คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การแบ่งสินสมรส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำพินัยกรรมยกที่ดินสินสมรสขัดต่อกฎหมาย และการแบ่งสินสมรสระหว่างคู่สมรส
โจทก์และ ช.ซึ่งสมรสกันก่อนปี 2476 ต่างตกลงยินยอมให้แต่ละฝ่ายทำพินัยกรรมยกที่ดินสินสมรสส่วนของตนให้บุคคลอื่น ในการทำพินัยกรรมที่เกี่ยวกับสินสมรสระหว่างโจทก์และ ช.นี้ ต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1481 แม้โจทก์ตกลงยินยอมให้ ช.ทำพินัยกรรมดังกล่าว ข้อตกลงยินยอมนั้นย่อมฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายข้างต้น และยังขัดต่อความมุ่งหมายของ ป.พ.พ.มาตรา 1646 ที่กำหนดให้บุคคลใด ๆ มีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่นได้ก็แต่เฉพาะทรัพย์สินที่เป็นของตนเท่านั้น เหตุนี้ ข้อตกลงยินยอมดังกล่าว จึงไม่ทำให้พินัยกรรมที่ ช.จัดทำมีผลผูกพันไปถึงที่ดินสินสมรสที่เป็นส่วนของโจทก์ด้วยโจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าพินัยกรรมไม่มีผลผูกพันสินสมรสที่เป็นส่วนของโจทก์ได้
ที่ดินโฉนดเลขที่ 4837 ในส่วนที่ พ.ยกให้ ช.ตามสารบาญแก้ทะเบียนท้ายโฉนดดังกล่าว พ.ยกที่ดินส่วนนี้ให้ ช.เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2476ก่อนที่ ป.พ.พ.บรรพ 5 พ.ศ.2477 ว่าด้วยเรื่องครอบครัวประกาศใช้ จึงต้องนำกฎหมายลักษณะผัวเมียมาใช้บังคับ ซึ่งในกฎหมายดังกล่าว บทที่ 72 ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างผัวเมีย บัญญัติว่า "ทรัพย์ที่บิดามารดาหรือญาติฝ่ายหญิงหรือชายให้ในวันมีแขก (วันแต่งงาน) ให้เป็นสินเดิม ถ้าให้เมื่ออยู่กินเป็นผัวเมียกันแล้วให้เป็นสินสมรส" ซึ่งไม่ได้บัญญัติว่าให้เป็นสินส่วนตัวเลย พ.ได้ยกที่ดินส่วนดังกล่าวให้ ช.ภายหลังการแต่งงาน ที่ดินส่วนนี้จึงเป็นสินสมรสระหว่าง ช.กับโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่า ช.และโจทก์มีสินเดิม การแบ่งสินสมรสจึงเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 คือชายหาบ หญิงคอน ช.จึงมีส่วนเป็นเจ้าของ 2 ส่วน และโจทก์มี 1 ส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสและการทำพินัยกรรมที่ขัดต่อกฎหมาย โดยการยินยอมให้แบ่งสินสมรสก่อนถึงเวลาไม่สมบูรณ์
โจทก์และช.ซึ่่งสมรสกันก่อนปี2476ต่างตกลงยินยอมให้แต่่ละฝ่ายทำนิติกรรมยกที่ดินสินสมรสส่วนของตนให้บุคคลอื่นในการทำพินัยกรรมที่เกี่ยวกับสินสมรสระหว่างโจทก์และช. นี้ต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1481แม้โจทก์ตกลงยินยอมให้ช.ทำพินัยกรรมดังกล่าวข้อตกลงยินยอมนั้นย่อมฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายข้างต้นและยังขัดต่อความมุ่งหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1646ที่กำหนดให้บุคคลใดๆมีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่นได้ก็แต่เฉพาะทรัพย์สินที่เป็นของตนเท่านั้นเหตุนี้ข้อตกลงยินยอมดังกล่าวจึงไม่ทำให้พินัยกรรมที่ช. จัดทำมีผลผูกพันไปถึงที่ดินสินสมรสที่เป็นส่วนของโจทก์ด้วยโจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าพินัยกรรมไม่มีผลผูกพันสินสมรสที่เป็นส่วนส่วนของโจทก์ได้ ที่ดินโฉนดเลขที่4837ในส่วนที่พ.ยกให้ช. ตามสารบาญแก้ทะเบียนท้ายโฉนดดังกล่าวพ. ยกที่ดินส่วนนี้ให้ช. เมื่อวันที่9ตุลาคม2476ก่อนที่่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5พ.ศ.2477ว่าด้วยเรื่องครอบครัวประกาศใช้จึงต้องนำกฎหมายลักษณะผัวเมียมาใช้บังคับซึ่งในกฎหมายดังกล่าวบทที่72ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างผัวเมียบัญญัติว่า"ทรัพย์ที่บิดามารดาหรือญาติฝ่ายหญิงหรือชายให้ในวันที่แขก(วันแต่งงาน)ให้เป็นสินเดิมถ้าให้เมื่ออยู่กินเป็นผัวเมียกันแล้วให้เป็นสินสมรส"ซึ่งไม่ได้บัญญัติว่าให้เป็นสินส่วนตัวเลยพ.ได้ยกที่ดินส่วนดังกล่าวให้ช.ภายหลังการแต่งงานที่ดินส่วนนี้จึงเป็นสินสมรสระหว่างช.กับโจทก์เมื่อไม่ปรากฎว่าช.และโจทก์มีสินเดิมการแบ่งสินสมรสจึงเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่68คือชายหาบหญิงคอนช.จึงมีส่วนเป็นเจ้าของ2ส่วนและโจทก์มี1ส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4433/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินสินสมรสให้บุตรหลานต้องได้รับความยินยอมจากภริยา การแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
