พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1171/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กหญิงและพรากเด็ก การไม่รอการลงโทษและการยกเลิกการคุมประพฤติ
การที่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นเด็กหญิงอายุ 13 ปีเศษ หลายครั้งต่างวาระกัน เป็นการล่วงละเมิดทางเพศโดยอาศัยความอ่อนวัยไร้เดียงสาของผู้เสียหายที่ 1 เป็นการกระทำที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายที่ 1 ทั้งทางร่างกายและจิตใจเป็นอย่างมาก พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องที่ร้ายแรง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ใช้ดุลพินิจรอการลงโทษจำคุกในความผิดฐานดังกล่าวให้แก่จำเลยนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย แต่โทษจำคุกที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 กำหนดมานั้น เหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะเปลี่ยนแปลงแก้ไข และเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรไม่รอการลงโทษให้แก่จำเลยในความผิดฐานกระทำชำเราดังกล่าวแล้ว การคุมประพฤติจำเลยในความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาโดยไม่มีเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารย่อมไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด จึงเห็นสมควรให้ยกเลิกการคุมประพฤติจำเลยในความผิดฐานนี้เสียด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6655/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในคดีชำเราโดยศาลล่างเกินกว่าที่โจทก์ขอ และการพิจารณาโทษสำหรับผู้กระทำผิดที่เป็นเด็ก
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน เรียงกระทงลงโทษ ตาม ป.อ. มาตรา 91 ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 16 ปีเศษ (ที่ถูก 15 ปีเศษ) ให้ลงโทษจำเลยโดยลดมาตราโทษกึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 75 ให้จำคุกจำเลยไว้ 10 ปี จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 8 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว พิพากษายืน ซึ่งตามฟ้องระบุว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย 2 ครั้ง เมื่อศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันถือได้ว่า มีการลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 5 ปี เมื่อจำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดเป็นการโต้แย้งคัดค้านการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124 อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาฟ้องโจทก์แล้วโจทก์บรรยายฟ้องว่าระหว่างเดือนกันยายน 2543 ถึงเดือนตุลาคม 2543 ต่อเนื่องเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยได้กระทำชำเราผู้เสียหาย รวม 2 ครั้ง ทั้งคำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 277 โดยไม่ระบุ ป.อ. มาตรา 91 ด้วย ที่ศาลล่างทั้งสองให้เรียงกระทงลงโทษมาด้วยนั้น แม้ตามทางพิจารณาจะได้ความว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด 2 กรรม แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันและให้เรียงกระทงลงโทษจึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.อ. มาตรา 192 วรรคสี่ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 6 กรณีดังกล่าวแม้คู่ความไม่อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองแม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4083/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดหลายบท: การกระทำชำเราอนาจารต่อเนื่อง ความผิดฐานชำเราครอบคลุมอนาจาร
การที่จำเลยไล่กอดปล้ำกระทำอนาจารและกระทำชำเราผู้เสียหาย แต่ยังไม่สำเร็จความใคร่ แล้วจำเลยบังคับให้ผู้เสียหายใช้ปากกับอวัยวะเพศของจำเลยจนจำเลยสำเร็จความใคร่ การกระทำของจำเลยทุกขั้นตอนดังกล่าวเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องในคราวเดียวกันโดยความมุ่งหมายที่จะกระทำชำเราผู้เสียหายนั่นเอง การกระทำอนาจารจึงเป็นการกระทำที่รวมอยู่ในการกระทำชำเรา ไม่อาจแยกออกเป็นการกระทำต่างกรรมต่างเจตนา การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานกระทำชำเราซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4014/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราต่อเนื่องในวาระเดียวกัน ถือเป็นกรรมเดียว
