คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชี้ขาด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5564/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามเรื่องการอ้างเหตุเดิมเพื่อขอให้ศาลพิจารณาคดีซ้ำหลังศาลฎีกาชี้ขาดแล้ว
เดิมศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่ว่าโรงเรือนพิพาทปลูกสร้างอยู่บนที่ดินป่าสงวนแห่งชาติเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบ จำเลยไม่อาจอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวมาสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกฟ้องโดยเหตุว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยใหม่ในประเด็นข้ออื่น ไม่ใช่เรื่องอำนาจฟ้องว่าโรงเรือนพิพาทปลูกสร้างอยู่บนที่ดินป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาใหม่แล้ว จำเลยกลับยื่นฎีกาเข้ามาใหม่ขอให้ศาลฎีกายกฟ้องโจทก์โดยอ้างเหตุเดิมอีกว่า โรงเรือนพิพาทปลูกสร้างอยู่บนที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นประเด็นแห่งคดีที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาชี้ขาดคดีไปแล้ว ย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6641/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: คดีค่าเสียหายจากละเมิดที่ฟ้องซ้ำและคดีที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว
คดีก่อน ศ. พี่สาวโจทก์ทั้งสอง ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา กรณีจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดเป็นเหตุให้ ม. บิดาโจทก์ทั้งสองและ ศ. ถึงแก่ความตาย ขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าปลงศพ ค่าขาดไร้อุปการะและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ โดยปรากฏว่า ศ. ฟ้องในฐานะเป็นบุตรผู้ตายที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เช่นนี้ สำหรับค่าปลงศพและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ จึงเป็นการฟ้องเพื่อประโยชน์ของทายาท ม. ผู้ตาย ทุกคนรวมถึงโจทก์ทั้งสองด้วย ส่วนค่าขาดไร้อุปการะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของทายาทแต่ละคนที่ได้รับความเสียหาย และตามคำฟ้องคดีก่อนไม่ปรากฏข้อความว่า ศ. ฟ้องแทนโจทก์ทั้งสอง แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ทั้งสองแก่ ศ. ก็เป็นการพิพากษาโดยไม่ชอบไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสองซึ่งมิใช่เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว เมื่อได้ความจากคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองว่าขณะโจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 1 คดีนี้ เรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดเป็นเหตุให้ ม. บิดาโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตายขอให้ชดใช้ค่าปลงศพ ค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ อันเป็นเรื่องเดียวกันกับคดีก่อนที่ ศ. ฟ้องจำเลยที่ 1 และคดีอยู่ระหว่างการพิจารณา คดีระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 ในเรื่องเรียกค่าปลงศพและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์เป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) และได้ความว่า ต่อมาศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาในคดีก่อนให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าปลงศพและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์แก่ ศ. ตามคำฟ้องแล้ว อันเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นเรื่องค่าปลงศพและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์เรื่องเดียวกับคดีนี้แล้ว ฟ้องของโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 1 ได้เฉพาะค่าขาดไร้อุปการะเท่านั้น ส่วนฟ้องโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในฐานจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยินยอมให้จำเลยที่ 1 ใช้รถในกิจการของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัย รถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับนั้น ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดค่าปลงศพ ค่าขาดไร้อุปการะและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ของผู้ตายหรือไม่ เพียงใด ทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่ได้เป็นคู่ความเดียวกันกับคดีก่อนที่ ศ. ฟ้องจำเลยที่ 1 ดังนี้ คดีโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3400/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีหมั้นและการส่งเรื่องให้ประธานศาลฎีกาชี้ขาด
ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น (ศาลแพ่งกรุงเทพใต้) จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องว่า คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการผิดสัญญาหมั้นตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ฟ้องโจทก์จึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ขอให้ศาลวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมาย ดังนี้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 12 ซึ่งบัญญัติว่า ในกรณีที่มีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่นไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่นให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ไปโดยมิได้ดำเนินการดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้และเมื่อคดีนี้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรส่งสำนวนคดีนี้ไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดตามบทกฎหมายดังกล่าวต่อไป เมื่อประธานศาลฎีกาได้วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวแล้ว หากคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้น (ศาลแพ่งกรุงเทพใต้) ก็ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 15 แต่ถ้าคดีอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นก็ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการตรวจสอบและชี้ขาด หากไม่เป็นไปตามตกลง ถือเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)
คู่ความตกลงกันให้ศาลตั้งผู้เชี่ยวชาญ 1 คน โจทก์ตั้ง 1 คน และจำเลยตั้ง 1 คน ร่วมกันตรวจสอบชี้ขาดว่าสามารถซ่อมแซมเสาเข็มต้นที่ 167 ให้ได้ดีเป็นปกติได้มาตรฐานเหมือนเสาเข็มต้นอื่นที่โจทก์ส่งมอบงานให้จำเลยแล้วหรือไม่ ถ้าเสียงข้างมากบอกว่าซ่อมไม่ได้โจทก์จะถอนฟ้อง หากเสียงข้างมากบอกว่าซ่อมได้ จำเลยจะจ่ายเงินประกันผลงานให้โจทก์ เมื่อเสียงข้างมากของผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าซ่อมไม่ได้ โจทก์จึงต้องถอนฟ้องไปตามข้อตกลง การที่โจทก์ไม่ถอนฟ้องภายในเวลาที่ศาลกำหนด จึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดไว้ อันเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2184/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดประเด็นข้อพิพาท: ศาลชั้นต้นชอบแล้ว และถือว่าชี้ขาดคำคัดค้านแล้ว
โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้ยืมจำนวนหนึ่ง และเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอีกจำนวนหนึ่ง พร้อมด้วยดอกเบี้ยทั้งสองจำนวน มิฉะนั้นให้บังคับจำนองทรัพย์สินที่นำมาเป็นประกัน จำเลยให้การต่อสู้เกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยอ้างเหตุหลายประการด้วยกัน และยังต่อสู้เกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยด้วยเหตุหลายประการเช่นกัน ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และจำเลยต้องรับผิดดอกเบี้ยหรือไม่เพียงใด โดยให้โจทก์นำสืบก่อน ย่อมครอบคลุมข้อต่อสู้ของจำเลยทั้งหมดแล้วหาจำต้องแยกแยะประเด็นเป็นข้อย่อยดังที่จำเลยยื่นคำแถลงเสนอประเด็นข้อพิพาทแต่อย่างใดอีกไม่ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 183 ที่แก้ไขใหม่ ที่ใช้บังคับขณะศาลชั้นต้นชี้สองสถานแล้ว
จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านตาม ป.วิ.พ.มาตรา 183 วรรคสี่โดยระบุไว้ด้วยว่า เพื่อใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาต่อไป การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำคัดค้านเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดว่ารวมสำนวนไว้ ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่า ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ถูกต้องแล้ว ไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งดังคำคัดค้านของจำเลย กรณีพอถือได้ว่า ศาลชั้นต้นได้ชี้ขาดคำคัดค้านเกี่ยวกับการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของจำเลยแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2184/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ชอบด้วยวิธีพิจารณาและการชี้ขาดคำคัดค้านประเด็นข้อพิพาท
โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้ยืมจำนวนหนึ่งและเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอีกจำนวนหนึ่งพร้อมด้วยดอกเบี้ยทั้งสองจำนวน มิฉะนั้นให้บังคับจำนองทรัพย์สินที่นำมาเป็นประกัน จำเลยให้การต่อสู้เกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยอ้างเหตุหลายประการด้วยกัน และยังต่อสู้เกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยด้วยเหตุหลายประการเช่นกันดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และจำเลยต้องรับผิดดอกเบี้ยหรือไม่เพียงใดโดยให้โจทก์นำสืบก่อน ย่อมครอบคลุมข้อต่อสู้ของจำเลยทั้งหมดแล้วหาจำต้องแยกแยะประเด็นเป็นข้อย่อยดังที่จำเลยยื่นคำแถลงเสนอประเด็นข้อพิพาทแต่อย่างใดอีกไม่ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 183ที่แก้ไขใหม่ ที่ใช้บังคับขณะศาลชั้นต้นชี้สองสถานแล้ว จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 183 วรรคสี่โดยระบุไว้ด้วยว่า เพื่อใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาต่อไป การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำคัดค้านเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดว่ารวมสำนวนไว้ ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่า ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ถูกต้องแล้ว ไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งดังคำคัดค้านของจำเลยกรณีพอถือได้ว่า ศาลชั้นต้นได้ชี้ขาดคำคัดค้านเกี่ยวกับการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของจำเลยแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9240/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีภาษีอากร – การชี้ขาดอำนาจโดยประธานศาลฎีกา
