คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จดทะเบียนรับรอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7458/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะของบุตรนอกกฎหมายที่บิดาไม่ได้จดทะเบียนรับรอง
โจทก์เป็นผู้เยาว์เป็นบุตรของนาง ด.กับนาย ป.ผู้ตาย ซึ่งอยู่กินฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน และผู้ตายก็ไม่ได้จดทะเบียนรับรองว่าโจทก์เป็นบุตร นาย ป.เพียงแต่ให้ใช้นามสกุลและให้การอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ และตามป.พ.พ. มาตรา 1564 บิดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายส่วนบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วตามมาตรา 1627 บัญญัติให้ถือว่า เป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผลทำให้เป็นผู้มีสิทธิรับมรดกในฐานะเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 เท่านั้น เมื่อนาย ป.ผู้ตายไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลย ผู้กระทำละเมิดเป็นเหตุให้นาย ป.ถึงแก่ความตาย กรณีดังกล่าว ป.พ.พ.บรรพ 5 ในเรื่องครอบครัวก็ได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งแล้ว จึงนำ ป.พ.พ. มาตรา 4มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7458/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะของบุตรนอกกฎหมายที่บิดาไม่ได้จดทะเบียนรับรอง
โจทก์เป็นผู้เยาว์เป็นบุตรของนาง ด. กับนาย ป. ผู้ตายซึ่งอยู่กินฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน และผู้ตายก็ไม่ได้จดทะเบียนรับรองว่าโจทก์เป็นบุตรนาย ป. เพียงแต่ให้ใช้นามสกุลและให้การอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 บิดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วตามมาตรา 1627 บัญญัติให้ถือว่า เป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผลทำให้เป็นผู้มีสิทธิรับมรดกในฐานะเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629เท่านั้น เมื่อนาย ป. ผู้ตายไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลย ผู้กระทำละเมิดเป็นเหตุให้นาย ป. ถึงแก่ความตายกรณีดังกล่าว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5ในเรื่องครอบครัวก็ได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งแล้ว จึงนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7458/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะของบุตรนอกกฎหมายที่บิดาไม่ได้จดทะเบียนรับรอง
โจทก์เป็นผู้เยาว์เป็นบุตรของนางด. กับนายป. ผู้ตาย ซึ่งอยู่กินฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน และผู้ตายก็ไม่ได้จดทะเบียนรับรองว่าโจทก์เป็นบุตรนายป. เพียงแต่ให้ใช้นามสกุลและให้การอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564บิดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ส่วนบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วตามมาตรา 1627 บัญญัติให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผลให้เป็นผู้มีสิทธิรับมรดกในฐานะเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 เท่านั้นเมื่อนายป. ผู้ตายไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยผู้กระทำละเมิดเป็นเหตุให้นาย ป. ถึงแก่ความตาย กรณีดังกล่าวประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ในเรื่องครอบครัวได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งแล้ว จึงนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 998/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตร: บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร ย่อมมีอำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว
กรณีที่บิดามิได้จดทะเบียนรับรองบุตรนอกสมรส อำนาจปกครองบุตรย่อมอยู่แก่มารดา แต่ถ้าบิดาได้จดทะเบียนรับรองบุตรนั้นก็เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดา อำนาจปกครองยอมโอนมาอยู่แก่บิดา ไม่ใช่อยู่แก่บิดาและมารดาทั้งสองคน
ผู้ใช้อำนาจปกครองจะมีได้เพียงคนเดียว ผิดกับผู้ปกครองซึ่งอาจมีหลายคนได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 998/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตร: บิดาจดทะเบียนรับรองสิทธิโอนมาเป็นของผู้รับรอง
กรณีที่บิดามิได้จดทะเบียนรับรองบุตรนอกสมรส อำนาจปกครองบุตรย่อมอยู่แก่มารดา แต่ถ้าบิดาได้จดทะเบียนรับรอง บุตรนั้นก็เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาอำนาจปกครองย่อมโอนมาอยู่แก่บิดา ไม่ใช่อยู่แก่บิดาและมารดาทั้งสองคน
ผู้ใช้อำนาจปกครองจะมีได้เพียงคนเดียว ผิดกับผู้ปกครองซึ่งอาจมีหลายคนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรหลังจดทะเบียนรับรอง: ศาลมีดุลพินิจพิจารณาพฤติการณ์
โจทก์เคยฟ้องศาลขอให้สั่งว่าบุตรอยู่ในอำนาจปกครองของตนศาลพิพากษาว่ายังไม่ได้จดทะเบียนเด็กว่าเป็นบุตรอันชอบด้วยกฎหมายจึงยังไม่มีผลทำให้โจทก์เป็นบิดาของเด็กตามกฎหมาย ภายหลังโจทก์จึงจัดการจดทะเบียนรับรองบุตรโดยชอบแล้ว มายื่นฟ้องขอให้ศาลสั่งถอนอำนาจปกครองนั้นจากมารดาเด็กมาให้อยู่กับโจทก์ได้แต่เมื่อมีพฤติการณ์ที่สมควรศาลก็มีอำนาจที่จะให้อำนาจการปกครองบุตรอยู่แก่มารดาของเด็กต่อไปอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1690/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในมรดกของบุตรเกิดนอกสมรสและบิดาที่มิได้จดทะเบียนรับรอง
ชายหญิงได้เสียกันเองโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส เมื่อเกิดบุตรขึ้นมา บุตรที่เกิดมานั้น ย่อมไม่ใช่บุตรอันชอบด้วยกฎหมายของชาย และเมื่อต่อมาชายก็มิได้จดทะเบียนรับรองหรือร้องขอต่อศาลให้แสดงว่า เป็นบุตรอีกเช่นนี้ ชายนั้นจึงไม่ใช่บิดาหรือทายาทของบุตรนั้น และย่อมไม่มีสิทธิที่จะรับมรดกของบุตร และไม่อาจที่จะยกอายุความมรดก 1 ปีมาต่อสู้แก่ทายาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3833/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรหลังจดทะเบียนรับรอง: ศาลยืนตามเดิมให้แม่มีอำนาจดูแลบุตรโดยชอบธรรม
โจทก์และจำเลยอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสกัน มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ เด็กหญิง ว. โจทก์จึงมีอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียวย่อมมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตร และเรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่น ซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมายได้ ตาม ป.พ.พ. 1567 (1) และ (4) ขณะที่จำเลยพาผู้เยาว์ไปอยู่ที่บ้านบิดามารดาจำเลยที่สุราษฎร์ธานี ผู้เยาว์ไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย แม้ต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว จำเลยจะได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนรับรองบุตร และต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยจะได้จดทะเบียนรับรองผู้เยาว์เป็นบุตรอันทำให้จำเลยมีอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ก็ตาม ก็หากระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ถูกต้องแห่งอำนาจฟ้องของโจทก์ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกบุตรคืนจากจำเลยได้