พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4015/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมซ้ำหลังศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้ว ถือเป็นการดำเนินกระบวนการซ้ำที่กฎหมายห้าม
ศาลฎีกาเคยมีคำพิพากษายกฎีกาของจำเลยที่ 5 ที่ขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งกลับคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลตามคำร้องของจำเลยที่ 5 มาครั้งหนึ่งแล้ว การที่จำเลยที่ 5 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลต่อศาลชั้นต้นใหม่อีกโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่า กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลแก่จำเลยที่ 5 ซึ่งได้มีคำสั่งและคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้ว ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4734/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีอาญา, สิทธิเรียกร้องทางแพ่ง, การไม่เป็นการดำเนินกระบวนการซ้ำ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 บัญญัติให้อำนาจพนักงานอัยการที่จะเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายเท่านั้น ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์จากสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องมาในคดีนี้ไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิด พนักงานอัยการจึงฟ้องเรียกค่าเสียหายดังกล่าวในคดีเดิมแทนผู้เสียหายไม่ได้ โจทก์ในคดีนี้ซึ่งคือผู้เสียหายในคดีก่อนมิได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาเรื่องก่อนนั้นด้วย และการกระทำของจำเลยผู้เช่าซื้อซึ่งทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้ออาจเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองทางคือในมูลละเมิดและในมูลหนี้แห่งสัญญาเช่าซื้อเมื่อในคดีอาญาเรื่องก่อนศาลมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์ของโจทก์ กรณีจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่าโจทก์ไม่สามารถนำประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยไว้แล้วในคดีอาญาเรื่องก่อนมาฟ้องร้องบังคับจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 50, 249 มีคำสั่งให้ยกฟ้องค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ ดังนี้เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131 (2) มีผลเป็นการพิพากษาแล้ว มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่รับคำคู่ความตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่าโจทก์ไม่สามารถนำประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยไว้แล้วในคดีอาญาเรื่องก่อนมาฟ้องร้องบังคับจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 50, 249 มีคำสั่งให้ยกฟ้องค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ ดังนี้เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131 (2) มีผลเป็นการพิพากษาแล้ว มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่รับคำคู่ความตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3744/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียค่าขึ้นศาลและการทิ้งฟ้อง: ศาลมิได้ดำเนินกระบวนการซ้ำหากกำหนดเวลาให้ชำระค่าขึ้นศาลใหม่
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์เสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องภายใน15วันโจทก์อุทธรณ์คำสั่งเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาศาลฎีกามีคำสั่งว่าคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ให้ยกคำร้องของโจทก์ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้โจทก์นำเงินค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องมาวางศาลภายใน15วันมิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องนั้นเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นกำหนดเวลาใหม่ให้โจทก์นำเงินค่าขึ้นศาลมาชำระเพื่อจะให้การดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปโดยชอบไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา144และเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งโจทก์ชอบแต่เพียงโต้แย้งคำสั่งเพื่อให้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อไปเท่านั้นการที่โจทก์กลับแถลงขออนุญาตไม่เสียค่าขึ้นศาลก่อนโดยอ้างว่าจะอุทธรณ์ฎีกาต่อไปในภายหลังซึ่งศาลชั้นต้นไม่อนุญาตจนพ้นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดแล้วถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนดจึงเป็นการทิ้งฟ้องตามมาตรา174(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 604/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีใหม่: การแก้ไขคำขอเดิมและการไม่ถือว่าเป็นการดำเนินกระบวนการซ้ำ
