คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จังหวัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญชาติและการจำกัดสิทธิการเดินทางออกจากจังหวัด
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ประกาศ ณ วันที่ 13 ธันวาคมพุทธศักราช 2515 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การเพิกถอนกับการไม่ให้สัญชาติไทยแก่บุคคลที่เกิดก่อนและหลังประกาศใช้ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว เมื่อจำเลยมีบิดามารดาเป็นคนญวนอพยพและจำเลยเกิดในราชอาณาจักรเมื่อ พ.ศ.2499 จำเลยจึงถูกเพิกถอนสัญชาติไทยไปแล้วตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวแล้ว ซึ่งจำเลยจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคายเสียก่อนจึงจะออกนอกเขตจังหวัดหนองคายได้ เมื่อจำเลยออกนอกเขตโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยจึงย่อมมีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3988/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการแต่งตั้ง/ถอดถอนกรรมการมัสยิด: คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีอำนาจเฉพาะ คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยไม่มีอำนาจ
โจทก์ฟ้องคดีนี้มีใจความสำคัญว่า โจทก์ทั้งเจ็ดกับพวกในฐานะที่เป็นคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้ประชุมและมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ถอดถอน พ. กับพวกซึ่งเป็นกรรมการประจำมัสยิดออกจากตำแหน่งเนื่องจากกระทำการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ศาสนสมบัติ และเสื่อมเสียประโยชน์ของมัสยิด ทำให้เกิดการแตกแยกต่อมาจำเลยในฐานะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้ประชุมมีมติและคำสั่งให้แก้ไขมติและคำสั่งของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดดังกล่าวเป็นว่าให้ภาคทัณฑ์ พ.กับพวกและให้กลับเข้าดำรงตำแหน่งต่อไปดังเดิม เช่นนี้เห็นได้ว่าโจทก์ฟ้องคดีในฐานะที่เป็นคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ซึ่งถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรง มิได้ฟ้องในฐานะส่วนตัว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการมัสยิดเป็นอำนาจเฉพาะของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่จะกระทำได้ตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 8 โดยมีระเบียบการแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (สุเหร่า) และวิธีดำเนินการอันเกี่ยวแก่ศาสนกิจของมัสยิด (สุเหร่า) พ.ศ. 2492 ใช้บังคับซึ่งในหมวด 2 ของระเบียบดังกล่าวนี้บัญญัติในเรื่องการแต่งตั้งและถอดถอนให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดโดยเฉพาะโดยมิได้ระบุให้สิทธิกรรมการที่ถูกถอดถอนยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้ ต่างกับหมวด 3 ในข้อ 21 เรื่องจริยาของกรรมการอิสลามประจำมัสยิดที่ว่า กรณีที่กรรมการอิสลามประจำมัสยิดถูกถอดถอนจากตำแหน่งเพราะละเมิดจริยาตามหมวด 3มีสิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยเพื่อวินิจฉัย และคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้เมื่อปรากฏว่าตามคำสั่งของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้วินิจฉัยให้ พ.ออกจากตำแหน่งอิหม่ามมัสยิดร.ด้วยสาเหตุตามหมวด 2 ของระเบียบดังกล่าว ซึ่งรวมถึงการขาดคุณสมบัติตามหมวด 1เป็นส่วนใหญ่และส่วนสำคัญ โดยอาศัยสาเหตุแห่งการละเมิดจริยาตามหมวด3 เป็นข้ออ้างเพิ่มเติมเท่านั้นคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยจึงไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขมติและคำสั่งของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในส่วนที่เกี่ยวกับ พ.ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2507/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาเลี้ยงสัตว์ยึดจากคดีอาญา: นายอำเภอทำสัญญาเอง จังหวัดไม่มีอำนาจฟ้อง
นายอำเภอเป็นนายทะเบียนสัตว์พาหนะและเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะยึดสัตว์พาหนะส่งต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีแก่ผู้ที่ครอบครองสัตว์พาหนะไว้โดยไม่มีตั๋วรูปพรรณหรือมีแต่ไม่ถูกต้องกับตัวสัตว์ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 4 และมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะ พ.ศ. 2482 และ นายอำเภอเป็นพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนเกี่ยวกับความผิดตาม พระราชบัญญัติสัตว์พาหนะฯการที่นายอำเภอเมืองในฐานะ พนักงานสอบสวนได้ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 เลี้ยงโคที่ไม่มี ตั๋วรูปพรรณที่ยึดไว้โดยไม่ปรากฏว่านายอำเภอเมืองได้ทำสัญญาแทนหรือในนามของอำเภอหรือจังหวัดนั้น การทำสัญญา ของนายอำเภอเมืองดังกล่าวจึงทำไปตามอำนาจและหน้าที่ ของพนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะฯ โดยเฉพาะซึ่งไม่มีบทกฎหมายใดให้บุคคลอื่นใช้อำนาจหน้าที่ นี้แทนฉะนั้นจังหวัดซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงาน ตามพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะฯ และมิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เพื่อบังคับตามสัญญาจ้างเลี้ยงรักษาสัตว์ที่ยึดไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3214/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของจังหวัด: กรมป่าไม้เป็นผู้เสียหายจากการทุจริตยักยอกเงินของสำนักงานป่าไม้จังหวัด
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 เป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการและกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการส่วนจังหวัดหาได้ให้อำนาจแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะเป็นผู้ดำเนินการแทนหน่วยราชการในส่วนกลางที่เป็นผู้เสียหายไม่ดังนั้นเมื่อมีผู้ทุจริตยักยอกเงินค่าไฟฟ้า ค่าเช่าบ้านค่าภาคหลวงและเงินมัดจำเพื่อตรวจวัดตีตราค่าภาคหลวงของสำนักงานป่าไม้จังหวัดลำพูน เงินค่าไฟฟ้า ค่าเช่าบ้านและค่าภาคหลวงเป็นเงินในงบประมาณของกรมป่าไม้ส่วนเงินวางมัดจำแม้จะเป็นเงินนอกงบประมาณ แต่ก็เป็นเงินที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานในสังกัดของกรมป่าไม้ กรมป่าไม้จึงเป็นผู้เสียหายที่จะฟ้องเรียกเงินคืนจังหวัดลำพูนโดยผู้ว่าราชการจังหวัดไม่ใช่ผู้เสียหาย จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3214/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของจังหวัด: กรมป่าไม้เป็นผู้เสียหายจากการทุจริตยักยอกเงินของสำนักงานป่าไม้จังหวัด
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน2515 เป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการและกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการส่วนจังหวัดหาได้ให้อำนาจแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะเป็นผู้ดำเนินการแทนหน่วยราชการในส่วนกลางที่เป็นผู้เสียหายไม่ดังนั้นเมื่อมีผู้ทุจริตยักยอกเงินค่าไฟฟ้า ค่าเช่าบ้านค่าภาคหลวงและเงินมัดจำเพื่อตรวจวัดตีตราค่าภาคหลวงของสำนักงานป่าไม้จังหวัดลำพูน เงินค่าไฟฟ้า ค่าเช่าบ้านและค่าภาคหลวงเป็นเงินในงบประมาณของกรมป่าไม้ส่วนเงินวางมัดจำแม้จะเป็นเงินนอกงบประมาณ แต่ก็เป็นเงินที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานในสังกัดของกรมป่าไม้ กรมป่าไม้จึงเป็นผู้เสียหายที่จะฟ้องเรียกเงินคืนจังหวัดลำพูนโดยผู้ว่าราชการจังหวัดไม่ใช่ผู้เสียหาย จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3056/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเงินอุดหนุน ปชล. - จังหวัดมีหน้าที่ควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงิน หากเกิดความเสียหายจากการยักยอก มีอำนาจฟ้องได้
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติตามโครงการพัฒนาท้องถิ่นและช่วยประชาชนในชนบทให้มีงานทำในฤดูแล้ง พ.ศ. 2518 เงินอุดหนุนโครงการดังกล่าวเรียกโดยย่อว่าเงินอุดหนุนปชล. เป็นเงินที่กรมบัญชีกลางจัดสรรให้จังหวัดโจทก์เพื่อใช้จ่ายตามโครงการของคณะกรรมการ ปชลต. ที่ได้รับอนุมัติ จึงอยู่ในความควบคุมดูแลรับผิดชอบของโจทก์เพื่อให้การใช้จ่ายเงินได้เป็นไปโดยถูกต้องเป็นประโยชน์แก่จังหวัดโจทก์ หากการเบิกจ่ายเงินมีการผิดระเบียบและมีการยักยอกเงินไป โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2496/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งเพิกถอน น.ส.3 ของรองผู้ว่าฯ แทนผู้ว่าฯ คือคำสั่งของจังหวัด จำเลยต้องรับผิด
รองผู้ว่าราชการจังหวัดทำการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดลงชื่อในคำสั่งของจังหวัด ให้เพิกถอน น.ส.3 ที่ออกทับที่สาธารณประโยชน์ตามอำนาจใน ป. ที่ดิน มาตรา 61 เป็นคำสั่งของจังหวัดโดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แทน ลงชื่อโดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดทำการแทน โจทก์ฟ้องจังหวัดเป็นจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตใบอนุญาตค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง: ใบอนุญาตใช้ได้ทั่วไปในจังหวัดที่ออก ไม่จำกัดสถานที่ค้า
ใบอนุญาตระบุข้อความว่า ให้จำเลยค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองโดยมีสถานการค้าสัตว์ป่าคุ้มครองชื่อห้องภาพสุราษฎร์ ฯลฯ อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และระบุว่าจำเลยตั้งสถานการค้าอยู่ ณที่ใดเท่านั้น แต่จะใช้คุ้มครองได้ภายในเขตท้องที่ใดเพียงใดไม่มีระบุไว้ ทั้งไม่มีข้อห้ามว่าจำเลยจะทำการค้านอกสถานที่ดังกล่าวไม่ได้ ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 และกฎกระทรวงฉบับที่ 3(พ.ศ. 2505) ออกตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าวก็มิได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเขตของใบอนุญาตหรือมีข้อห้ามประการใดเกี่ยวกับวิธีการทำการค้าสัตว์ป่าคุ้มครองนอกสถานที่ ทั้งค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ค้าซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองก็กำหนดไว้เพียงอัตราเดียว มิได้กำหนดให้แบ่งแยกเขตไว้อย่างใบอนุญาตให้ล่าสัตว์ป่าคุ้มครอง ใบอนุญาตให้ค้าซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองจึงใช้ได้ทั่วไปในจังหวัดที่ได้รับใบอนุญาต การที่จำเลยไปซื้อนกขุนทองและถูกจับพร้อมด้วยนกขุนทองที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดเดียวกัน จึงไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341-350/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของจังหวัดจากการกระทำของผู้ว่าราชการจังหวัด และการรุกล้ำที่สาธารณสมบัติ
จังหวัดซึ่งเป็นนิติบุคคลและมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แทนนั้น เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้กระทำการใดอันเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ราชการในตำแหน่งแล้ว จังหวัดก็จะต้องรับผิดชอบ โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายจึงมีอำนาจฟ้องจังหวัดเป็นจำเลยได้
โจทก์ปลูกสร้างอาคารลงในที่ดินของตนต่อมาน้ำในแม่น้ำได้เซาะตลิ่งพังเข้าไปถึงใต้ถุนอาคาร โจทก์จึงได้ต่อเสาและเอาไม้ค้ำยันเพื่อป้องกันมิให้อาคารของตนพังลงนั้น หาใช่โจทก์เข้าไปปลูกปักอาคารในที่ซึ่งเป็นทางสัญจรของประชาชนหรือที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามความหมายของประกาสคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 44 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341-350/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของจังหวัดจากคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด และการรุกล้ำที่สาธารณะ
จังหวัดซึ่งเป็นนิติบุคคลและมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แทนนั้นเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้กระทำการใดอันเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ราชการในตำแหน่งแล้วจังหวัดก็จะต้องรับผิดชอบ โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายจึงมีอำนาจฟ้องจังหวัดเป็นจำเลยได้
โจทก์ปลูกสร้างอาคารลงในที่ดินของตน ต่อมาน้ำในแม่น้ำได้เซาะตลิ่งพังเข้าไปถึงใต้ถุนอาคารโจทก์จึงได้ต่อเสาและเอาไม้ค้ำยันเพื่อป้องกันมิให้อาคารของตนพังลงนั้น หาใช่โจทก์เข้าไปปลูกปักอาคารในที่ซึ่งเป็นทางสัญจรของประชาชน หรือที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามความหมายของประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 44 ไม่
of 2