คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ตกลงแบ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินรวมเมื่อตกลงแบ่งไม่ได้ ศาลฎีกาชี้ว่าชอบแล้ว
จำเลยเพียงแต่แถลงขอวางเงินค่าเสียหาย ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาส่วนหนึ่งเท่านั้น ส่วนการปฏิบัติตามคำพิพากษาในเรื่องกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินและบ้านตามคำพิพากษายังมิได้มีการตกลงแบ่งกันตามลำดับขั้นตอนให้เสร็จสิ้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์และจำเลยตกลงจะไปทำการแบ่ง ทรัพย์สินตามคำพิพากษา แต่เมื่อถึงกำหนดตามที่ตกลงไว้ก็ ยังไม่มีการตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินดังกล่าวกันดังนั้น โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมย่อมมีสิทธิขอให้บังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าว ไม่เป็น การบังคับคดีเกินกว่าที่ศาลพิพากษา โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นของโจทก์ จำเลยก็ให้การต่อสู้อ้างกรรมสิทธิ์และฟังได้ว่าจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินและบ้านตามส่วน และจะต้องมีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสามตามคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องว่าไม่อาจตกลงแบ่งกันได้ และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ ขอให้แบ่งทรัพย์ตามลำดับขั้นตอนอย่างใด ดังนั้น เมื่อการบังคับไม่อาจดำเนินการตามลำดับขั้นตอนที่กำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 กรณีย่อมบังคับโดยวิธีการขายทอดตลาดตามที่โจทก์ขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 361/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินรวมโดยการตกลงและสามารถรังวัดแบ่งได้ชัดเจน ถือเป็นการแบ่งที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
บันทึกข้อตกลงมีรายละเอียดเกี่ยวกับการแบ่งเขตที่พิพาทระหว่างเจ้าของรวมซึ่งสามารถรังวัดแบ่งและกำหนดเขตได้แน่นอน จึงเป็นการสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 วรรคแรก บังคับให้แบ่งกันตามนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231-1232/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุตรบุญธรรมที่ไม่ได้จดทะเบียน ไม่มีสิทธิรับมรดก การตกลงแบ่งมรดกต้องทำเป็นหนังสือจึงมีผล
บุตรบุญธรรมที่มิได้มีการจดทะเบียนตามกฎหมาย ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม
พูดยกที่พิพาทให้ โดยเป็นเรื่องที่สั่งเผื่อไว้เมื่อผู้พูดถึงแก่กรรมแล้ว มิได้ยกให้ในขณะนั้น ถือว่าเป็นพินัยกรรม ถ้าไม่ได้ทำเป็นพินัยกรรมให้ถูกต้องตามกฎหมายก็ไม่มีผลแต่อย่างใด
ตกลงยอมแบ่งที่พิพาทกัน แต่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สัญญา ย่อมไม่มีผลที่บังคับกันได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 758/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินรวม การฟ้องซ้ำ และการประมูลราคาเมื่อตกลงแบ่งกันไม่ได้
คดีก่อนกับคดีนี้ โจทก์จำเลยเป็นคู่ความเดียวกันส่วนมากที่พิพาทก็แปลงเดียวกันข้อเท็จจริงในคำฟ้องก็บรรยายในทำนองเดียวกันแต่คำขอต่างกันโดยฟ้องคดีก่อนโจทก์ขอแบ่งที่พิพาทด้านตะวันออกและตะวันตกเฉียงเหนือเป็นของโจทก์ครึ่งหนึ่งแต่คำขอคดีนี้ขอแบ่งที่พิพาทครึ่งหนึ่งเฉยๆไม่ระบุด้านถ้าตกลงแบ่งกันไม่ได้ก็ให้ประมูลหรือขายทอดตลาดแบ่งเงินแก่โจทก์จำเลยตามส่วนดังนี้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ทรัพย์เป็นของบุคคลหลายคนรวมกันในเบื้องต้นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากันเว้นแต่เจ้าของรวมฝ่ายหนึ่งจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีส่วนได้พิเศษมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง
การแบ่งทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364วรรค 2 นั้นเมื่อสภาพของที่พิพาทควรแบ่งกันได้ก็ยังไม่ควรบังคับให้ประมูลราคากันก่อน(อ้างฎีกาที่1993/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1158/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยการครอบครองร่วมกันและหลักฐานการตกลงแบ่งมรดกที่ต้องมีผลผูกพัน
อ้างว่ามีการแบ่งปันทรัพย์มรดกกันแล้ว ต้องพิศูจน์ให้ได้อย่างใดอย่างหนึ่งว่า ต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นสัดส่วนหรือโดยการขายทรัพย์มรดกแล้วเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งปันกันหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือตกลงกันอย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือต้องแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ
เมื่อฟังว่าโจทก์จำเลยเป็นทายาทและปกครองทรัพย์มรดกร่วมกันมาก็ต้องปรับด้วยมาตรา 1748 ดังนี้แม้โจทก์จะฟ้องขอแบ่งมรดก เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายแล้วก็ตาม คดีโจทก์ก็หาขาดอายุตาม ม.1754 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแบ่งทรัพย์สินรวมและการประมูลเมื่อตกลงแบ่งกันเองไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอแบ่งแยกที่ดินตามคำขอท้ายฟ้องก็มีเพียงขอให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินให้โจทก์อย่างเดียว ศาลพิพากษาให้แบ่งที่ดินให้แล้ว ยังได้เลยพิพากษาต่อไปว่า ถ้าคู่ความตกลงแบ่งกันเองไม่ได้ ให้ประมูลระหว่างคู่ความหรือขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันตามส่วน ดังนี้ ย่ามมีอำนาจทำให้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ เพราะเป็นวิธีการที่ศาลจะแบ่งที่ดินให้แก่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 908/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกตามส่วนที่ครอบครองและการประมูลเมื่อตกลงแบ่งไม่ชัดเจน
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมฤดกของผู้ตายจากจำเลย โดยบรรยายว่าได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มฤดกกันคนละกึ่ง แล้วต่างได้ปกครองร่วมกันมาจึงขอให้ศาลพิพากษาแบ่งทรัพย์ตามที่ตกลงแบ่งกันคนละครึ่ง แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่า ในการตกลงแบ่งกันนั้น โจทก์ได้ที่ดินแปลงซีกตะวันตก จำเลยได้ซีกตะวันออกศาลก็จะพิพากษาแบ่งให้ตามนั้นไม่ได้เพราะโจทก์ไม่ได้ตั้งรูปคดีมาในทางขอแบ่งตามส่วนที่ครอบครองและมิได้นำรังวัดให้ปรากฎว่าส่วนที่ตนครอบครองนั้นแค่ไหน ศาลต้องพิพากษาให้ประมูลหรือขายทอดตลาด แล้วแบ่งเงินกันคนละครึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1058/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงแบ่งมรดกที่ไม่ผูกพันทายาทอื่น เจ้าของร่วมมีสิทธิฟ้องแบ่งมรดกใหม่ได้
ทายาทหลายคนได้ปกครองเป็นเจ้าของทรัพย์มรดกร่วมกันมาโดยยังไม่ได้แบ่งปันกัน ต่อมาทายาทคนหนึ่งฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกนั้น จากทายาทอีกคนหนึ่งเพียงคนเดียว มิได้ฟ้องทายาทอันเป็นเจ้าของร่วมคนอื่นเข้ามาในคดีด้วยทายาทคนที่ถูกฟ้องยอมความเอาทรัพย์มรดกที่ทายาทอื่นซึ่งเป็นคนนอกคดีเป็นเจ้าของร่วมด้วยไปแบ่งปันเอาเสียคนเดียวและยอมรับเงินจำนวนหนึ่ง ตกลงโอนทรัพย์นั้นให้เป็นของทายาทผู้ฟ้องคดีทั้งหมดโดยทายาทคนนอกคดีไม่ได้รู้เห็นยินยอมด้วยนั้น ย่อมไม่ผูกพันทายาทคนนอกคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสอง
การกระทำของทายาทผู้เป็นโจทก์และทายาทผู้เป็นจำเลยเป็นเหตุให้ทายาทคนนอกคดีเสียสิทธิและเกิดเสียหายแก่ทรัพย์ของทายาทคนนอกคดี คำพิพากษาในคดีก่อนนั้นจึงใช้ยันทายาทคนนอกคดีไม่ได้ ทายาทคนนอกคดีมีสิทธิฟ้องทายาทผู้เป็นโจทก์และจำเลยขอให้ศาลแบ่งทรัพย์นั้นใหม่ได้ไม่จำต้องฟ้องขอให้ทำลายคำพิพากษา
คำว่าสิ่งปลูกสร้างย่อมหมายถึงเรือนด้วย เมื่อโจทก์ฟ้องว่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นมรดก จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธหรือต่อสู้ประการใดจึงไม่มีประเด็นในเรื่องเรือนโจทก์ไม่ต้องนำสืบ ศาลก็รับฟังได้ว่า เรือนเป็นทรัพย์มรดกด้วยตามนัยแห่งฎีกาที่ 218/2488
การที่โจทก์ตีราคาทรัพย์มาในคำฟ้องนั้น เป็นการประมาณราคาเพื่อเรียกค่าธรรมเนียม เมื่อไม่มีเหตุที่ศาลควร สงสัยหรือฝ่ายใดโต้แย้ง ก็ไม่มีปัญหาเรื่องการเรียกค่าขึ้นศาลเพิ่ม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 759/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์มรดก: สิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์ยังไม่ขาดอายุความ แม้มีการตกลงแบ่งกันไว้ แต่ยังไม่ได้แบ่งจริง
เมื่อเจ้ามฤดกตายแล้ว ผู้รับมฤดกได้ทำสัญญาตกลงแบ่งทรัพย์กันคนละส่วน แต่ยังไม่ได้แบ่งปันกัน และมอบเงินประกันการค้าน้ำมันกับบริษัทน้ำมัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองมฤดก ให้อยู่ในความควบคุมดูแลของจำเลย ดั่งนี้ ถือว่าทายาทต่างยังเป็นเจ้าของรวมในเงินประกันนั้น จะนำมาตรา 1754 ป.พ.พ.มาใช้บังคับไม่ได้
ป.พ.พ.มาตรา 1748 วรรค 2 บัญญัติว่า สิทธิที่จะเรียกให้แบ่งทรัพย์มฤดกตามวรรคก่อนจะตัดโดยนิติกรรมเกินคราวละสิบปีไม่ได้นั้น หมายความว่าทายาทจะทำความตกลงกันห้ามไม่ให้ใครเรียกให้แบ่งทรัพย์มฤดกก็ย่อมทำได้ แต่ในการที่จะทำนิติกรรมห้ามเรียกแบ่งทรัพย์มฤดกนั้น จะห้ามได้แต่เพียงคราวละสิบปี เมื่อพ้นกำหนด 10 ปีแล้ว ทายาทย่อมมีสิทธิจะเรียกให้แบ่งได้เสมอตามทรัพย์สิทธิของเขา จะแปลกลับเป็นว่า ทายาทจะเรียกให้แบ่งทรัพย์ไม่ได้ เมื่อเกินสิบปีแล้วนั้น ไม่ได้