จำเลยผู้ขาดนัดพิจารณายื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ครั้งแรกไม่ได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลและศาลสั่งยกคำขอไปแล้ว จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่เป็นฉบับที่ 2 บรรยายแต่ข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลและขอให้ถือเหตุที่ได้ขาดนัดตามที่กล่าวในคำขอฉบับแรกเป็นส่วนประกอบของคำขอฉบับหลังได้ ไม่จำเป็นจะต้องบรรยายซ้ำอีก (อ้างฎีกาที่ 1472/2492)
จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ครั้งแรกอ้างเหตุไม่ครบถ้วนตามกฎหมาย ศาลสั่งยกคำขอไปแล้ว จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่เป็นครั้งที่ 2 โดยทำให้ถูกต้องย่อมทำได้ ไม่เป็นการดำเนินกระบวนวิธีพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 (อ้างฎีกาที่1309/2494)
จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ครั้งแรกอ้างเหตุไม่ครบถ้วนตามกฎหมาย ศาลสั่งยกคำขอไปแล้ว จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่เป็นครั้งที่ 2 โดยทำให้ถูกต้องย่อมทำได้ ไม่เป็นการดำเนินกระบวนวิธีพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 (อ้างฎีกาที่1309/2494)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9375/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขอสวมสิทธิเจ้าหนี้ซ้ำ ศาลวินิจฉัยเป็นกระบวนการซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
ผู้ร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องย่อมมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของตนตามคำร้องในวันนัดไต่สวน อันเป็นการสืบพยานเพื่อเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในชั้นบังคับคดี มิใช่การสืบพยานในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่โจทก์และจำเลยพิพาทกัน จึงไม่อาจนำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัดที่ศาลจะต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 202 มาใช้บังคับดังที่ผู้ร้องฎีกา เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ผู้ร้องไม่มาศาลในวันนัดไต่สวนคำร้อง และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ผู้ร้องไม่มีพยานมาไต่สวนให้ได้ความตามคำร้อง ให้ยกคำร้อง ถือว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดคดีตามคำร้องของผู้ร้องแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิฉบับนี้โดยอ้างเหตุว่า ผู้ร้องได้รับโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ตามคำพิพากษาจากผู้เข้าสวมสิทธิแทนโจทก์ อันเป็นเหตุเดียวกันกับคำร้องฉบับก่อนที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดคดีไปแล้ว คำร้องของผู้ร้องจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2542/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการซ้ำ: ศาลฎีกาวินิจฉัยการยื่นคำร้องซ้ำเดิมเป็นกระบวนการซ้ำ
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 ไม่ได้บัญญัติในเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 144 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14
คดีหมายเลขแดงที่ ฟ.52/2553 ลูกหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยอ้างว่าลูกหนี้มีสินทรัพย์น้อยกว่าหนี้สิน และอ้างข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 (7) และ (9) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ส่วนช่องทางในการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้อ้างว่าจะดำเนินการโดยการปรับโครงสร้างหนี้ และหาผู้ร่วมลงทุนเพื่อพัฒนาโครงการ "จูเมร่า ไพรเวท ไอส์แลนด์ ภูเก็ต" ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ศาลล้มละลายกลางพิจารณาแล้ว เห็นว่า พยานหลักฐานที่ลูกหนี้นำสืบมาไม่เพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและกรณีมีเหตุอันสมควรและมีช่องทางในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เนื่องจากพยานหลักฐานของลูกหนี้ไม่น่าเชื่อถือว่าลูกหนี้มีสินทรัพย์น้อยกว่าหนี้สิน ในขณะที่ช่องทางหลักในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ศาลล้มละลายกลาง เห็นว่า ปัญหาในการดำเนินธุรกิจเพื่อพัฒนาโครงการ "จูเมร่า ไพรเวท ไอส์แลนด์ ภูเก็ต" ของลูกหนี้ไม่ได้มีแต่ปัญหาการไม่ชำระหนี้หรือปัญหาในการรวบรวมและจัดการบริหารทรัพย์สินของลูกหนี้ แต่ปัญหาสำคัญจริง ๆ เป็นปัญหาในเชิงโครงสร้างและการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจของลูกหนี้และกลุ่มบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน โดยเฉพาะปัญหาในเรื่องการโอนหุ้นของบริษัทลูกหนี้และบริษัทในเครือที่มีเรื่องฟ้องร้องกันหลายคดี และข้อพิพาทเหล่านี้เป็นข้อพิพาทที่อยู่นอกเหนือกระบวนการของกฎหมายล้มละลาย จึงมีคำสั่งยกคำร้องขอ ส่วนคดีนี้ผู้ร้องขอทั้งสองนำเสนองบดุลของลูกหนี้ที่อ้างว่าจัดทำโดยผู้สอบบัญชี และอ้างข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 (7) และ (9) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว และเสนอช่องทางในการฟื้นฟูกิจการ ด้วยวิธีการอาจปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นโดยการเพิ่มทุน หาผู้ร่วมลงทุนใหม่ กู้เงิน ปรับรูปแบบโครงการโดยจะเข้าเจรจากับโรงแรมจูเมร่า เกี่ยวกับสัญญาบริหารงานโรงแรม เพื่อปรับเปลี่ยนขั้นตอนการก่อสร้างและขนาดของโรงแรม ยื่นขออนุญาตส่งเสริมการลงทุน หาคนกลางมาเป็นผู้ทำแผนและผู้บริหารชั่วคราวเพื่อดูแลกิจการของลูกหนี้แทนกรรมการลูกหนี้ที่มีข้อขัดแย้งกันอยู่โดยเสนอบริษัท น. เป็นผู้ทำแผน ซึ่งในการพิจารณาคดีนี้ศาลยังคงต้องพิจารณาและวินิจฉัยว่าลูกหนี้มีสินทรัพย์มากกว่าหนี้สินหรือไม่ ทั้งการพิจารณานอกจากข้อสันนิษฐานตามกฎหมายแล้วก็ยังต้องพิจารณางบดุลและพิจารณาการประเมินราคาทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อเทียบกับหนี้สินเหมือนในคดีก่อน ส่วนช่องทางในการฟื้นฟูกิจการที่ผู้ร้องขอที่ 2 เสนอมาก็เป็นช่องทางที่สาระสำคัญหรือหลักการไม่ได้แตกต่างไปจากที่ศาลล้มละลายกลางได้วินิจฉัย ไว้แล้วในคดีก่อนแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจของลูกหนี้ ปัญหาเรื่องโครงสร้างและการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจของลูกหนี้ ข้อขัดแย้งของกรรมการและผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ ดังนั้น การพิจารณาวินิจฉัยคดีนี้ย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ ฟ.52/2553 ตาม ป.วิ.พ. 144 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14
คดีหมายเลขแดงที่ ฟ.52/2553 ลูกหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยอ้างว่าลูกหนี้มีสินทรัพย์น้อยกว่าหนี้สิน และอ้างข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 (7) และ (9) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ส่วนช่องทางในการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้อ้างว่าจะดำเนินการโดยการปรับโครงสร้างหนี้ และหาผู้ร่วมลงทุนเพื่อพัฒนาโครงการ "จูเมร่า ไพรเวท ไอส์แลนด์ ภูเก็ต" ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ศาลล้มละลายกลางพิจารณาแล้ว เห็นว่า พยานหลักฐานที่ลูกหนี้นำสืบมาไม่เพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและกรณีมีเหตุอันสมควรและมีช่องทางในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เนื่องจากพยานหลักฐานของลูกหนี้ไม่น่าเชื่อถือว่าลูกหนี้มีสินทรัพย์น้อยกว่าหนี้สิน ในขณะที่ช่องทางหลักในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ศาลล้มละลายกลาง เห็นว่า ปัญหาในการดำเนินธุรกิจเพื่อพัฒนาโครงการ "จูเมร่า ไพรเวท ไอส์แลนด์ ภูเก็ต" ของลูกหนี้ไม่ได้มีแต่ปัญหาการไม่ชำระหนี้หรือปัญหาในการรวบรวมและจัดการบริหารทรัพย์สินของลูกหนี้ แต่ปัญหาสำคัญจริง ๆ เป็นปัญหาในเชิงโครงสร้างและการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจของลูกหนี้และกลุ่มบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน โดยเฉพาะปัญหาในเรื่องการโอนหุ้นของบริษัทลูกหนี้และบริษัทในเครือที่มีเรื่องฟ้องร้องกันหลายคดี และข้อพิพาทเหล่านี้เป็นข้อพิพาทที่อยู่นอกเหนือกระบวนการของกฎหมายล้มละลาย จึงมีคำสั่งยกคำร้องขอ ส่วนคดีนี้ผู้ร้องขอทั้งสองนำเสนองบดุลของลูกหนี้ที่อ้างว่าจัดทำโดยผู้สอบบัญชี และอ้างข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 (7) และ (9) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว และเสนอช่องทางในการฟื้นฟูกิจการ ด้วยวิธีการอาจปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นโดยการเพิ่มทุน หาผู้ร่วมลงทุนใหม่ กู้เงิน ปรับรูปแบบโครงการโดยจะเข้าเจรจากับโรงแรมจูเมร่า เกี่ยวกับสัญญาบริหารงานโรงแรม เพื่อปรับเปลี่ยนขั้นตอนการก่อสร้างและขนาดของโรงแรม ยื่นขออนุญาตส่งเสริมการลงทุน หาคนกลางมาเป็นผู้ทำแผนและผู้บริหารชั่วคราวเพื่อดูแลกิจการของลูกหนี้แทนกรรมการลูกหนี้ที่มีข้อขัดแย้งกันอยู่โดยเสนอบริษัท น. เป็นผู้ทำแผน ซึ่งในการพิจารณาคดีนี้ศาลยังคงต้องพิจารณาและวินิจฉัยว่าลูกหนี้มีสินทรัพย์มากกว่าหนี้สินหรือไม่ ทั้งการพิจารณานอกจากข้อสันนิษฐานตามกฎหมายแล้วก็ยังต้องพิจารณางบดุลและพิจารณาการประเมินราคาทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อเทียบกับหนี้สินเหมือนในคดีก่อน ส่วนช่องทางในการฟื้นฟูกิจการที่ผู้ร้องขอที่ 2 เสนอมาก็เป็นช่องทางที่สาระสำคัญหรือหลักการไม่ได้แตกต่างไปจากที่ศาลล้มละลายกลางได้วินิจฉัย ไว้แล้วในคดีก่อนแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจของลูกหนี้ ปัญหาเรื่องโครงสร้างและการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจของลูกหนี้ ข้อขัดแย้งของกรรมการและผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ ดังนั้น การพิจารณาวินิจฉัยคดีนี้ย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ ฟ.52/2553 ตาม ป.วิ.พ. 144 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7112/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมที่ดินที่ศาลฎีกาเคยมีคำพิพากษาแล้ว การฟ้องร้องซ้ำจึงเป็นกระบวนการซ้ำที่กฎหมายห้าม
คดีก่อนโจทก์ทั้งสี่แบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก) ออกเป็น 2 แปลง คือแปลงเดิมเลขที่ 4044 และแปลงใหม่เลขที่ 4045 ตามคำพิพากษาของศาล จำเลยทั้งสามจึงฟ้องโจทก์ทั้งสี่ขอให้เพิกถอนการแบ่งแยกดังกล่าว เมื่อศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งสาม ซึ่งเป็นคู่ความในคดีว่าการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมและการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 4045 เป็นไปโดยชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 จำเลยทั้งสามจะโต้เถียงเป็นอย่างอื่นในคดีนี้ว่าจำเลยทั้งสามไม่ได้ยินยอมให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวม การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมออกเป็นที่ดิน 2 แปลง คือ ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 4044 และเลขที่ 4045 เป็นไปโดยไม่ชอบอีกหาได้ไม่
การที่จำเลยทั้งสามมายื่นคำร้องในคดีนี้ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 แปลง ให้เหลือเฉพาะที่ดินแปลงเดิมตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 4044 แล้วให้นำที่ดินออกขายทอดตลาด อีกเช่นนี้จึงเป็นการรื้อร้องกันอีกในประเด็นที่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดมาแล้ว อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
การที่จำเลยทั้งสามมายื่นคำร้องในคดีนี้ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 แปลง ให้เหลือเฉพาะที่ดินแปลงเดิมตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 4044 แล้วให้นำที่ดินออกขายทอดตลาด อีกเช่นนี้จึงเป็นการรื้อร้องกันอีกในประเด็นที่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดมาแล้ว อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6443/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำและการขอรับชำระหนี้จำนองที่ดินต่างแปลง ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นสิทธิการรับชำระหนี้
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 40015 ของจำเลยที่ 2 ก่อนเจ้าหนี้อื่น และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 40015 ก่อนเจ้าหนี้อื่นแล้ว การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 40015 ก่อนเจ้าหนี้อื่นเป็นคดีนี้อีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
ส่วนที่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 40016 พร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 2 ก่อนเจ้าหนี้อื่นมาด้วยนั้น ที่ดินที่ขอรับชำระหนี้เป็นที่ดินคนละแปลงกับคดีก่อน เมื่อคดีก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่ว่าผู้ร้องมีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 40015 ก่อนเจ้าหนี้อื่นหรือไม่เท่านั้น โดยยังมิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 40016 ดังนั้น การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 40016 ก่อนเจ้าหนี้อื่นในคดีนี้ จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
ส่วนที่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 40016 พร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 2 ก่อนเจ้าหนี้อื่นมาด้วยนั้น ที่ดินที่ขอรับชำระหนี้เป็นที่ดินคนละแปลงกับคดีก่อน เมื่อคดีก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่ว่าผู้ร้องมีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 40015 ก่อนเจ้าหนี้อื่นหรือไม่เท่านั้น โดยยังมิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 40016 ดังนั้น การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 40016 ก่อนเจ้าหนี้อื่นในคดีนี้ จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3332/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีไม้พะยูงและการดำเนินกระบวนการซ้ำที่ต้องห้าม
ข้อเท็จจริงในเรื่องไม้พะยูงของกลาง จำเลยที่ 1 เคยยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ผู้พิพากษาที่จำเลยที่ 1 ร้องขอไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และศาลฎีกามีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนเพื่อพิสูจน์ว่าไม้พะยูงของกลางเป็นไม้ที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองโดยเจตนาที่จะให้มีการรับฟังข้อเท็จจริงใหม่ว่า ไม้พะยูงของกลางเป็นไม้ที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของผู้อื่น ทำนองเดียวกับการขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ถือได้ว่าเป็นการยื่นคำร้องในประเด็นเดียวกันกับที่ศาลได้วินิจฉัยไปแล้ว ย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำร้องของจำเลยที่ 1 มา เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย