พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตรวจรักษาแพทย์อิสระมิใช่ค่าจ้างตามพรบ.ประกันสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างโรงพยาบาลและแพทย์จึงไม่เป็นนายจ้าง-ลูกจ้าง
เงินค่าตรวจรักษาที่โจทก์จ่ายให้แก่แพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์มีลักษณะเป็นเงินที่ผู้เข้ารับการรักษาจ่ายให้แก่แพทย์ที่ตรวจรักษา โดยแพทย์ใช้สถานที่ของสถานพยาบาลของโจทก์ โดยไม่มีวันและเวลาทำงานปกติ และโจทก์รับเงินดังกล่าวไว้แทนแล้วจ่ายคืนให้แก่แพทย์ที่ตรวจรักษาในภายหลังโดยหักเงินไว้ส่วนหนึ่งตามสัญญาการให้ใช้สถานที่ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมอิสระ จึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานหรือผลงานที่ลูกจ้างได้ทำสำหรับระยะเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างมิได้ทำงาน เงินค่าตรวจรักษาจึงมิใช่ค่าจ้างที่โจทก์จะต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มและเมื่อเงินค่าตรวจรักษามิใช่ค่าจ้างแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับแพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์ในส่วนของเงินค่าตรวจรักษาจึงมิใช่ผู้ที่รับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างและมิใช่ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ถือหุ้น/กรรมการกับบริษัทจำกัด ไม่เป็นนายจ้าง-ลูกจ้าง จึงไม่อาจฟ้องเรียกค่าจ้างได้
ลักษณะการทำงานของโจทก์ไม่มีรูปแบบแผนที่แน่นอน ไม่เคร่งครัดเรื่องเวลาทำงาน ผิดไปจากลักษณะการทำงานของพนักงานอื่นในหน่วยงานของจำเลย การทำงานของโจทก์มีลักษณะเป็นการช่วยเหลือตามคำขอของ ส. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลย มิใช่เป็นการทำงานตามคำสั่งของจำเลย ขณะที่โจทก์ทำงานให้จำเลย จำเลยไม่มีอำนาจบังคับบัญชาโจทก์ แต่มีลักษณะว่าโจทก์มีอำนาจบริหารกิจการจำเลยทุกอย่างแล้วแต่โจทก์จะเห็นสมควรเอง แม้จะมีการจ่ายค่าตอบแทนให้โจทก์กับมีหนังสือของ ส. ขอให้โจทก์เข้ามาทำงานให้ก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวก็มิใช่นายจ้างและลูกจ้างกัน เมื่อโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างจำเลย โจทก์จึงไม่อาจฟ้องเรียกค่าจ้างพร้อมดอกเบี้ยจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันสิ้นผลเมื่อมีการจำนองประกันแทน และอายุความฟ้องละเมิดระหว่างนายจ้าง-ลูกจ้างใช้ อายุความ 10 ปี
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายแล้วว่า ส.ลูกจ้างโจทก์ปล่อยปละละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่อย่างไร ผิดข้อบังคับอย่างไร และจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างไร ซึ่งเป็นเหตุให้สินค้าของโจทก์ขาดหรือสูญหายไป ซึ่งจำเลยผู้ค้ำประกันการทำงานของ ส.ต้องรับผิดดังนี้ ฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งข้อหาแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้อง ส.กับพวกในคดีของศาลแรงงานกลาง โดยบรรยายฟ้องว่าส. กับพวกเป็นลูกจ้างของโจทก์ตำแหน่งผู้จัดการ มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการกิจการและดำเนินงานของโจทก์ ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับและคำสั่งของโจทก์ ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย กล่าวคือมีหน้าที่เก็บรักษาตรวจสอบ จัดทำทะเบียนคุมสินค้าและวัสดุของโจทก์ตามระเบียบข้อบังคับ แต่หาได้ปฏิบัติเช่นนั้นไม่ เป็นเหตุให้สินค้าและวัสดุของโจทก์ขาดหรือสูญหายไป นับว่าเป็นมูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานหาใช่เป็นมูลละเมิดอย่างเดียวไม่ แต่มีมูลเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานรวมอยู่ด้วย เมื่อสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป คือ อายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ประชุมมีมติให้ ส.ใช้บุคคลค้ำประกันเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะจัดหาที่ดินมาจำนองเป็นประกันแทน ต่อมา ส. ได้จัดหาที่ดินมาจำนองแล้วโดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้นำที่ดินมาจำนอง ดังนั้น สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ย่อมสิ้นความผูกพันนับแต่จำเลยที่ 2นำที่ดินมาจำนองจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัยเมื่อจำเลยที่ 2 ถูกจำหน่ายคดี และการพิสูจน์ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างเพื่อความรับผิดทางละเมิด
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีจำเลยที่2ผู้เอาประกันภัยคงมีผลเพียงว่าจำเลยที่2ไม่มีฐานะเป็นคู่ความในคดีและศาลไม่สามารถบังคับคดีแก่จำเลยที่2ได้แต่หาทำให้หนี้หรือความรับผิดของจำเลยที่2ระงับสิ้นไปไม่จำเลยที่3ผู้รับประกันภัยจึงยังอาจถูกพิพากษาให้รับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่ต้องรับผิดในหนี้ค่าจ้างจากความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง แม้จะเกี่ยวข้องจัดการงาน
คำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางที่วินิจฉัยว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ย่อมถึงที่สุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 9 วรรคสอง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด แม้จะสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ก็ไม่ต้องรับผิดในหนี้เกี่ยวกับการจ้างแรงงานของลูกจ้างห้างหุ้นส่วนเพราะหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่นายจ้างต้องรับผิดต่อลูกจ้าง หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดไม่มีความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้างจึงไม่ต้องรับผิด
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088 เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดทำผิดหน้าที่ ซึ่งต้องรับผิดในหนี้อันเกี่ยวกับกิจการที่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องต่อบุคคลภายนอก มิใช่ต้องรับผิดในหนี้อันเกิดจากความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้าง
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088 เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดทำผิดหน้าที่ ซึ่งต้องรับผิดในหนี้อันเกี่ยวกับกิจการที่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องต่อบุคคลภายนอก มิใช่ต้องรับผิดในหนี้อันเกิดจากความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2848/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์แบ่งรายได้ระหว่างคนขับแท็กซี่กับเจ้าของกิจการ ไม่เป็นนายจ้าง-ลูกจ้าง คดีไม่อยู่ในอำนาจศาลแรงงาน
จำเลยเป็นผู้ผูกขาดกิจการรถแท็กซี่ประจำโรงแรมมีบุคคลนำรถเข้ามาร่วมพร้อมทั้งพนักงานขับรถ ถ้าไม่มีพนักงานขับรถจำเลยจะจัดหาให้ พนักงานขับรถจะต้องจ่ายค่าจอดรถให้จำเลย และต้องจ่ายค่าน้ำมันเชื้อเพลิงค่าน้ำมันหล่อลื่น ค่าซ่อมและค่าบำรุงรักษารถคนละครึ่งกับจำเลยพนักงานขับรถมีรายได้จากผู้ใช้บริการรถที่ตนขับซึ่งจำเลยจะเป็นผู้เก็บรวบรวมไว้เมื่อหักค่าใช้จ่ายตามที่ตกลงกันแล้วจำเลยจึงจัดแบ่งให้ทุกต้นเดือนโดยจำเลยมีสิทธิได้รับ 70 เปอร์เซ็นต์ พนักงานขับรถมีสิทธิได้รับ30 เปอร์เซ็นต์ ดังนี้ เงินที่พนักงานขับรถมีสิทธิจะได้รับมิใช่เงินของจำเลยมีลักษณะต่างไปจากค่าจ้างซึ่งเป็นเงินของนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง และความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับพนักงานขับรถก็มิใช่ความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากรถลากจูงบรรทุกเสาเข็มโดยประมาท และความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง
รถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับมาในเวลากลางคืนลากจูงรถพ่วงบรรทุกเสาเข็มคอนกรีตยาวประมาณ 25 เมตรมาด้วย 2 ต้นไม่มีสัญญาณไฟตามแนวความยาวของเสาเข็ม เมื่อรถลากจูงเลี้ยวขวาจากถนนหนึ่งเข้าอีกถนนหนึ่งไปแล้ว ตัวรถพ่วงเสาเข็มยังทะแยงขวางถนนอยู่เป็นเหตุให้รถจี๊ปตรวจการณ์ปะทะกับส่วนกลางของเสาเข็มถูกลากติดไปกับส่วนหน้าของรถพ่วงและอัดติดอยู่ใต้เสาเข็มผู้ตายซึ่งนั่งมาในรถจี๊ปถึงแก่ความตายทันที ดังนี้เป็นความประมาทของจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 2 รับว่าจำเลยที่ 1 รับเหมาขนเสาเข็มโดยใช้รถของห้างจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนจำเลยที่ 2 ยังได้ไปตกลงเรื่องค่าเสียหายกับฝ่ายโจทก์ หุ้นส่วนคนหนึ่งของจำเลยที่ 2 เบิกความว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 เป็นคนขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 บรรทุกเสาเข็มไปส่งให้แก่ลูกค้าในวันเกิดเหตุเช่นนี้ ย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2
จำเลยที่ 2 รับว่าจำเลยที่ 1 รับเหมาขนเสาเข็มโดยใช้รถของห้างจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนจำเลยที่ 2 ยังได้ไปตกลงเรื่องค่าเสียหายกับฝ่ายโจทก์ หุ้นส่วนคนหนึ่งของจำเลยที่ 2 เบิกความว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 เป็นคนขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 บรรทุกเสาเข็มไปส่งให้แก่ลูกค้าในวันเกิดเหตุเช่นนี้ ย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5953/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าจ้างจากลูกจ้างเพื่อชดใช้ค่าเสียหาย ต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร และใช้บังคับเฉพาะเมื่อยังเป็นนายจ้าง-ลูกจ้าง
