พบผลลัพธ์ทั้งหมด 347 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8498/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย พยานหลักฐานสำคัญคือคำให้การและแผนที่สังเขป
แม้ขณะ นางสาว จ. เบิกความตอบอัยการโจทก์จะไม่มีนักจิตวิทยา แต่เมื่อนางสาว จ. เบิกความจบคำซักถามของอัยการโจทก์ นักจิตวิทยาได้เข้าร่วมพิจารณาและที่ปรึกษากฎหมายจำเลยและอัยการโจทก์ได้ถามค้านและถามติงพยานปากนี้ผ่านนักจิตวิทยาดังกล่าวโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดคัดค้าน คำเบิกความของนางสาว จ. จึงไม่เป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.อ. มาตรา 172 ตรี วรรคหนึ่ง (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6317/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลาง, การเพิ่มโทษ, และการลงโทษกรรมต่างกันในคดีชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย
อาวุธปืนพกของกลางและกระสุนปืนของกลางเป็นของผู้ตาย ส่วนเสื้อยืดของกลางเป็นของจำเลยที่ 2 แต่โจทก์มิได้มีคำขอให้ริบและมิใช่ทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 จึงไม่อาจริบได้
จำเลยทั้งสองร่วมกันชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โดยจำเลยที่ 1 มีและใช้อาวุธปืนเพื่อกระทำความผิด ต้องตาม ป.อ.มาตรา 340 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 340 ตรี แต่มาตรา 340 ตรี เป็นเพียงบทกำหนดโทษไม่ใช่บทเพิ่มโทษ เนื่องจากจำเลยที่ 1 ต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตตามมาตรา 339 วรรคท้าย กรณีไม่มีทางที่จะวางโทษกึ่งหนึ่งตามที่มาตรา 340 ตรี บัญญัติไว้ จึงนำมาตรา 340 ตรี มาบัญญัติด้วยไม่ได้ จำเลยที่ 1 คงมีความผิดตาม มาตรา 339 วรรคท้ายเท่านั้น
ในการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ป.อ. มาตรา 91 ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป เมื่อจำเลยที่ 2 กระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน การเพิ่มโทษจำเลยที่ 2 ต้องเพิ่มโทษทุกกระทงของความผิด เว้นแต่ในความผิดฐานใดที่ศาลลงโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกเกินห้าสิบปี ตาม ป.อ. มาตรา 51 ที่ศาลชั้นต้นยกคำขอเพิ่มโทษ และศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่ได้วินิจฉัยและแก้ไขในส่วนนี้เป็นการไม่ชอบ แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์และฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลจึงเพิ่มโทษจำเลยที่ 2 ไม่ได้ เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 2 ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212, 225
จำเลยทั้งสองร่วมกันชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โดยจำเลยที่ 1 มีและใช้อาวุธปืนเพื่อกระทำความผิด ต้องตาม ป.อ.มาตรา 340 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 340 ตรี แต่มาตรา 340 ตรี เป็นเพียงบทกำหนดโทษไม่ใช่บทเพิ่มโทษ เนื่องจากจำเลยที่ 1 ต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตตามมาตรา 339 วรรคท้าย กรณีไม่มีทางที่จะวางโทษกึ่งหนึ่งตามที่มาตรา 340 ตรี บัญญัติไว้ จึงนำมาตรา 340 ตรี มาบัญญัติด้วยไม่ได้ จำเลยที่ 1 คงมีความผิดตาม มาตรา 339 วรรคท้ายเท่านั้น
ในการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ป.อ. มาตรา 91 ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป เมื่อจำเลยที่ 2 กระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน การเพิ่มโทษจำเลยที่ 2 ต้องเพิ่มโทษทุกกระทงของความผิด เว้นแต่ในความผิดฐานใดที่ศาลลงโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกเกินห้าสิบปี ตาม ป.อ. มาตรา 51 ที่ศาลชั้นต้นยกคำขอเพิ่มโทษ และศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่ได้วินิจฉัยและแก้ไขในส่วนนี้เป็นการไม่ชอบ แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์และฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลจึงเพิ่มโทษจำเลยที่ 2 ไม่ได้ เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 2 ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212, 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4140/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตายโดยบันดาลโทสะ: ศาลฎีกาแก้ไขโทษลดลงจากเจตนาฆ่าเป็นทำร้ายร่างกาย
จำเลยเป็นพี่ชายของผู้ตาย ถูกผู้ตายซึ่งมึนเมาสุรามาหาเรื่องและทำร้ายชกต่อยจำเลย แม้จำเลยหนีลงจากบ้านไปแล้ว ผู้ตายยังติดตามจำเลยลงไปอย่างกระชั้นชิดและทำร้ายจำเลยอีก เป็นเหตุให้จำเลยเกิดบันดาลโทสะจึงได้หยิบฉวยไม้ด้ามเสียมซึ่งวางอยู่ที่พื้นดิน บริเวณหน้าบ้านนางโปยใกล้ที่เกิดเหตุตีไปที่ผู้ตาย 2 ถึง 3 ครั้ง การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำอย่างกระทันหันฉุกละหุก โดยจำเลยไม่มีโอกาสเลือกอาวุธ ทั้งไม่ได้เลือกตีบริเวณส่วนใดของ ร่างกายผู้ตาย เป็นการตีโดยไม่อาจทราบว่าจะถูกอวัยวะส่วนใดของผู้ตาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการทำร้ายผู้ตายจนถึงแก่ความตายโดยไม่มีเจตนาฆ่าและเป็นการกระทำโดยเหตุบันดาลโทสะเพราะถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงเหตุอันไม่เป็นธรรม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 288 เมื่อทางพิจารณารับฟังได้ว่า จำเลยกระทำผิดฐาน ทำร้ายร่างกายผู้ตายจนถึงแก่ความตายตามมาตรา 290 วรรคแรก ประกอบมาตรา 72 ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 288 เมื่อทางพิจารณารับฟังได้ว่า จำเลยกระทำผิดฐาน ทำร้ายร่างกายผู้ตายจนถึงแก่ความตายตามมาตรา 290 วรรคแรก ประกอบมาตรา 72 ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4924/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากยิงปืนในกลุ่มผู้ก่อเหตุ การกระทำเล็งเห็นผลถึงแก่ความตาย
การที่จำเลยใช้ปืนอันเป็นอาวุธที่มีอานุภาพร้ายแรงยิงเข้าไปในกลุ่มของผู้ตายจำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่ากระสุนปืนอาจจะถูกผู้หนึ่งผู้ใดในกลุ่มนั้นถึงแก่ความตายได้ เมื่อกระสุนปืนที่ยิงถูกผู้ตายถึงแก่ความตายเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6968/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจอดรถในทางเดินรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา
การที่จำเลยจอดรถในทางเดินรถโดยไม่แสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 56 วรรคสอง,152 เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายแก่กาย ซึ่งเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291,390 จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด
ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43(4) และ 157ต้องเป็นผู้ขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน และตามมาตรา 78 และ 160 ต้องเป็นผู้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นและไม่หยุดให้ความช่วยเหลือพร้อมแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งการจะเป็นความผิดดังกล่าวได้ต้องเป็นผู้ขับรถที่กำลังแล่นอยู่หาใช่กรณีผู้ขับรถที่จอดหรือหยุดรถไม่ เมื่อจำเลยจอดรถในทางเดินรถ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทและก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43(4),78,157 และ 160 วรรคหนึ่งปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องในความผิดดังกล่าวทั้งสองข้อหาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง,215,225
ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43(4) และ 157ต้องเป็นผู้ขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน และตามมาตรา 78 และ 160 ต้องเป็นผู้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นและไม่หยุดให้ความช่วยเหลือพร้อมแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งการจะเป็นความผิดดังกล่าวได้ต้องเป็นผู้ขับรถที่กำลังแล่นอยู่หาใช่กรณีผู้ขับรถที่จอดหรือหยุดรถไม่ เมื่อจำเลยจอดรถในทางเดินรถ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทและก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43(4),78,157 และ 160 วรรคหนึ่งปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องในความผิดดังกล่าวทั้งสองข้อหาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง,215,225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 576-577/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย ศาลฎีกาพิพากษายืนลงโทษจำเลยที่ 1-4 แก้เป็นยกฟ้องจำเลยที่ 5-6 และคืนของกลาง
คำให้การชั้นสอบสวนของพยานโจทก์กระทำขึ้นหลังเกิดเหตุไม่นาน ระบุเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยละเอียดเป็นขั้นตอนสอดคล้องต้องกันเริ่มตั้งแต่สาเหตุที่เกิดเรื่องจนกระทั่งผู้ตายทั้งสามถูกจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 กับพวกรุมทำร้ายจนสลบแล้วนำตัวขึ้นรถยนต์ปิกอัพออกไปจากที่เกิดเหตุ โดยเฉพาะ ว. เป็นพยานคนกลางที่ให้ปากคำต่อพนักงานสอบสวนหลังเกิดเหตุเพียง 2 วัน และเป็นเวลาก่อนที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4จะเข้ามอบตัว ย่อมไม่มีเวลาที่จะคิดไตร่ตรองเพื่อปรักปรำหรือช่วยเหลือฝ่ายใด ส่วน พ. และ ส. ที่มาให้การหลังเกิดเหตุประมาณ 20 วันก็เพราะนายจ้างสั่งห้ามไว้และกลัวจะเกิดอันตรายแก่ตนเนื่องจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจ จึงไม่ถือเป็นข้อพิรุธ แม้ในชั้นพิจารณาพยานเหล่านี้จะเบิกความถึงข้อความที่ระบุในคำให้การชั้นสอบสวนว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นผู้ร่วมทำร้ายผู้ตายทั้งสามนั้นพนักงานสอบสวนเป็นผู้ทำขึ้นเอง พยานมิได้ให้การเช่นนั้นก็เป็นการเบิกความเพื่อช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 มากกว่า เพราะการสอบสวนได้กระทำและควบคุมโดยนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่หลายนายขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวนโดยตรง จึงไม่มีเหตุผลอะไรที่พนักงานสอบสวนและผู้ควบคุมจะสร้างพยานหลักฐานขึ้นมาเพื่อกลั่นแกล้งปรักปรำผู้ใต้บังคับบัญชา ดังนั้น คำให้การชั้นสอบสวนของพยานเหล่านี้ที่เกี่ยวกับตัวจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงน่าจะเป็นความจริงยิ่งกว่าคำเบิกความในชั้นพิจารณา ทั้งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ก็นำสืบรับว่าขณะเกิดเหตุทั้งสี่คนได้อยู่ในที่เกิดเหตุด้วยแต่ไม่มีส่วนร่วมทำร้ายผู้ตายทั้งสามเท่านั้น พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมมีน้ำหนักมั่นคงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นคนร้ายร่วมกับพวกทำร้ายร่างกายผู้ตายทั้งสามจนสลบแล้วนำร่างของผู้ตายทั้งสามใส่รถยนต์ปิกอัพขับออกไป และแม้ขณะที่ผู้ตายทั้งสามถูกฆ่าจะไม่มีพยานผู้ใดรู้เห็น แต่จากพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4ที่นำร่างผู้ตายทั้งสามใส่รถยนต์ปิกอัพขับออกไป ต่อมารุ่งเช้ามีผู้พบศพผู้ตายทั้งสามจมน้ำอยู่ในร่องสวนซึ่งมีระยะห่างจากจุดที่นำร่างผู้ตายทั้งสามขึ้นรถยนต์ปิกอัพไม่กี่ชั่วโมง ย่อมเป็นการชี้ชัดว่าจำเลยที่ 1ถึงที่ 4 กับพวกเป็นผู้ร่วมกันฆ่าผู้ตายทั้งสามจริง
ผู้ตายทั้งสามมีบาดแผลที่บริเวณศีรษะเป็นจำนวนมาก บาดแผลส่วนใหญ่เกิดจากการถูกตีด้วยของแข็งมีน้ำหนักมากจนกะโหลกศีรษะของแต่ละคนแตกกระจายทั่วไปเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย มีเนื้อสมองออกมาจากบาดแผล และพบเศษดินโคลนและน้ำในหลอดลม แพทย์ลงความเห็นว่าผู้ตายทั้งสามตายเนื่องจากสมองถูกทำลายจากของแข็งกระทบกระแทกและขาดอากาศหายใจจากการจมน้ำ ชี้ให้เห็นว่าก่อนที่ผู้ตายทั้งสามจะตายได้ถูกจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 กับพวกใช้ของแข็งไม่มีคมทุบตีที่บริเวณศีรษะอย่างรุนแรงหลายครั้งอย่างโหดเหี้ยมจนกะโหลกศีรษะแตกกระจายเนื้อสมองไหลออกมาจากบาดแผล หลังจากนั้นยังถูกนำไปทิ้งน้ำทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ แสดงว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 กับพวกมีเจตนาฆ่าผู้ตายทั้งสามโดยการทรมานหรือกระทำทารุณโหดร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(5) ประกอบด้วยมาตรา 83
ผู้ตายทั้งสามมีบาดแผลที่บริเวณศีรษะเป็นจำนวนมาก บาดแผลส่วนใหญ่เกิดจากการถูกตีด้วยของแข็งมีน้ำหนักมากจนกะโหลกศีรษะของแต่ละคนแตกกระจายทั่วไปเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย มีเนื้อสมองออกมาจากบาดแผล และพบเศษดินโคลนและน้ำในหลอดลม แพทย์ลงความเห็นว่าผู้ตายทั้งสามตายเนื่องจากสมองถูกทำลายจากของแข็งกระทบกระแทกและขาดอากาศหายใจจากการจมน้ำ ชี้ให้เห็นว่าก่อนที่ผู้ตายทั้งสามจะตายได้ถูกจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 กับพวกใช้ของแข็งไม่มีคมทุบตีที่บริเวณศีรษะอย่างรุนแรงหลายครั้งอย่างโหดเหี้ยมจนกะโหลกศีรษะแตกกระจายเนื้อสมองไหลออกมาจากบาดแผล หลังจากนั้นยังถูกนำไปทิ้งน้ำทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ แสดงว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 กับพวกมีเจตนาฆ่าผู้ตายทั้งสามโดยการทรมานหรือกระทำทารุณโหดร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(5) ประกอบด้วยมาตรา 83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการใช้สิ่งของอันตรายทุ่มจากที่สูง
จำเลยใช้ก้อนหินซึ่งถึงแม้จะไม่ใช่อาวุธโดยสภาพ แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเป็นก้อนหินที่มีน้ำหนักถึง 1 กิโลกรัมเศษ และครึ่งกิโลกรัมจำนวนหลายก้อนทุ่มมาจากที่สูงลงมาในหมู่คนจำนวนมากที่อยู่ในพื้นที่จำกัดเช่นเรือที่เกิดเหตุเช่นนี้ จำเลยหรือบุคคลผู้อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับจำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้ว่าก้อนหินอาจจะไปถูกที่ศีรษะซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญเป็นผลทำให้ถึงตายได้ แต่จำเลยก็หาได้ใยดีต่อผลที่จะเกิดขึ้นไม่ จึงถือว่าจำเลย มีเจตนาฆ่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7774/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บันดาลโทสะจากการถูกยั่วยุ: การฟันผู้อื่นจนถึงแก่ความตายในงานศพ
