คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บริบท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2867/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่น: การตีความถ้อยคำ 'ขี้ข้า' บริบทการใช้งานและเจตนาของผู้กล่าว
คำว่า "ดูหมิ่น" ตาม ป.อ. มาตรา 393 ไม่ได้นิยามศัพท์ไว้ว่ามีความหมายว่าอย่างไร แต่ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า หมายถึง ดูถูกเหยียดหยามทำให้อับอายเป็นที่เกลียดชังของประชาชน โดยถ้อยคำที่กล่าวจะต้องเป็นการเหยียดหยามผู้อื่น หาใช่ตัวผู้กล่าวเองไม่ คำว่า "ประธานใช้ครูอย่างขี้ข้า" นั้น จำเลยมิได้เหยียดหยามตัวผู้เสียหายว่ามีสถานภาพอย่างขี้ข้าหรือผู้รับใช้ แต่เป็นการพูดถึงสถานภาพของครูในโรงเรียนรวมทั้งจำเลยว่าเป็นผู้รับใช้ของผู้เสียหาย เมื่อคำว่า "ขี้ข้า" ในที่นี้จำเลยหมายถึงตัวจำเลยเองและครูในโรงเรียนที่ถูกผู้เสียหายใช้งาน มิใช่หมายถึงตัวผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ใช้งาน ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวจึงมิใช่เป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายซึ่งหน้าตามความหมายใน ป.อ. มาตรา 393

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2777/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาท: พิจารณาจากความรู้สึกของวิญญูชนทั่วไปและบริบทสถานการณ์
ข้อความที่จำเลยกล่าวจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงความรู้สึกของวิญญูชนทั่ว ๆ ไปเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าข้อความที่กล่าวนั้นถึงขั้นที่ทำให้ผู้ถูกหมิ่นประมาทน่าจะเสียชื่อเสียง บุคคลอื่นดูหมิ่น เกลียดชังหรือไม่ มิใช่พิจารณาตามความรู้สึกของผู้ถูกหมิ่นประมาทแต่ฝ่ายเดียว โดยเฉพาะกรณีที่เหตุเกิดขึ้นในห้องพิจารณาคดีของศาล ขณะที่ผู้พิพากษารออ่านรายงานกระบวนพิจารณาซึ่งจำเลยอยู่ในภาวะถูกกดดันเป็นอย่างมาก การที่จำเลยกล่าวข้อความว่า "ทนายความคนนี้ใช้ไม่ได้ ทั้งประเทศไทยมีทนายความแบบนี้อยู่คนเดียว ชอบหาเรื่องกลั่นแกล้งจำเลย ประเทศชาติอยู่ไม่ได้แน่ ถ้ายังมีทนายความประเภทนี้ อย่าปล่อยให้คนชั่วลอยนวล" และเมื่อ ผู้พิพากษาตักเตือน จำเลยยังกล่าวต่ออีกว่า "ท่านครับอย่าปล่อยให้คนชั่วลอยนวล" เป็นการระบายความรู้สึกของจำเลยที่มีต่อโจทก์และเป็นการวิจารณ์การทำงานในหน้าที่ทนายความของโจทก์ ซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามกับจำเลยในความรู้สึกว่าจำเลยถูกกลั่นแกล้ง หาใช่เป็นการใส่ความให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชังไม่ จึงไม่เป็นหมิ่นประมาท
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง แม้ศาลจะพิจารณาเพียงว่าคดีโจทก์พอมีมูลที่จะประทับฟ้องไว้หรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ศาลก็ชอบที่จะวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องไปได้เลย ไม่จำเป็นต้องประทับฟ้องไว้แล้วพิจารณายกฟ้องในภายหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาททางวาจา: การพิจารณาเจตนาและความหมายของคำพูดตามบริบท
