คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าใช้จ่ายแต่งงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าสินสอดและค่าใช้จ่ายแต่งงานเมื่อมีการสมรสแล้ว และเหตุฟ้องหย่าเรื่องละทิ้งร้าง
การที่โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าสินสอดทองหมั้นและ ค่าทดแทนค่าใช้จ่ายในการแต่งงานคืนจากจำเลยได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่มีการหมั้นแล้ว แต่ไม่มีการสมรส โดยเป็น ความผิดของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 วรรคสาม,1439 และ 1440(2) เมื่อปรากฏว่า โจทก์จำเลยได้แต่งงานกันตามประเพณีและจดทะเบียนสมรสกันแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าสินสอดทองหมั้นและค่าทดแทน ค่าใช้จ่ายในการแต่งงานคือจากจำเลยได้เพราะมิใช่กรณี จำเลยผิดสัญญาหมั้น โจทก์กับจำเลยเป็นสามีภริยาโดยทำพิธีแต่งงานตามประเพณี จดทะเบียนสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย และร่วมอยู่กิน ด้วยกันแล้ว เมื่อสาเหตุที่โจทก์จำเลยทะเลาะกัน เป็นเรื่องเงินทองภายในครอบครัวซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดา ทั่วไป มิใช่เป็นสาเหตุร้ายแรงและสามารถปรับความเข้าใจ ระหว่างกันได้ แต่กลับได้ความว่า โจทก์ไปอยู่ที่บ้านสวน ของโจทก์โดยไม่ยอมกลับไปหาจำเลย แม้โจทก์จะมีวันหยุด ในวันอาทิตย์ว่างอยู่ แต่ก็อ้างว่าจะต้องซักผ้าและ ทำธุระส่วนตัว หากโจทก์จะไปพบจำเลยบ้างในวันธรรมดา เป็นบางครั้ง โจทก์ก็อาจกระทำได้เพราะโจทก์เคยอยู่บ้านจำเลย และเคยไปทำงานโดยไปกลับมาแล้ว แต่โจทก์ก็มิได้ขวนขวาย ที่จะกระทำดังกล่าวหรือชักชวนให้จำเลยไปอยู่กับโจทก์ ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยจงใจละทิ้งโจทก์โจทก์จึงไม่มีเหตุที่จะฟ้องหย่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินโดยแลกเปลี่ยนกับการออกค่าใช้จ่ายแต่งงาน แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็มีผลผูกพันได้หากมีการชำระหนี้แล้ว
จำเลยตกลงจะโอนขายที่ดินส่วนของตนให้แก่โจทก์ตอบแทนในการที่โจทก์ออกเงินแต่งงานให้จำเลย แม้ข้อตกลงนี้จะไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือ แต่เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้คือออกเงินแต่งงานให้แก่จำเลยไปตามที่ได้ตกลงกันแล้วย่อมถือว่าจำเลยให้คำมั่นจะขายที่ดินส่วนของจำเลยให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์ย่อมฟ้องร้องขอให้บังคับคดีตามที่จำเลยตกลงไว้นั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสินสอดและค่าใช้จ่ายแต่งงานเมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรส
ชายหญิงสมรสกันโดยไม่สนใจเรื่องจดทะเบียนสมรสชายจะฟ้องเรียกสินสอดของหมั้นคืนไม่ได้ เพราะฝ่ายชายสืบไม่สมฟ้องว่า หญิงผิดสัญญาไม่ยอมจดทะเบียนสมรสด้วย (ฎีกาที่ 659/2487) และจะเรียกค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439(2)ก็ไม่ได้ เพราะหญิงมิได้กระทำผิดสัญญาหมั้น
ส่วนเงินกองทุนที่ชายเอามากองทุนในการแต่งงานนั้นยังคงเป็นทรัพย์สินของชาย เมื่อไม่มีข้อสัญญาผูกพันให้หญิงยึดเอาไว้ได้ ชายก็มีสิทธิเรียกคืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกคืนสินสอดและค่าใช้จ่ายแต่งงานเมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรสและฝ่ายหญิงแต่งงานใหม่
ชายหญิงแต่งงานกันแล้วอยู่กินด้วยกันฉันท์สามีภริยานานราว 8 เดือน แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ต่อมาเพราะเหตุใดไม่ได้ความหญิงแยกไปอยู่เสียที่อื่น ภายหลังจึงแต่งงานกับชายอื่นเสีย ดังนี้เมื่อไม่ได้ความว่าฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดในกรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับชายแล้วฝ่ายชายก็จะฟ้องเรียกสิน สอดคืนไม่ได้ ตามแบบอย่างฎีกาที่ 269/2488
เงินค่าใช้จ่ายในการแต่งงาน ไม่ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 1439(2) ชายจะฟ้องเรียกไม่ได้ ตามแบบอย่างฎีกาที่ +/2491

