คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คณะกรรมการอุทธรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8229/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หากยังไม่แน่นอนว่าผู้เสียภาษีต้องรับผิดจริงหรือไม่
พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 เคยออกแบบแจ้งการประเมินรวม 19 ฉบับ ให้จำเลยชำระภาษีอากรที่ขาดให้ครบถ้วนตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2545 มาครั้งหนึ่งแล้ว แต่พนักงานเจ้าหน้าที่หลงลืมมิได้ลงลายมือชื่อ ต่อมาโจทก์ที่ 1 ออกแบบแจ้งการประเมินแก่จำเลยอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2545 เพื่อป้องกันการโต้แย้งจากจำเลยว่าแบบแจ้งการประเมินเดิมนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น เมื่อจำเลยได้โต้แย้งแบบแจ้งการประเมินให้ชำระภาษีอากรที่ขาดฉบับปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2545 โดยยื่นอุทธรณ์คัดค้านการประเมินแล้ว ก็เท่ากับจำเลยได้ยอมรับรองแบบแจ้งการประเมินของโจทก์ที่ 1 นั้นโดยปริยาย หลังจากรับการประเมินครั้งใหม่แล้ว จำเลยยังยื่นอุทธรณ์การประเมินซ้ำอีกครั้งหนึ่งโดยขอถือตามคำอุทธรณ์ฉบับเดิมจึงชอบที่โจทก์ที่ 1 จะเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 ฉ สิทธิในการอุทธรณ์ของผู้นำของเข้าเช่นจำเลยมิได้จำกัดไว้เฉพาะกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านศุลกากรตามมาตรา 112 เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการประเมินอากรของพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ที่เกิดขึ้นแก่ผู้นำของเข้าทุกกรณี เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยจากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อนที่จะมีการนำคดีมาสู่ศาล เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย จึงยังไม่แน่นอนว่าจำเลยจะต้องรับผิดตามที่ถูกประเมินหรือไม่ และถือว่าโจทก์ที่ 1 ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับอากรขาเข้า
ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น แม้จะถือไม่ได้ว่าคำอุทธรณ์ที่จำเลยยื่นต่อกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 เป็นการอุทธรณ์การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 (1) ด้วย แต่การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีนี้สืบเนื่องจากข้อพิพาทในเรื่องราคาสินค้าที่ใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณค่าอากรขาเข้าเป็นหลัก และภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้าสินค้านั้นมาตรา 79/2 กำหนดฐานภาษีไว้ตามมูลค่าของสินค้านำเข้าโดยให้ใช้ราคา ซี.ไอ.เอฟ.ของสินค้าบวกด้วยอากรขาเข้าภาษีสรรพสามิตที่กำหนดในมาตรา 77/1 (19) ค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นตามที่จะได้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา และในกรณีที่เจ้าพนักงานศุลกากรได้ทำการประเมินราคาเพื่อเสียอากรขาเข้าใหม่ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ให้ถือราคานั้นเป็นราคาสินค้าในการคำนวณราคา ซี.ไอ.เอฟ. ฉะนั้น ความรับผิดเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายของจำเลยจึงขึ้นอยู่กับคำอุทธรณ์ของจำเลยที่ยื่นไว้ต่อโจทก์ที่ 1 โดยจำเลยไม่จำต้องอุทธรณ์การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร เมื่อยังไม่แน่นอนว่ามูลค่าของสินค้านำเข้าเป็นเท่าใด ความรับผิดของจำเลยเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มจึงยังไม่แน่นอนไปด้วย กรมสรรพากรโจทก์ที่ 2 ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5693/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาคารรื้อถอน: จำแนกฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
คำสั่งที่ให้โจทก์รื้อถอนอาคารเป็นคำสั่งของนายกเทศมนตรีเมืองสิงห์บุรีในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 ซึ่งมาตรา 42 ให้อำนาจไว้โดยเฉพาะแยกต่างหากจากการสั่งในฐานะเป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล คำสั่งดังกล่าวจึงไม่ใช่คำสั่งของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารแล้ว โจทก์ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคหนึ่ง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ คำวินิจฉัยดังกล่าวจึงโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้
อาคารพิพาทเป็นอาคารพาณิชย์สร้างเสร็จแล้ว ด้านหลังอาคารเว้นช่องว่างไม่ถึง 2 เมตร ตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต และตามที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นกรณีที่มีการก่อสร้างอาคารโดยฝ่าฝืนมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ ดังนั้นตราบใดยังไม่แก้ไขให้ถูกต้องเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ตามมาตรา 40, 42 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ดังนั้น ที่นายกเทศมนตรีเมืองสิงห์บุรีในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนด้านหลังอาคารพิพาท 2 คูหาให้มีที่ว่างเป็นทางเดินหลังอาคาร 2 เมตร และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9569/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีภาษีอากรต้องรอผลการพิจารณาของคณะกรรมการอุทธรณ์ก่อน จึงจะสามารถฟ้องต่อศาลภาษีอากรได้
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 8 ได้วางข้อห้ามมิให้ฟ้องคดีตามมาตรา 7 (1) ต่อศาลภาษีอากรไว้ซึ่งเป็นการห้ามบุคคลทุกคน หามีข้อยกเว้นให้กรมสรรพากรโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีโดยไม่จำต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว และขณะที่โจทก์ฟ้องคดี คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังมิได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 หนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 ตามที่โจทก์แจ้งการประเมิน ซึ่งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ที่เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดจะต้องร่วมรับผิดด้วยอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งหกต่อศาลภาษีอากรกลางตามมาตรา 7 (1) และมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และ 246
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รับคำอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไว้พิจารณาแล้ว กรณีจะต้องห้ามอุทธรณ์ตามกฎหมายหรือไม่อย่างไร คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัย โจทก์ไม่มีสิทธิวินิจฉัยแทนคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัย โจทก์ย่อมไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7623/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มที่มิชอบ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต้องพิจารณาเอกสารหลักฐานที่ผู้เสียภาษีนำเสนอ
ตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มเดือนกันยายน ตุลาคม และพฤศจิกายน2536 โจทก์ลงรายการในช่องภาษีที่ชำระเกินยกมาเป็นจำนวนเงิน 157,989.33 บาท ผิดโดยลงซ้ำทั้งสามเดือน และโจทก์อ้างว่าฐานภาษีซื้อของโจทก์ในเดือนมิถุนายนและตุลาคม 2535 โจทก์ใช้ราคาสินค้าตามความจริงโดยมิได้นำราคาที่เจ้าพนักงานศุลกากรประเมินเพิ่มมาเป็นฐานภาษี ในระหว่างอุทธรณ์การประเมินโจทก์ได้เสนอเอกสารใบกำกับภาษีซื้อ ภาษีขาย รายงานภาษี แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อประกอบการพิจารณาด้วยแล้ว การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพียงแต่พิจารณาหลักฐานรายงานภาษีขายและภาษีซื้อเดือนพฤศจิกายน 2536 โดยมิได้นำเอกสารดังกล่าวมาพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่าการประเมินชอบแล้ว เห็นได้ว่าเป็นการนำข้อมูลจากรายงานภาษีขายและภาษีซื้อของโจทก์ในเดือนพฤศจิกายน 2536 ซึ่งโจทก์นำสืบว่าโจทก์ลงไว้ผิดมาวินิจฉัย โดยมิได้ตรวจสอบจากเอกสารที่โจทก์นำมาส่งให้เพื่อประกอบการพิจารณาด้วยการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงไม่ชอบ
ประมวลรัษฎากร มาตรา 83/4 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการยื่นแบบและชำระภาษีและเป็นทางแก้กรณีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วนและให้โอกาสผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษียื่นเพิ่มเติมใหม่เพื่อให้ถูกต้องครบถ้วนได้ บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติห้ามมิให้ศาลภาษีอากรเข้าไปวินิจฉัยว่าการประเมินภาษีหรือคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของเจ้าพนักงานประเมินหรือของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถูกต้องหรือไม่การที่ศาลภาษีอากรมีคำวินิจฉัยในเรื่องนี้จึงมิใช่เป็นการลัดขั้นตอนของกฎหมายหรือเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างไม่ถูกต้องตามกฎหมายควบคุมอาคาร และอำนาจของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
อำนาจในการสั่งให้รื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างผิดแบบแปลนจากที่ได้รับอนุญาตโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 40 และ 42 เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นและตามมาตรา 4 เจ้าพนักงานท้องถิ่นหมายความว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานครเมื่ออาคารของโจทก์ซึ่งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครก่อสร้างผิดแบบแปลนจากที่ได้รับอนุญาตโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 และ 42ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารได้ และเนื่องจากมาตรา 35แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ. 2518 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นให้อำนาจผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทนได้ เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้ผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทนและได้ประกาศคำสั่งในกรุงเทพ กิจจานุเบกษาแล้ว ผู้อำนวยการ เขตพระนคร จึงมีอำนาจปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้อำนวยการเขตพระนครมาลงชื่อในสมุดลงเวลาทำการในตอนเช้าแล้วไม่ได้อยู่ปฏิบัติราชการที่สำนักงานเขตพระนคร กรณีจึงถือได้ว่าในวันดังกล่าวจำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตพระนครและเป็นผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการจึงมีอำนาจปฏิบัติราชการในฐานะรักษาราชการแทนผู้อำนวยการเขตพระนครปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528มาตรา 84 วรรคสอง การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารใดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 นั้น นอกจากจะ คำนึงถึงความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยแล้ว ยังจะต้อง พิจารณาถึงแผนผัง บริเวณ แบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนด้วยดังนั้น การที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนเพียง 4 ชั้น แต่กลับก่อสร้างเป็นอาคารถึง 6 ชั้นจึงเป็นการก่อสร้างที่ผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 31 และเมื่อเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้ก่อสร้างเป็นอาคาร 6 ชั้น ตามที่ได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ในมาตรา 31(1)(2)และ (3) ได้ จึงชอบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารชั้นที่ 5 และชั้นที่ 6 ได้ ตามแผนผังบริเวณของอาคารที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างจะต้องมีที่ว่างปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินด้านหลังอาคารได้ถึงกันกว้าง 2 เมตร และด้านหลังของอาคารก็ไม่มีการก่อสร้างเชื่อมต่อกับอาคารของบริษัท ต. เพราะเป็นการก่อสร้างแยกต่างหากอาคารเดิมของบริษัท ต. การที่โจทก์ฝ่าฝืนก่อสร้างอาคารเชื่อมต่อกันปกคลุมที่ว่างด้านหลังโดยไม่หลบเขตเป็นทางเดินด้านหลังอาคารกว้าง 2 เมตรจึงขัดกับมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522ทั้งยังขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 76(4) ด้วยจึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้จึงชอบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมที่ว่างทางเดินหลังอาคารทั้งหมดได้ อาคารที่ก่อสร้างตามใบอนุญาตที่ พ.28/2525 ซึ่งก่อสร้างอาคารบนที่ดินโฉนดเลขที่ 6139 และโฉนดที่ดินเลขที่ 6298โจทก์ก่อสร้างอาคารบนที่ดินที่ซื้อมาจาก บ. ที่ดินดังกล่าวทางทิศเหนือจดที่ดินเลขที่ 156,157 และทางสาธารณะต่อมาที่ดินแปลงนี้ได้แบ่งแยกออกเป็นที่ดินแปลงย่อยอีก6 แปลงซึ่งทางทิศเหนือของที่ดินแปลงย่อยที่แบ่งแยกออกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 6137 และ 6138 ก็อยู่ติดทางสาธารณะต่อมาที่ดินโฉนดเลขที่ 6138 ถูกแบ่งแยกออกเป็น 2 แปลงอีกคือที่ดินแปลงทางทิศใต้โฉนดที่ดินเลขที่ 6298 ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 6138(แปลงคงเหลือ) เป็นที่ดินแปลงทางทิศเหนือเนื้อที่ 0.4 ตารางวา ซึ่งยังติดทางสาธารณะอยู่เช่นเดิมถัดจากทางสาธารณะขึ้นไปทางทิศเหนือจะเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 1184 เลขที่ดิน 21 พร้อมอาคารของโจทก์ซึ่งทางทิศตะวันออกจะติดกับอาคารของบริษัท ต.โจทก์ก่อสร้างอาคารของโจทก์ให้เชื่อมต่อกับอาคารของบริษัท ต. โจทก์ต้องก่อสร้างอาคารบนที่ดินโฉนดเลขที่ 6298ปกคลุมที่ดินโฉนดเลขที่ 6138 และทางสาธารณะด้วย เพื่อให้ไปเชื่อมต่อกับอาคารบนที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 1184และอาคารของบริษัท ต. ให้เป็นอาคารเดียวกัน ซึ่งขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ข้อ 69 เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้โจทก์รื้อถอนพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมทางสาธารณะจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 50กำหนดให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในเขตกรุงเทพมหานคร และในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด แต่ปลัดกระทรวงมหาดไทยได้อาศัยอำนาจตามความในข้อ 40 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 มีคำสั่งมอบอำนาจดังกล่าวให้รองปลัดกระทรวงมหาดไทยฝ่ายบริหารปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทยในหน้าที่ประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และปลัดกระทรวงมหาดไทยยังมีคำสั่งมอบอำนาจให้จำเลยที่ 3ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทยในงานฝ่ายบริหารดังนั้น จำเลยที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทยที่มีอำนาจปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทยในงานฝ่ายบริหาร จึงมีอำนาจปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทยในหน้าที่ประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในเขตกรุงเทพมหานครคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่จำเลยที่ 3 ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1710/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทภาษีอากร: การประเมินรายได้, การปรับปรุงแก้ไข, และอำนาจของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ต้องเสียภาษีอากรตามประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้และผู้ต้องเสียภาษีอากรอุทธรณ์จะไปพิจารณาประเด็นอื่นนอกเหนือจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้หาได้ไม่เพราะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ใช่เจ้าพนักงานประเมินทั้งยังเป็นการข้ามขั้นตอนไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งมาตรา19,20แห่งประมวลรัษฎากรส่วนมาตรา31วรรคสองแห่งประมวลรัษฎากรนั้นมิใช่บทบัญญัติให้อำนาจคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาประเด็นใดก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 556-557/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำวินิจฉัยคณะกรรมการอุทธรณ์ตามระเบียบข้อบังคับบริษัท: นายจ้างต้องผูกพัน
ระเบียบพนักงานบริษัทขนส่ง จำกัดเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจึงมีผลใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างเมื่อตามระเบียบฯให้สิทธิแก่ลูกจ้างผู้ถูกลงโทษอุทธรณ์คำสั่งลงโทษไปยังคณะกรรมการอุทธรณ์ก็เท่ากับนายจ้างยอมรับที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์แม้ระเบียบจะมิได้กำหนดไว้ชัดแจ้งว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ให้มีผลผูกมัดนายจ้างก็ตาม จำเลยมีคำสั่งลงโทษไล่โจทก์ออกจากงานโจทก์อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ของจำเลยตามระเบียบพนักงานบริษัทขนส่ง จำกัดของจำเลยแล้วดังนี้เมื่อคณะกรรมการอุทธรณ์วินิจฉัยให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษของจำเลยจำเลยต้องผูกพันปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 556-557/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันตามคำวินิจฉัยคณะกรรมการอุทธรณ์: นายจ้างต้องปฏิบัติตามระเบียบสัญญาจ้าง แม้ไม่มีข้อกำหนดผูกพันชัดเจน
ระเบียบพนักงานบริษัทขนส่งจำกัดเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจึงมีผลใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างเมื่อตามระเบียบฯให้สิทธิแก่ลูกจ้างผู้ถูกลงโทษอุทธรณ์คำสั่งลงโทษไปยังคณะกรรมการอุทธรณ์ก็เท่ากับนายจ้างยอมรับที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์แม้ระเบียบจะมิได้กำหนดไว้ชัดแจ้งว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ให้มีผลผูกมัดนายจ้างก็ตาม. จำเลยมีคำสั่งลงโทษไล่โจทก์ออกจากงานโจทก์อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ของจำเลยตามระเบียบพนักงานบริษัทขนส่งจำกัดของจำเลยแล้วดังนี้เมื่อคณะกรรมการอุทธรณ์วินิจฉัยให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษของจำเลยจำเลยต้องผูกพันปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 910/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประเมินภาษีเมื่อผู้เสียภาษีไม่นำเอกสารหลักฐานมาตรวจสอบ และการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
ในกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้ที่แสดงรายการตามแบบที่ยื่นรายการเสียภาษีจะไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 ที่จะออกหมายเรียกให้ผู้ที่ยื่นรายการแสดงการเสียภาษีนำบัญชี หรือเอกสารหลักฐานการลงบัญชีใด ๆ ไปให้เพื่อทำการไต่สวนตรวจสอบ หากผู้นั้นขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก เจ้าพนักงานประเมินก็ชอบที่จะทำการประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71 (1) และไม่มีบทบัญญัติใด ในกรณีนี้บังคับว่าจะต้องทำการไต่สวนเสียก่อน
