คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ตรวจสอบเอกสาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารในฐานะตัวแทนตรวจสอบเอกสาร L/C หน้าที่ต่อตัวการและผู้รับประโยชน์
แม้จำเลยจะต้องตรวจสอบเอกสารการส่งสินค้าออก แต่หน้าที่ของจำเลยดังกล่าวเกิดจากการแต่งตั้งและมอบหมายจากธนาคาร ฟ. และธนาคาร บ. จำเลยจึงปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตัวแทนของธนาคาร ฟ. ผู้เปิดเครดิตกับธนาคาร บ. ผู้ยืนยันเครดิต หากจำเลยปฏิบัติหน้าที่บกพร่องก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารซึ่งเป็นตัวการ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องรับผิดชอบต่อตัวการโดยความรับผิดชอบในการตรวจเอกสารตามยูซีพี 500 มุ่งหมายถึงหน้าที่และความรับผิดของธนาคารที่เกี่ยวข้องในการตรวจเอกสารเลตเตอร์ออฟเครดิตก็เพื่อให้ถูกต้องตามเงื่อนไขในการขอเปิดเครดิตของลูกค้าผู้ขอเปิดเครดิตเพื่อประโยชน์แก่ผู้ขอเปิดเครดิตนั้นในอันที่จะได้รับเอกสารถูกต้องครบถ้วนตามคำขอเปิดเครดิต มิใช่หน้าที่เพื่อประโยชน์แก่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่จัดหาเอกสารที่ถูกต้องครบถ้วนมาแสดงเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7561/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของผู้ให้บริการโทรคมนาคมในการตรวจสอบเอกสารผู้ใช้บริการ ทำให้โจทก์เสียหาย
จำเลยได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้เป็นผู้ดำเนินการจัดให้มีการขยายเครือข่ายการให้บริการและดำเนินการให้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าเป็นการให้สัมปทานไปตามข้อสัญญาซึ่งกำหนดว่าผู้ขอเช่าใช้บริการจะต้องมาทำสัญญาเช่าใช้บริการกับจำเลย จำเลยจะให้ผู้เช่าใช้บริการทำสัญญาตามแบบพิมพ์ที่โจทก์กำหนดและจะต้องส่งสัญญาพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านซึ่งเป็นบัญชีรายชื่อของผู้ขอใช้บริการทั้งหลายเสนอต่อโจทก์ จำเลยมีหน้าที่เรียกเก็บเงินค่าเช่าใช้บริการจากผู้ขอเอง ส่วนกรณีการให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศเป็นบริการสาธารณะของโจทก์เองตามนโยบายของรัฐบาล โจทก์เป็นผู้เรียกเก็บเงินค่าเช่าใช้บริการเอง แต่ผู้ขอเช่าใช้บริการระหว่างประเทศจะต้องมาทำสัญญากับจำเลยผ่านเครือข่ายวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าของจำเลย ซึ่งจำเลยจะจัดส่งสัญญาพร้อมหลักฐานของผู้ขอใช้บริการในลักษณะเช่นเดียวกันกับผู้ขอใช้บริการโทรศัพท์ภายในประเทศ ในการที่โจทก์จะเป็นผู้เรียกเก็บค่าเช่าใช้บริการเอง เพื่อความรอบคอบจำเลยควรที่จะตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จำเลยจะขอให้โจทก์เปิดใช้บริการทางไกลระหว่างประเทศ ทั้งนี้จะต้องตรวจสอบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอที่นำมาประกอบสัญญาเป็นสำคัญ จำเลยจะต้องใช้ความละเอียดรอบคอบตรวจสอบหลักฐานได้โดยไม่ยากนัก จะอ้างแต่เพียงว่าได้กรอกข้อความตามที่ผู้ขอเช่าใช้บริการแจ้งมาและมีเอกสารต่าง ๆ ครบถ้วน โดยไม่จำต้องตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของเอกสารหาได้ไม่ เพราะจำเลยจะต้องเป็นผู้ตรวจสอบคนสุดท้ายก่อนที่จะเสนอโจทก์พิจารณาอนุมัติ ในเมื่อจำเลยเห็นโดยชัดแจ้งอยู่แล้วว่าภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอรายนี้เลอะเลือนไม่ชัดเจนและไม่มีลายมือชื่อผู้ถือบัตร จำเลยย่อมสามารถระงับหรือขอให้แก้ไขให้ถูกต้องได้ แต่กลับไม่กระทำ จึงเป็นเหตุให้โจทก์พิจารณาอนุมัติให้ผู้ขอใช้บริการทางไกลระหว่างประเทศ และในที่สุดไม่สามารถเรียกเก็บค่าใช้บริการรายนี้ได้ ถือว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4751/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเว้นหน้าที่ช่วยเหลือลูกค้าตรวจสอบเอกสารทางการเงิน ทำให้ไม่ทราบความเสียหายจากบัญชีธนาคาร
โจทก์ไปขอถอนเงินจากบัญชีเงินฝากที่ธนาคารออมสินพบว่าสมุดฝากเงินของโจทก์ซึ่งเก็บไว้ที่ธนาคารมีเงินเหลืออยู่ น้อยกว่าที่ฝากไว้จริง และตรวจสอบสมุดฝากเงินของ ฉ. ภริยาโจทก์ และสมุดฝากเงินของ จ. บุตรโจทก์ก็พบว่าเงินในสมุดฝากเงินเหลือน้อยผิดปกติเช่นกัน โจทก์จึงขอตรวจสอบ ใบถอนเงินจากบัญชีเงินฝากทั้งสามบัญชีดังกล่าว แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นพนักงานของธนาคารออมสินปฏิเสธไม่ยอมให้โจทก์ตรวจสอบใบถอนเงินตามที่โจทก์ขอตามสิทธิและความจำเป็น อันเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ใน ระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 123 ว่าด้วยวินัยของของพนักงานธนาคารออมสิน ข้อ 13 โดยมิชอบ เพื่อให้โจทก์ภริยาและบุตรเสียหาย เพราะโจทก์ไม่อาจทราบได้ว่าเงินในบัญชีเงินฝากของโจทก์ ภริยาและบุตรถูกคนร้ายปลอมลายมือชื่อถอนเงินจากบัญชีหรือไม่เพียงใด และไม่อาจเอาผิดกับผู้รับผิดชอบของธนาคารออมสินได้ จำเลยที่ 2 และที่ 3จึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8181/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดเจ้าพนักงานจดทะเบียน: ความประมาทเลินเล่อในการตรวจสอบเอกสาร ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ซื้อ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การซื้อที่ดินของโจทก์ได้ กระทำ ขึ้น ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ของ กรม ที่ดินจำเลยที่ 2 จึง มั่นใจ และ เชื่อ โดย สุจริตใจ ว่า การ ซื้อ ขายจะ ต้อง สมบูรณ์ และ ถูก ต้อง ตาม กฎหมาย ซึ่ง การ ซื้อ ขายครั้งนี้ จำเลย ที่ 1 เป็น พนักงาน เจ้าหน้าที่ ผู้มี อำนาจ ใน ฐานะเจ้าพนักงาน ที่ดิน จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ส่งมอบ โฉนด ที่ดิน ฉบับ เจ้าของ ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ จำเลย ที่ 1 ได้ จดทะเบียน การ ซื้อ ขายเสร็จแล้ว มอบ โฉนด ที่ดิน ฉบับ เจ้าของ ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ ต่อมา จึง ทราบ ว่า โฉนด ที่ดิน ที่จำเลย ที่ 1 ส่งมอบ โฉนด ที่ดิน ให้ แก่โจทก์ ทั้งแปด เป็น ของปลอม และ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ไม่ได้ ขายที่ดิน ของตน แต่ประการใด การปลอม บัตร ประจำตัว ประชาชน สำเนา ทะเบียน บ้าน และ โฉนด ที่ดิน ฉบับ เจ้าของ ที่ดิน โดย โจทก์ไม่ทราบ มา ก่อน จำเลย ที่ 1 กับพวก ได้ ร่วมกัน ทุจริต ต่อ หน้าที่ หรือมิฉะนั้น ได้ กระทำ การ ใน หน้าที่ ด้วย ความ ประมาท เลินเล่อ โดย มิได้ตรวจสอบ หลักฐาน และ โฉนด ที่ดิน หาก มี การ ตรวจสอบ หลักฐานของ ทาง ราชการ ที่มี อยู่ โดย เฉพาะ โฉนด ที่ดิน ก็ ทราบ ได้ว่า โฉนด ที่ดิน ฉบับ เจ้าของ ที่ดิน ที่นำ มา จดทะเบียน เป็น เอกสาร ปลอมการ กระทำ ของ จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ เป็น เจ้าพนักงาน ที่ดิน และ เป็นผู้แทน ของ จำเลยที่ 2 เป็น การ กระทำ หน้าที่ โดย มิชอบ หรือ เป็นการ ประมาท เลินเล่อ อย่าง ร้ายแรง ทำให้ โจทก์ เสียหาย เป็น เงินเท่ากับ ค่าที่ดิน ที่ โจทก์ ทั้งแปด เสียไป อัน เป็น ความ เสียหาย จากผล ละเมิด ที่ จำเลย ที่ 1 กระทำ โดย ตรง นั้น เป็น การ โต้แย้ง สิทธิของ โจทก์ แล้ว โจทก์ จึง มี อำนาจ ฟ้อง โจทก์ บรรยาย ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 มี อำนาจ หน้าที่ อย่างไร และได้ ปฏิบัติ หน้าที่ อย่างไร ซึ่ง การ ปฏิบัติ หน้าที่ ตาม ที่ โจทก์ บรรยายฟ้อง นั้น แสดงว่า จำเลย ที่ 1 กับ พวก ทุจริต ต่อ หน้าที่ หรือ มิฉะนั้น ก็ได้ ปฏิบัติ หน้าที่ ด้วย ความ ประมาท เลินเล่อ เป็น ผล ให้ โจทก์ ได้ รับความ เสียหาย และ ได้ บรรยาย ฟ้อง ถึง การ กระทำ หลาย ประการ ซึ่งจำเลย ที่ 1 มี หน้าที่ ปฏิบัติ ทั้ง การ ประทับ ตรา ปลอม หรือ การ ไม่ ตรวจเอกสาร อัน เป็น การ บรรยาย ใน รายละเอียด การ ปฏิบัติ จึง ไม่ ขัดแย้ง กันฟ้อง ของ โจทก์ ได้ แสดง โดย แจ้งชัด ซึ่ง สภาพ แห่ง ข้อหา ของ โจทก์ และคำ ขอ บังคับ ทั้ง ข้อ อ้าง ที่ อาศัย เป็น หลัก แห่ง ข้อ หา เช่น ว่า นั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ฟ้อง โจทก์ ไม่ เคลือบ คลุม จำเลย ที่ 1 เป็น เจ้าพนักงาน จดทะเบียน สิทธิ และ นิติกรรม มีความรู้ ความชำนาญ ใน วิธีการ จดทะเบียน และ ตรวจสอบ เอกสาร ต่าง ๆที่ เกี่ยว ข้อง เป็น พิเศษ ซึ่ง จะ ต้อง ปฏิบัติ หน้าที่ ตาม ข้อ กำหนด และระเบียบ ปฏิบัติ ตาม กฎกระทรวง ที่ วาง ไว้ โดย เคร่งครัด ตาม ขั้น ตอนก่อน ที่ จำเลย ที่ 1 จะ ลง นาม ใน สารบัญ จดทะเบียน เปลี่ยนแปลง ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ใน ขั้นตอน สุดท้าย เมื่อ จำเลย ที่ 1 ได้ พบ ข้อ พิรุธ ใน เรื่อง ความ สามารถ และ ใน เรื่อง อายุ ของ ผู้ขาย ก่อน แล้ว อย่างเห็น ได้ชัดซึ่ง สามารถ นำ ฉบับ ที่ ราชการ รับรอง ถูกต้อง มา ตรวจสอบ ดู ได้ นอกจาก นี้ เมื่อ พบ ข้อ พิรุธ ตั้งแต่ เบื้องต้น การ ตรวจสอบ เอกสาร ย่อมจะ ต้อง ตรวจสอบ ให้ ละเอียด รอบคอบ ยิ่งขึ้น หาก จำเลย ที่ 1 ใช้ความ ระมัดระวัง และ พินิจ พิเคราะห์ ให้ ละเอียด รอบคอบ ตาม อำนาจ หน้าที่ก็ สามารถ ตรวจ พบ ว่า โฉนด ที่ดิน ฉบับ เจ้าของ ที่ดิน ดังกล่าว มิใช่ เอกสาร ที่ ถูก ต้อง แท้ จริง ดังนี้ การ กระทำ ของ จำเลย ที่ 1 เป็น การ ปฏิบัติ หน้าที่ ด้วยความ ประมาท เลินเล่อ เป็น เหตุท ให้ โจทก์ ได้ รับ ความ เสียหาย ซึ่ง เป็น ผลโดย ตรง จาก การ กระทำ ละเมิด ของ จำเลย ที่ 1 การ ที่ โจทก์ ไม่ ตรวจ สอบ กับ โฉนด ที่ แท้ จริง เสีย ก่อน นั้น เมื่อปรากฏ ว่า มี การ เสนอ ขาย ที่ดิน พิพาท โจทก์ พอใจ แต่ ไม่เชื่อ ใจ ในความ ถูกต้อง จึง ไม่ ทำ สัญญา วาง มัด จำ ไว้ ก่อน แต่ ตกลง นัดทำ การ โอนที เดียว อัน เป็น การ เชื่อมั่น ต่อ การ ตรวจสอบ ของ เจ้าพนักงาน จึง มิใช่ โจทก์มี ส่วน เป็น ความประมาท เลินเล่อ ที่ ไม่ ทำการ ตรวจสอบ โฉนด ที่ดิน ที่แท้ จริงเสีย ก่อน เพราะ ต้อง มี การ ตรวจสอบ โดย เจ้าพนังาน อยู่ แล้ว จำเลย ที่ 1 ผู้ทำละเมิด จะ ปฏิเสธ ความ รับผิด ใน เหตุ ดังกล่าว หาได้ไม่ เมื่อ ความ เสีย หาย เป็น ผล โดย ตรง จาก การ กระทำ ละเมิด ของจำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 1 เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย ที่ 2 ตาม หน้าที่ โดย โจทก์ ไม่มีส่วน ต้อง รับผิด ด้วย จำเลย ที่ 2 จึง ต้อง ร่วม รับ ผิด กับ จำเลยที่ 1 ด้วยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8028/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของผู้มีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารค้ำประกันสัญญา ความผิดพลาดของเอกสารและการละเลยหน้าที่
จำเลยเป็นผู้อำนวยการกองอาคารสถานที่ของโจทก์ มีหน้าที่รับผิดชอบในการทำสัญญาจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. โดยจำเลยเป็นผู้รับหนังสือค้ำประกันมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ.เพื่ออ้างอิงว่ามีหนังสือค้ำประกันของธนาคารที่ผู้รับจ้างต้องนำมาเป็นหลักประกันในการทำสัญญาจ้างและต้องลงรายการของหนังสือค้ำประกันแล้ว แต่จำเลยไม่ได้ทำการตรวจสอบหนังสือค้ำประกันเท่าที่ควรจะกระทำเช่น ตรงช่องรายการ "ตามสัญญาจ้าง" ของหนังสือค้ำประกัน ไม่มีเลขที่ของสัญญาจ้าง คงมีแต่วันที่ของสัญญาจ้างเท่านั้น และในหนังสือค้ำประกันของธนาคาร สัญญาลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2530 แต่ตรงช่องรายการ "ตามสัญญาจ้าง สธ.32/2530"กลับลงวันที่เป็น "วันที่ 28 พฤษภาคม 2530" ซึ่งหากเป็นสัญญาในวันที่ลงในหนังสือค้ำประกันวันที่ 27 พฤษภาคม 2530 แล้วจะไปค้ำประกันสัญญาจ้างลงวันที่ 28พฤษภาคม 2530 ซึ่งยังไม่ได้ทำสัญญาจ้างกันเลยได้อย่างไร เมื่อหนังสือค้ำประกันของธนาคารมีพิรุธ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ต้องตรวจสอบว่าทำไมหนังสือค้ำประกันจึงมีพิรุธเช่นนี้หรือสั่งให้เจ้าหน้าที่ผู้ใต้บังคับบัญชาตรวจสอบเอกสารนี้ให้ปรากฏความจริงเสียก่อน และหากยังเป็นที่สงสัยอยู่อีก จำเลยก็ต้องตรวจสอบไปยังธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันดังกล่าวนั้นว่าได้ออกหนังสือค้ำประกันดังกล่าวจริงหรือไม่เพราะสัญญาค้ำประกันมีมูลค่าสูงถึง 20,000,000 บาท การละเลยของจำเลยเช่นนี้จึงถือว่าจำเลยประมาทเลินเล่อไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการปฏิบัติหน้าที่แล้ว จำเลยจะอ้างว่าในขณะทำสัญญาจ้างและขณะนำหนังสือค้ำประกันมาประกอบสัญญาจ้างไม่มีระเบียบให้ต้องตรวจสอบไปยังธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2291/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดต่อความเสียหายจากละเมิดของพนักงาน หากไม่ปฏิบัติตามระเบียบการตรวจสอบเอกสาร
ท. เป็นสมุห์บัญชีสาขาธนาคารจำเลย มีหน้าที่ตรวจเอกสารของผู้ที่มาขอเปิดบัญชีตามระเบียบของจำเลย ว. ได้นำเอาพยานหลักฐานสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของโจทก์ไปเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันในนามของโจทก์ ซึ่งหาก ท.ได้ขอตรวจดูต้นฉบับบัตรประจำตัวประชาชนหรือตรวจดูเพียงสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนซึ่งได้ปรากฏภาพถ่ายเจ้าของบัตรไว้อย่างละเอียดรอบคอบแล้ว ย่อมทราบได้ทันทีว่า ว. ไม่ใช่โจทก์ การที่ท.ได้อนุมัติให้ว. เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไปโดยไม่ตรวจหลักฐานของผู้ขอเปิดบัญชีตามระเบียบของจำเลย แล้ว ว. สั่งจ่ายเช็คในนามของโจทก์ทำให้โจทก์ถูก ด. ฟ้องเป็นคดีอาญา การกระทำของ ท. ย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเมื่อ ท. กระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลย จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดต่อผลแห่งละเมิดดังกล่าวด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4138/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดต่อความเสียหายจากพัสดุสูญหาย: การใช้ความระมัดระวังตามสมควรและการตรวจสอบเอกสาร
จำเลยมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกพัสดุ กองคลังของโจทก์มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานพัสดุ จำเลยได้รับพัสดุเครื่องมือแพทย์จำนวน 7 หีบห่อมาเก็บรักษาแต่ห้องเก็บพัสดุของโจทก์มีของเก็บอยู่เต็ม จำเลยจึงนำพัสดุดังกล่าวไปฝากเก็บไว้ที่ห้องพัสดุของอีกกองหนึ่งโดยมิได้ขออนุมัติจากผู้บังคับบัญชา ซึ่งห้องเก็บพัสดุดังกล่าวอยู่ชั้นล่าง เป็นห้องไม่มีหน้าต่าง มีประตู2 ประตู ประตูหนึ่งใส่กลอนไว้อีกประตูหนึ่งมีกุญแจลูกบิด มีเจ้าหน้าที่เก็บรักษาลูกกุญแจ ชั้นบนของห้องดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่ทำงานอยู่ การนำพัสดุไปฝากเก็บที่กองอื่นก็ไม่มีระเบียบให้ต้องขออนุมัติต่อผู้บังคับบัญชา ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว แม้จำเลยจะมิได้จัดเวรยามเฝ้าก็ปรากฏว่าหลังเลิกงานมีเวรยามของกรมดูแลอยู่แล้ว และการที่จำเลยจัดให้คณะกรรมการตรวจรับหลังจากรับของประมาณ 10 วัน เนื่องจากต้องตรวจสอบและแปลเอกสารก็มิได้เนิ่นนานเกินสมควร การที่พัสดุดังกล่าวหายไปบางส่วน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นประมาทเลินเล่อของจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1738/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดจากความบกพร่องในการตรวจสอบเอกสารสัญญาค้ำประกัน ศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากโจทก์ยังสามารถฟ้องผู้ค้ำประกันได้
การที่จำเลยทั้งหกซึ่งมีหน้าที่จัดทำสัญญาค้ำประกัน มิได้เขียนหรือพิมพ์ชื่อบุคคลที่เป็นพยานในสัญญาให้ชัดเจนไว้ใต้ลายมือชื่อของบุคคลดังกล่าว หรือมิได้จัดให้มีการทำวงเล็บใต้ลายมือชื่อพยานเช่นว่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ เพราะโจทก์อาจฟ้องผู้ค้ำประกันให้รับผิดโดยอาศัยสัญญาค้ำประกันดังกล่าวและอ้างจำเลยทั้งหกเป็นพยานได้อยู่แล้วเมื่อฟ้องโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าการกระทำของจำเลยทั้งหกดังกล่าวเป็นการประพฤติฝ่าฝืนต่อระเบียบหรือกฎข้อบังคับของโจทก์อย่างไรแล้ว ศาลชอบที่พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ภายหลังที่สั่งรับฟ้องโจทก์แล้วไปเสียทีเดียวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2095/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินอากรเกิน การประเมินอากรที่ไม่ถูกต้อง และหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ศุลกากรในการตรวจสอบเอกสาร
ตามพระราชบัญญัติ ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า นั้นการเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงแม้จะต้องเรียกร้องภายในกำหนด 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้าหรือส่งของออก แต่ผู้นำของเข้าหรือส่งของออกก็ต้องแจ้งความไว้ก่อนว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่เสียไว้เกินประการหนึ่งหรือพนักงานเจ้าหน้าที่พึงต้องรู้อยู่ก่อนว่าเงินอากรที่ชำระไว้นั้นเกินจำนวนที่พึงต้องเสียอีกประการหนึ่ง ดังนี้ เมื่อตามข้อเท็จจริงและพฤติการณ์เชื่อได้ว่าพนักงานเจ้าหน้าที่พึงต้องรู้อยู่ก่อนส่งมอบสินค้าให้โจทก์รับไปว่าเงินอากรที่ชำระไว้นั้นเกินจำนวนที่พึงต้องเสีย จำเลยก็ต้องคืนเงินอากรส่วนที่ชำระไว้เกินแก่โจทก์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 560/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารมอบอำนาจโดยสุจริต แม้ลายมือชื่อและตราประทับจะคล้ายคลึงกับของจริง ไม่ถือเป็นความประมาทเลินเละ
คดีก่อนจำเลยที่5ได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลยที่3ขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทและศาลฎีกาได้วินิจฉัยชี้ขาดในคดีดังกล่าวว่าจำเลยที่5ไม่มีส่วนร่วมหรือรู้เห็นในการปลอมใบมอบอำนาจคำพิพากษาของศาลฎีกาดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์คดีนี้ตามป.วิ.พ.มาตรา145โจทก์จะมาอ้างในคดีนี้อีกว่าจำเลยที่5ได้มีส่วนร่วมหรือรู้เห็นเกี่ยวกับการกระทำปลอมหนังสือมอบอำนาจที่ใช้ในการขายที่ดินพิพาทให้กับโจทก์หาได้ไม่ กรมที่ดินได้วางระเบียบเพื่อป้องกันการทุจริตที่เกิดขึ้นเกี่ยวแก่การมอบอำนาจไว้ว่า"ฯโดยที่เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบลายมือชื่อมิใช่ผู้ชำนาญการพิเศษโดยเฉพาะการตรวจสอบจึงต้องใช้ความระมัดระวังอย่างวิญญูชนจะพึงกระทำได้...ฯลฯ...การตรวจสอบลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจ...ให้ตรวจสอบว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกับของเดิมพอที่จะเชื่อถือได้หรือไม่...ฯลฯ..."ดังนี้เมื่อลายมือชื่อปลอมของผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจปลอมกับลายมือชื่อที่แท้จริงของผู้มอบอำนาจมีลักษณะตัวอักษรช่องไฟและลีลาในการเขียนคล้ายคลึงกันมากในสายตาของวิญญูชนย่อมถือได้ว่าเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันการที่เจ้าพนักงานที่ดินเชื่อว่าลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจปลอมเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงจึงถือไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานที่ดินกระทำโดยประมาทเลินเล่อ กรมที่ดินวางระเบียบว่า"หนังสือมอบอำนาจควรมีพยานอย่างน้อย1คนถ้าผู้มอบอำนาจพิมพ์ลายมือต้องมีพยาน2คน...ฯลฯ..."เมื่อปรากฏว่าหนังสือมอบอำนาจนอกจากจะมีผู้รับมอบอำนาจลงชื่อเป็นพยานคนหนึ่งแล้วยังมีลายมือชื่อพยานอื่นอีกเช่นนี้แม้จะตัดลายมือชื่อพยานที่เป็นผู้รับมอบอำนาจออกไปใบมอบอำนาจนั้นก็ยังสมบูรณ์อยู่เมื่อไม่มีระเบียบให้เจ้าพนักงานผู้ตรวจสอบใบมอบอำนาจถ่ายบัตรประจำตัวของผู้มอบอำนาจติดเรื่องไว้การที่เจ้าพนักงานไม่ได้กระทำเช่นนั้นจึงยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นคนประมาทเลินเล่อถึงกับเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียหาย โจทก์เบิกความเพียงว่าหากจำเลยที่3ตรวจดวงตราเขตบางรักที่ประทับก็จะรู้ว่าเป็นตราปลอมส่วนจำเลยที่4ก็เคยเห็นดวงตราเขตบางรักเสมอๆแต่มิได้นำสืบให้เห็นว่าดวงตราที่แท้จริงของเขตบางรักเป็นอย่างไรคำเบิกความของโจทก์จึงเป็นเพียงความเข้าใจหรือการคาดคะเนของโจทก์เองเป็นการเลื่อนลอยกรณียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่3ที่4กระทำละเมิดต่อโจทก์.
of 2