผู้ตาย ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 เป็นการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินของผู้ตาย ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความและไม่อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ดังนั้น แม้จะเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8833/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถานและคำสั่งไม่อนุญาตเรียกกรมที่ดินเป็นโจทก์ร่วม ศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การและฟ้องแย้งหลังจากศาลชี้สองสถานแล้วตามคำให้การเดิมจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ส่วนคำให้การที่จำเลยจะขอแก้ไขใหม่จำเลยก็อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ซึ่งแสดงว่า จำเลยรู้ตั้งแต่เวลาที่ยื่นคำให้การเดิมแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่ ไม่ใช่จำเลยเพิ่งรู้ในวันที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยดูแผนที่วิวาทซึ่งเป็นวันเดียวกับวันชี้สองสถาน จึงไม่ใช่กรณีมีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ
เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เรียกกรมที่ดินเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมตามคำร้องของจำเลย จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะรับวินิจฉัยปัญหานี้ให้ ก็เป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เรียกกรมที่ดินเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมตามคำร้องของจำเลย จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะรับวินิจฉัยปัญหานี้ให้ ก็เป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8045/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขอหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดิน: การปฏิบัติตามขั้นตอนและหนังสือเวียนของกรมที่ดิน
แม้ที่ดินที่โจทก์ขอให้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์มิได้อยู่ในเขตท้องที่ที่ได้ประกาศเป็นที่สาธารณประโยชน์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏในบันทึกของช่างรังวัดซึ่งเสนอนายอำเภอว่า ที่ดินที่โจทก์ขอให้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตั้งอยู่ในทุ่งสงวนเลี้ยงสัตว์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว ในกรณีเช่นนี้นายอำเภอจะต้องปฏิบัติตามหนังสือเวียนของกระทรวงมหาดไทย โดยเมี่อนายอำเภอหาดใหญ่รับเรื่องราวและดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้วต้องส่งเรื่องราวทั้งหมดไปให้กรมที่ดินพิจารณาก่อน แต่กลับปรากฏว่ามีประกาศของนายอำเภอว่าผู้ใดจะคัดค้านการขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ให้คัดค้านภายใน 30 วัน นับแต่วันประกาศ และต่อมาก็ไม่ปรากฏว่านายอำเภอได้ส่งเรื่องของโจทก์ไปยังกรมที่ดินหรือแจ้งให้โจทก์ทราบเกี่ยวกับการดำเนินการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด จนกระทั่งได้เปลี่ยนแปลงเขตการปกครองโดยย้ายที่ดินแปลงพิพาทที่โจทก์ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โจทก์จึงได้ทำหนังสือถึงจำเลยที่ 1 ในฐานะปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอให้สั่งการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์ ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่า จากการตรวจสอบเรื่องราวการขอรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ปรากฏว่าที่ดินแปลงที่โจทก์ขอให้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์อยู่ในพื้นที่ที่ทางราชการได้สงวนหวงห้ามไว้ให้เป็นที่สำหรับประชาชนใช้เลี้ยงสัตว์ซึ่งก่อนที่จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ซึ่งจะต้องส่งเรื่องราวทั้งหมดไปให้กรมที่ดินพิจารณาก่อน ทั้งก่อนส่งเรื่องราวดังกล่าวไปให้กรมที่ดินพิจารณาจะต้องทำการตรวจสอบโดยละเอียดรอบคอบก่อนว่า ส.ค.1 ฉบับที่โจทก์นำไปเป็นหลักฐานในการขอรับรองการทำประโยชน์นั้นเป็น ส.ค.1 ที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และกำลังดำเนินการพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการอยู่ พร้อมทั้งรวบรวมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ให้ครบถ้วนก่อนส่งเรื่องไปให้กรมที่ดินพิจารณา กรณีเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 ยังมิได้ปฏิเสธที่จะไม่ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์ เพราะจำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติตามหนังสือเวียนของกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้นและอยู่ในระหว่างดำเนินการอยู่ โจทก์ก็มาฟ้องเป็นคดีนี้โดยที่จำเลยที่ 1 ยังมิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แต่อย่างใด ทั้งกรณีของโจทก์นี้ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่ให้สิทธิโจทก์ฟ้องคดีต่อศาล โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4374/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำเลยที่เป็นส่วนราชการ, การอุทิศที่ดินเป็นสาธารณสมบัติ, และความรับผิดของกรมที่ดินต่อการออกโฉนด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 68 (เดิม) ที่ใช้บังคับอยู่ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีบัญญัติว่า นิติบุคคลนั้น จะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งบทบัญญัติทั้งหลายของประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายใดบัญญัติให้สำนักงานเขตพระนคร จำเลยที่ 2 และสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 4 มีฐานะเป็นนิติบุคคลแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 จึงเป็นเพียงส่วนราชการในสังกัดของกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 และกรมที่ดินจำเลยที่ 3ตามลำดับเท่านั้น และไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2และจำเลยที่ 4
การที่พระธรรมปาโมกข์รักษาการแทนเจ้าอาวาสโจทก์ในขณะนั้นยินยอมให้เทศบาลนครกรุงเทพ (จำเลยที่ 1 ในขณะนั้น) ขยายถนนอัษฎางค์เข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตก เป็นกรณีที่วัดยินยอมให้มีการขยายเขตถนนเดิมซึ่งเป็นทางหลวงอยู่แล้วเข้าไปในที่วัดถือได้ว่าโจทก์ได้อุทิศที่ดินส่วนนี้โดยปริยายให้เป็นทางหลวง ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (2) และการอุทิศเช่นนี้ย่อมมีได้ ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121มาตรา 7 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2477มาตรา 3 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เพราะกรณีเช่นนี้หาใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดห้ามไว้ไม่ ที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตกส่วนที่ขยายเป็นถนนอัษฎางค์จึงเป็นทางสาธารณะ
แม้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการออกโฉนดที่ดิน แต่เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครก็เป็นข้าราชการที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกรมที่ดินจำเลยที่ 3 หากดำเนินการออกโฉนดที่ดินคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างใด อธิบดีกรมที่ดินหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 ดังนั้น จำเลยที่ 3 ในฐานะที่เป็นกรม ย่อมถูกฟ้องเป็นจำเลยเพื่อให้รับผิดชอบดำเนินการในเรื่องการออกโฉนดที่ดินได้ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3
การที่พระธรรมปาโมกข์รักษาการแทนเจ้าอาวาสโจทก์ในขณะนั้นยินยอมให้เทศบาลนครกรุงเทพ (จำเลยที่ 1 ในขณะนั้น) ขยายถนนอัษฎางค์เข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตก เป็นกรณีที่วัดยินยอมให้มีการขยายเขตถนนเดิมซึ่งเป็นทางหลวงอยู่แล้วเข้าไปในที่วัดถือได้ว่าโจทก์ได้อุทิศที่ดินส่วนนี้โดยปริยายให้เป็นทางหลวง ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (2) และการอุทิศเช่นนี้ย่อมมีได้ ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121มาตรา 7 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2477มาตรา 3 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เพราะกรณีเช่นนี้หาใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดห้ามไว้ไม่ ที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตกส่วนที่ขยายเป็นถนนอัษฎางค์จึงเป็นทางสาธารณะ
แม้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการออกโฉนดที่ดิน แต่เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครก็เป็นข้าราชการที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกรมที่ดินจำเลยที่ 3 หากดำเนินการออกโฉนดที่ดินคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างใด อธิบดีกรมที่ดินหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 ดังนั้น จำเลยที่ 3 ในฐานะที่เป็นกรม ย่อมถูกฟ้องเป็นจำเลยเพื่อให้รับผิดชอบดำเนินการในเรื่องการออกโฉนดที่ดินได้ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4374/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องนิติบุคคล, การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะ, และความรับผิดชอบของกรมที่ดินในการออกโฉนด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 68(เดิม) ที่ใช้บังคับอยู่ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีบัญญัติว่า นิติบุคคลนั้น จะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งบทบัญญัติทั้งหลายของประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายใดบัญญัติให้สำนักงานเขตพระนครจำเลยที่ 2 และสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 4 มีฐานะเป็นนิติบุคคลแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 จึงเป็นเพียงส่วนราชการในสังกัดของกรุงเทพมหานคร จำเลยที่1 และกรมที่ดินจำเลยที่ 3 ตามลำดับเท่านั้น และไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4
