คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำนวณดอกเบี้ย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2771/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ดอกเบี้ยกรณีจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินการตามสัญญา และการคำนวณดอกเบี้ยที่ถูกต้อง
คดีนี้โจทก์ขอให้จำเลยเวนคืนที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนคราวก่อน แต่จำเลยไม่ดำเนินการจนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องนำคดีมาฟ้อง และหลังจากนั้นอีก 1 ปี จำเลยเพิ่งมาตกลงซื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน เนื้อที่ 21 ตารางวา ราคาตารางวาละ 35,000 บาท กรณีเช่นนี้ไม่อาจนำบทบัญญัติตามมาตรา 10, 11 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ในเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดซื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้จัดซื้อจะต้องจ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันทำสัญญาซื้อขายมาอนุโลมใช้บังคับเพื่อคำนวณหาวันที่โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยได้ เพราะบทบัญญัติในส่วนนี้ใช้บังคับสำหรับกรณีที่มีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริทรัพย์กันได้ก่อนนำคดีมาฟ้องศาล เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยชำระค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้น ฝ่ายจำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยในจำนวนค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้นนับจากวันที่มีการทำสัญญาซื้อขายไปอีกหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่สำหรับคดีนี้โจทก์ไม่พอใจที่ฝ่ายจำเลยเพิกเฉยไม่เวนคืนที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลโดยจำเลยยังไม่ได้ตกลงซื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์ ดังนั้น เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีก็ชอบที่จะให้ฝ่ายจำเลยชำระดอกเบี้ยนับจากวันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3508/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่เคลือบคลุม – การคำนวณดอกเบี้ย – ทายาทรับผิดชอบหนี้ – แก้คำพิพากษา
โจทก์บรรยายฟ้องโดยได้แสดงให้เห็นถึงวิธีการคิดคำนวณดอกเบี้ยของโจทก์แล้วว่าคำนวณอย่างไร ไม่จำเป็นต้องระบุยอดหนี้ที่ค้างชำระในแต่ละเดือนว่าเป็นเท่าไรหรือโจทก์คำนวณดอกเบี้ยทบต้นหรือไม่อีกเพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบให้เห็นได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ไม่ได้ฟ้อง ร.ในฐานะทายาทของจำเลยที่2ร. เพียงแต่เข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งถึงแก่กรรมในระหว่างพิจารณาเท่านั้น ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ ร. ในฐานะทายาทของจำเลยที่ 2 ชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 2 แทนจำเลยที่ 2 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 302/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้, วงเงินค้ำประกัน, การลดเบี้ยปรับ, และการคำนวณดอกเบี้ยที่ถูกต้องตามสัญญา
สัญญาค้ำประกันซึ่งระบุว่า เป็นการค้ำประกันหนี้สินในวงเงินที่กำหนดไว้ในสัญญาค้ำประกันและอุปกรณ์แห่งหนี้อันมีดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้แม้สัญญาค้ำประกันอันเป็นสัญญาหรือหนี้อุปกรณ์จะมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ก็ต้องถืออัตราดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในสัญญาหรือหนี้ประธาน
สัญญาทรัสต์รีซีทระบุว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ยอมเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี เริ่มจากวันทำสัญญานี้เป็นต้นไปจนกว่าจะครบกำหนดวันชำระหนี้ตามตั๋วเงินจากต่างประเทศ หากครบกำหนดวันชำระหนี้ตามตั๋วเงินจากต่างประเทศแล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ยังไม่สามารถชำระหนี้ให้ได้ก็ยินยอมเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ถ้าต่อไปอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นหรือต่ำลงห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ยินยอมให้ปรับอัตราดอกเบี้ยให้เป็นไปตามที่ธนาคารจะได้กำหนดขึ้นใหม่ ข้อความที่ระบุไว้แสดงให้เห็นว่า โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้ในอัตราสูงขึ้นได้ต่อเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควร จึงมีผลเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้าเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาเงินค่าดอกเบี้ยส่วนที่สูงกว่าอัตราที่กำหนดไว้เดิม จึงถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 หากสูงเกินส่วนแม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ โดยคำนึงถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
การคิดคำนวณความรับผิดตามวงเงินค้ำประกันจะต้องถือตามหนี้ต้นเงินในสัญญาทรัสต์รีซีทเท่านั้น โดยไม่รวมดอกเบี้ยที่จำเลยจะต้องรับผิดต่างหากหนี้ต้นเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีทมีจำนวนต่ำกว่าจำนวนเงินค้ำประกัน การคิดคำนวณดอกเบี้ยจากหนี้ต้นเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีท โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดจากจำเลยได้ตลอดระยะเวลาที่จำเลยผิดนัดจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้น ดังนั้น จึงไม่จำต้องคำนึงว่าเมื่อนำดอกเบี้ยมารวมกับหนี้ต้นเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีทแล้วจะเกินจำนวนวงเงินค้ำประกันหรือไม่อีก
อุทธรณ์ของโจทก์มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์สำหรับหนี้จำนองนั้นไม่ถูกต้องอย่างไรบ้างคำขอท้ายอุทธรณ์ข้อนี้จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 38 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5378/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: การคำนวณดอกเบี้ยที่ถูกต้อง และการทำบัญชีรับ-จ่ายใหม่เพื่อให้เป็นธรรม
โจทก์เป็นผู้ซื้อทรัพย์ของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นที่ดินสองแปลงจากการขายทอดตลาด และโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทั้งเป็นเจ้าหนี้จำนองที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวอยู่ด้วย โจทก์ขอหักส่วนได้ใช้แทนและศาลชั้นต้นอนุญาต โจทก์จึงไม่ต้องนำเงินค่าที่ดินที่ต้องชำระมาวางและโจทก์ก็ไม่ต้องรับเงินจากการขายทอดตลาดไป แต่ถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ซื้อและได้ใช้สิทธิในฐานะเจ้าหนี้รับเงินไปแล้วนับแต่วันที่ศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์หักส่วนได้ใช้แทน แม้จำเลยที่ 3 จะร้องคัดค้านการขายทอดตลาดที่ดิน โจทก์ก็ไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใดเพราะโจทก์ไม่ต้องวางเงินชำระค่าซื้อที่ดินและเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องจ่ายเงินจากการขายทอดตลาดให้โจทก์อีก ดังนั้นเมื่อศาลอนุญาตให้โจทก์หักส่วนได้ใช้แทนก็ต้องถือว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้ในวันที่ศาลสั่งอนุญาต จึงคิดดอกเบี้ยในเงินจำนวนดังกล่าวหลังจากวันที่โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้วไม่ได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำบัญชีแสดงรายรับ-จ่ายก็เพื่อจะได้แบ่งเงินให้เจ้าหนี้แต่ละคนได้รับตามส่วนโดยถูกต้อง บทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 318ถึง 322 นั้นเป็นเพียงวิธีการที่กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการในการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้เท่านั้น ซึ่งเมื่อจ่ายเงินไปครบถ้วนก็ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่มิใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ตลอดไปจนกว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีคำนวณโดยถือว่าเงินจำนวนที่หักได้ใช้แทนนั้น ยังมิได้ชำระให้โจทก์จนถึงวันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษายกคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดของจำเลยที่ 3 โดยคำนวณดอกเบี้ยในเงินจำนวนดังกล่าวมาถึงวันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา เป็นการไม่ถูกต้อง กรณีจึงยังไม่เป็นการแน่ชัดว่าเมื่อขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 3 รวม 13 แปลง ชำระหนี้โจทก์แล้ว ยังมีหนี้เหลือที่โจทก์จะได้รับชำระอีกหรือไม่เพียงใด ดังนั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีแสดงรายรับ จ่ายเงินใหม่ทั้งหมดและคำนวณดอกเบี้ยใหม่ให้ถูกต้อง หากปรากฏว่ามีหนี้เหลือที่โจทก์จะได้รับชำระอีกก็ให้โจทก์บังคับคดีจากที่ดินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่ยึดไว้เท่าที่พอจะชำระหนี้ต่อไป แต่ถ้าการขายทอดตลาดที่ดินรวม 13 แปลง พอชำระหนี้โจทก์แล้ว ก็ให้จ่ายเงินให้โจทก์และจำเลยที่ 3 ตามสิทธิของแต่ละฝ่ายและเพิกถอนการยึดที่ดินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 อีก 6 แปลงต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อไม่มีรายการเดินสะพัด และการคำนวณดอกเบี้ยที่ถูกต้อง
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีกำหนดเวลา 12 เดือน นับแต่วันทำสัญญากับระบุว่า เมื่อถึงกำหนด 12 เดือน และไม่มีการต่ออายุการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหลักฐานหนังสือกำหนดเวลากันใหม่ คู่สัญญาตกลงกันให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีต่ออีกคราวละ 6 เดือนตลอดไป หลังจากครบกำหนดสัญญา 12 เดือนแล้วเมื่อไม่ปรากฏว่า หลังจากครบกำหนดสัญญาแล้วได้มีรายการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลย แม้จะปรากฏว่าโจทก์ได้ถอนเงินฝากประจำจากบัญชีของจำเลยที่ 2 และที่ 3 มาหักทอนบัญชี เพื่อชำระหนี้ แต่ก็ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกต่อไป เพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกันในระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามพฤติการณ์ดังกล่าวต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างตกลงกันให้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงในวันครบกำหนด ตามสัญญา แม้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะมีข้อความในสัญญาระบุว่าเมื่อถึงกำหนด 12 เดือนและไม่มีการต่ออายุการเบิก เงินเกินบัญชีเป็นหลักฐานหนังสือกำหนดเวลากันใหม่คู่สัญญาตกลงกันให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีอีกคราวละ 6 เดือนตลอดไปก็ตาม แต่ข้อสัญญาดังกล่าวนั้น ย่อมมีความหมายถึงกรณี ที่ยังมีการเดินสะพัดทางบัญชีเท่านั้น หาใช่สัญญาเบิก เงินเกินบัญชีได้มีการต่ออายุสัญญาต่อไปจนกระทั่งโจทก์ บอกเลิกสัญญาแต่อย่างใด โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเพียงวันสิ้นสุดของสัญญาเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6907/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณดอกเบี้ย: นับแต่วันรุ่งขึ้นจากวันฟ้องตามหลักประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่จำเป็นต้องระบุเจาะจง
การคำนวณนับระยะเวลาในการคิดดอกเบี้ยนั้นอยู่ในบังคับของหลักทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 วรรคสอง ซึ่งกำหนดมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลารวมคำนวณเข้าด้วย จึงเริ่มนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้นโดยไม่นับวันฟ้องรวมคำนวณเข้าด้วยอยู่แล้ว ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ถ้อยคำเจาะจงว่าให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันถัดจากวันฟ้องแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6299/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์การชำระหนี้ค่าแชร์และการคำนวณดอกเบี้ยที่ถูกต้อง
จำเลยให้การว่าได้ชำระหนี้ค่าแชร์ให้โจทก์ครบถ้วนแล้วภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้วจึงตกอยู่แก่จำเลย โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยใช้ดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปนั้นจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงิน, การหักดอกเบี้ยล่วงหน้า, การคำนวณดอกเบี้ย, และการฟ้องแย้งเรื่องเงินเกินจำนวน
โจทก์นำสืบเพื่อแสดงให้เห็นว่าได้มอบเงินครบจำนวนตามสัญญากู้ให้จำเลยแล้ว แต่จำเลยยอมให้หักดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้า เป็นการนำสืบถึงความเป็นมาของเงินต้นตามสัญญากู้ ไม่เป็นการรับฟังพยานบุคคลแก้ไขเพิ่มเติมสัญญากู้ ส่วนการที่โจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบว่าจำเลยชำระดอกเบี้ยให้โจทก์แล้วในวันทำสัญญากู้ ก็เป็นการนำสืบแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องดอกเบี้ย ซึ่งกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงการรับฟังพยานบุคคลเกี่ยวกับกฎหมายดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
เมื่อไม่ปรากฏว่าในวันกู้ยืมเงินโจทก์ได้มอบเงินให้แก่จำเลยตั้งแต่เวลาใด ถือไม่ได้ว่าเริ่มการในวันนั้นตั้งแต่เวลาอันเป็นกำหนดเริ่มทำการงานตามประเพณี จึงต้องห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลารวมคำนวณเข้าด้วย
เมื่อสัญญากู้เงินระบุให้คิดดอกเบี้ยกันในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีและในปี พ.ศ. 2519 ที่กู้ยืมกันมี 366 วัน การคำนวณดอกเบี้ยต้องถือว่าระยะเวลา 1 ปีมี 366 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้มูลละเมิด: การคำนวณดอกเบี้ยจากวันละเมิด/วันฟ้อง และการคิดดอกเบี้ยรายเดือน
หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิดเป็นต้นไป ฉะนั้น ค่าเสียหายคำนวณเป็นเงินก้อนจากวันละเมิดจนถึงวันฟ้อง จึงต้องคิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดให้ตั้งแต่วันละเมิดแต่ถ้าคำขอท้ายฟ้องโจทก์ระบุมาไม่ชัดแจ้งว่า ให้จำเลยชำระตั้งแต่วันใดศาลอาจให้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องก็ได้
ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์ขอให้ชำระเป็นรายเดือนนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะหยุดทำละเมิดนั้น หลักการคิดดอกเบี้ยไม่เหมือนกับการคำนวณค่าเสียหายเป็นเงินก้อนเดียวดังกรณีข้างต้น ในกรณีเช่นนี้ถ้าจำเลยผิดนัด ไม่ชำระในเดือนใด ก็ให้คิดดอกเบี้ยแต่เดือนที่ผิดนัดนั้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยหนี้มูลละเมิด: คำนวณดอกเบี้ยจากวันละเมิด/วันฟ้อง และคิดดอกเบี้ยรายเดือนเมื่อผิดนัด
หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิดเป็นต้นไป ฉะนั้น ค่าเสียหายคำนวณเป็นเงินก้อนจากวันละเมิดจนถึงวันฟ้อง จึงต้องคิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดให้ตั้งแต่วันละเมิดแต่ถ้าคำขอท้ายฟ้องโจทก์ระบุมาไม่ชัดแจ้งว่า ให้จำเลยชำระตั้งแต่วันใดศาลอาจให้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องก็ได้
ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์ขอให้ชำระเป็นรายเดือนนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะหยุดทำละเมิดนั้น หลักการคิดดอกเบี้ยไม่เหมือนกับการคำนวณค่าเสียหายเป็นเงินก้อนเดียวดังกรณีข้างต้น ในกรณีเช่นนี้ถ้าจำเลยผิดนัด ไม่ชำระในเดือนใด ก็ให้คิดดอกเบี้ยแต่เดือนที่ผิดนัดนั้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
of 2