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 76 วรรคแรก และมาตรา 77 ให้นายจ้างจะหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดได้ก็เฉพาะกรณีเข้าข้อยกเว้นตามที่บัญญัติไว้เท่านั้น สำหรับกรณีหักเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้างซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงซึ่งเป็นไปตามข้อยกเว้น จะหักได้ก็ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากลูกจ้างโดยนายจ้างต้องจัดทำเป็นหนังสือและให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในการยินยอมหรือมีข้อตกลงกันไว้ให้ชัดเจนเป็นการเฉพาะอีกด้วย ดังนั้น การห้ามหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่คู่สัญญายังคงมีสภาพเป็นนายจ้างลูกจ้างกันอยู่เท่านั้น เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ไปก่อนแล้ว ทั้งมิได้ฟ้องแย้งขอหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด แต่ฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการทำงานซึ่งเกิดขึ้นก่อนที่จำเลยละเลิกจ้างโจทก์ ซึ่งเป็นคนละกรณีกัน จึงนำบทบัญญัติดังกล่าวมาปรับใช้อ้างเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5953/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าจ้างจากลูกจ้างเพื่อชดใช้ค่าเสียหาย ต้องมีหลักฐานความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร และใช้ได้เฉพาะช่วงที่ยังมีสถานะนายจ้าง-ลูกจ้าง
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 วรรคแรกบัญญัติว่า "ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่างานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ...(4) เป็นเงินประกันตามมาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง (5)..." และมาตรา 77 บัญญัติว่า "ในกรณีที่นายจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือมีข้อตกลงกับลูกจ้างเกี่ยวกับการจ่ายเงินตามมาตรา 54 มาตรา 55 หรือการหักเงินตามมาตรา 76 นายจ้างต้องจัดทำเป็นหนังสือและให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในการให้ความยินยอมหรือมีข้อตกลงกันไว้ให้ชัดเจนเป็นการเฉพาะ" จากบทบัญญัติดังกล่าวทำให้เห็นเจตนารมณ์ได้ว่า การห้ามนายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดก็เพื่อคุ้มครองลูกจ้างไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนเพราะถูกหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด อันจะทำให้รายได้จากการทำงานลดลง และลูกจ้างอาจหมดกำลังใจในการทำงานที่ไม่ได้รับเงินเต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยนายจ้างจะหักได้ก็เฉพาะกรณีเข้าข้อยกเว้นตามที่บัญญัติไว้เท่านั้น และสำหรับกรณีหักเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้างซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงซึ่งเป็นไปตามข้อยกเว้น จะหักได้ก็ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากลูกจ้างโดยนายจ้างต้องจัดทำเป็นหนังสือและให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในการยินยอมหรือมีข้อตกลงกันไว้ให้ชัดเจนเป็นการเฉพาะอีกด้วย เมื่อพิเคราะห์เจตนารมณ์ของการห้ามหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดดังกล่าว ประกอบกับข้อที่ว่านายจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างด้วยแล้ว ทำให้เข้าใจได้ว่า การห้ามหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่คู่สัญญายังคงมีสภาพเป็นนายจ้างลูกจ้างกันอยู่เท่านั้น คดีนี้ในขณะที่จำเลยฟ้องแย้ง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไปก่อนแล้ว ทั้งจำเลยมิได้ฟ้องแย้งขอหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด แต่ฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการทำงานซึ่งเกิดขึ้นก่อนที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ ซึ่งเป็นคนละกรณีกัน จึงนำบทบัญญัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 และมาตรา 77 มาปรับใช้อ้างเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยไม่ได้ แต่ศาลแรงงานกลางมิได้ฟังข้อเท็จจริงมาให้ชัดเจนว่าน้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำอัดลมบรรจุขวดที่บริษัท ท. และบริษัท น. ส่งมอบให้จำเลยแล้วมีมูลค่าเท่าใด ยังค้างชำระอยู่อีกเท่าใด ซึ่งศาลฎีกาไม่มีอำนาจกระทำได้ จึงต้องส่งสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาต่อไป