จำเลยที่ 1 กับพวกติดตามผู้เสียหายไปในลักษณะทันที ถือว่าผู้เสียหายยังไม่หลุดพ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 กับพวก ดังนั้น การกระทำชำเราของจำเลยที่ 1 ทั้งสองครั้งจึงต่อเนื่องเชื่อมโยงกันอยู่ในวาระเดียวกันโดยเจตนาเดิมไม่ขาดตอนจากกัน จึงเป็นการกระทำกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4014/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราต่อเนื่อง: การพิจารณาความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม
จำเลยที่ 1 กระทำชำเราผู้เสียหายครั้งแรกในคืนวันที่ 16 มีนาคม 2544 ครั้นถึงวันรุ่งขึ้นเวลาเที่ยงวัน ผู้เสียหาย จะกลับบ้านจึงเดินออกจากบ้านที่เกิดเหตุกับนางสาว ร. เดินไปประมาณ 2 กิโลเมตร จำเลยทั้งสองกับพวกอีก 1 คน ขับรถจักรยานยนต์ตามมา จำเลยที่ 2 จับแขนนางสาว ร. จำเลยที่ 1 จับแขนผู้เสียหายบอกผู้เสียหายว่าค่อยกลับตอนเย็น ผู้เสียหายไม่ยอม จำเลยที่ 1 ดึงแขนลากตัวผู้เสียหายกลับไปในบ้านเกิดเหตุแล้วกระทำชำเราผู้เสียหายอีก 1 ครั้ง เห็นว่า จำเลยที่ 1 กับพวกติดตามผู้เสียหายทันที ถือว่าผู้เสียหายยังไม่หลุดพ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 กับพวก ดังนั้น การกระทำชำเราของจำเลยที่ 1 ทั้งสองครั้งจึงต่อเนื่องเชื่อมโยงกันอยู่ในวาระเดียวกัน โดยเจตนาเดิมไม่ขาดตอนจากกัน จึงเป็นการกระทำกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4529/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการกระทำชำเราเด็กหญิง ไม่ถึงขั้นพรากเด็กเพื่อการอนาจาร
การที่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายซี่งมีอายุ 13 ปีเศษ 3 ครั้ง ในสถานที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ใกล้เคียงกันและเป็นสถานที่ที่ผู้เสียหายผ่านไปมาอยู่ตามปกติเป็นประจำ แม้จำเลยจะเป็นผู้สั่งให้ผู้เสียหายไปรอจำเลย ณ ที่เกิดเหตุ แต่เมื่อจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายแล้วจำเลยก็ปล่อยให้ผู้เสียหายกลับบ้านโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้หน่วงเหนี่ยว กักขัง หรือพาผู้เสียหายไปที่อื่นใดอีก การกระทำของจำเลยแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนามุ่งที่จะกระทำชำเราผู้เสียหายเพียงอย่างเดียว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4529/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการกระทำชำเราเด็กหญิง ไม่ถือเป็นความผิดฐานพรากเด็กเพื่อการอนาจาร หากไม่มีการหน่วงเหนี่ยวหรือพาไปที่อื่น
วันเกิดเหตุครั้งแรก เด็กหญิง น. ผู้เสียหายไปที่บ้านนาย ต. ได้พบ ต. และจำเลย จำเลยบอกให้ น. ไปที่ห้องน้ำซึ่งอยู่บริเวณบ้าน ต. แล้วจำเลยตามเข้าไปกระทำชำเรา น. ครั้งที่สอง น. ขี่รถจักรยานไปหาเพื่อนผ่านบ้าน ต. พบจำเลยจำเลยบอกให้ น. ไปรอที่ห้องน้ำในวัดแล้วจำเลยตามไปกระทำชำเรา น. ครั้งที่สามน. ขี่รถจักรยานกลับบ้านพบจำเลยบริเวณสะพานข้ามคลอง จำเลยบอกให้ น. ไปรอที่ห้องน้ำบ้าน บ. แล้วจำเลยตามไปกระทำชำเรา น. ที่เกิดเหตุทุกแห่งอยู่ใกล้เคียงกันและเป็นสถานที่ที่ น. ผ่านไปมาอยู่ตามปกติเป็นประจำ แม้จำเลยจะเป็นผู้สั่งให้ น. ไปรอ ณ ที่เกิดเหตุแต่เมื่อจำเลยกระทำชำเราแล้วจำเลยก็ปล่อยให้กลับบ้านโดยไม่ได้หน่วงเหนี่ยวกักขัง หรือพาไปที่อื่นใดอีก แสดงให้เห็นว่า จำเลยมีเจตนามุ่งที่จะกระทำชำเรา น. อย่างเดียว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7664/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กหญิงที่มิได้รับอนุญาตสมรส และเจตนาในการกระทำความผิดต่างกรรมกัน