ผู้ตายได้พูดกับจำเลยด้วยถ้อยคำว่า "มึงไม่นักเลง พ่อมึงถูกฆ่าตั้งแต่เล็ก ๆ มึงไม่มีน้ำยา" จำเลยตอบว่า "เสร็จแล้วก็ให้เสร็จกันไป" ผู้ตายพูดว่า "เสร็จแต่มึง กูไม่เสร็จ" ในบริเวณงานศพต่อหน้าผู้มาร่วมงานศพจำนวนหลายคน ทั้งผู้ตายถูกกล่าวหาว่าร่วมกันฆ่าบิดาจำเลย แต่ผู้ตายต่อสู้คดีจนพ้นความผิด พฤติการณ์ที่ผู้ตายกล่าวถ้อยคำต่อหน้าจำเลยและบุคคลอื่นอีกหลายคนตอกย้ำความรู้สึกของจำเลยว่าผู้ตายฆ่าบิดาจำเลยตั้งแต่จำเลยยังเป็นเด็ก แต่จำเลยก็ไม่มีความกล้าหาญพอที่จะทำอะไรได้ แม้จำเลยจะพูดโต้ตอบไปว่าไม่ติดใจในเรื่องดังกล่าวอีกต่อไปแล้วก็ตามแต่ผู้ตายก็ยังพูดทำนองท้าทายจะเอาเรื่องกับจำเลยอีกย่อมเป็นการเย้ยหยันสบประมาทต่อจำเลยอย่างร้ายแรง ทำให้จำเลยรู้สึกอับอายขายหน้าและแค้นเคืองขึ้นมาโดยทันใดอย่างมาก ถือได้ว่าการกระทำของผู้ตายเป็นการข่มเหงจิตใจของจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยหยิบมีดพร้าในบริเวณที่เกิดเหตุฟันผู้ตายในขณะนั้น 1 ครั้ง ที่บริเวณศีรษะจนเป็นให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 72
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6916/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำร้าย vs. ฆ่าโดยเจตนา: การประเมินความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย
การพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 กับพวกมีเจตนาฆ่าผู้ตายกับผู้เสียหายหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาถึงการกระทำของจำเลยที่ 1กับพวกประกอบกับบาดแผลที่ผู้ตายกับผู้เสียหายได้รับ ผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากสมองถูกทำลายอย่างรุนแรง มีบาดแผลฉีกขาดที่หนังศีรษะด้านซ้ายและที่กรามซ้าย หน้าผากด้านขวาบวมช้ำมีเลือดออกจากจมูกและหูทั้งสองข้างบาดแผลฉีกขาดและถลอกที่แขนซ้ายและเท้าขวา สมองช้ำอย่างรุนแรง การที่จำเลยที่ 2ใช้ขวดเบียร์ตีกลางศีรษะผู้ตายจนผู้ตายฟุบคว่ำหน้าทันที ย่อมแสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ใช้ขวดเบียร์ตีกลางศีรษะผู้ตายอย่างแรงและย่อมจะเล็งเห็นผลได้ว่าการกระทำเช่นนั้นจะทำให้สมองซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญถูกทำลายและทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายได้การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาส่วนจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่ามีสาเหตุรุนแรงที่จะต้องฆ่าผู้ตายแม้ว่าผู้ตายมีบาดแผลฉีกขาดหลังศีรษะด้านซ้ายก็ไม่ได้ความชัดเจนว่าเป็นบาดแผลที่เกิดจากจำเลยที่ 1 ทำร้าย ซึ่งอาจเป็นบาดแผลที่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 2 ก็ได้ จำเลยที่ 1มิได้มีเจตนาร่วมในการกระทำส่วนนี้ด้วย คงมีเจตนาเพียงร่วมทำร้ายร่างกายผู้ตายเมื่อการร่วมทำร้ายเป็นผลให้ผู้ตายถึงแก่ความตายจึงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย
ผู้เสียหายถูกจำเลยที่ 1 กับพวกใช้โซ่เหล็กฟาดหลายครั้งใช้ขวดเบียร์ตีศีรษะและใช้กำลังประทุษร้าย เมื่อพิจารณาจากลักษณะของบาดแผลประกอบความเห็นของแพทย์ผู้ตรวจร่างกายว่ารักษาภายใน 7 วัน ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนแสดงว่าบาดแผลของผู้เสียหายไม่ร้ายแรงจนถึงกับเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ การกระทำของจำเลยที่ 1กับพวกต่อผู้เสียหายจึงเป็นการร่วมกันทำร้ายผู้อื่นให้เกิดอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ประกอบด้วยมาตรา 83
ผู้เสียหายถูกจำเลยที่ 1 กับพวกใช้โซ่เหล็กฟาดหลายครั้งใช้ขวดเบียร์ตีศีรษะและใช้กำลังประทุษร้าย เมื่อพิจารณาจากลักษณะของบาดแผลประกอบความเห็นของแพทย์ผู้ตรวจร่างกายว่ารักษาภายใน 7 วัน ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนแสดงว่าบาดแผลของผู้เสียหายไม่ร้ายแรงจนถึงกับเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ การกระทำของจำเลยที่ 1กับพวกต่อผู้เสียหายจึงเป็นการร่วมกันทำร้ายผู้อื่นให้เกิดอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ประกอบด้วยมาตรา 83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6831/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำลายรังนกอีแอ่นและการมีไว้ในครอบครองโดยมิชอบเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน การริบของกลางกรณีผู้กระทำผิดถึงแก่ความตาย
ที่เกิดเหตุเป็นเกาะมีถ้ำที่นกอีแอ่นทำรังอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นเขตห้ามตาม พ.ร.ฎ. กำหนดเกาะที่นกอีแอ่นทำรังอยู่ตามธรรมชาติเป็นเขตห้าม พ.ศ. 2485 บริษัทรังนกแหลมทอง (สยาม) จำกัด ผู้เสียหายเป็นผู้ได้รับสัมปทานเก็บรังนกอีแอ่นบนเกาะดังกล่าว ตาม พ.ร.บ. อากรรังนกอีแอ่น พ.ศ. 2482 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้ในขณะเกิดเหตุนั้น มาตรา 5 บัญญัติว่า ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการใด ๆ อันสามารถอาจเป็นอันตรายแก่นกอีแอ่นหรืออาจเป็นเหตุให้นกอีแอ่นละที่อาศัยไปจากเกาะที่ทำรังอยู่ตามธรรมชาติหรือกระทำความเสียหายแก่รังนกอีแอ่น บรรดาที่มีอยู่ตามธรรมชาติบนเกาะ มาตรา 7 บัญญัติว่า ผู้ใดจะเก็บรังนกอีแอ่นบรรดาที่มีอยู่ตามธรรมชาติบนเกาะ ต้องได้รับอนุญาตและเสียเงินอากรตามวิธีการซึ่งจะได้กำหนดในกฎกระทรวง และมาตรา 9 บัญญัติว่า ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งรังนกอีแอ่นอันตนรู้ว่าได้มาโดยกระทำผิดตาม พ.ร.บ.นี้ จึงเห็นได้ว่าการกระทำผิดฐานกระทำความเสียหายแก่รังนกอีแอ่นต้องมีเจตนาในการกระทำต่อรังนกอีแอ่นในลักษณะที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รังนกที่มีอยู่ตามธรรมชาติเป็นกรณีที่อาศัยเจตนาอย่างหนึ่ง ส่วนการมีไว้ในครอบครองซึ่งรังนกอีแอ่นนั้น เป็นการกระทำที่ต้องอาศัยเจตนาในการยึดถือเพื่อตนซึ่งรังนกอีแอ่น การกระทำผิด ทั้งสองฐานดังกล่าวอยู่ในมาตราเดียวกันก็เป็นเพียงการบัญญัติลักษณะของการกระทำผิดต่าง ๆ มากำหนดโทษไว้ในที่แห่งเดียวเพราะมีอัตราโทษเท่ากันเท่านั้น แม้จำเลยกระทำผิดทั้งสองฐานในคราวเดียวกันและต่อเนื่องกัน การกระทำผิดของจำเลยก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
อาวุธปืนออโตเมติก ขนาด 9 มม. ซึ่งเป็นอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียน จำนวน 1 กระบอก ซองบรรจุกระสุน 1 อัน กระสุนปืนขนาด 9 มม. จำนวน 2 นัด ซองพก 1 ซอง และปลอกกระสุนปืนขนาด 9 มม. 1 ปลอก ของกลางที่ ย. ใช้ยิงต่อสู้เจ้าพนักงานตำรวจเป็นของ ย. แต่ ย. ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยิงตายในที่เกิดเหตุ สิทธินำคดีอาญา มาฟ้อง ย. ย่อมระงับไป ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) และโทษย่อมระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 38 ศาลจึงไม่อาจริบของกลางดังกล่าวได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
อาวุธปืนออโตเมติก ขนาด 9 มม. ซึ่งเป็นอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียน จำนวน 1 กระบอก ซองบรรจุกระสุน 1 อัน กระสุนปืนขนาด 9 มม. จำนวน 2 นัด ซองพก 1 ซอง และปลอกกระสุนปืนขนาด 9 มม. 1 ปลอก ของกลางที่ ย. ใช้ยิงต่อสู้เจ้าพนักงานตำรวจเป็นของ ย. แต่ ย. ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยิงตายในที่เกิดเหตุ สิทธินำคดีอาญา มาฟ้อง ย. ย่อมระงับไป ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) และโทษย่อมระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 38 ศาลจึงไม่อาจริบของกลางดังกล่าวได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้