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนสินสอดและค่าใช้จ่ายแต่งงานเมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรส ฝ่ายชายฟ้องเรียกไม่ได้หากไม่มีความผิดในการไม่จดทะเบียน
ชายหญิงแต่งงานกันแล้วอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยานานราว 8 เดือนแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ต่อมาเพราะเหตุใดไม่ได้ความหญิงแยกไปอยู่เสียที่อื่น ภายหลังจึงแต่งงานกับชายอื่นเสีย ดังนี้ เมื่อไม่ได้ความว่าฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดในกรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับชายแล้วฝ่ายชายก็จะฟ้องเรียกสินสอดคืนไม่ได้ ตามแบบอย่างฎีกาที่ 269/2488
เงินค่าใช้จ่ายในการแต่งงาน ไม่ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1439(2) ชายจะฟ้องเรียกไม่ได้ตามแบบอย่างฎีกาที่945/2491

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3296/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าใช้จ่ายในการเตรียมแต่งงาน (ถ่ายภาพพรีเวดดิ้ง) ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมตามฐานะทางสังคม และผู้ผิดสัญญาหมั้นต้องรับผิดชอบ
พิธีสมรสในปัจจุบันมิได้จัดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางขนบธรรมเนียมประเพณีแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีจุดประสงค์เพื่อแสดงถึงสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของคู่บ่าวสาวรวมถึงครอบครัวของทั้งสองฝ่ายอีกด้วย ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในงานพิธีสมรสจึงขึ้นอยู่กับความต้องการของคู่บ่าวสาว สถานะทางการเงินตลอดจนสถานภาพทางสังคมของทั้งคู่ ดังจะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันคู่บ่าวสาวจะใช้บริการจัดเตรียมงานโดยติดต่อกับบริษัทที่ทำธุรกิจวางแผนจัดงานแต่งงานที่ให้บริการคำปรึกษาและประสานงานเกี่ยวกับงานหมั้นและงานแต่งงาน ด้วยการแนะนำรูปแบบของงานให้เหมาะสมกับคู่บ่าวสาว และควบคุมให้ค่าใช้จ่ายทั้งหมดอยู่ภายในงบประมาณที่ตั้งไว้ ซึ่งจะให้การบริการโดยดูแลเรื่องเครื่องแต่งกายและภาพถ่ายของคู่บ่าวสาวตั้งแต่การถ่ายภาพก่อนวันแต่งงานและวันหมั้นไปจนถึงพิธีสมรส ทำให้การถ่ายภาพพรีเวดดิ้งกลายเป็นที่นิยมอย่างหนึ่งที่คู่รักแทบทุกคู่ต่างถ่ายภาพก่อนวันแต่งงานเตรียมไว้ เพื่อนำภาพถ่ายไปใช้ทำการ์ดแต่งงาน หรือนำภาพถ่ายไปใช้ตกแต่งในการจัดงานวันหมั้นหรือวันทำพิธีสมรส ตลอดจนทำวิดีโอคู่บ่าวสาวนำเสนอในงานแต่งงาน และเพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึกภายหลังวันงานแต่งงาน ดังนี้ ทำให้การถ่ายภาพพรีเวดดิ้งมิใช่สิ่งฟุ่มเฟือยแต่กลายเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมการสมรสที่จำเป็นสำหรับคู่บ่าวสาวเพื่อให้งานพิธีสมรสเป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1440 (2) เมื่อได้ความว่าในการเตรียมการสมรสโจทก์กับจำเลยได้ร่วมกันตัดสินใจจัดเตรียมงานโดยกำหนดให้มีการถ่ายภาพพรีเวดดิ้งก่อนแต่งงานจึงเป็นความตั้งใจและสมัครใจของทั้งสองฝ่ายที่ประสงค์จะถ่ายภาพพรีเวดดิ้งก่อนแต่งงาน มิใช่เกิดจากความประสงค์ของโจทก์แต่เพียงฝ่ายเดียวการดำเนินการของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการเตรียมการก่อนสมรสโดยสุจริต ทั้งโจทก์และจำเลยต่างประกอบอาชีพแพทย์มีรายได้สูง ย่อมมีสถานภาพทางสังคมที่ดี มีเกียรติ และเป็นที่ยอมรับนับถือของคนทั่วไป เมื่อคำนึงถึงสถานะทางการเงินตลอดจนสถานภาพทางสังคมของทั้งสองฝ่ายแล้ว เห็นว่า ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นไปตามฐานานุรูปและตามสมควร ประกอบกับเหตุที่ผิดสัญญาหมั้นเกิดจากความผิดของจำเลยเพียงฝ่ายเดียว จึงไม่ควรให้ฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายส่วนนี้ จึงรับฟังได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายเนื่องในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1440 (2) โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนดังกล่าวได้