คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การตกลง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายทางภารจำยอม: การใช้ทางต่อเนื่องกว่า 10 ปี ทำให้เกิดภารจำยอม เมื่อเจ้าของภารยทรัพย์ขอเปลี่ยนเส้นทาง ย่อมเกิดภารจำยอมใหม่ตามเส้นทางที่ตกลง
การที่โจทก์ใช้ทางพิพาทกว่า 10 ปี ทางพิพาทดังกล่าวจึงตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ ต่อมาเมื่อจำเลยขอให้โจทก์ย้ายทางภารจำยอมมายังส่วนอื่นของที่ดินจำเลยเพื่อประโยชน์ของจำเลยเจ้าของภารยทรัพย์ ทางเส้นใหม่นี้จึงตกเป็นทางภารจำยอมแทนทางเดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1480/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อน, การตกลง, ความคล้ายคลึงจนสับสน และสิทธิในการเพิกถอน
โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันให้จำเลยเป็นผู้มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าCarrenaโดยโจทก์จะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับผลิตภัณฑ์ของโจทก์ ดังนั้น แม้โจทก์จะเคยใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าCarrenaกับสินค้าของตนมาก่อนจำเลยโจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าCarrenaพร้อมลวดลายประดิษฐ์ของจำเลยได้ เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าCanonMattressในลักษณะที่มีลวดลายประดิษฐ์ของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าCannon-mattessพร้อมลวดลายประดิษฐ์และรูปเด็กนอนตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วปรากฏว่าอักษรโรมันคำว่าCanon-mattessเหมือนกับอักษรโรมันคำว่าCanonMattressของโจทก์แทบทุกตัวอักษร มีส่วนแตกต่างกันเฉพาะคำว่าMattessของจำเลยกับคำว่าMattressของโจทก์ เพราะของโจทก์มีอักษรโรมันตัวrอยู่ระหว่างตัวtกับ ตัวeส่วนของจำเลยนั้นไม่มีตัวrอยู่เลยและตัวอักษรMของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนตัวอักษรMของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เล็กเท่านั้น ส่วนประกอบอื่น ๆเช่น ลวดลายประดิษฐ์ก็คล้ายคลึงกัน แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีรูปเด็กนอนอยู่เหนือคำว่าCanon-mattessและมีคำอ่านว่าคานอนแมทเทส แต่จุดเด่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยก็คืออักษรโรมันคำว่าCanon-mattessซึ่งคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ฉะนั้น หากไม่นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมาวางเปรียบเทียบกันดูทุกตัวอักษรแล้วประชาชนผู้ซื้อสินค้าก็ยากที่แยกแยะได้ว่าเครื่องหมายการค้ากับสินค้าใดเป็นของโจทก์และเครื่องหมายการค้ากับสินค้าใดเป็นของจำเลยฉะนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่าCanon-mattessของจำเลยจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าได้ เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยโจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวและในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลยดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นและเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิฟ้องให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1)อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของนายจ้างในการปิดงานเมื่อข้อเรียกร้องเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ไม่สามารถตกลงกันได้ และขอบเขตการดำเนินกิจการระหว่างปิดงาน
บริษัทจำเลยและสหภาพแรงงานฯ ซึ่งโจทก์เป็นสมาชิกอยู่ด้วยได้แจ้งข้อเรียกร้องเพื่อขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต่อกันแม้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ไกล่เกลี่ยแล้วก็ไม่สามารถตกลงกันได้ จำเลยได้เสนอข้อตกลงไปยังลูกจ้างโดยตรง ลูกจ้างจำนวน 623 คนเห็นด้วยจึงทำสัญญาตามข้อเสนอของจำเลยโจทก์และลูกจ้างประมาณ 90 คน ไม่เห็นด้วยและไม่ยอมทำสัญญาจำเลยย่อมมีสิทธิปิดงานบางส่วนได้โดยชอบและไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายให้โจทก์ในระหว่างปิดงาน การปิดงานตามความหมายของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์มาตรา 5 มิได้บังคับว่านายจ้างต้องหยุดหรือปิดกิจการทั้งหมดและจะให้ลูกจ้างอื่นทำงานต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะดำเนินกิจการไปตามปกติหรือมีสิทธิให้พนักงานอื่นเข้าทำงานต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1268/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขาย: การฟ้องให้บังคับตามสัญญาต้องพิสูจน์การตกลงกันแล้ว ไม่ใช่แค่ขอให้ศาลแสดงว่ามีสัญญา
โจทก์ฟ้องว่าได้เสนอขายสิ่งของแก่จำเลย ๆ ได้สนองรับซื้อสิ่งของนั้น ตามคำเสนอของโจทก์แล้วแต่ต่อมาบิดพริ้วไม่ยอมทำสัญญาซื้อขายสิ่งของนั้นกับโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสีย หาย จึงขอให้ศาลแสดงว่าการกระทำระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายมีผลผูกพันและบังคับได้ตามกฎหมาย ดังนี้ยังไม่เป็นเหตุผลที่โจทก์จะต้องมาขอใช้สิทธิทางศาลตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 55 เพราะเป็นเรื่องที่ขอให้แสดงว่าได้มีการตกลงจะทำสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยหรือไม่เท่านั้น ถ้าโจทก์ยืนยันว่าได้มีการตกลงกับจำเลยแล้ว และจำเลยกระทำผิดข้อตกลงอย่างใด โจทก์ชอบที่จะฟ้องร้องว่ากล่าวในทางนั้น ฉะนั้นในเรื่องนี้จึงยังไม่เป็นมูลกรณีที่จะพึงฟ้องร้องกลับ
(ประชุมใหญ่)