ข้อความที่จำเลยกล่าวว่า"สำหรับอ.นั้นขอให้พิจารณาเป็นพิเศษด้วยเดินหากินจุ้นจ้านที่ศาลเพราะสำนักงานร้างไปแล้ว"คำว่า"จุ้นจ้าน"เป็นคำกริยาตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525มีความหมาย2นัยนัยแรกคือเข้าไปยุ่งเกี่ยวในสถานที่หรือนัยที่สองเข้าไปยุ่งเกี่ยวในเรื่องที่ไม่ใช่หน้าที่ของตัวจนน่าเกลียดเมื่อพิจารณาทั้งประโยคที่ว่า"เดินหากินจุ้นจ้านที่ศาล"จึงน่าจะมีความตามความนัยแรกคือโจทก์เข้าไปเดินหากินยุ่งเกี่ยวในศาลในลักษณะพลุกพล่านยุ่มย่ามจนน่าเกลียดเพราะสำนักงานร้างไปแล้วเมื่อได้ความว่าจำเลยได้ติดต่อให้โจทก์เป็นทนายความที่ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชและจำเลยเอาเงินค่าจ้างว่าความส่วนหนึ่งไปให้โจทก์ที่บ้านโดยไม่ได้ความชัดว่าโจทก์มีสำนักงานทนายความแยกจากบ้านที่พักอาศัยหรือไม่ส่วนจำเลยไม่เคยติดต่อโจทก์ที่สำนักงานทนายความของโจทก์ดังนั้นการที่จำเลยกล่าวว่าโจทก์ไปเดินหากินจุ้นจ้านที่ศาลเพราะสำนักงานร้างไปแล้วจึงเป็นการกล่าวไปตามความเข้าใจของจำเลยว่าโจทก์ไม่มีสำนักงานเป็นหลักแหล่งต้องใช้ศาลเป็นที่ทำมาหากินมิได้มีความหมายไปในทางที่ว่าโจทก์เป็นทนายความที่ไม่ซื่อสัตย์สุจริตหรืออาศัยวิชาชีพหลอกลวงฉ้อโกงจำเลยหรือประชาชนจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาใส่ความโจทก์ให้เสียหายหรือถูกดูหมิ่นเกลียดชังคำกล่าวดังกล่าวจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเท็จฐานหมิ่นประมาท ต้องมีเจตนาและข้อความเป็นเท็จ โดยพิจารณาจากบริบทของเอกสารและพฤติการณ์
การกระทำที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 175นอกจากจะต้องเอาข้อความเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญาแล้ว ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาตาม ป.อ.มาตรา 59 ด้วย เมื่อปรากฏว่าหนังสือตามเอกสารหมาย ล.1 ที่โจทก์ทำและนำไปปิดประกาศที่หน้าบ้านโจทก์ซึ่งบุคคลอื่นที่ผ่านไปมาสามารถพบเห็นได้โดยง่ายมีข้อความว่า ป.ผู้เช่าบ้านของ ก.ภริยาโจทก์ซึ่งถูกฟ้องขับไล่ทนต่อความละอายไม่ได้ ได้ออกจากบ้านเช่าไปอยู่ที่อื่นแล้ว แต่จำเลยกับมารดาและน้อง ๆ ของจำเลยบริวารของ ป.ยังคงอาศัยอยู่ในบ้านเช่าตามลำพังโดยไม่จ่ายค่าเช่า และจำเลยได้นำป้ายชื่อและอาชีพของตนไปติดไว้ที่ฝาบ้านโดยเปิดเผยแสดงเจตนาครอบครองบ้านเช่าเช่นนี้ ย่อมมีเหตุผลให้จำเลยเชื่อว่าโจทก์ใส่ความจำเลยต่อบุคคลที่สามโดยการโฆษณาด้วยเอกสารว่า แม้ผู้เช่าบ้านได้ยอมออกจากบ้านไปแล้ว จำเลยซึ่งเป็นบริวารยังดื้อดึงอาศัยอยู่ในบ้านเช่าตามลำพังโดยไม่จ่ายค่าเช่าให้แก่ผู้เช่า ทั้งยังเอาป้ายชื่อและอาชีพของจำเลยไปติดไว้แสดงเจตนาครอบครองบ้านเช่า เป็นการกระทำที่น่าจะทำให้จำเลยเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังและตามหนังสือเอกสารหมาย ล.1 ก็เป็นหนังสือของโจทก์ถึงจำเลยโดยตรงข้อความที่ว่า ป.