การที่พระธรรมปาโมกข์รักษาการแทนเจ้าอาวาสโจทก์ในขณะนั้นยินยอมให้เทศบาลนครกรุงเทพ (จำเลยที่1 ในขณะนั้น) ขยายถนนอัษฎางค์เข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตก เป็นกรณีที่วัดยินยอมให้มีการขยายเขตถนนเดิมซึ่งเป็นทางหลวงอยู่แล้วเข้าไปในที่วัดถือได้ว่าโจทก์ได้อุทิศที่ดินส่วนนี้โดยปริยายให้เป็นทางหลวง ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(2) และการอุทิศเช่นนี้ย่อมมีได้ ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มาตรา 7แก้ไขโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2477 มาตรา 3 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เพราะกรณีเช่นนี้หาใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดห้ามไว้ไม่ที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตกส่วนที่ขยายเป็นถนนอัษฎางค์จึงเป็นทางสาธารณะ
แม้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการออกโฉนดที่ดิน แต่เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครก็เป็นข้าราชการที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกรมที่ดินจำเลยที่ 3 หากดำเนินการออกโฉนดที่ดินตลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างใดอธิบดีกรมที่ดินหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 ดังนั้น จำเลยที่ 3 ในฐานะที่เป็นกรม ย่อมถูกฟ้องเป็นจำเลยเพื่อให้รับผิดชอบดำเนินการในเรื่องการออกโฉนดที่ดินได้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3
การที่พระธรรมปาโมกข์รักษาการแทนเจ้าอาวาสโจทก์ในขณะนั้นยินยอมให้เทศบาลนครกรุงเทพ (จำเลยที่1 ในขณะนั้น) ขยายถนนอัษฎางค์เข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตก เป็นกรณีที่วัดยินยอมให้มีการขยายเขตถนนเดิมซึ่งเป็นทางหลวงอยู่แล้วเข้าไปในที่วัดถือได้ว่าโจทก์ได้อุทิศที่ดินส่วนนี้โดยปริยายให้เป็นทางหลวง ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(2) และการอุทิศเช่นนี้ย่อมมีได้ ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มาตรา 7แก้ไขโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2477 มาตรา 3 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เพราะกรณีเช่นนี้หาใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดห้ามไว้ไม่ที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตกส่วนที่ขยายเป็นถนนอัษฎางค์จึงเป็นทางสาธารณะ
แม้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการออกโฉนดที่ดิน แต่เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครก็เป็นข้าราชการที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกรมที่ดินจำเลยที่ 3 หากดำเนินการออกโฉนดที่ดินตลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างใดอธิบดีกรมที่ดินหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 ดังนั้น จำเลยที่ 3 ในฐานะที่เป็นกรม ย่อมถูกฟ้องเป็นจำเลยเพื่อให้รับผิดชอบดำเนินการในเรื่องการออกโฉนดที่ดินได้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4374/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำเลยที่ไม่เป็นนิติบุคคล, การอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติ, และความรับผิดชอบของกรมที่ดินในการออกโฉนด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 638(เดิม) ที่ใช้บังคับอยู่ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีบัญญัติว่า นิติบุคคลนั้น จะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งบทบัญญัติทั้งหลายของประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายใดบัญญัติให้สำนักงานเขตพระนครจำเลยที่ 2 และสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 4 มีฐานะเป็นนิติบุคคลแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 จึงเป็นเพียงส่วนราชการในสังกัดของกรุงเทพมหานคร จำเลยที่1 และกรมที่ดินจำเลยที่ 3 ตามลำดับเท่านั้น และไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 การที่พระธรรมปาโมกข์รักษาการแทนเจ้าอาวาสโจทก์ในขณะนั้นยินยอมให้เทศบาลนครกรุงเทพ (จำเลยที่1 ในขณะนั้น) ขยายถนนอัษฎางค์เข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตก เป็นกรณีที่วัดยินยอมให้มีการขยายเขตถนนเดิมซึ่งเป็นทางหลวงอยู่แล้วเข้าไปในที่วัดถือได้ว่าโจทก์ได้อุทิศที่ดินส่วนนี้โดยปริยายให้เป็นทางหลวง ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(2) และการอุทิศเช่นนี้ย่อมมีได้ ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มาตรา 7แก้ไขโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2477 มาตรา 3 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เพราะกรณีเช่นนี้หาใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดห้ามไว้ไม่ที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตกส่วนที่ขยายเป็นถนนอัษฎางค์จึงเป็นทางสาธารณะ แม้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการออกโฉนดที่ดิน แต่เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครก็เป็นข้าราชการที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกรมที่ดินจำเลยที่ 3 หากดำเนินการออกโฉนดที่ดินตลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างใดอธิบดีกรมที่ดินหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61ดังนั้น จำเลยที่ 3 ในฐานะที่เป็นกรม ย่อมถูกฟ้องเป็นจำเลยเพื่อให้รับผิดชอบดำเนินการในเรื่องการออกโฉนดที่ดินได้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4374/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำเลยที่เป็นส่วนราชการ, การอุทิศที่ดินให้เป็นทางสาธารณะ, และความรับผิดของกรมที่ดิน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา638(เดิม)ที่ใช้บังคับอยู่ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีบัญญัติว่านิติบุคคลนั้นจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งบทบัญญัติทั้งหลายของประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นเมื่อไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายใดบัญญัติให้สำนักงานเขตพระนครจำเลยที่2และสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจำเลยที่4มีฐานะเป็นนิติบุคคลแต่อย่างใดจำเลยที่2และจำเลยที่4จึงเป็นเพียงส่วนราชการในสังกัดของกรุงเทพมหานครจำเลยที่1และกรมที่ดินจำเลยที่3ตามลำดับเท่านั้นและไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่2และจำเลยที่4 การที่พระธรรมปาโมกข์รักษาการแทนเจ้าอาวาสโจทก์ในขณะนั้นยินยอมให้เทศบาลนครกรุงเทพ(จำเลยที่1ในขณะนั้น)ขยายถนนอัษฎางค์เข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตกเป็นกรณีที่วัดยินยอมให้มีการขยายเขตถนนเดิมซึ่งเป็นทางหลวงอยู่แล้วเข้าไปในที่วัดถือได้ว่าโจทก์ได้อุทิศที่ดินส่วนนี้โดยปริยายให้เป็นทางหลวงซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(2)และการอุทิศเช่นนี้ย่อมมีได้ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ร.ศ.121มาตรา7แก้ไขโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ.2477มาตรา3อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นเพราะกรณีเช่นนี้หาใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดห้ามไว้ไม่ที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตกส่วนที่ขยายเป็นถนนอัษฎางค์จึงเป็นทางสาธารณะ แม้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการออกโฉนดที่ดินแต่เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครก็เป็นข้าราชการที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกรมที่ดินจำเลยที่3หากดำเนินการออกโฉนดที่ดินตลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างใดอธิบดีกรมที่ดินหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา61ดังนั้นจำเลยที่3ในฐานะที่เป็นกรมย่อมถูกฟ้องเป็นจำเลยเพื่อให้รับผิดชอบดำเนินการในเรื่องการออกโฉนดที่ดินได้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการจดทะเบียนสิทธิเก็บกิน: ความเห็นของกรมที่ดินไม่ใช่การโต้แย้งสิทธิและไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิเสธการจดทะเบียน
การที่กรมที่ดินจำเลยให้ความเห็นแก่เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบางกะปิ ว่า การจดทะเบียนสิทธิเก็บกินที่ผู้ทรงสิทธิเก็บกินเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่จะรับจดทะเบียนให้ไม่ได้ การให้ความเห็นดังกล่าวเพื่อประกอบการพิจารณาแก่เจ้าพนักงานที่ดิน เท่านั้น ส่วนการรับหรือไม่รับจดทะเบียนสิทธิเก็บกินเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานที่ดินตาม ป. ที่ดิน มาตรา 71 โดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับจำเลยเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินไม่จดทะเบียนสิทธิเก็บกิน จึงเป็นการกระทำของเจ้าพนักงานที่ดินตามหน้าที่ที่ ป.ที่ดินให้ไว้โดยเฉพาะไม่เกี่ยวข้องกับจำเลย การให้ความเห็นของจำเลยจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง และปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง