พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4836/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงคืนเงินหลังหมั้น ไม่ถือเป็นสินสอด
การที่มีข้อตกลงระหว่างฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยว่าเงิน100,000 บาท ฝ่ายจำเลยจัดหามาเพื่อแสดงในพิธีหมั้นแล้วฝ่ายโจทก์จะคืนให้ฝ่ายจำเลย เงินจำนวนดังกล่าวจึงไม่ใช่สินสอด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 138/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเงินภาษีอากรคืน: ศาลฎีกาวินิจฉัยให้คิดดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ตั้งแต่วันชำระอากร ไม่ใช่วันฟ้อง
พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคสี่แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ามุ่งประสงค์จะให้ผู้มีสิทธิรับเงินอากรคืนเพราะเหตุที่ได้ชำระไว้เกินจำนวนอันพึงต้องเสียหรือเสียเพิ่ม ได้รับดอกเบี้ยของเงินที่จะได้รับคืนในอัตราร้อยละ 0.625 ต่อเดือน หรือร้อยละ 7.5 ต่อปีของเงินที่จะได้รับคืนนับตั้งแต่วันที่ได้ชำระค่าอากรนั้น หาใช่นับตั้งแต่วันฟ้องไม่กรณีเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระราชบัญญัติศุลกากรโดยเฉพาะ จึงจะนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 ว่าด้วยผิดนัดมาใช้บังคับมิได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของทรัพย์สินของกลางที่ไม่รู้เห็นการกระทำผิด: ศาลไม่มีอำนาจสั่งริบและต้องคืน
ในคดีอาญาที่โจทก์มีคำขอให้ริบของกลางเจ้าของทรัพย์สินของกลางมีสิทธิร้องขอคืนของกลางในระหว่างพิจารณาได้หากปรากฏว่าเจ้าของทรัพย์สินของกลางมิได้รู้เห็นเป็นใจในการที่จำเลยนำเอาทรัพย์ของกลางไปใช้ในการกระทำความผิดศาลไม่มีอำนาจสั่งริบของกลางนั้นตามป.อ.มาตรา33วรรคท้ายและต้องคืนแก่เจ้าของ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3386/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทผู้จัดการมรดกมีหน้าที่คืนที่ดินให้เจ้าของเดิม แม้มิได้ฟ้องภายใน 1 ปีหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต
จำเลยเป็นบุตรและเป็นผู้จัดการดูแลเก็บผลประโยชน์จากอาคารตลาดซึ่งเป็นทรัพย์สินของเจ้ามรดก จึงอยู่ในฐานะเป็นทายาทผู้รับมรดกของเจ้ามรดกและเป็นผู้ได้เข้าไปจัดการมรดกด้วย จำเลยต้องรับทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดในกองมรดกของเจ้ามรดกนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1600 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทที่ให้เจ้ามรดกอาศัยปลูกสร้างอาคารตลาดประสงค์จะเอาที่พิพาทของตนคืน ได้บอกกล่าวให้จำเลยทราบแล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
กรณีดังกล่าวจะนำอายุความมรดก 1 ปีตามมาตรา 1754 มาใช้บังคับหาได้ไม่เพราะมิใช่เรื่องฟ้องร้องเกี่ยวกับมรดก
กรณีดังกล่าวจะนำอายุความมรดก 1 ปีตามมาตรา 1754 มาใช้บังคับหาได้ไม่เพราะมิใช่เรื่องฟ้องร้องเกี่ยวกับมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระค่าปรับแล้วไม่อาจขอคืนได้ แม้จำเลยเลือกถูกกักขังแทนค่าปรับที่เหลือ
ศาลลงโทษปรับจำเลย ๆ ชำระค่าปรับบางส่วนแล้ว จำเลยขอให้ศาลสั่งคืนค่าปรับโดยจำเลยขอถูกกักขังแทนค่าปรับ โดยจำเลยขอถูกกักขังแทนค่าปรับ เช่นนี้ ศาลจะสั่งคืนค่าปรับให้จำเลยหาได้ไม่ หากจำเลยเห็นว่า จำเลยได้ชำระค่าปรับไปบ้างแล้วและชอบที่จะถูกกักขังแทนค่าปรับน้อยกว่า กำหนดที่ศาลพิพากษาไว้ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องเรียนในแง่นั้น หาใช่มาขอคืนปรับซึ่งชำระไว้โดยถูกต้องแล้วไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2483
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเช่าค้างชำระ และการคืนเงินประกัน
ขอให้ชำระค่าเช่าและเรียกเงินประกันคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1065/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดวันเวลาทำผิดในความผิดทางอาญา: การตีความคำว่า 'คืน' ตามกฎหมาย
กลางคืนต้องหมายความว่าเวลาระหว่างตั้งแต่พระอาทิตย์ตกไปจนพระอาทิตย์ขึ้น โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำผิดในคืนวันขึ้น 9 คำทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่าจำเลยทำผิดเมื่อเวลา 4 นาฬิกาของคืนวันขึ้น 8 ค่ำดังนี้ ถือว่าโจทก์ฟ้องผิดวันต้องยกฟ้องอ้างฎีกาที่ 502/2481 และ 877/2481