ผู้เช่าได้ออกจากบ้านเช่าไปอยู่ที่อื่นแล้วนั้น ก็มีความหมายอยู่ในตัวว่า ป.ไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าบ้านอีกต่อไป ผู้ที่ตัองรับผิดชำระค่าเช่าบ้านคือผู้ที่อยู่ในบ้านเช่า ซึ่งก็หมายถึงตัวจำเลยนั่นเอง ทั้งจำเลยได้แนบเอกสารหมาย ล.1 เป็นเอกสารท้ายฟ้องของคดีอาญาที่โจทก์กล่าวหาว่าเป็นฟ้องเท็จด้วย จำเลยจึงมิได้บรรยายฟ้องคดีหมิ่นประมาทโดยการบิดเบือนข้อเท็จจริง พฤติการณ์แห่งคดีไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาฟ้องเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7622/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาการมอบอำนาจจำนองย่อมรวมถึงการกู้ยืมเงิน หากบริบทสื่อความหมายเช่นนั้น
จำเลยมอบอำนาจให้ ล. ไปทำสัญญากับโจทก์ตามหนังสือมอบอำนาจระบุว่า จำเลยได้มอบอำนาจให้ ล.เป็นผู้มีอำนาจจัดการจำนองที่ดินกับโจทก์จำนวนเงิน70,000 บาท ตาม น.ส.3 เลขที่ 997 แม้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะไม่มีข้อความระบุไว้โดยแจ้งชัดว่า จำเลยมอบอำนาจให้ ล. ไปกู้ยืมเงินโจทก์ด้วยก็ตามแต่การที่จำเลยมอบอำนาจให้ ล. ไปจำนองที่ดินแก่โจทก์เป็นจำนวนเงิน 70,000 บาท ก็ย่อมมีความหมายเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่า จำเลยมอบอำนาจให้ ล. ไปกู้ยืมเงินโจทก์โดยเอาที่ดินดังกล่าวจำนองไว้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้นั่นเอง หนังสือมอบอำนาจจึงมีความหมายอยู่ในตัวว่ารวมถึงการมอบอำนาจให้ ล. กู้ยืมเงินโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นผู้อื่นและเจ้าพนักงาน: การพิจารณาบริบทและความเกี่ยวข้องกับหน้าที่
จำเลยว่าผู้เสียหายที่ 1 ว่าเป็นผู้หญิงต่ำ ๆ ต่อหน้าผู้อื่นซึ่งเป็นคำพูดที่เหยียดหยามผู้เสียหายที่ 1 ว่าเป็นผู้หญิงไม่ดีมีศักดิ์ศรีต่ำกว่าผู้หญิงทั่วไปเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งหน้า หาใช่เป็นคำพูดในเชิงปรารถปรับทุกข์ไม่
ผู้เสียหายที่ 2 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่ในการปราบ-ปรามสืบสวนและจับกุมผู้กระทำผิดทางอาญา หาได้เกี่ยวกับกรณีที่มีบุคคลพิพาทกันในทางแพ่งไม่ แม้คู่กรณีนำเรื่องทางแพ่งไปแจ้งให้จัดการไกล่เกลี่ยเปรียบเทียบและผู้เสียหายที่ 2 ทำการไกล่เกลี่ยให้ และจัดการลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานก็หาใช่เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจโดยตรงตามกฎหมายไม่ คงเป็นแต่เพียงอัชฌาสัยในฐานะเป็นเจ้าพนักงานตำรวจผู้รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนเท่านั้น การกระทำของผู้เสียหายที่ 2 จึงมิใช่เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ของเจ้า-พนักงาน แม้จำเลยได้พูดถ้อยคำว่า "มันก็เข้าข้างกัน" ก็ไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่น-เจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2940/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาทจากการกล่าวอ้างความสัมพันธ์ชู้สาว - การพิสูจน์ความเสียหายและบริบทความเสียหาย
