พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5684/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สิทธิในที่ดินสิ้นสุดเมื่อมีการชำระค่าทดแทน แม้จะมีการอุทธรณ์
จำเลยที่ 2 เจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฯ มอบหมายให้ บ. ซึ่งเป็นผู้อำนวยการสำนักการโยธา ตกลงซื้อขายที่ดินของโจทก์ที่อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนพร้อมกับทำสัญญาซื้อขายและจ่ายเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืน ...(ในกรณีไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน) และโจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนตามที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดให้จากจำเลยแล้ว จึงเป็นการดำเนินการจัดซื้อตามขั้นตอนของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 10 ให้อำนาจไว้ และที่โจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนเพิ่มขึ้นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามที่ตนสงวนสิทธิไว้ก็โดยอาศัยพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ให้สิทธิไว้เช่นกัน
การโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 11 วรรคสอง ให้ถือว่าได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตกลงซื้อขายกันได้ตามมาตรา 10 นับแต่วันชำระเงินตามมาตรา 11 วรรคหนึ่งดังนั้น กรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนตกเป็นของจำเลยนับแต่วันที่โจทก์รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนจากจำเลยแล้วเมื่อที่ดินของโจทก์ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยภายในเวลาที่พระราชกฤษฎีกาฯ ยังมีผลใช้บังคับอยู่จากการดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ แล้ว ก็ไม่ต้องมีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาเวนคืนที่ดินของโจทก์อีก ทั้งที่ดินแปลงดังกล่าวได้กลายสภาพเป็นบึงรับน้ำตามโครงการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานครไปแล้ว สภาพของที่ดินจึงเปลี่ยนแปลงไปเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 โจทก์จะอ้างกรรมสิทธิ์เหนือที่ดินและฟ้องเรียกร้องเอาที่ดินคืนมิได้
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 10 วรรคสอง บัญญัติถึงในกรณีที่สามารถตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะถูกเวนคืนตามวรรคหนึ่งได้ แต่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนไว้ด้วย ดังนั้น ที่มาตรา 11 ใช้คำว่า "ในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10" จึงหมายถึงการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้เท่านั้น ส่วนที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนก็ให้ผู้ถูกเวนคืนสงวนสิทธิที่จะอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีไว้เพื่อผู้ถูกเวนคืนที่ยังไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดไว้จะได้ใช้สิทธิอุทธรณ์และฟ้องขอเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นตามขั้นตอนต่อไปของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ
การโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 11 วรรคสอง ให้ถือว่าได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตกลงซื้อขายกันได้ตามมาตรา 10 นับแต่วันชำระเงินตามมาตรา 11 วรรคหนึ่งดังนั้น กรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนตกเป็นของจำเลยนับแต่วันที่โจทก์รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนจากจำเลยแล้วเมื่อที่ดินของโจทก์ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยภายในเวลาที่พระราชกฤษฎีกาฯ ยังมีผลใช้บังคับอยู่จากการดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ แล้ว ก็ไม่ต้องมีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาเวนคืนที่ดินของโจทก์อีก ทั้งที่ดินแปลงดังกล่าวได้กลายสภาพเป็นบึงรับน้ำตามโครงการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานครไปแล้ว สภาพของที่ดินจึงเปลี่ยนแปลงไปเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 โจทก์จะอ้างกรรมสิทธิ์เหนือที่ดินและฟ้องเรียกร้องเอาที่ดินคืนมิได้
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 10 วรรคสอง บัญญัติถึงในกรณีที่สามารถตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะถูกเวนคืนตามวรรคหนึ่งได้ แต่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนไว้ด้วย ดังนั้น ที่มาตรา 11 ใช้คำว่า "ในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10" จึงหมายถึงการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้เท่านั้น ส่วนที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนก็ให้ผู้ถูกเวนคืนสงวนสิทธิที่จะอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีไว้เพื่อผู้ถูกเวนคืนที่ยังไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดไว้จะได้ใช้สิทธิอุทธรณ์และฟ้องขอเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นตามขั้นตอนต่อไปของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3066/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายมีผลเมื่อธนาคารจ่ายเช็คค่าวางมัดจำ การออกเช็คก่อนเงื่อนไขไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เป็นค่าวางมัดจำตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่งจำเลยเป็นผู้จะซื้อที่ดินจากโจทก์สัญญาดังกล่าวมีข้อความข้อหนึ่งว่าสัญญาจะสมบูรณ์ต่อเมื่อเงินค่าวางมัดจำตามเช็คที่ผู้จะซื้อได้สั่งจ่ายให้แก่ผู้จะขายและธนาคารได้ชำระเงินเรียกเก็บตามเช็คที่ได้สั่งจ่ายเป็นที่เรียบร้อยให้แก่ผู้จะขายแสดงว่าโจทก์และจำเลยตกลงให้ถือเอาการที่ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คพิพาทหรือไม่เป็นเงื่อนไขของการที่จะมีนิติสัมพันธ์กันตามสัญญาจะซื้อจะขายตราบใดที่ธนาคารยังไม่จ่ายเงินตามเช็คพิพาทสัญญาจะซื้อจะขายย่อมไม่มีผลบังคับดังนั้นขณะที่จำเลยออกเช็คพิพาทจึงยังไม่มีหนี้ระหว่างโจทก์และจำเลยแม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทจำเลยก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, อายุความ, และขอบเขตการชำระเงินแร่ตามกฎหมายควบคุมแร่ดีบุก: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะฟ้องโจทก์ไม่ได้อ้างอิงและนำพยานหลักฐานมาแสดงให้เห็นว่า ศ. เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือไม่อย่างไรจำเลยไม่ทราบไม่รับรองคำให้การดังกล่าวมิได้ปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่า ศ. ไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์จึงรับฟังได้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า ศ.มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือไม่แม้ศาลล่างทั้งสองจะยกประเด็นข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยให้การว่าจำเลยขนแร่ดีบุกปนตะกั่วซึ่งไม่ใช่แร่ดีบุกจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ของกฎหมายให้ต้องชำระเงินแทนแร่เพื่อส่งเข้ามูลภัณฑ์กันชนระหว่างประเทศฉะนั้นที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ต้องชำระเงินแทนแร่เพื่อส่งเข้ามูลภัณฑ์กันชนระหว่างประเทศเพราะแร่ที่จำเลยได้รับอนุญาตขนนั้นขายให้แก่ผู้ซื้อภายในประเทศและเป็นแร่ดีบุกปนตะกั่วมีดีบุกในเปอร์เซ็นต์ต่ำจึงนอกเหนือจากคำให้การเป็นเรื่องนอกประเด็นแม้ศาลล่างทั้งสองจะยกประเด็นข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐเรียกเก็บเงินแทนแร่เพื่อส่งเข้ามูลภัณฑ์กันชนระหว่างประเทศจากจำเลยตามอำนาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติควบคุมแร่ดีบุกพ.ศ.2514มาตรา24โจทก์จึงมิใช่บุคคลที่ทางราชการได้ตั้งแต่งหรืออนุญาตให้จัดกิจการเฉพาะบางอย่างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(15)ซึ่งมีกำหนดอายุความ2ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5706/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการเพิกถอนการขายทอดตลาด การบังคับคดีไม่เสร็จสิ้นจนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับเงิน
แม้ผู้ซื้อทรัพย์จะได้โอนทรัพย์ที่ซื้อได้มาเป็นของตนแล้วแต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายังไม่ได้รับเงินค่าขายทอดตลาด ย่อมถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้วจำเลยจึงยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 868/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเช็ค 1 ปี, การต่อสู้เรื่องการชำระเงิน, การนำสืบพยานคดีซื้อขาย
อายุความในการที่ผู้ทรงเช็คฟ้องผู้สั่งจ่ายเช็คนั้น มีกำหนดเวลาภายใน 1 ปีนับแต่วันที่เช็คถึงกำหนดมิใช่ 6 เดือน
หนังสือสัญญาขายที่ดินมีข้อความว่า จำเลยชำระเงินค่าที่ดินรายนี้เสร็จแล้วแต่โจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบว่าโจทก์ไม่ได้รับเงิน ดังนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยชำระค่าที่ดินด้วยเช็คแต่ขึ้นเงินไม่ได้ จำเลยต่อสู้ว่าได้ชำระค่าที่ดินด้วยเงินสด มิใช่ชำระด้วยเช็คโจทก์จึงนำสืบได้ตามฟ้องว่าตามสัญญาดังกล่าว เพราะจำเลยได้ออกเช็ครายพิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้ ต่อมาจำเลยผิดนัดผิดสัญญาการชำระเงินตามเช็ค โจทก์ขอให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ตามเช็ค จึงไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
หนังสือสัญญาขายที่ดินมีข้อความว่า จำเลยชำระเงินค่าที่ดินรายนี้เสร็จแล้วแต่โจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบว่าโจทก์ไม่ได้รับเงิน ดังนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยชำระค่าที่ดินด้วยเช็คแต่ขึ้นเงินไม่ได้ จำเลยต่อสู้ว่าได้ชำระค่าที่ดินด้วยเงินสด มิใช่ชำระด้วยเช็คโจทก์จึงนำสืบได้ตามฟ้องว่าตามสัญญาดังกล่าว เพราะจำเลยได้ออกเช็ครายพิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้ ต่อมาจำเลยผิดนัดผิดสัญญาการชำระเงินตามเช็ค โจทก์ขอให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ตามเช็ค จึงไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 867/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า การชำระเงินกินเปล่าเมื่อส่งมอบห้องก่อนกำหนด และผลของการบอกเลิกสัญญา
ข้อความในสัญญาจะเช่ามีว่าถ้าผู้ให้เช่าส่งมอบห้องเช่าให้ผู้เช่าได้ก่อน กำหนดบ้างแล้วผู้เช่าจะชำระเงินกินเปล่าที่ค้างอีกครึ่งหนึ่งให้ดังนี้ เมื่อผู้ให้เช่าได้จัดการส่งมอบห้องเช่าบางห้องให้ผู้เช่าอยู่ได้ก่อนกำหนดแล้วผู้เช่าก็ต้องชำระเงินกินเปล่าอีกครึ่งหนึ่งแก่ผู้ให้เช่าตามที่สัญญาไว้
ทำสัญญาให้เช่าเคหะโดยเรียกกินเปล่ากันในตอนเริ่มแรกเช่านั้น ไม่ใช่เป็นการเรียกเงินค่ากินเปล่าอันเป็นการเพิ่มค่าเช่าจึงไม่ขัดกับพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า 2488 มาตรา 10,11
ศาลชั้นต้นกะประเด็นให้สืบพยานเฉพาะประเด็นข้อเดียวจำเลยประสงค์จะสืบพยานในประเด็นข้ออื่นอีก แต่ก็หาได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 จำเลยจะมาโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาไม่ได้ จะขอสืบพยานในข้อนี้ก็ไม่ได้
ทำสัญญาให้เช่าเคหะโดยเรียกกินเปล่ากันในตอนเริ่มแรกเช่านั้น ไม่ใช่เป็นการเรียกเงินค่ากินเปล่าอันเป็นการเพิ่มค่าเช่าจึงไม่ขัดกับพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า 2488 มาตรา 10,11
ศาลชั้นต้นกะประเด็นให้สืบพยานเฉพาะประเด็นข้อเดียวจำเลยประสงค์จะสืบพยานในประเด็นข้ออื่นอีก แต่ก็หาได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 จำเลยจะมาโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาไม่ได้ จะขอสืบพยานในข้อนี้ก็ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 817/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ตั๋วเงินชำระหนี้และการนำสืบข้อเท็จจริงการชำระเงิน
ยอมให้เจ้าหนี้ผู้รับชำระหนี้ด้วยตั๋วเงิน
นำสืบว่าตั๋วเงินนั้นได้ใช้เงินเท่าใด
สัญญาซื้อขาย
ลักษณะพะยาน
พะยานบุคคลล้างพะยานเอกสาร
คนบังคับเดนมาร์ก เป็นคู่ความ
นำสืบว่าตั๋วเงินนั้นได้ใช้เงินเท่าใด
สัญญาซื้อขาย
ลักษณะพะยาน
พะยานบุคคลล้างพะยานเอกสาร
คนบังคับเดนมาร์ก เป็นคู่ความ