โจทก์อ้างว่าบัญชีและหลักฐานการลงบัญชีที่เก็บไว้สูญหายแต่ได้ความว่า โจทก์เพียงแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอชุมแพว่า บัญชี 5 เล่ม ประจำปี 2515 - 2516 ของโจทก์หายไปเนื่องจากการโยกย้ายสำนักงานเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าเอกสารประกอบการลงบัญชีทุกชนิดต้นฉบับ หรือคู่ฉบับสัญญาเช่าซื้อของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2515 - 2516 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินมีหมายเรียกให้โจทก์นำไปส่งมอบได้หายไปด้วย ทั้งโจทก์ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหาได้แจ้งเรื่องบัญชี 5 เล่มที่สูญหายต่อสำนักงานบัญชีให้ชอบด้วยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 285 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 15 ไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่นำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นตามหมายเรียกมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนตามมาตรา 19 เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 2 ของยอดรายรับตามมาตรา 71 (1) ดังกล่าว
จำเลยที่ 3 เจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์เป็นสรรพากรเขต 4 สำนักงานตั้งอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี ตามกฎหมายมีอำนาจทำการประเมินเรียกเก็บภาษีในจังหวัดที่อยู่ภายในเขตอำนาจ จึงรวมถึงประเมินเรียกเก็บภาษีของโจทก์ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดขอนแก่นซึ่งอยู่ในเขตอำนาจดัวย ดังนั้น การแต่งตั้งจำเลยที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นกับพนักงานอัยการจังหวัดขอนแก่นร่วมกันเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงถือว่าเป็นการชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 30 (1) (ข) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 910/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการประเมินภาษีโดยไม่ต้องไต่สวน หากมีเหตุเชื่อว่ารายการไม่ถูกต้อง และความชอบด้วยกฎหมายของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
ในกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ที่แสดงรายการตามแบบที่ยื่นรายการเสียภาษีจะไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงเจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 ที่จะออกหมายเรียกให้ผู้ที่ยื่นรายการแสดงการเสียภาษีนำบัญชีหรือเอกสารหลักฐานการลงบัญชีใด ๆ ไปให้เพื่อทำการไต่สวนตรวจสอบ หากผู้นั้นขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก เจ้าพนักงานประเมินก็ชอบที่จะทำการประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) และไม่มีบทบัญญัติใดในกรณีนี้บังคับว่าจะต้องทำการไต่สวนเสียก่อน
โจทก์อ้างว่าบัญชีและหลักฐานการลงบัญชีที่เก็บไว้สูญหายแต่ได้ความว่าโจทก์เพียงแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอชุมแพว่า บัญชี 5 เล่ม ประจำปี 2515-2516 ของโจทก์หายไปเนื่องจากการโยกย้ายสำนักงานเท่านั้นไม่ปรากฏว่าเอกสารประกอบการลงบัญชีทุกชนิดต้นฉบับ หรือคู่ฉบับสัญญาเช่าซื้อของรอบระยะเวลาบัญชีปี2515-2516 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินมีหมายเรียกให้โจทก์นำไปส่งมอบได้หายไปด้วย ทั้งโจทก์ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหาได้แจ้งเรื่องบัญชี 5 เล่มที่สูญหายต่อสำนักงานบัญชีให้ชอบด้วยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 285 ลงวันที่ 24พฤศจิกายน 2515 ข้อ 15 ไม่ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่นำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นตามหมายเรียกมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนตามมาตรา 19 เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 2 ของยอดรายรับตามมาตรา 71(1) ดังกล่าว
จำเลยที่ 3 เจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์เป็นสรรพากรเขต 4 สำนักงานตั้งอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี ตามกฎหมายมีอำนาจทำการประเมินเรียกเก็บภาษีในจังหวัดที่อยู่ภายในเขตอำนาจ จึงรวมถึงประเมินเรียกเก็บภาษีของโจทก์ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดขอนแก่นซึ่งอยู่ในเขตอำนาจด้วย ดังนั้น การแต่งตั้งจำเลยที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นกับพนักงานอัยการจังหวัดขอนแก่นร่วมกันเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงถือว่าเป็นการชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 30(1)(ข) แล้ว
of 2