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองเป็นเจ้าพนักงานประเมินและเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์คำร้องภาษีโรงเรือนและที่ดิน จำเลยทั้งสองประเมินให้โจทก์เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเกินความเป็นจริงโดยโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยทั้งสองที่สั่งให้โจทก์ชำระภาษีอากรและเงินเพิ่ม กับให้จำเลยทั้งสองคืนเงินภาษีอากรพร้อมดอกเบี้ยแต่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วให้ยกฟ้องเสียตาม ป.วิ.พ. จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากรหรือศาลยุติธรรมอื่น แต่ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา10 บัญญัติให้ประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้ชี้ขาด ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาหามีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวไม่ คำสั่งศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายข้างต้น และเมื่อปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรหรือศาลชั้นต้นขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรส่งสำนวนคดีนี้ไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดตามบทกฎหมายดังกล่าวต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9240/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีภาษีอากรหรือศาลยุติธรรมอื่น ประธานศาลฎีกาเป็นผู้ชี้ขาด
ปัญหาว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลภาษีอากรหรือศาลยุติธรรมอื่นนั้นพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 10 กำหนดให้ประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้ชี้ขาดศาลชั้นต้นและศาลฎีกาหามีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวไม่ และปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากรหรือศาลฎีกา เมื่อขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจส่งสำนวนไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9240/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในคดีภาษี: การส่งสำนวนให้ประธานศาลฎีกาชี้ขาด
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าพนักงานประเมินและเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์คำร้องภาษีโรงเรือนและที่ดินจำเลยทั้งสองประเมินให้โจทก์เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเกินความเป็นจริงโดยโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยทั้งสองที่สั่งให้โจทก์ชำระภาษีอากรและเงินเพิ่มกับให้จำเลยทั้งสองคืนเงินภาษีอากรพร้อมดอกเบี้ยแต่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วให้ยกฟ้องเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากรหรือศาลยุติธรรมอื่นแต่ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528มาตรา10บัญญัติให้ประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้ชี้ขาดศาลชั้นต้นและศาลฎีกาหามีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวไม่คำสั่งศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายข้างต้นและเมื่อปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรหรือศาลชั้นต้นขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาศาลฎีกาจึงเห็นสมควรส่งสำนวนคดีนี้ไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดตามบทกฎหมายดังกล่าวต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2769/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการงดบังคับคดี: ศาลที่พิจารณาคดีชั้นต้นมีอำนาจชี้ขาดคำร้องเท่านั้น
คำร้องที่ขอให้ศาลงดการบังคับคดีเป็นคำร้องที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดี ศาลที่มีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องคือศาลแพ่งซึ่งเป็นศาลที่พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนี้ในศาลชั้นต้นตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 302วรรคหนึ่ง ศาลจังหวัดตราด ซึ่งเป็นศาลที่ได้รับมอบหมายจากศาลแพ่งให้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์โดยขายทอดตลาดแทนไม่มีอำนาจสั่งให้งดการบังคับคดีตามคำร้องของผู้ร้อง
of 4