พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4944/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์สัญญาณโทรศัพท์: ศาลวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงและนิยามจากแหล่งอ้างอิงที่วิญญูชนทั่วไปทราบได้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์แล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยใช้โทรศัพท์ซึ่งมีสายไฟสองสายต่อพ่วงเข้ากับโทรศัพท์ในตู้โทรศัพท์สาธารณะของผู้เสียหายแล้วโทรศัพท์ออกไป หลังจากนั้นศาลจึงนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยความหมายของคำว่า "โทรศัพท์" ตามที่สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม 7 ให้ความหมายไว้ว่า โทรศัพท์เป็นวิธีแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วส่งกระแสไฟฟ้านั้นไปในลวดไปเข้าเครื่องรับปลายทาง ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนกระแสไฟฟ้าให้กลับเป็นเสียงพูดอีกครั้งหนึ่ง สัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งแล้ววินิจฉัยว่าการที่จำเลยลอบใช้สัญญาณโทรศัพท์ของผู้เสียหายเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ การวินิจฉัยของศาลจึงเป็นการสืบค้นจากหนังสืออ้างอิงที่วิญญูชนทั่วไปก็สามารถทราบได้เมื่อเปิดดูจากหนังสือดังกล่าว โดยอาศัยข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปที่ศาลสามารถวินิจฉัยได้เอง กรณีมิใช่เป็นการรับฟังและวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5026/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: นิยามทรัพย์สินใช้สิ้นเปลืองตาม ป.พ.พ. และข้อตกลงสภาพการจ้าง
จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ใช้ตำแหน่งหน้าที่พิจารณาอนุมัติการยืมทรัพย์สินที่ไม่สามารถยืมได้ เพราะเป็นทรัพย์สินประเภทยืมใช้สิ้นเปลืองออกนอกบริเวณโรงงาน แต่จำเลยไม่ได้นำระเบียบข้อบังคับมาแสดง ทั้งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างของจำเลยก็มิได้ระบุนิยามคำว่า ทรัพย์สินประเภทใช้สิ้นเปลืองไว้ จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 650 ซึ่งหมายถึงทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไป แต่ทรัพย์สินที่โจทก์อนุมัติให้ พ. ยืม คือ สายไฟฟ้า ท่อหุ้มสายไฟฟ้า ปลั๊กไฟฟ้าตัวผู้ ปลั๊กไฟฟ้าตัวเมีย เบ้าปลั๊กไฟฟ้า ไม่ใช่ทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไป จึงไม่ใช่ทรัพย์สินประเภทยืมใช้สิ้นเปลือง การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย การเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าโทรศัพท์ ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4068/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินในคดียาเสพติด: ต้องเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามนิยามกฎหมาย
ตามพ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ. 2534 มาตรา 3 ให้บทนิยามคำว่า "ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด" หมายความว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดและให้หมายความรวมถึง การสมคบ สนับสนุน ช่วยเหลือ หรือพยายามกระทำความผิดดังกล่าวด้วย และมาตรา 30 วรรคหนึ่ง แห่งพ.ร.บ. ข้างต้นบัญญัติว่า "บรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ เครื่องจักรกลหรือทรัพย์สินอื่นใดที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่" การที่ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ภาค 3 ว่า จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองและเสพเมทแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายจึงมิได้อยู่ในความหมายของคำว่า "ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด" ตามมาตรา 3 แห่งพ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 ในอันที่จะขอให้ริบรถยนต์กระบะของกลาง ตามมาตรา 30 แห่งพ.ร.บ. ข้างต้นได้ ดังนั้น ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ริบรถยนต์กระบะของกลางได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8012/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิยามคำว่า 'ขาย' ใน พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ การมีไว้เพื่อขายถือเป็นความผิดฐานขายแล้ว
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ มาตรา 4นิยามคำว่า "ขาย" ให้หมายความรวมถึง จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยนส่งมอบ หรือมีไว้เพื่อขาย ดังนี้ เมื่อจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อขายและพยายามขายเมทแอมเฟตามีนของกลางในวันเวลาเดียวกันและต่อเนื่องกัน การกระทำดังกล่าวจึงเป็นความผิดกรรมเดียวฐานขายเมทแอมเฟตามีนตามคำนิยามของบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวแล้วเท่านั้น เพราะการมีไว้เพื่อขายก็เป็นการขายแล้ว มิใช่มีความผิดฐานพยายามขายเมทแอมเฟตามีนของกลางอีก ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4445/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รถเข็นไม่ใช่ 'รถ' ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ไม่เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 78, 160
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 4(15) บัญญัตินิยามคำว่า "รถ" ไว้ว่า ยานพาหนะทางบกทุกชนิด เว้นแต่รถไฟและรถรางทั้งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2525 กำหนดความหมายของคำว่า "ยาน" คือ เครื่องนำไปพาหนะต่าง ๆ เช่น รถ เกวียน เรือ คำว่า "พาหนะ" คือ เครื่องนำไปเครื่องขับขี่ ยานต่าง ๆ มีรถและเรือเป็นต้น เรียกว่ายานพาหนะกับกำหนดความหมายของคำว่า "ขับ" คือ บังคับให้เคลื่อนไป เช่นขับรถ ขับเรือ ดังนี้ "รถเข็น" ของจำเลยเป็นเพียงวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพขายโรตี มิใช่ใช้ด้วยเจตนามุ่งประสงค์ในอันที่จะขนเคลื่อนบุคคลหรือทรัพย์สินใดจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่งในลักษณะของยานพาหนะ จึงมิใช่ "รถ"ตามความหมายที่บัญญัตินิยามไว้ดังกล่าว และย่อมไม่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 78
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4445/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รถเข็นไม่จัดเป็น 'รถ' ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ไม่ต้องอยู่ในบังคับมาตรา 78
พระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 4(15) บัญญัตินิยามคำว่า"รถ" ไว้ว่ายานพาหนะทางบกทุกชนิด เว้นแต่รถไฟและรถราง กับตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 กำหนดความหมายของคำว่า "ยาน" และ "พาหนะ" ไว้ โดยคำว่า "ยาน" คือ เครื่องนำไป พาหนะต่าง ๆ เช่น รถ เกวียน เรือ คำว่า "พาหนะ" คือ เครื่องนำไป เครื่องขับขี่ ยานต่าง ๆ มีรถและเรือ เป็นต้น เรียกว่า ยานพาหนะ กับกำหนดความหมายของคำว่า"ขับ" คือบังคับให้เคลื่อนไป เช่น ขับรถ ขับเรือ เป็นต้น
จำเลยเข็นรถขายโรตีไปตามไหล่ทางถนนสายจอมทอง - เชียงใหม่ และถูกรถจักรยานยนต์ที่ ส. ขับตามหลังมาเฉี่ยวชนเป็นเหตุให้จำเลยได้รับอันตรายแก่กายและ ส. ถึงแก่ความตาย จากนั้นจำเลยหลบหนีไปไม่ช่วยเหลือ ดังนี้ เมื่อรถเข็นของจำเลยเป็นเพียงวัสดุอุปกรณ์และเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพขายโรตี มิใช่ด้วยเจตนามุ่งประสงค์ในอันที่จะขนเคลื่อนบุคคลหรือทรัพย์สินใดจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่งในลักษณะของยานพาหนะ จึงมิใช่ "รถ" ตามความหมายที่บทบัญญัตินิยามไว้ดังกล่าวและย่อมไม่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 78
จำเลยเข็นรถขายโรตีไปตามไหล่ทางถนนสายจอมทอง - เชียงใหม่ และถูกรถจักรยานยนต์ที่ ส. ขับตามหลังมาเฉี่ยวชนเป็นเหตุให้จำเลยได้รับอันตรายแก่กายและ ส. ถึงแก่ความตาย จากนั้นจำเลยหลบหนีไปไม่ช่วยเหลือ ดังนี้ เมื่อรถเข็นของจำเลยเป็นเพียงวัสดุอุปกรณ์และเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพขายโรตี มิใช่ด้วยเจตนามุ่งประสงค์ในอันที่จะขนเคลื่อนบุคคลหรือทรัพย์สินใดจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่งในลักษณะของยานพาหนะ จึงมิใช่ "รถ" ตามความหมายที่บทบัญญัตินิยามไว้ดังกล่าวและย่อมไม่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 78
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิยาม 'โรงงาน' ตาม พ.ร.บ.โรงงานฯ กว้างถึงสถานที่ติดตั้งเครื่องจักร แม้ไม่มีอาคารถาวร
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358,360 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยทั้งเก้า ความผิดตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง สำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ยืนตามศาลชั้นต้น และความผิดฐานเป็น ตัวการ ในการทำเหมืองแร่ โดยไม่ได้รับประทานบัตรตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 8 ที่ 9 ยืน ตามศาลชั้นต้น ความผิดตามข้อหาของจำเลยแต่ละคนข้างต้นดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 คำว่า อาการสถานที่ ตามคำนิยามของคำว่าโรงงานในพระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ.2512 หมายความรวมไปถึงสถานที่ที่ตั้งเครื่องจักร เพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บทกฎหมายดังกล่าวกำหนดไว้ โดย ไม่จำเป็นต้องมีตัวอาคารที่ถาวร ดังนั้น การที่จำเลยที่ 8 ที่ 9สั่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นลูกจ้างกางเต็นท์ ตั้งเครื่องจักร 2 เครื่องมีกำลัง 3 แรงม้า และ 8 แรงม้าเจาะพื้นดินสูบน้ำนำแร่ เกลือ หิน ขึ้นมาจากใต้ดินเพื่อทำเป็นเกลือสินเธาว์ อันเป็นการแปรสภาพ หรือทำลายสิ่งใด ๆ โดยใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมกันตั้งแต่ 2 แรงม้า ขึ้น ไปถือได้ว่าเป็นการตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงาน เมื่อ ไม่ได้ รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจึงมีความผิดตามมาตรา 5,8,12,43 วรรคหนึ่ง,44 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2401/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิยาม 'พืชไร่' ใน พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ องุ่นไม่ใช่พืชไร่ จึงไม่ได้รับความคุ้มครอง
องุ่น เป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก และไม่ใช่พืชที่มีอายุสั้น แม้จะเก็บเกี่ยวครั้งแรกได้ ภายใน 12 เดือน ก็ไม่เป็นพืชไร่ ที่ดินซึ่งปลูกองุ่น จึงไม่เป็นที่นาอันจะได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติการเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2401/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนิยาม 'พืชไร่' ตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม องุ่นไม่ใช่พืชไร่ จึงไม่ได้รับความคุ้มครอง
องุ่น เป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก และไม่ใช่พืชที่มีอายุสั้น แม้จะเก็บเกี่ยวครั้งแรกได้ ภายใน 12 เดือน ก็ไม่เป็นพืชไร่ ที่ดินซึ่งปลูกองุ่น จึงไม่เป็นที่นาอันจะได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติการเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างถังเก็บก๊าซเข้าข่ายเป็นอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร แม้ไม่มีนิยามในกฎหมาย
ถังเหล็กพร้อมฐานคอนกรีตรองรับสร้างขึ้นเพื่อใช้บรรจุก๊าซแสดงว่าเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับเข้าใช้สอย.ต้องถือว่าสิ่งก่อสร้างดังกล่าวเป็นอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯมาตรา4. จำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนและไม่ปรากฏว่าถังเหล็กพร้อมฐานคอนกรีตรองรับเพื่อใช้บรรจุก๊าซที่จำเลยสร้างขึ้นมีลักษณะน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นจึงสมควรรอการลงโทษจำคุกจำเลย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)