พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1020/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องและการจำหน่ายหนี้สูญทางภาษี: ศาลมีอำนาจแก้ไขคำฟ้องได้ และการจำหน่ายหนี้สูญชอบด้วยกฎหมายหากได้พยายามติดตามทรัพย์สินลูกหนี้แล้ว
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 180 ให้อำนาจคู่ความที่จะร้องขอแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การที่เสนอต่อศาลได้ และการที่ศาลภาษีอากรกลางอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้อง เพราะโจทก์สับสนแนบหนังสือมอบอำนาจผิดฉบับเป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมถูกต้องตามบทกฎหมายแล้ว ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องภายหลังจำเลยยื่นคำให้การตัดคำฟ้องเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ตามข้อ 1 (3) (ค) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 159(พ.ศ. 2526) ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ มิได้กำหนดกฎเกณฑ์ไว้เป็นการตายตัวว่าก่อนโจทก์จำหน่ายหนี้สูญโจทก์จะต้องขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือทำการตรวจสอบงบดุลของลูกหนี้เสียก่อน การที่โจทก์ให้ทนายความติดตามหาทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อยึดบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้วไม่ปรากฏว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินให้ยึดบังคับชำระหนี้ได้ ถือได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 159 (พ.ศ. 2526) ก่อนจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้แล้ว ดังนั้น การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทจึงชอบด้วยบทบัญญัติ มาตรา 65 ทวิ (9) แห่ง ป.รัษฎากร
ตามข้อ 1 (3) (ค) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 159(พ.ศ. 2526) ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ มิได้กำหนดกฎเกณฑ์ไว้เป็นการตายตัวว่าก่อนโจทก์จำหน่ายหนี้สูญโจทก์จะต้องขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือทำการตรวจสอบงบดุลของลูกหนี้เสียก่อน การที่โจทก์ให้ทนายความติดตามหาทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อยึดบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้วไม่ปรากฏว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินให้ยึดบังคับชำระหนี้ได้ ถือได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 159 (พ.ศ. 2526) ก่อนจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้แล้ว ดังนั้น การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทจึงชอบด้วยบทบัญญัติ มาตรา 65 ทวิ (9) แห่ง ป.รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1020/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องหลังจำเลยให้การ และการจำหน่ายหนี้สูญตามกฎกระทรวง
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528มาตรา17ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา180ให้อำนาจคู่ความที่จะร้องขอแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การที่เสนอต่อศาลได้และการที่ศาลภาษีอากรกลางอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องเพราะโจทก์สับสนแนบหนังสือมอบอำนาจผิดฉบับเป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมถูกต้องตามบทกฎหมายแล้วไม่มีบทกฎหมายใดห้ามศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องภายหลังจำเลยยื่นคำให้การตัดคำฟ้องเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตามข้อ(3)(ค)ของกฎกระทรวงฉบับที่159(พ.ศ.2526)ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้มิได้กำหนดกฎเกณฑ์ไว้เป็นการตายตัวว่าก่อนโจทก์จำหน่ายหนี้สูญโจทก์จะต้องขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือทำการตรวจสอบงบดุลของลูกหนี้เสียก่อนการที่โจทก์ให้ทนายความติดตามหาทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อยึดบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้วไม่ปรากฎว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินให้ยึดบังคับชำระหนี้ได้ถือได้ว่าโจทก์ได้ปฎิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีกาและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่159(พ.ศ.2526)ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้มิได้กำหนดกฎเกณฑ์ไว้เป็นการตายตัวว่าก่อนโจทก์จำหน่ายหนี้สูญโจทก์จะต้องขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือทำการตรวจสอบงบดุลของลูกหนี้เสียก่อนการที่โจทก์ให้ทนายความติดตามหาทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อยึดบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้วไม่ปรากฎว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินให้ยึดบังคับชำระหนี้ได้ถือได้ว่าโจทก์ได้ปฎิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่159(พ.ศ.2526)ก่อนจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้แล้วดังนั้นการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทจึงชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา65ทวิ(9)แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5444/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีและการจำหน่ายหนี้สูญ: ข้อโต้แย้งเรื่องอำนาจเจ้าพนักงานประเมินและการยกข้ออุทธรณ์ใหม่ในชั้นฎีกา
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า เจ้าพนักงานกองตรวจสอบภาษีอากรของจำเลย ทบทวนประเด็นการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของโจทก์โดยมิได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาษีอากรเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบและขั้นตอนของทางราชการ จำเลยจึงไม่มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์นั้นอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวมิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5583/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาความชอบธรรมของการประเมินภาษี และการจำหน่ายหนี้สูญในคดีล้มละลาย
