คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อโต้แย้งสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6744/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมและสิทธิในการแบ่งแยกทรัพย์สิน: หลักสุจริตและข้อโต้แย้งสิทธิ
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต" ดังนั้น การที่โจทก์และ ร.เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินโจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่าโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยสุจริต เมื่อจำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์หลอกลวง ร.ให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วม แต่พยานหลักฐานจำเลยไม่สามารถหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นได้ จึงถือว่าโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าที่ดินและบ้านพิพาท ร.มารดาของจำเลยเป็นผู้ซื้อและใช้เงินตนเองเท่านั้น การที่จำเลยนำสืบและอุทธรณ์ว่าเงินที่ใช้ซื้อที่ดินและบ้านเป็นของจำเลยส่วนหนึ่งด้วยจึงเป็นการนำสืบและอุทธรณ์นอกคำให้การ
โจทก์และมารดาจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันโดยโจทก์รับโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทมาโดยสุจริต ทั้งไม่ได้มีนิติกรรมห้ามไม่ให้แบ่ง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้แบ่งได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1363 วรรคแรก
โจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยไม่ปรากฏว่ามีนิติกรรมห้ามมิให้แบ่ง โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้แบ่งแยกที่ดินและตึกแถวพิพาทได้และก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์และจำเลยไปพบพนักงานสอบสวนแล้วบันทึกลงประจำวันไว้เป็นหลักฐานว่าผู้แจ้งทั้งสองมีปัญหาโต้แย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ ร้อยตำรวจเอก ส.พยายามไกล่เกลี่ยแล้ว แต่ตกลงกันไม่ได้ ทั้งสองฝ่ายตกลงไปฟ้องร้องกันต่อศาลแพ่งเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาว่าผู้ใดมีกรรมสิทธิ์ กรณีเช่นนี้ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์เกิดขึ้นแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โดยไม่จำต้องมีหนังสือบอกกล่าวขอแบ่งแยกไปยังจำเลยแล้วหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสัญชาติ: การที่ยังไม่มีการถอนชื่อออกจากทะเบียนบ้าน ย่อมไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิและไม่มีอำนาจฟ้อง
การที่นายกเทศมนตรีจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่ 2 อ้างว่าโจทก์ทั้งหกเป็นคนต่างด้าวขออนุมัติถอนชื่อโจทก์ทั้งหกออกจากทะเบียนบ้านนั้น เป็นเพียงความเห็นของจำเลยที่ 1 เมื่อเทศบาลยังมิได้ถอนชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้าน กรณีก็ยังไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยเพิ่มชื่อโจทก์ลงในทะเบียนบ้าน หรือขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์ทั้งหกเป็นคนสัญชาติไทย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1460/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเครื่องหมายการค้า: การเลือกภูมิลำเนาเฉพาะการของตัวแทน และข้อโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลย ขอให้ห้ามจำเลยขัดขวางการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์ ดังนั้นเอกสารที่จำเลยมอบอำนาจให้ตัวแทนในประเทศไทยมีสิทธิเด็ดขาดในการยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าจึงมิใช่เอกสารตามที่กฎหมายต้องการให้แนบมาท้ายฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง หากแต่เป็นเรื่องที่จะต้องใช้ในการนำสืบเมื่อจำเลยปฏิเสธ แต่ในคำให้การของจำเลยมิได้ปฏิเสธในเรื่องดังกล่าวจึงต้องฟังดัง ที่โจทก์ฟ้อง จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศได้ตั้งให้ ป. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยเป็นตัวแทนมีอำนาจทำการแทนจำเลยในเหตุแห่งคดีนี้ โดยระบุสถานที่ส่งบัตรหมายถึงจำเลยในประเทศไทยไว้ในคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยว่าให้ส่งที่ตัวแทนตามพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พุทธศักราช 2474 มาตรา 10 จึงถือได้ว่าจำเลยได้เลือกเอาภูมิลำเนาของ ป. ตัวแทนจำเลยเป็นภูมิลำเนาเฉพาะ การเพื่อกระทำการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 49 ดังนั้นโจทก์สามารถส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้แก่ ป. ตัวแทนของจำเลย ณ ภูมิลำเนาของ ป.ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4(2) หาใช่กรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4(3)ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย การที่ นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่ดำเนินการจดทะเบียนให้โจทก์ก็เนื่องจากนายทะเบียนเห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้มีการยื่นคำขอจดทะเบียนไว้ กรณีจึงถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของตน โจทก์จึงมีอำนาจที่จะเสนอคดีของตน ต่อศาลได้ตามพ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พุทธศักราช 2474 มาตรา 17 วรรคแรกประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 55.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางในที่ดินของผู้อื่น การฟ้องขอให้แบ่งแยกทางสาธารณะต้องรอให้เกิดข้อโต้แย้งสิทธิก่อน
ที่ดินของโจทก์และจำเลยอยู่ติดต่อกัน จำเลยตกลงยอมให้โจทก์ทำถนนในในที่ดินของจำเลย เพื่อโจทก์และผู้อื่นที่อาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์ใช้เป็นทางเข้าออกได้ ดังนี้เมื่อจำเลยยังไม่ได้ปิดกั้นถนนดังกล่าว โจทก์ก็ฟ้องจำเลยไม่ได้ เพราะยังไม่มีการโต้แย้งสิทธิของโจทก์เกิดขึ้น
การที่ถนนซึ่งโจทก์ทำขึ้นจะเป็นทางสาธารณะหรือไม่ ย่อมเป็นไปตามสภาพของการใช้ ไม่จำต้องให้ศาลมีคำสั่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเพื่อขอให้ศาลสั่งให้ที่ดินเป็นทางสาธารณะต้องรอให้เกิดข้อโต้แย้งสิทธิก่อน หากยังไม่ได้ถูกปิดกั้นสิทธิ โจทก์ฟ้องไม่ได้
ที่ดินของโจทก์และจำเลยอยู่ติดต่อกัน จำเลยตกลงยอมให้โจทก์ทำถนนในในที่ดินของจำเลย เพื่อโจทก์และผู้อื่นที่อาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์ใช้เป็นทางเข้าออกได้ ดังนี้เมื่อจำเลยยังไม่ได้ปิดกั้นถนนดังกล่าวโจทก์ก็ฟ้องจำเลยไม่ได้ เพราะยังไม่มีการโต้แย้งสิทธิของโจทก์เกิดขึ้น
การที่ถนนซึ่งโจทก์ทำขึ้นจะเป็นทางสาธารณะหรือไม่ย่อมเป็นไปตามสภาพของการใช้ ไม่จำต้องให้ศาลมีคำสั่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1479/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าเสียหายต้องมีข้อโต้แย้งสิทธิระหว่างโจทก์จำเลยก่อน หากไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้อง
ฟ้องโจทก์ได้ความแต่เพียงว่า เขตที่ดินตามโฉนดที่1498ของจำเลยไม่ถึงหลักเขตที่ปรากฏอยู่ และไม่ถึงเขตสุขาภิบาลใช้เป็นจุดวัดทางสาธารณะ การใช้จุดวัดดังกล่าวนี้ไม่ถูกต้องเป็นเหตุให้การรังวัดจากหลักเขตดังกล่าวรุกล้ำเข้าไปในทางสาธารณะ ทำให้ทางสาธารณะที่คั่นอยู่ระหว่างที่ดินโจทก์จำเลยร่นเข้าไปอยู่ในที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นการบรรยายถึงการกระทำของบุคคลอื่นอันมีผลให้กระทบกระเทือนถึงที่ดินของโจทก์ หาได้มีข้อความที่เกี่ยวกับจำเลยว่าได้กระทำการอันใดที่ทำให้ทางสาธารณะเข้าไปอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์ หรือทำให้โจทก์เสียหายไม่ต้องถือว่ายังไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 877/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการห้ามบุคคลเข้าบ้านและการไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิ การฟ้องขอให้ศาลห้ามจึงไม่ชอบ
ฟ้องโจทก์กล่าวว่าจำเลยเข้าไปในบ้านโจทก์ พาลหาเรื่องด่าว่าโจทก์เป็นการก่อความรำคาญเดือดร้อนแก่โจทก์ดังนี้เรียกไม่ได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ที่จะห้ามมิให้ใครเข้าบ้าน โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลห้ามจำเลยได้