กล่าวว่า "ผัวมึงซี่กูแล้ว" จึงไม่ยอมใช้หนี้ แสดงว่าโจทก์เคยได้เสียกับจำเลยมาก่อน แต่ไม่ยกย่องเป็นภริยาน้อย ไม่อ้างว่าโจทก์เสียชื่อเสียงเพราะจำเลยเป็นหญิงมีสามีอยู่แล้ว เป็นชู้กับโจทก์ ไม่เป็นหมิ่นประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1700/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องอาญาที่ระบุมาตรากฎหมายโดยไม่ระบุชื่อกฎหมายยังถือว่าสมบูรณ์ หากบริบทแสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นกฎหมายใด
หน้าฟ้องลงข้อหาว่า "ปลอมหนังสือ ใช้หนังสือปลอม"คำบรรยายฟ้องก็ชัดเช่นนั้น ส่วนคำขอท้ายฟ้องพิมพ์ไว้แต่เพียงว่าขอให้ลงโทษตามมาตรา 264, 265, 266, 268 โดยมิได้อ้างชื่อกฎหมายแห่งมาตรานั้น ๆ ว่าเป็นกฎหมายอะไรก็จริงอยู่ แต่เมื่อประมวลแล้วทราบได้ว่ากฎหมายที่ขอให้ลงโทษนั้นคือประมวลกฎหมายอาญา ทั้งมาตราที่พิมพ์ไว้ในคำขอท้ายฟ้องตรงกับมาตราที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาในหมวดว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับเอกสาร คำฟ้องของโจทก์คดีนี้ขาดตกบกพร่องเพียง แต่มิได้ระบุชื่อของกฎหมาย แต่ก็มีพฤติการณ์แสดงให้เห็นได้ว่าเป็นกฎหมายอะไร เช่นนี้ หาเพียงพอที่จะถือว่าคำฟ้องนั้น เป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) แต่อย่างใดไม่ ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 25/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายสถานที่เกิดเหตุในคำฟ้องอาญา เพียงพอเมื่อจำเลยเข้าใจข้อหาได้จากบริบท
คำว่า สถานที่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 (5) นั้น หมายถึงสถานที่ที่เกิดกระทำผิด หาได้กำหนดไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าจะต้องระบุว่าอยู่หมู่ใด ตำบลใด เสมอไปไม่ เพียงแต่กล่าวไว้พอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีก็เป็นการเพียงพอแล้ว คดีนี้ราษฎรเป็นโจทก์ ในคำฟ้องระบุว่าโจทก์จำเลยต่างอยู่บ้านใกล้เคียงบ้านหนองแก ตำบลยางหล่อ อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้บังอาจเข้าไปในบ้านโจทก์ แม้จะไม่ลงว่าบ้านโจทก์ตั้งอยู่ที่ตำบล อำเภอ และจังหวัดใดก็ดี จำเลยก็ย่อมเข้าใจข้อหาได้ดีว่า การกระทำผิดเกิด ณ สถานที่ใด เพราะโจทก์จำเลยเป็นคนอยู่ในละแวกหมู่บ้านเดียวกัน ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1735/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่: การพิจารณาความหมายถ้อยคำตามบริบท
จำเลยกล่าวต่อเจ้าพนักงานตำรวจจราจรขณะกระทำการตามหน้าที่จับรถยนต์จำเลยฐานกีดขวางทางจราจรว่า "ลื้อชุ่ยมาก" เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 แล้ว
of 2