คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ครอบครัว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 61 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3912/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษและรอการลงโทษสำหรับผู้กระทำผิดในวัยเยาว์ โดยพิจารณาปัจจัยด้านครอบครัวและการกลับตัวเป็นคนดี
ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 16 ปีเศษ ไม่ปรากฏว่าเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน บิดามารดาจำเลยยังคงรักใคร่ห่วงใย โดยหลังจากจำเลยถูกดำเนินคดีได้เข้ามาร่วมดูแลจำเลยอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น ทั้งหลังเกิดเหตุก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยไปกระทำความผิดใดอีก นับว่าจำเลยยังอยู่ในวิสัยที่สามารถแก้ไขฟื้นฟูตนเองให้ทำคุณประโยชน์แก่สังคมได้ เห็นควรให้โอกาสจำเลยกลับตนเป็นพลเมืองดีสักครั้ง อาศัยอำนาจตาม ป.อ. มาตรา 56 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 106 (2) (3) ให้รอการลงโทษจำคุกและโทษปรับแก่จำเลย แต่เพื่อแก้ไขความประพฤติที่เสียหายของจำเลยดังกล่าวและสอดส่องดูแลจำเลยไปอีกระยะหนึ่ง จึงเห็นควรกำหนดเงื่อนไขคุมความประพฤติจำเลยไว้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7700/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักลดหย่อนภาษีเงินได้จากการบริจาคที่ระบุชื่อผู้บริจาคและครอบครัว ผู้บริจาคมีสิทธิหักลดหย่อนได้เต็มจำนวน
คดีมีประเด็นที่ต้องพิจารณาเพียงว่าใบอนุโมทนาบัตรที่ระบุชื่อโจทก์และครอบครัวเป็นผู้บริจาค โจทก์สามารถนำไปหักค่าลดหย่อนเงินบริจาคได้หรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า แม้โจทก์ไม่มีใบอนุโมทนาบัตรของวัดมาแสดง แต่โจทก์พิสูจน์พยานบุคคลว่ามีการบริจาคจริงโจทก์ก็ย่อมนำไปหักเป็นค่าลดหย่อนได้ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 47 (7) (ข) ให้สิทธิผู้มีเงินได้พึงประเมินนำเงินที่ตนบริจาคมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้ โดยหักได้เท่าจำนวนที่บริจาค แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินที่เหลือจากการหักค่าใช้จ่ายแล้ว เมื่อใบอนุโมทนาบัตรที่โจทก์นำมาขอหักเป็นค่าลดหย่อนระบุชื่อโจทก์และครอบครัวเป็นผู้บริจาค และโจทก์ได้บริจาคเงินจริง โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีชื่อในใบอนุโมทนาบัตรดังกล่าวจึงมีสิทธิหักเป็นค่าลดหย่อนได้
การที่ใบอนุโมทนาบัตรระบุชื่อโจทก์และครอบครัวเป็นผู้บริจาคเพื่อเหตุผลทางด้านจิตใจและความเชื่อทางศาสนาว่าบุคคลในครอบครัวของโจทก์ทุกคนได้ร่วมกันทำบุญกุศล เมื่อโจทก์เป็นผู้มีชื่อระบุในใบอนุโมทนาบัตร โดยไม่มีชื่อบุคคลอื่นร่วมด้วย โจทก์จึงมีสิทธิที่จะนำเงินบริจาคทั้งจำนวนตามที่ปรากฏในใบอนุโมทนาบัตรนั้นมาหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์ได้
การขอคืนภาษีอากรที่นำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษีหรือที่ไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ผู้เสียภาษีจะต้องยื่นคำร้องขอคืนภาษีต่อเจ้าพนักงานของจำเลยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27 ตรี แต่โจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษี โจทก์จึงไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้องต่อศาลขอคืนภาษีและดอกเบี้ยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยคืนเงิน 21,806 บาท พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์จึงไม่ชอบ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) และมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7700/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักลดหย่อนภาษีเงินบริจาคจากใบอนุโมทนาบัตรที่ระบุชื่อครอบครัว และการขอคืนภาษีที่ถูกต้อง
คดีนี้มีประเด็นที่ต้องพิจารณาเพียงว่า ใบอนุโมทนาบัตรที่ระบุชื่อโจทก์และครอบครัวเป็นผู้บริจาค โจทก์สามารถนำไปหักลดหย่อนเงินบริจาคได้หรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า แม้โจทก์ไม่มีใบอนุโมทนาบัตรของวัดมาแสดง แต่โจทก์พิสูจน์พยานบุคคลว่ามีการบริจาคจริง โจทก์ก็ย่อมนำไปหักเป็นค่าลดหย่อนได้จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง นอกประเด็น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 แม้คู่ความจะหยิบยกขึ้นเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว
มาตรา 47 (7) แห่ง ป. รัษฎากร ให้สิทธิผู้มีเงินได้พึงประเมินนำเงินที่ตนบริจาคมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้ โดยหักได้เท่าจำนวนที่บริจาค แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินที่หักรายจ่ายแล้ว เมื่อใบอนุโมทนาบัตรที่โจทก์นำมาหักเป็นค่าลดหย่อนระบุชื่อโจทก์และครอบครัวเป็นผู้บริจาค โจทก์จึงมีสิทธินำมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้
การที่ใบอนุโมทนาบัตรระบุชื่อโจทก์และครอบครัวเป็นผู้บริจาคก็เพื่อเหตุผลทางด้านจิตใจและความเชื่อทางศาสนาว่า บุคคลในครอบครัวของโจทก์ทุกคนได้ร่วมกันทำบุญกุศล เมื่อโจทก์เป็นผู้มีชื่อระบุในใบอนุโมทนาบัตรเพียงคนเดียวโดยไม่มีชื่อบุคคลอื่นร่วมด้วย โจทก์จึงมีสิทธินำเงินบริจาคทั้งจำนวนตามที่ปรากฏในใบอนุโมทนาบัตรพิพาท มาหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์ได้
การขอคืนภาษีอากรที่นำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสีย หรือไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ผู้เสียภาษีจะต้องยื่นคำร้องขอคืนภาษีต่อเจ้าพนักงานของจำเลย ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 27 ตรี การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยคืนเงินจำนวน 21,806 บาท ที่โจทก์นำไปชำระแก่จำเลยตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีแล้วจึงไม่ชอบ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 712/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าเดิมที่สืบทอดทางครอบครัว ไม่ถือเป็นการเลียนเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน
เครื่องหมายการค้า ที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรของโจทก์ร่วมกับเครื่องหมายการค้ารูปวัวแดง 2 ตัวชนกัน คือ เครื่องหมายการค้า ที่ถุงพลาสติกบรรจุยาฉุนที่จำเลยขายให้แก่ ร. และ จ. มีสาระลำคัญและลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าอยู่ที่คำว่า "ยี่ห้อกีเส็ง" และคำว่า "ตราวัวชนกัน" กันรูปวัว 2 ตัว ชนกันเหมือนกัน เมื่อเครื่องหมายการค้าทั้งสองได้ใช้กับสินค้ายาฉุนซึ่งเป็นสินค้าชนิดเดียวกันแล้วย่อมเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองนั้นคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าและแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ เมื่อฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร โจทก์และโจทก์ร่วมจึงต้องมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยได้กระทำความผิด แต่โจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีพยานหลักฐานใดมาพิสูจน์ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานนี้
การที่จำเลยจำหน่ายยาเส้นภายใต้เครื่องหมายการค้ารูปวัว 2 ตัวชนกัน คือเครื่องหมายการค้า เป็นการจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า ซึ่งปู่จำเลยเป็นผู้คิดขึ้นและใช้กับตัวสินค้ายาเส้นมาตั้งแต่ปี 2490 ก่อนที่โจทก์ร่วมจะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2536 ถึงประมาณ 46 ปี และเป็นการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้า ที่บิดาจำเลยซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของปู่จำเลยได้รับมรดกสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้น และไม่ปรากฏว่าบิดาจำเลยและ ส. ป้าจำเลยทายาทอีกคนหนึ่งได้ห้ามจำเลยมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแต่อย่างใด การที่จำเลยจำหน่ายยาเส้นภายใต้เครื่องหมายการค้า จึงมิใช่การจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้า ของโจกท์ร่วมที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 109

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2621/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์: การตัดสิทธิสมาชิกกรณีครอบครัวไม่ได้อยู่ด้วยกันและการแจ้งเปลี่ยนแปลงสถานภาพ
ระเบียบข้อ 4 ของสมาคมจำเลยมีข้อกำหนดที่เป็นสาระสำคัญประกอบกันสองประการ คือ ต้องเป็นกรณีที่ครอบครัวสมาชิกมีการหย่าร้างกันและจะต้องไม่ได้อยู่ด้วยกัน โดยที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ย้ายไปอยู่ที่อื่น หากเข้าเงื่อนไขทั้งสองประการนี้สมาชิกจึงมีหน้าที่ต้องไปแจ้งให้คณะกรรมการของจำเลยทราบ หากไม่แจ้งและมิได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกใหม่ จึงจะถือว่าขาดสิทธิจากการเป็นสมาชิก
โจทก์กับ ผ. สามีของโจทก์ไม่ได้จดทะเบียนหย่า เพียงแต่ ผ. เจ็บป่วยจึงได้ย้ายไปอาศัยอยู่กับบิดามารดาของ ผ. อีกแห่งหนึ่ง กรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์กับ ผ. เป็นครอบครัวสมาชิกที่หย่าร้างกันและไม่ได้อยู่ด้วยกัน อันจะเข้าเงื่อนไขตามระเบียบของจำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะตัดชื่อ ผ. ออกจากการเป็นสมาชิกของจำเลยและให้โจทก์ต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของจำเลยใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีครอบครัวที่เกินทุนทรัพย์และขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชำระค่าสินสอดแก่โจทก์ทั้งสามจำนวน 35,000 บาท พร้อมด้วยสร้อยคอทองคำหนัก 1 บาท หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนเป็นเงิน 5,300 บาทจำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์จึงมีเพียง 40,300 บาท ไม่เกิน 50,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัวคดีต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์ว่า เงินจำนวน 35,000 บาท และสร้อยคอทองคำหนัก 1 บาท เป็นเพียงเงินค่าตอบแทนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 3 ไปอยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์ที่ 3 มิใช่เป็นค่าสินสอด โจทก์ทั้งสามไม่อาจเรียกคืนได้นั้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อนี้จึงเป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242(1) และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฎีกาของโจทก์ทั้งสามจึงไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงก็ตาม ศาลฎีกาไม่อาจพิจารณาให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6570/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฆ่าโดยเจตนา ศาลพิจารณาเหตุทำร้ายร่างกาย ทรัพย์สินเสียหาย และความขัดแย้งในครอบครัวเพื่อตัดสินโทษ
สภาพศพผู้ตายมีรอยช้ำที่ขาทั้งสองข้างเนื่องจากถูกของแข็งกระทบกระแทกโดยเฉพาะที่หัวเข่าและหน้าแข้งหลายแห่ง และจำเลยใช้เหล็กยกน้ำหนักทุบตีผู้ตายที่ศีรษะจนผู้ตายถึงแก่ความตาย แต่ไม่ได้ความชัดแจ้งว่า จำเลยได้ทรมานหรือกระทำการทารุณโหดร้ายผู้ตายอย่างไร ประกอบกับเหตุที่เกิดขึ้นเป็นการทะเลาะวิวาทและทำร้ายกันระหว่างจำเลยกับผู้ตาย การที่จำเลยฆ่าผู้ตายจึงไม่เข้าลักษณะเป็นการทรมานหรือกระทำทารุณโหดร้าย
จำเลยกับผู้ตายเป็นสามีภริยากันมีบุตรด้วยกัน 4 คน บุตรคนแรกมีอายุประมาณ 24 ปี ผู้ตายทำมาหากินและอาศัยอยู่ด้วยกันย่อมจะต้องมีเรื่องระหองระแหงกระทบกระทั่งกัน และไม่เข้าใจกันบ้างเป็นปกติธรรมดา จำเลยซึ่งเป็นสามีและเป็นหัวหน้าครอบครัวควรจะมีความหนักแน่นอดทนและอดกลั้น การที่ผู้ตายบอกจำเลยว่าได้นำเงินที่จำเลยมอบให้เพื่อนำไปชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ไปใช้ส่วนตัว และผู้ตายนำเงินในบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลยกับเงินที่ขายรถยนต์บรรทุกหกล้อไปให้ชู้นั้น ผู้ตายก็พูดเพื่อเป็นการประชดประชันจำเลยเท่านั้น ส่วนที่ผู้ตายด่าจำเลยว่า ไอ้เหี้ยก็เกิดขึ้นเมื่อจำเลยกับผู้ตายต่างฝ่ายต่างขาดความอดทนและอดกลั้นได้สมัครใจเข้าทะเลาะวิวาทกันจนถึงขั้นทำร้ายกัน ซึ่งเป็นธรรมดาที่จะต้องมีการด่าว่ากัน การที่จำเลยกับผู้ตายทะเลาะวิวาทกันจึงเป็นเรื่องภายในครอบครัว กรณีมิใช่เรื่องร้ายแรงที่จำเลยจะต้องฆ่าผู้ตาย ทั้งจำเลยทราบก่อนเกิดเหตุหลายวันว่าเงินได้ขาดหายไป ดังนี้ จึงไม่ใช่เหตุข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยฆ่าผู้ตายจึงไม่ใช่เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 72
จำเลยต้องการทำร้ายผู้ตาย แม้ผู้ตายจะได้ใช้อาวุธปืนยิงจำเลยก็ตามแต่เหตุที่เกิดขึ้นทั้งหมดจำเลยเป็นฝ่ายก่อขึ้นก่อน การที่จำเลยฆ่าผู้ตายจึงไม่เป็นการป้องกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทด้วยการกล่าวอ้างเรื่องส่วนตัวและปัญหาภายในครอบครัวต่อบุคคลที่สาม
สิทธิส่วนบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวย่อมได้รับความคุ้มครอง การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารกล่าวข้อความว่า"โจทก์มีปัญหาในครอบครัว ทะเลาะเบาะแว้งกัน มีปัญหากับพนักงานในสาขาถึงได้ถูกย้ายไปสำนักงานใหญ่คงอยู่ไม่ได้นานต้องถูกไล่ออก" ต่อ อ. ลูกค้าของธนาคารย่อมเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงที่ล่วงสิทธิส่วนบุคคลซึ่งข้อความดังกล่าววิญญูชนทั่วไปย่อมจะเข้าใจได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายสินเชื่อเป็นคนไม่ดีทะเลาะกับสามีมีปัญหากับเพื่อนร่วมงานจนต้องถูกย้ายและกระทำความผิดร้ายแรงถึงขนาดจะถูกไล่ออกจากงานด้วย จึงเป็นข้อความที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังอันเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท หาใช่เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่สามีภริยาทะเลาะกันหรือเป็นคำติชมของผู้บังคับบัญชาหรือเป็นการกล่าวคาดคะเนแต่อย่างใดไม่ แต่เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีที่จำเลยกล่าวข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ต่อญาติของโจทก์เพียงคนเดียว และข้อความหมิ่นประมาทก็มิได้ทำให้ โจทก์เสียหายมากมายนัก นับว่าเป็นการกระทำความผิดที่มีลักษณะ ไม่ร้ายแรง ที่ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกและรอการลงโทษนั้น หนักเกินไปควรให้ปรับจำเลย 5,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3849/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการใช้กฎหมายอิสลามในคดีครอบครัวและมรดก: การให้ทรัพย์สินระหว่างมีชีวิตอยู่
บทบัญญัติมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489 นั้น หมายความว่าคดีแพ่งที่เกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวและมรดกตาม ป.พ.พ.ว่าด้วยครอบครัวและมรดกของผู้นับถือศาสนาอิสลามอันเกิดขึ้นในศาลของสี่จังหวัดดังกล่าว ให้ศาลใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับแทน ดังนั้น กรณีที่จะเป็นคดีต้องด้วยพ.ร.บ.ดังกล่าวจึงต้องเป็นคดีมรดกตาม ป.พ.พ.เสียก่อน
คดีนี้เป็นเรื่องเจ้ามรดกยกที่ดินอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นสิทธิแก่จำเลยและจำเลยร่วมตั้งแต่เจ้ามรดกยังไม่ถึงแก่ความตาย การยกที่ดินพิพาทให้ดังกล่าวแม้จะทำตามหลักกฎหมายอิสลามที่เรียกว่าพิธีแฮร์เบอะ โดยทำพิธีอย่างถูกต้องที่บ้านโต๊ะอิหม่ามก็ตาม กรณีก็ไม่ใช่เรื่องมรดกเพราะเป็นเรื่องให้ระหว่างมีชีวิตอยู่ บทกฎหมายในเรื่องนี้จึงต้องใช้ ป.พ.พ.บังคับแก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 998/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอยู่อาศัยในบ้านของบุคคลในครอบครัวและในครัวเรือน แม้เจ้าของสิทธิเดิมไม่ได้อยู่อาศัย
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของบ้านพิพาทได้ให้ ส.มีสิทธิอาศัยในบ้านพิพาทตลอดชีวิต แต่ ส.ได้ย้ายไปพักรักษาตัวอยู่กับบุตรสาว ส่วนจำเลยอยู่กินเป็นสามีภรรยากับบุตรของ ส.โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกันและมีบุตรด้วยกัน 2 คน ส.ยอมให้จำเลยและบุตรอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทได้ จำเลยจึงมีฐานะเป็นบุตรสะใภ้ของ ส. ย่อมถือได้ว่าจำเลยมีฐานะเป็นบุคคลในครอบครัวและในครัวเรือนของ ส.ผู้มีสิทธิอาศัยในบ้านพิพาท ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1405 แล้ว แม้ต่อมา ส.จะไปรักษาตัวอยู่กับบุตรสาวและไม่ได้อยู่ในบ้านพิพาทก็ตาม แต่ ส.ก็ยังมิได้สละสิทธิอยู่อาศัยในบ้านพิพาทยังคงมีสิทธิอยู่อาศัยในบ้านพิพาทได้ตลอดเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่ จำเลยซึ่งเป็นบุคคลในครอบครัวและในครัวเรือนของ ส.จึงมีสิทธิอยู่ในบ้านพิพาทได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย
ปัญหาว่าคำให้การของจำเลยก่อให้เกิดประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนชอบที่ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ได้
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าเป็นบริวารของ ส.และได้เข้าอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทโดยได้รับความยินยอมจาก ส.คำให้การของจำเลยเท่ากับเป็นการยกข้อต่อสู้ว่าจำเลยเป็นบุคคลในครอบครัวและในครัวเรือนของ ส.มีสิทธิอยู่ในบ้านพิพาทด้วยได้ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยเป็นบุคคลในครอบครัวและในครัวเรือนของ ส.จึงไม่เกินเลยไปจากคำให้การของจำเลย
of 7