การที่ ง. ยกที่ดินสินสมรสให้จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นบุตรและหลานโดยเสน่หามิใช่การให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยา เมื่อไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์การให้ดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกที่ดินอันเป็นสินสมรสส่วนของตนคืนได้ โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ง. ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 พ.ศ. 2477 ซึ่งตาม พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่ง พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 ดังนั้นการแบ่งสินสมรสของโจทก์กับ ง. จึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 68 หาใช่แบ่งคนละส่วนเท่ากันตาม มาตรา 1533 ไม่ เมื่อโจทก์กับ ง. ต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน สินสมรสต้องแบ่งเป็น 3 ส่วน เป็นของ ง.2 ส่วน เป็นของโจทก์ 1 ส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการพิพากษาเกินคำขอเดิม และการวินิจฉัยประเด็นนอกคำคู่ความ
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยชำระเงินจำนวน350,000 บาทแก่โจทก์ โจทก์แก้อุทธรณ์ทำนองว่า ศาลมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 350,000 บาทได้ เท่ากับมีประเด็นในชั้นอุทธรณ์เกี่ยวกับการแบ่งสินสมรส เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาให้แบ่งสินสมรสตามคำขอบังคับในฟ้องได้เพราะเป็นการแก้ไขให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. ว่าด้วยคำพิพากษาที่จะต้องตัดสินตามฟ้องทุกข้อ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทแต่เพียงว่า จำเลยผิดสัญญาแบ่งทรัพย์สินสมรสหรือไม่ แม้จำเลยจะให้การว่าโจทก์ปิดบังซ่อนเร้นสินสมรสไว้จำนวนหนึ่งมีมูลค่ามากกว่าจำนวนเงิน 350,000 บาท ก็ตามแต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้และจำเลยมิได้คัดค้านโต้แย้งจึงถือว่าไม่มีประเด็นแห่งคดีในเรื่องการเบียดบังซ่อนเร้นสินสมรส.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3961/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสต้องหลังหย่า การจำหน่ายสินสมรสระหว่างเป็นสามีภริยาไม่ทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องแบ่งสินสมรส
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1533 การจะแบ่งสินสมรสได้ต้องมีการหย่ากันเท่านั้น เมื่อไม่มีการหย่าแม้คู่สมรสจะจำหน่ายสินสมรสไปเพื่อประโยชน์ของตนแต่ฝ่ายเดียว มาตรา 1534 ก็ให้ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรสตามมาตรา 1533 กฎหมายมิได้มุ่งประสงค์ให้แบ่งสินสมรสกันได้หากคู่สมรสยังเป็นสามีภริยากันอยู่ ฉะนั้น แม้โจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนรถยนต์สินสมรสแต่ปัญหาชั้นฎีกามีเพียงคำขอของโจทก์ให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ซึ่งเป็นคำขอแบ่งสินสมรสเท่านั้น เมื่อกฎหมายให้ถือเสมือนว่ารถยนต์ยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรส โจทก์ก็ไม่ได้รับความเสียหาย จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินที่ได้จากการขายรถยนต์พิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังการตายของคู่สมรสกรณีไม่มีสินเดิมและก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ล. ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แม้โจทก์และ ล.แยกกันอยู่แต่ไม่ปรากฏว่าได้หย่าขาดจากกัน ทั้งโจทก์และ ล. ต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน ดังนั้นเมื่อ ล. ตายสินสมรสต้องแบ่งออกเป็น 3 ส่วน โจทก์ได้ 1 ส่วน ล. ได้ 2 ส่วน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 655/2495)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสก่อน-หลัง บรรพ 5, การหย่า, อายุความมรดก: การแบ่งสินสมรสต้องเป็นไปตามกฎหมายก่อน/หลังใช้ บรรพ 5, การหย่าโดยไม่ได้จดทะเบียน, และอายุความมรดก
ผู้ร้องสอดกับ ล. สมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ดังนั้น หากมีข้อกล่าวอ้างถึงความสมบูรณ์ในเรื่องการสมรสหรือการหย่าขึ้นหลังจากได้มีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ใช้บังคับแล้ว การสมรสหรือการหย่าจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้ปฏิบัติการให้เป็นไปตามบทกฎหมายขณะที่ใช้อยู่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ร้องสอดกับ ล. มิได้จดทะเบียนหย่าให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1499 ข้ออ้างการหย่าที่จำเลยยกขึ้นอ้างจึงไม่มีผลตามกฎหมาย แม้จะได้ความว่าคู่สมรสจะได้เลิกร้างแยกกันอยู่ ก็หาทำให้การเป็นสามีภรรยาของคู่สมรสขาดจากกันไม่
