คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นายจ้างลูกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5604/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานและการพิสูจน์ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง: สัญญาจ้างต้องมีสาระสำคัญและมีการควบคุมดูแล
จำเลยให้การว่า อ. ไม่ได้รับบรรจุเป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยถูกหลอกให้ลงชื่อค้ำประกันการทำงานของ อ. สัญญาจ้างเอกสารท้ายฟ้องเป็นเอกสารที่ไม่เป็นความจริงโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ศาลแรงงานกำหนดประเด็นตามที่จำเลยให้การดังกล่าวแต่เพียงว่า อ. เป็นลูกจ้างโจทก์หรือไม่เท่านั้น ประกอบกับโจทก์และจำเลยมิได้คัดค้านการกำหนดประเด็นดังกล่าว กรณีจึงไม่มีปัญหาว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ดังนั้นที่ศาลแรงงานพิจารณาและพิพากษาคดีไปโดยไม่ส่งสำนวนไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวก่อนจึงชอบแล้ว
ตามสัญญาเอกสารฉบับพิพาท โจทก์มิได้กำหนดสถานที่ทำงานวันเวลาทำงานวันหยุดประจำสัปดาห์ และการลงโทษ ซึ่งเป็นสาระสำคัญของการจ้างแรงงาน ทั้งโจทก์ไม่มีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และโจทก์ไม่มีชื่อ อ. ในทะเบียนลูกจ้าง ดังนี้การที่ อ. รับสินค้าของโจทก์ไปวางขายที่บ้านของ อ. และโจทก์ไม่มีเงินเดือนให้ อ. แม้ตามสัญญาโจทก์จะกำหนดให้ อ. ต้องกระทำตามระเบียบวิธีของโจทก์ แต่โจทก์ก็มิได้ควบคุมการทำงานของ อ. ระเบียบวิธีการดังกล่าวของโจทก์จึงเป็นเพียงข้อกำหนดเพื่อป้องกันความเสียหายมิให้เกิดแก่โจทก์เท่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ อ. ดังกล่าว ไม่มีลักษณะเป็นการบังคับบัญชาระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง สัญญาฉบับพิพาทจึงไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1980/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะงานพิเศษนอกเหนือสัญญาจ้าง: ไม่สร้างความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง
การส่งสิ่งพิมพ์ในช่วงบ่าย โจทก์จะเป็นผู้ไปเบิกสิ่งพิมพ์และจำเลยจะลงรายการเบิกหนังสือพร้อมราคาหนังสือที่เบิกไว้โดยคิดค่าสิ่งพิมพ์จากโจทก์ราคา 70 เปอร์เซ็นต์ของราคาปก จากนั้นโจทก์มีหน้าที่เก็บค่าสิ่งพิมพ์และนำเงินไปหักลดยอดหนี้ค่าสิ่งพิมพ์กับจำเลย ทั้งการไปรับสิ่งพิมพ์ในช่วงบ่าย โจทก์จะไปรับหรือไม่ก็ได้ ไม่มีการลงเวลาทำงาน หากไม่ไปรับก็ไม่ถือว่าเป็นการขาดงาน ดังนี้ลักษณะงานในช่วงดังกล่าวจึงเป็นงานพิเศษที่โจทก์และจำเลยตกลงต่อกันนอกเหนือหน้าที่การงานตามปกติที่โจทก์ทำให้แก่จำเลย ถือไม่ได้ว่าโจทก์และจำเลยมีความผูกพันต่อกันในฐานะนายจ้างลูกจ้างในงานดังกล่าวนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1980/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งานพิเศษนอกเหนือหน้าที่ปกติ ไม่ถือเป็นความผูกพันในฐานะนายจ้างลูกจ้าง สิทธิเรียกร้องค่าตอบแทนจึงไม่เกิดขึ้น
การส่งสิ่งพิมพ์ในช่วงบ่ายโจทก์จะเป็นผู้ไปเบิกสิ่งพิมพ์และจำเลยจะลงรายการเบิกหนังสือพร้อมราคาหนังสือที่เบิกไว้โดยคิดค่าสิ่งพิมพ์จากโจทก์ราคา70เปอร์เซ็นต์ของราคาปกจากนั้นโจทก์มีหน้าที่เก็บค่าสิ่งพิมพ์และนำเงินไปหักลดยอดหนี้ค่าสิ่งพิมพ์กับจำเลยทั้งการไปรับสิ่งพิมพ์ในช่วงบ่ายโจทก์จะไปรับหรือไม่ก็ได้ไม่มีการลงเวลาทำงานหากไม่ไปรับก็ไม่ถือว่าเป็นการขาดงานดังนี้ลักษณะงานในช่วงดังกล่าวจึงเป็นงานพิเศษที่โจทก์และจำเลยตกลงต่อกันนอกเหนือหน้าที่การงานตามปกติที่โจทก์ทำให้แก่จำเลยถือไม่ได้ว่าโจทก์และจำเลยมีความผูกพันต่อกันในฐานะนายจ้างลูกจ้างในงานดังกล่าวนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2092/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง สัญญาจ้างแรงงาน และอายุความฟ้องร้องค่าเสียหาย
ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเชื้อเพลิง พ.ศ. 2503 มาตรา 20 ผู้อำนวยการองค์การโจทก์มีอำนาจและหน้าที่จัดการและดำเนินกิจการขององค์การโจทก์ให้เป็นไปตามนโยบายและข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด การฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้ก่อความเสียหายก็เป็นการดำเนินกิจการอย่างหนึ่ง จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า การที่ผู้อำนวยการองค์การโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการขัดต่อนโยบายและข้อบังคับของคณะกรรมการประการใด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ส . กับ ว. ต่างเป็นพนักงานของโจทก์ซึ่งมีหน้าที่ทำงานให้แก่โจทก์และโจทก์จ่ายสินจ้างให้ตลอดเวลาที่ทำงาน แม้โจทก์จะจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา โจทก์ก็เป็นเพียงองค์การรัฐวิสาหกิจ หาใช่ส่วนราชการไม่ ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับบุคคลทั้งสอง จึงมิใช่ความสัมพันธ์ระหว่างกรมกระทรวงในรัฐบาลกับข้าราชการซึ่งมีขึ้นโดยกฎหมายฝ่ายปกครองแต่เป็นความสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงาน แม้โจทก์จะมีข้อบังคับว่าด้วยวินัยพนักงานซึ่งคณะกรรมการองค์การโจทก์วางไว้โดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเชื้อเพลิง พ.ศ. 2503 เพื่อใช้บังคับแก่บรรดาพนักงานของโจทก์ ก็เป็นเพียงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับบุคคลทั้งสองจึงยังคงเป็นความสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงานอยู่นั่นเอง
โจทก์มีคำสั่งมอบหมายให้ ส. กับ ว. เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงของโจทก์ และในกรณีที่จ้างบุคคลอื่นมาทำการขนส่งแทนก็ให้อยู่ในความควบคุมตรวจตราดูแลให้เป็นที่เรียบร้อย แต่บุคคลทั้งสองกลับละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งของโจทก์โดยไม่ควบคุมตรวจตราดูแลการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นที่เรียบร้อย จนเป็นเหตุให้ ก. กับพวกซึ่งรับจ้างโจทก์ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ได้ร่วมกันเอาน้ำมันเชื้อเพลิงของโจทก์ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยผิดกฎหมาย จึงเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน ย่อมเป็นการไม่ชำระหนี้ แก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ถึงแม้โจทก์จะได้รับความเสียหายแก่ทรัพย์สินเนื่องจากความประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลทั้งสอง อันถือได้ว่า เป็นการกระทำละเมิด แต่การไม่ชำระหนี้ของลูกจ้างตามสัญญาก็เป็นการผิดสัญญาด้วย เมื่อการกระทำของ ส. กับ ว. เป็นทั้งละเมิดและผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นได้ทั้งสองทาง สำหรับสิทธิเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานนั้น มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ถึงหากสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดจะขาดอายุความแล้ว ก็หามีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 820/2513)
จำเลยได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการองค์การโจทก์ตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2508 โจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของ ส. กับ ว. ลูกจ้างของโจทก์ ระหว่างวันที่ 16 มีนาคม 2510 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2511 จำเลยพ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การโจทก์เมื่อวันที่ 26กุมภาพันธ์ 2519 และ ช. ผู้อำนวยการคนใหม่ได้ทราบเรื่องนี้ตั้งแต่ก่อนวันเข้ารับตำแหน่ง เพราะเป็นผู้รักษาการแทนระหว่างจำเลยลาป่วยมาก่อนขณะนั้นสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานยังไม่ขาดอายุความ หากโจทก์จะฟ้อง ส. กับ ว.ให้รับผิดก็ยังมีสิทธิฟ้องได้ แต่โจทก์มิได้ฟ้องเอง การที่จำเลยมิได้ดำเนินการฟ้องบุคคลทั้งสองภายในกำหนดอายุความ 1 ปี จึงไม่เป็นเหตุทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยไม่เป็นละเมิดดังโจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1982/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่ต้องรับผิดในละเมิดของผู้อื่นเมื่อจ้างทำของ ไม่ใช่นายจ้างลูกจ้าง
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุ ได้ว่าจ้าง พ.ไปยึดรถคันดังกล่าวคืนมา พ.ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ทำการยึดอีกต่อหนึ่ง เมื่อยึดรถได้แล้วจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์คันดังกล่าวมาเพื่อมอบให้ พ. ระหว่างทางจำเลยที่ 2 ขับรถโดยประมาทชนรถยนต์ของโจทก์เสียหาย ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 จ้าง พ.ไปยึดรถยนต์เป็นการจ้างทำของมิใช่จ้างแรงงาน เพราะเป็นการถือเอาความสำเร็จของงานเป็นวัตถุประสงค์ของสัญญา มิใช่สัญญาระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง เมื่อ พ.จ้างจำเลยที่ 2 ไปยึดรถอีกต่อหนึ่ง จำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้อยู่ในฐานะนายจ้างและไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 663/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์ทางสัญญาจ้าง: การพิจารณาฐานลักทรัพย์นายจ้างเมื่อค่าจ้างคิดตามผลงาน
แม้จำเลยพักนอนบนเรือนของผู้เสียหายระหว่างรับจ้างขุดมันสำปะหลังให้แก่ผู้เสียหาย แต่ค่าจ้างคิดตามน้ำหนักมันที่ขุดได้ จะขุดมันได้มากน้อยเท่าใดแล้วแต่ความสมัครใจ และความสามารถของจำเลย ผู้เสียหายหาได้กำหนดกฎเกณฑ์สั่งการและคุมให้จำเลยขุดให้ได้จำนวนมันแน่นอนแต่อย่างใดไม่ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยไม่ใช่อยู่ในฐานะนายจ้างและลูกจ้างกัน เมื่อจำเลยลักทรัพย์ของผู้เสียหายไป จึงเอาผิดจำเลยฐานลักทรัพย์นายจ้างตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (11) ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้างและการลักทรัพย์: การจ้างวานตักน้ำไม่ถือเป็นความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้างตามมาตรา 294
จำเลยเป็นลูกจ้างตักน้ำคิดค่าจ้างเป็นรายราย จำเลยอาจจะตักก็ได้ไม่ตักก็ได้ ไม่มีความสัมพันธ์ที่จะบังคับหรือว่ากล่าวกันในฐานะนายจ้างลูกจ้างได้เช่นนี้ แม้จำเลยจะได้ลักทรัพย์ของผู้จ้างไปในขณะตักน้ำให้ก็ไม่เป็นผิดตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 294 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง: การจ้างวานตักน้ำไม่มีสภาพบังคับบัญชา ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
จำเลยเป็นลูกจ้างตักน้ำคิดค่าจ้างเป็นรายหาบจำเลยอาจจะตักก็ได้ไม่ตักก็ได้ไม่มีความสัมพันธ์ที่จะบังคับหรือว่ากล่าวกันในฐานะนายจ้างลูกจ้างได้เช่นนี้แม้จำเลยจะได้ลักทรัพย์ของผู้จ้างไปในขณะตักน้ำให้ก็ไม่เป็นผิดตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 294(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7366/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม ต้องพิจารณาความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างตามความเป็นจริง มิใช่เพียงรูปแบบภายนอก
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ลักษณะ 2 หมวด 1 บัญญัติให้เรื่องการเป็นผู้ประกันตนที่เป็นปัญหาพิพาทในคดีนี้อยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของสำนักงานประกันสังคมจำเลย และยังให้สิทธิโจทก์ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ประกันตนต่อจำเลยตามมาตรา 33 ว่าหากโจทก์ไม่พอใจคำสั่งของเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมหรือของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมที่สั่งการตามกฎหมายฉบับนี้ ให้โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่งตามมาตรา 85 คณะกรรมการอุทธรณ์ที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา 86 ก็เป็นคณะกรรมการของจำเลยโดยผู้แทนสำนักงานประกันสังคมเป็นกรรมการและเลขานุการเพื่อต้องการให้คณะกรรมการอุทธรณ์ได้ตรวจสอบคำสั่งของเลขาธิการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมอีกชั้นหนึ่ง ดังนั้นคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์จึงเป็นคำสั่งในหน่วยงานของจำเลย นอกจากนี้มาตรา 87 วรรคท้าย ยังได้บัญญัติรับรองสิทธิของโจทก์ไว้อีกว่า คำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์นั้น ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่พอใจให้มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย ดังนี้ เมื่อจำเลยแจ้งยกเลิกการเป็นผู้ประกันตนของโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ และคณะกรรมการอุทธรณ์ของจำเลยมีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์ของโจทก์ การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
โจทก์มีอิสระในการทำงาน ไม่ต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชา และไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับในการทำงานของบริษัท ต. ไม่ต้องลงเวลาทำงาน สามารถตัดสินใจในกิจการของบริษัทได้โดยลำพังไม่ต้องปรึกษาผู้ใด โดยโจทก์มีหน้าที่ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าของบริษัท ต. โจทก์จะทำงานอย่างไรก็ได้ ไม่ว่าจะมีผลงานหรือไม่มีผลงาน ก็ไม่มีการให้คุณให้โทษแก่โจทก์ อันแสดงให้เห็นว่าการทำงานของโจทก์มิได้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของบริษัท ต. ดังนั้น นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับบริษัท ต. จึงมิได้อยู่ในฐานะเป็นนายจ้างและลูกจ้างกัน อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเข้าเป็นผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 33 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1984/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง: การจ่ายเงินผ่านโจทก์ไม่ใช่ค่าจ้าง หากไม่มีอำนาจสั่งการ ไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ประกันสังคม
ลักษณะงานของโจทก์ที่เกี่ยวกับแพทย์และพยาบาลที่โจทก์จัดหาเข้าไปดูแลยังสถานประกอบกิจการนั้น โจทก์ไม่มีอำนาจสั่งการเกี่ยวกับการทำงานของแพทย์และพยาบาล แพทย์และพยาบาลจะไปหรือไม่ก็ได้ ไม่มีระเบียบเกี่ยวกับการลา เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่แพทย์และพยาบาลนั้นสถานประกอบการเป็นผู้จ่ายโดยจ่ายผ่านโจทก์ซึ่งจะหักเป็นค่าติดต่อแล้วจึงจ่ายส่วนที่เหลือให้แก่แพทย์และพยาบาล เงินดังกล่าวไม่ใช่ค่าจ้างที่โจทก์จ่ายให้ นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับแพทย์และพยาบาลจึงไม่มีลักษณะเป็นนายจ้างลูกจ้างตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 5