การที่ ป.รัษฎากร มาตรา 30(2) บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลก็โดยวัตถุประสงค์เพื่อให้ศาลพิจารณาว่า การประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจเปลี่ยนแปลง แก้ไขยกเลิกหรือเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ เมื่อโจทก์ที่ 1 ยังอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลอยู่ จำเลยมีสิทธิจะได้รับชำระภาษีตามที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมิน และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้วหรือไม่จึงต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเสียก่อนการที่โจทก์ที่ 1 ไม่ชำระภาษีตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงหาได้เป็นการโต้แย้งสิทธิที่จำเลยจะนำคดีมาฟ้องไม่เพราะมิฉะนั้นบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะไร้ผล ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เป็นหนี้โจทก์ที่ 2 ค่าซื้อสินค้าเป็นเงิน 1,352,680 บาท ห้างดังกล่าวถูกบริษัท ฮ. จำกัด ฟ้องล้มละลาย และศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 10สิงหาคม 2525 โจทก์ที่ 2 ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จำนวนดังกล่าวข้างต้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2525 ศาลมีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้ตามจำนวนดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของห้างลูกหนี้ แต่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ติดตามยึดทรัพย์สินของห้างลูกหนี้และขายทอดตลาดได้เงิน 400,000 บาทเศษ หุ้นส่วนผู้จัดการและผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างลูกหนี้หลบหนีจนต้องออกหมายจับ จำนวนหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระจากทรัพย์สินของห้างลูกหนี้มีถึง 59 ล้านบาทเศษในการแบ่งทรัพย์ครั้งที่ 1 โจทก์ที่ 2 ได้รับส่วนแบ่งร้อยละ 1.85คิดเป็นเงินเพียง 25,024.58 บาท และห้างลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะติดตามยึดได้อีก ถือว่าโจทก์ที่ 2 ได้กระทำการตามสมควรเพื่อที่จะให้ได้รับชำระหนี้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา65ทวิ (9) ที่ใช้บังคับอยู่ในปี 2525 แล้ว โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิจำหน่ายหนี้จำนวนดังกล่าวเป็นหนี้สูญในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525ได้ หาจำต้องรอจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาให้ห้างลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายเสียก่อนจึงจะจำหน่ายเป็นหนี้สูญได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5583/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายของการประเมินภาษี และการจำหน่ายหนี้สูญตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) ที่บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาล เป็นที่เห็นได้ว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้เช่นนี้ก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศาลพิจารณาว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจเปลี่ยนแปลง แก้ไข ยกเลิก หรือเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ เมื่อโจทก์ที่ 1 ยังอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลอยู่ กรมสรรพากรจำเลยจะมีสิทธิได้รับชำระภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้วหรือไม่ จึงต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเสียก่อนการที่โจทก์ที่ 1 ไม่ชำระภาษีตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงหาเป็นการโต้แย้งสิทธิที่จำเลยจะนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ไม่ เพราะมิฉะนั้นบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะไร้ผล ห้างหุ้นส่วนจำกัดส. เป็นหนี้โจทก์ที่ 2 ค่าซื้อสินค้าเป็นเงิน 1,352,680 บาท ห้างดังกล่าวถูกบริษัท ฮ.ฟ้องล้มละลาย และศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2525 โจทก์ที่ 2 ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จำนวนดังกล่าวข้างต้น เมื่อวันที่18 พฤศจิกายน 2525 ศาลมีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้ตามจำนวนดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของห้างนั้น แต่ปรากฏว่าคดีดังกล่าวเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ติดตามยึดทรัพย์สินของลูกหนี้และขายทอดตลาดได้เงิน 400,000 บาทเศษสภาพของทรัพย์ที่ยึดส่วนใหญ่ไม่มีราคา หุ้นส่วนผู้จัดการและผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างลูกหนี้หลบหนีจนต้องออกหมายจับ จำนวนหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ก็มีถึง 59 ล้านบาทเศษ และในการแบ่งทรัพย์ครั้งที่ 1 โจทก์ที่ 2 ได้รับส่วนแบ่งร้อยละ 1.85 คิดเป็นเงินเพียง25,024.85 บาท และไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะติดตามยึดได้อีกข้อเท็จจริงดังกล่าวถือได้ว่า โจทก์ที่ 2 ได้กระทำการตามสมควรเพื่อที่จะให้ได้รับชำระหนี้ตามหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญดังที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) ที่ใช้บังคับอยู่ในปี 2525 แล้ว โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิจำหน่ายหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้สูญในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 ได้