ที่ดินโฉนดพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องสอดกับ ล. ที่ไม่ได้มีการแบ่งแยกกันมาก่อน ต่อมา ล. ถึงแก่ความตาย ความเป็นสามีภรรยาระหว่างคนทั้งสองย่อมขาดจากกันนับแต่วันที่ ล. ตาย สินสมรสจึงต้องแยกจากกันและการแบ่งสินสมรสสำหรับบุคคลทั้งสอง แม้จะเป็นกรณีพิพาทกันหลังจากมีพระราชบัญญัติให้ใช้บัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนกับการสมรสและความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแก่การสมรสนั้นๆ ซึ่งได้มีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมาย บรรพนี้ ตามมาตรา 4(1) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว การแบ่งสินสมรสของคนทั้งสองจึงต้องเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องสอดเป็นฝ่ายที่มีสินเดิมมาฝ่ายเดียว ล. ไม่มีสินเดิมที่ดินตามโฉนดพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสจึงตกได้แก่ผู้ร้องสอดผู้เป็นสามีแต่ฝ่ายเดียวไม่เหลือตกเป็นมรดกของ ล. ผู้ตายไว้เลย ด้วยเหตุนี้ผู้ร้องสอดจึงไม่อยู่ในข่ายการนับอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 คดีของผู้ร้องสอดจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสและหนี้ร่วมหลังหย่า การหักหนี้ออกจากสินสมรสต้องมีเหตุผลตามกฎหมาย
จำเลยให้การและฟ้องแย้งโดยมิได้ขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าหนี้ที่จำเลยกู้เงินจากบิดามานั้นเป็นหนี้ร่วมที่โจทก์จำเลยต้องรับผิดคนละกึ่งหนึ่ง หรือขอให้แบ่งบ้านอันเป็นสินสมรสโดยให้หักใช้หนี้เงินกู้ดังกล่าวก่อน การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้แบ่งบ้านอันเป็นสินสมรสโดยหักใช้หนี้เงินกู้ดังกล่าวก่อนจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในฟ้องแย้ง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
การที่สามีภริยาต้องรับผิดในหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1489 และมาตรา 1490 นั้น จะต้องรับผิดต่อเมื่อสามีหรือภริยาชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้ว หากฝ่ายที่ชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปเกินส่วนที่ตนได้สินสมรสไปเท่าใดก็มีสิทธิเรียกร้องอีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ให้ มิใช่ว่าหากสามีหรือภริยาหย่าและแบ่งสินสมรสกันแล้วจะต้องนำหนี้ร่วมมาหักออกจากสินสมรสให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเก็บรักษาไว้เพื่อชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ก่อนแล้วจึงจะแบ่งสินสมรสส่วนที่เหลือกัน เพราะหากไม่นำเงินที่หักไว้ไปชำระให้แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้อาจเรียกให้อีกฝ่ายรับผิดชำระหนี้เงินกู้เต็มจำนวนได้อยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19376/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดการสมรสด้วยการตายของคู่สมรสระหว่างดำเนินคดีหย่า และผลกระทบต่อการแบ่งสินสมรส
โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยและขอแบ่งสินสมรส ประเด็นทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสหรือไม่ คู่ความมิได้ฎีกา ประเด็นดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า ทรัพย์พิพาทใดเป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลย คำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความ ประเด็นชั้นฎีกาจึงมีเพียงว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยหรือไม่ ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ถึงแก่ความตาย ผู้ร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะ ประเด็นฟ้องหย่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตายจึงมีผลทำให้การสมรสย่อมสิ้นสุดลงก่อนที่คำพิพากษาให้หย่า จะถึงที่สุด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1501 คดีจึงไม่มีประโยชน์ต้องพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าต่อไปอีกหรือไม่ ทั้งโจทก์ซึ่งเป็นผู้ฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรสถึงแก่ความตายระหว่างพิจารณาต้องแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่มีอยู่นับแต่เวลาที่การสมรสสิ้นสุดไปด้วยเหตุความตาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1625 จึงไม่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์