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนใบทะเบียนเรือไม่ปลดเปลื้องความรับผิดของผู้ค้ำประกัน สิทธิในใบทะเบียนเรือไม่เข้าข่าย ม.697
สิทธิตาม ม.697 นั้นหมายความอย่างไร ใบทะเบียนเรือที่ลูกหนี้มอบให้ เจ้าหนี้ยึดไว้นั้น ไม่ใช่สิทธิตาม ม.697 เจ้าหนี้คืนใบทะเบียนเรือที่ลูกหนี้ให้ยึดไว้แก่ลูกหนี้ไปและผู้ค้ำประกันยินยิมด้วยผู้ค้ำประกันหาพ้นจากความรับผิดแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2939/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พืชกัญชาไม่ใช่ยาเสพติดโทษ ศาลสั่งคืนทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับคดีเก่า
ทรัพย์สินที่ศาลสั่งริบได้ต้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 3 บัญญัตินิยามคำว่า "ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด" หมายความว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติด และให้หมายความรวมถึง การสมคบ สนับสนุน ช่วยเหลือ หรือพยายามกระทำความผิดดังกล่าวด้วย และนิยามคำว่า "ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิด" หมายความว่า เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับมาเนื่องจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และให้หมายความรวมถึง เงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาโดยการใช้เงินหรือทรัพย์สินดังกล่าว ซื้อหรือกระทำไม่ว่าด้วยประการใด ๆ ให้เงินหรือทรัพย์สินนั้นเปลี่ยนสภาพไปจากเดิม ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนสภาพกี่ครั้ง และไม่ว่าเงินหรือทรัพย์สินนั้นจะอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่น โอนไปเป็นของบุคคลอื่นหรือปรากฏตามหลักฐานทางทะเบียนว่าเป็นของบุคคลอื่นก็ตาม คดีนี้ผู้ร้องบรรยายคำร้องเกี่ยวกับคดียาเสพติดที่ผู้ร้องฟ้องผู้คัดค้านที่ 1 กับพวกว่า เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2558 เวลา 11.30 นาฬิกา เจ้าพนักงานตำรวจสืบสวนตำรวจภูธรจังหวัดฉะเชิงเทราร่วมกันจับกุม ว. (ผู้คัดค้านที่ 1) ย. ป. และ จ. พร้อมยึด กัญชาแห้งอัดแท่ง 747 แท่ง น้ำหนักรวม 772.30 กิโลกรัม อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ต่อมาผู้ร้องยื่นฟ้องผู้คัดค้านที่ 1 กับพวกดังกล่าวต่อศาลชั้นตันเป็นคดีหมายเลขดำที่ 3685/2558 (หลังจากนั้นศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำคุกผู้คัดค้านที่ 1 มีกำหนด 15 ปี และปรับ 900,000 บาท ตามคดีหมายเลขแดงที่ 1740/2559) ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565 ออกใช้บังคับ ซึ่งมีผลให้พืชกัญชาไม่เป็นยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 5 อีกต่อไป การผลิต นำเข้า ส่งออกจำหน่าย หรือมีพืชกัญชาไว้ในครอบครองจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 26/2, 26/3, 75, 76 และ 76/1 และ ป.ยาเสพติด มาตรา 93, 148 ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพันจากการเป็นผู้กระทำความผิด และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (5) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 ถ้าได้มีคำพิพากษาถึงสุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้ารับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง เมื่อพืชกัญชา ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ฉะนั้น การกระทำของผู้คัดค้านที่ 1 กับพวกตามที่ผู้ร้องบรรยายมาในคำร้องจึงไม่เป็นความผิดอีกต่อไป และไม่ปรากฏจากคำร้องของผู้ร้องว่า ผู้คัดค้านที่ 1 กับพวกและผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษโดยประการอื่น ทรัพย์สินของผู้คัดค้านทั้งสามจึงไม่เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดที่ศาลจะสั่งริบได้ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 29 อีกต่อไป ประกอบกับไม่ปรากฏว่าเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดสั่งให้นำทรัพย์สินดังกล่าวออกขายทอดตลาดไปแล้ว จึงต้องคืนทรัพย์สินดังกล่าวแก่เจ้าของและผู้คัดค้านทั้งสามแต่ทรัพย์สินรายการที่ 8 และที่ 11 ไม่มีผู้ใดยื่นคำคัดค้านแสดงตนเป็นเจ้าของเข้ามาในคดี จึงเป็นเรื่องที่เจ้าของที่แท้จริงจะมาแสดงตนและขอรับคืนในภายหลัง ปัญหาดังกล่าวล้วนเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3