การกระทำที่จะทำให้ผู้กระทำผิดได้รับการยกเว้นโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสุดท้าย จะต้องเป็นการกระทำชำเราเด็กหญิงอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปีโดยเด็กหญิงนั้นยินยอมและต่อมาภายหลังศาลอนุญาตให้ชายหญิงนั้นสมรสกัน คดีนี้ แม้ว่าภายหลังการกระทำผิดจำเลยกับผู้เสียหายจะจดทะเบียนสมรสกัน แต่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายโดยผู้เสียหายไม่ยินยอมและศาลก็มิได้อนุญาตให้จำเลยและผู้เสียหายสมรสกัน การกระทำของจำเลยจึงไม่ได้รับยกเว้นโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ที่มีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ทำให้จำเลยไม่ต้องรับโทษในความผิดฐานชำเรา
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคท้าย ที่บัญญัติว่า"และภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ ถ้าศาลอนุญาตให้สมรสในระหว่างที่ผู้กระทำผิดกำลังรับโทษในความผิดนั้นอยู่ ให้ศาลปล่อยตัวผู้กระทำผิดนั้นไป" นั้นสำหรับกรณีที่จะต้องให้ศาลอนุญาตให้สมรสกันดังกล่าวนั้นหมายความว่าชายหรือหญิงมีอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ จะสมรสกันจึงจะต้องขออนุญาตต่อศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 แต่จำเลยและผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ได้จดทะเบียนสมรสกันในเวลาต่อมาย่อมเป็นการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายแล้วโดยไม่ต้องขออนุญาตต่อศาลจำเลยจึงไม่ต้องรับโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในอายุผู้เสียหาย: การกระทำชำเราเด็กหญิงและพรากเด็กจากบิดามารดา
จำเลยมีอาชีพรับราชการในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ 5ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการในโครงการต่าง ๆ ของทางราชการหลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับประชาชน ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมอาชีพแก่ชาวบ้าน เด็กและเยาวชน ตลอดจนเป็นวิทยากรอบรมลูกเสือชาวบ้าน จำเลยจึงได้พบปะผู้คนมากมีประสบการณ์ในชีวิตพอสมควร พอจะประมาณการได้ว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุประมาณเท่าใด จำเลยรู้จักกับผู้เสียหายมาก่อนเกิดเหตุเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 สัปดาห์ เพราะรับสอนผู้เสียหายขับรถยนต์โดยผู้เสียหายไปกับมารดาทุกครั้ง แต่วันเกิดเหตุจำเลยเบิกความยอมรับว่าก่อนเกิดเหตุ 1 วัน จำเลยบอกมารดาของผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายสามารถขับรถทางไกลได้ พรุ่งนี้เมื่อมารดาขับรถเสร็จแล้วไม่ต้องรอรับผู้เสียหายกลับบ้านเพราะจะนำผู้เสียหายฝึกหัดขับรถทางไกลเป็นเวลา2 ชั่วโมงนับว่าเป็นเรื่องผิดปกติ วันเกิดเหตุจำเลยก็ให้ผู้เสียหายขับรถไกลถึงประมาณ 60 กิโลเมตร ก็เป็นพิรุธเพราะกว่าจะไปและกลับคงต้องใช้เวลานานกว่าที่ฝึกขับรถปกติวันละ 2 ชั่วโมง จำเลยเป็นครูฝึกหัดขับรถแต่ไปสอบถามเรื่องส่วนตัวของผู้เสียหายซึ่งเป็นคนละเรื่องกับหน้าที่ของตนเอง หากจำเลยพูดคุยกับผู้เสียหายก็น่าจะพอคาดคิดได้ว่าผู้เสียหายมีระดับสติปัญญาเป็นเด็กเพียงใด พฤติการณ์ที่จำเลยขับรถพาผู้เสียหายเข้าโรงแรมก็ไม่ปรากฏว่าได้รักใคร่ชอบพอผู้เสียหายหรือเคยพูดจาแสดงความรักกันมาก่อน เพียงแต่จำเลยเบิกความทำนองคิดว่าผู้เสียหายมีใจแก่จำเลยเท่านั้น นับว่าเป็นการฉวยโอกาสจากความไร้เดียงสาของผู้เสียหายเพื่อสนองตัณหาของตนเท่านั้น ชั้นจับกุมและสอบสวนจำเลยก็มิได้แสดงว่าจำเลยสำคัญผิดในเรื่องอายุของผู้เสียหายอย่างใด กรณีจะเป็นเรื่องสำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 วรรคแรก จะต้องมีพฤติการณ์หรือเหตุชักจูงใจให้สำคัญผิดโดยสุจริต มิใช่คาดคะเนเอาเองดังที่จำเลยเบิกความพฤติการณ์ของจำเลยเช่นนี้จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อเป็นข้อแก้ตัวว่าจำเลยสำคัญผิดโดยสุจริต ดังนั้น เมื่อจำเลยกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนโดยเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม จำเลยจึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 วรรคแรก และการที่จำเลยพาผู้เสียหายไปกระทำชำเราที่ห้องของโรงแรมที่เกิดเหตุ เป็นการล่วงอำนาจปกครองของมารดาผู้เสียหายโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 วรรคสาม