คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นิติกรรมสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3775/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขีดฆ่าอากรแสตมป์หลังพิจารณาคดี, ผลของการจำนองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา, และการแยกแยะนิติกรรมสัญญา
โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขออนุญาตทำการขีดฆ่าอากรแสตมป์ในหนังสือสัญญากู้หรือขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ขีดฆ่าอากรแสตมป์ก่อนหรือในขณะที่ได้นำเอกสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งหรือก่อนที่ศาลชั้นต้นจะตัดสินชี้ขาดคดี การที่โจทก์เพิ่งมายื่นคำร้องหลังจากที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีแล้ว โดยศาลอุทธรณ์ปฏิเสธที่จะรับฟังหนังสือสัญญากู้ดังกล่าว ย่อมล่วงเลยเวลาที่จะอนุญาตให้ทำการแก้ไข จึงมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ในหนังสือสัญญากู้
การที่จำเลยทำสัญญาจำนองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา คงมีผลเพียงว่า ภริยาจำเลยอาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 แต่ตราบใดสัญญาจำนองยังไม่ถูกศาลเพิกถอน ย่อมยังคงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
สัญญากู้เงินและสัญญาจำนอง เป็นนิติกรรมคนละประเภทที่สามารถแยกออกจากกันได้ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงิน เมื่อสัญญากู้เงินไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐาน ย่อมไม่อาจนำเอาอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในสัญญาจำนองมาบังคับการกู้เงินรายนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากการลงชื่อในใบมอบอำนาจที่ยังมิได้กรอกข้อความ ทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อและเกิดนิติกรรมสัญญา
จำเลยลงชื่อในใบมอบอำนาจมอบให้ ล. ไปดำเนินการแบ่งแยกที่พิพาทโดยมิได้กรอกข้อความ แม้ ล. ได้กรอกข้อความใบมอบอำนาจนั้นขายฝากที่พิพาทไว้กับโจทก์ซึ่งรับซื้อฝากโดยสุจริตการที่จำเลยลงชื่อในใบมอบอำนาจโดยมิได้กรอกข้อความนั้นถือว่าเป็นการกระทำที่ทำให้บุคคลภายนอกหลงเชื่อจำเลยจำต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับซื้อฝากโดยสุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821,822

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมสัญญาเช่าที่ดินโดยผู้ไม่มีอำนาจ ผลผูกพันต่อวัดและผลของการจดทะเบียน
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายว่า พระภิกษุมงคลผู้รักษาแทนเจ้าอาวาสวัดน้อยนอกโจทก์ ได้เอาที่ดินวัดและที่ธรณีสงฆ์วัดน้อยนอกไปให้จำเลยเช่าแล้วมาทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลย ที่ศาลในระหว่างพิจารณาคดีแพ่งแดงที่ 95/2510 แต่พระภิกษุมงคลไม่มีอำนาจทำสัญญายอมได้ เพราะทางการถอดถอนจากผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวันน้อยนอกเสียแล้ว และทั้ง ๆ ที่พระภิกษุมงคลได้ทราบถึงการที่ตนถูกถอดถอนไม่ให้มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ยังได้บังอาจไปจดทะเบียนการเช่าที่พิพาทให้กับจำเลย ณ หอทะเบียนที่ดินอีกด้วย จำเลยก็รู้ดีถึงการที่พระภิกษุมงคลไม่มีอำนาจ โจทก์จึงถือว่านิติกรรมดังกล่าวไม่ผูกผันโจทก์ แต่เนื่องจากจำเลยก็ยังโต้เถียงอยู่ว่า พระภิกษุมงคลได้กระทำไปโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลผูกพันวัดโจทก์อยู่ จึงชอบที่ศาลจะให้โจทก์จำเลยนำพยานหลักฐานมาสืบต่อไปจนสิ้นกระแสความ แล้วพิพากษาไปตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1769/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินมือเปล่า สละเจตนาครอบครอง และการบังคับให้ทำนิติกรรมสัญญาซื้อขาย
จำเลยขายที่ดินมือเปล่า ไม่มีโฉนดหรือหนังสือสำคัญสำหรับที่ให้ภริยาโจทก์ได้รับชำระราคาแล้วและได้อพยพไปอยู่ที่อื่นให้โจทก์เข้าครอบครองเป็นเจ้าของ แสดงว่าจำเลยได้สละเจตนาครอบครองไม่ยึดถือที่ดินนั้นต่อไป
แม้เป็นการซื้อขายที่ดินมือเปล่า และจำเลยสละเจตนาครอบครองแล้ว แต่เมื่อมีข้อตกลงกันว่าจำเลยจะไปทำนิติกรรมสัญญาซื้อขายโอนที่ดินให้ภริยาโจทก์ที่อำเภอ และจำเลยได้ไปยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมและการสอบสวนสิทธิในที่ดินประเภทขายเพื่อจะโอนให้ภริยาโจทก์แล้ว แต่จำเลยไม่ไปจัดการจดทะเบียนโอนที่ดินตามข้อตกลง โจทก์ย่อมฟ้องขอให้บังคับจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1769/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินมือเปล่า สละเจตนาครอบครอง และการบังคับให้ทำนิติกรรมสัญญา
จำเลยขายที่ดินมือเปล่า ไม่มีโฉนดหรือหนังสือสำคัญสำหรับที่ให้ภริยาโจทก์ได้รับชำระราคาแล้วและได้อพยพไปอยู่ที่อื่นให้โจทก์เข้าครอบครองเป็นเจ้าของ แสดงว่าจำเลยได้สละเจตนาครอบครองไม่ยึดถือที่ดินนั้นต่อไป
แม้เป็นการซื้อขายที่ดินมือเปล่า และจำเลยสละเจตนาครอบครองแล้ว แต่เมื่อมีข้อตกลงกันว่าจำเลยจะไปทำนิติกรรมสัญญาซื้อขาย โอนที่ดินให้ภริยาโจทก์ที่อำเภอ และจำเลยได้ไปยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมและการสอบสวนสิทธิในที่ดินประเภทขายเพื่อจะโอนให้ภริยาโจทก์แล้ว แต่จำเลยไม่ไปจัดการจดทะเบียนโอนที่ดินตามข้อตกลง โจทก์ย่อมฟ้องขอให้บังคับจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2638/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิติดตามและเอาคืนทรัพย์สิน (ป.พ.พ. ม.1336) ไม่ขาดอายุความ แม้มีนิติกรรมสัญญา
โจทก์ขอให้บังคับจำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทเนื้อที่ 113 ตารางวา เนื่องจากโจทก์ไม่ได้ขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านที่โจทก์อยู่อาศัยให้แก่จำเลย และจำเลยก็ทราบเงื่อนไขเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวเป็นอย่างดี จำเลยจึงทำหนังสือรับรองว่าจะแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เท่ากับจำเลยยอมรับว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทด้วย จำเลยจึงไม่อาจถือเอากรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทได้ โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ มิใช่เป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและหนังสือรับรองที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ จึงนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ลักษณะ 6 หมวด 2 ว่าด้วยอายุความ มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์ไม่ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย และมีคำขอบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ อันเป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่แท้จริงติดตามและเอาคืนจากจำเลยและผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ หาใช่บังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและหนังสือรับรองที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์เพื่อใช้สิทธิติดตามเอาคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 แล้ว ไม่นอกฟ้องนอกประเด็นแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15028/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างนิติกรรมให้ทรัพย์สินระหว่างสมรส: สิทธิเรียกคืนทรัพย์สิน
โจทก์ยกบ้านพิพาทให้จำเลยในระหว่างสมรส เป็นนิติกรรมสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินที่โจทก์จำเลยทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากัน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 บัญญัติให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ ตามทางนำสืบโจทก์ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าโจทก์บอกล้างการให้เมื่อใด แต่เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องหย่าและขอให้เพิกถอนการให้บ้านพิพาท ให้จำเลยคืนบ้านพิพาทแก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาบอกล้างในขณะที่ยังเป็นสามีภริยากันอยู่ สัญญาจึงไม่มีผลบังคับอีกต่อไป โจทก์มีสิทธิเรียกคืนบ้านพิพาทจากจำเลยได้โดยไม่จำต้องคำนึงว่าข้อเท็จจริงจะฟังได้หรือไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณโจทก์