พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4070/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องอาญา: การร้องทุกข์ในฐานะส่วนตัว vs. แทนบริษัท, ผลต่อการฟ้อง
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกองปราบปรามสามยอดตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารหมายเลข 9 ท้ายฟ้อง ซึ่งมีข้อความสำคัญว่า ส.ผู้แจ้งได้มาพบพนักงานสอบสวนแจ้งว่าผู้แจ้งประกอบอาชีพค้าขาย ฯลฯ และมาร้องทุกข์มอบคดีต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีกับจำเลยที่ 2 โดยกล่าวหาว่า ...ฯลฯ...เป็นเหตุให้ผู้แจ้งได้รับความเสียหาย ผู้แจ้งจึงได้มาร้องทุกข์มอบคดีต่อพนักงานสอบสวน เพื่อให้ดำเนินคดีกับจำเลยที่ 2 เมื่อข้อความในบันทึกคำร้องทุกข์ดังกล่าวระบุชัดเจนว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ ส. โดยไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยดังนี้ต้องถือว่า ส. หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ได้ร้องทุกข์ในฐานะห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นผู้เสียหายในนามตนเอง เมื่อคำร้องทุกข์ของ ส.ไม่ได้ระบุว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยและ ส.หุ้นส่วนผู้จัดการนิติบุคคลโจทก์ได้มาร้องทุกข์แทนโจทก์ กรณีจึงไม่อาจฟังได้ว่า ส.ได้กระทำแทนโจทก์และเมื่อคดีนี้เป็นความผิดอันยอมความได้ โจทก์ผู้เสียหายฟ้องคดีเองโดยมิได้ร้องทุกข์ไว้โดยชอบภายในกำหนดเวลา 3 เดือน ตาม ป.อ.มาตรา 96ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดและฐานะส่วนตัวในการซื้อขาย กรณีจำเลยที่ 2 เจรจาซื้อดินก่อนบริษัทจดทะเบียน
จำเลยที่ 2 ตกลงเรื่องถมดินกับโจทก์ประมาณเดือนมีนาคม 2531 แต่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2531 ดังนั้นในขณะที่จำเลยที่ 2 ไปเจรจาซื้อที่ดินจากโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงทำในฐานส่วนตัวเพราะขณะนั้นจำเลยที่ 1 ยังไม่มีตัวตน แต่เหตุที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเพราะจำเลยที่ 2 รับราชการอยู่ จึงให้ส.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ และในทางปฏิบัติจำเลยที่ 2เป็นผู้บริหารงานและดำเนินการแทนจำเลยที่ 1 และหลังจากจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วจำเลยที่ 2 ได้ซื้อดินจากโจทก์ทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะหุ้นส่วนจำพวกจำพวกจำกัดความรับผิดที่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 ฎีกาจำเลยทั้งสองในส่วนนี้เกี่ยวกับคำขอตามฟ้องแย้งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งมีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนการโอนมรดก: ผู้จัดการมรดกในฐานะส่วนตัว vs. กองมรดก และอายุความ
จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของมารดาโจทก์ แม้จำเลยที่ 1เป็นยาย ของโจทก์ แต่การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการที่จำเลยที่ 1โอนทรัพย์มรดกของมารดาโจทก์ให้ตนเองและให้จำเลยที่ 2 นั้น เป็นกรณีพิพาทระหว่างโจทก์กับกองมรดกของผู้ตาย ซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก หาได้ฟ้องในฐานะส่วนตัวที่จำเลยที่ 1 เป็นยาย อันจะพึงถือว่าเป็นกรณีพิพาทระหว่างหลานกับยาย ไม่ แม้จำเลยที่ 1ได้ถึงแก่กรรมในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกาอนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทน ก็ไม่เป็นเหตุให้ฟ้องของโจทก์กลายเป็นฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัว จึงไม่ต้องห้ามตามป.พ.พ. มาตรา 1562. โจทก์เป็นทายาทของผู้ตาย ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายว่าจัดการมรดกโดยไม่ชอบขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนทรัพย์พิพาทอันเป็นมรดกของผู้ตาย จำเลยที่ 1 ตกอยู่ ในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาททั้งหมด จึงไม่อาจยกอายุความมรดก1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ทรัพย์พิพาทมิใช่มรดกของผู้ตาย เพราะจำเลยที่ 1 และสามีซื้อทรัพย์พิพาททั้งสองแปลง โดยใส่ชื่อผู้ตายและบุคคลอื่นไว้แทนแต่จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ การกำหนดให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับหรือไม่ อยู่ในดุลพินิจ ของศาลที่จะพิพากษาเช่นนั้นได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2981/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันโดยประธานสมาคม: จำเลยที่ 2 ผูกพันรับผิดในฐานะส่วนตัว แม้เป็นประธานสมาคม
สัญญาค้ำประกันความว่า จำเลยที่ 2 ตำแหน่งประธานสมาคม จำเลยที่ 1 ขอทำสัญญาค้ำประกันว่า ตามที่จำเลยที่ 1 ยืมเงินจากโจทก์จำเลยที่ 2 ขอรับรองว่า ถ้าหากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญา จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชำระหนี้ให้โจทก์แทนจำเลยที่ 1 นั้น หาใช่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันในนามจำเลยที่ 1 ไม่เพราะจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ยืมไม่อาจทำสัญญาค้ำประกันตนเองให้มีผลตามกฎหมายได้ ทั้งยังเป็นการฝ่าฝืนข้อสัญญาและสภาพแห่งสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจำเลยทั้งห้างฯ และผู้จัดการในฐานะส่วนตัว: ศาลพิพากษายืนคำสั่งประทับฟ้องเฉพาะจำเลยในฐานะส่วนตัวได้
คำฟ้องของโจทก์ตรงช่องคู่ความระบุชื่อจำเลยว่า ห้างฯ อ. โดย ส. หุ้นส่วนผู้จัดการและในฐานะส่วนตัว ที่ 1 จำเลย หน้าคำฟ้องก็ระบุว่าโจทก์ขอยื่นฟ้องห้างฯ อ. โดย ส. หุ้นส่วนผู้จัดการและในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 1 แต่คำบรรยายฟ้องกล่าวว่า โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คซึ่งประทับตราห้างฯ อ. ซึ่งมีจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและในฐานะส่วนตัวซึ่งจ่ายมอบให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ ดังนี้ เป็นการฟ้องห้างฯ อ. โดย ส. หุ้นส่วนผู้จัดการเป็นจำเลยที่ 1 และ ส. ในฐานะส่วนตัวเป็นจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจำเลยทั้งห้างฯ และหุ้นส่วนผู้จัดการในฐานะส่วนตัว ศาลพิพากษาชอบด้วยกฎหมาย
คำฟ้องของโจทก์ตรงช่องคู่ความระบุชื่อจำเลยว่า ห้างฯ อ. โดย ส. หุ้นส่วนผู้จัดการและในฐานะส่วนตัว ที่ 1 จำเลย หน้าคำฟ้องก็ระบุว่า โจทก์ขอยื่นฟ้องห้างฯ อ. โดย ส. หุ้นส่วนผู้จัดการและในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 1 แต่คำบรรยายฟ้องกล่าวว่า โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คซึ่งประทับตรา ห้างฯ อ. ซึ่งมีจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและ ในฐานะส่วนตัวสั่งจ่ายมอบให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ ดังนี้ เป็นการฟ้องห้างฯ อ. โดย ส. หุ้นส่วนผู้จัดการเป็นจำเลยที่ 1 และ ส. ในฐานะส่วนตัวเป็นจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 499/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าบุหรี่ค้างชำระ โดยโจทก์ฟ้องในฐานะส่วนตัว ไม่ใช่ฐานะหุ้นส่วน
โจทก์กล่าวฟ้องว่า เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2496 โจทก์กับพวกได้เข้าหุ้นกันรับบุหรี่มาจำหน่าย และโจทก์ได้ขายบุหรี่แก่จำเลย จำเลยยังค้างชำระค่าบุหรี่อยู่12,036.05 บาทขอเรียกราคาบุหรี่ที่ค้าง ครั้นเวลานำสืบ โจทก์กลับนำสืบว่าที่โจทก์กับพวกเข้าหุ้นกันเช่นว่านั้นคือเมื่อ พ.ศ.2493(ไม่ใช่ พ.ศ.2496 ตามที่บรรยายในฟ้อง) เช่นนี้ ไม่กระทำให้คดีของโจทก์เสียไปอย่างใดเพราะเห็นได้ชัดว่าโจทก์ฟ้องคดีในฐานะส่วนตัวของโจทก์มิใช่ฟ้องในฐานะเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น ข้อที่ว่าโจทก์จะได้เป็นหุ้นส่วนนั้นเมื่อใด จึงมิใช่เป็นประเด็นข้อแพ้ชนะในคดีนี้ และเป็นคนละเรื่องกับที่โจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวเมื่อเทศบาลเป็นผู้กระทำผิด โจทก์ต้องระบุฐานะให้ชัดเจน
โจทก์ฟ้องเทศบาลเมืองสงขลาให้รับผิด แต่มิได้ระบุเอาเทศบาลเมืองสงขลาเป็นจำเลยรับผิด แม้จะบรรยายไว้ในฟ้องว่า จำเลยมีตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรี ก็ถือว่าฟ้องจำเลยเป็นส่วนตัว ต้องยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2489
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวเมื่อเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ การฟ้องต้องระบุฐานะให้ชัดเจน
โจทก์ฟ้องเทศบาลเมืองสงขลาให้รับผิด แต่มิได้ระบุเอาเทศบาลเมืองสงขลาเป็นจำเลย แต่ได้ระบุให้จำเลยรับผิดแม้จะบรรยายไว้ในฟ้องว่า จำเลยมีตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรี ก็ถือว่าฟ้องจำเลยเป็นส่วนตัวต้องยกฟ้อง