พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4462/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามประกาศ ธ.แห่งประเทศไทย และการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ชอบด้วยกฎหมาย
++ เรื่อง ยืม บัญชีเดินสะพัด จำนอง ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้แย้งกันฟังได้ยุติว่า เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2533 จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์จำนวน 2,000,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.4และในวันเดียวกันจำเลยทำสัญญากู้เงินจากโจทก์จำนวน3,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 16.5 ต่อปี ตามเอกสารหมาย จ.5 โดยจดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 30146 ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง เป็นประกันในวงเงิน5,000,000 บาท ตามสัญญาจำนองเอกสารหมาย จ.6 จำเลยตกลงให้บัญชีเงินฝากกระแสรายวันเลขที่ 001-1-06240-3 เป็นบัญชีเดินสะพัด ต่อมาวันที่ 18 มีนาคม 2536 จำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์จำนวน 2,500,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 18.5 ต่อปีตามสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.7 และจดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 22653 ตำบลสันกลาง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่เป็นประกันตามสัญญาจำนองเอกสารหมาย จ.8 ต่อมาจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้โจทก์
++ ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยในประการแรกมีว่า โจทก์ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินอีก 2 ฉบับ โดยไม่แจ้งให้จำเลยทราบหรือไม่ซึ่งจะได้วินิจฉัยพร้อมกันไป
++
++ ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเอกสารหมายจ.4 ข้อ 3 สัญญากู้เงินฉบับลงวันที่ 17 กันยายน 2533 เอกสารหมาย จ.5 ข้อ 3 และสัญญากู้เงินฉบับลงวันที่ 18 มีนาคม 2536เอกสารหมาย จ.7 ข้อ 3 มีข้อความอย่างเดียวกันว่า หากตามประเพณีการค้าซึ่งธนาคารปฏิบัติกันโดยมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่ประกาศโดยผู้ให้กู้ก็ดี หรือหากมีกฎหมายหรือประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับเงินกู้ประเภทต่าง ๆ ก็ดี ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีอำนาจที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยตามสัญญานี้ได้ตามสมควรตามดุลพินิจของผู้ให้กู้ โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากผู้กู้ก่อน แต่หลังจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวแล้ว ผู้ให้กู้จะต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบในเวลาอันสมควร โจทก์นำสืบว่าได้ปิดประกาศอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยตามเอกสารหมาย จ.18 และตามประกาศของธนาคารโจทก์ไว้ที่ธนาคารของโจทก์ทุกสาขา และทำสำเนาบัญชีกระแสรายวันตามเอกสารหมาย จ.11 ส่งให้แก่จำเลยทุกสิ้นเดือน ฝ่ายจำเลยนำสืบว่าได้นำเงินไปผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ด้วยตนเองเกือบทุกเดือนไม่ทราบว่าโจทก์ได้ปิดประกาศแจ้งการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้ลูกค้าทราบหรือไม่เพราะไม่ได้สังเกต เมื่อได้รับสำเนาบัญชีกระแสรายวันแล้วจำเลยไม่เคยโต้แย้งเรื่องอัตราดอกเบี้ย ไม่ได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นว่าโจทก์ไม่ได้ปิดประกาศแจ้งการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว
++ จึงฟังได้ว่าโจทก์ได้ปิดประกาศไว้ที่ธนาคารโจทก์ทุกสาขาเพื่อให้ลูกค้าทราบแล้วจริง เมื่อตามข้อสัญญาเอกสารหมาย จ.4 จ.5 และ จ.7 ข้อ 3 ไม่ได้กำหนดวิธีการแจ้งการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยให้ผู้กู้ทราบว่าจะต้องกระทำโดยวิธีใดการที่โจทก์ปิดประกาศไว้ดังกล่าวถือได้ว่าได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้ว ++
++ ปัญหาวินิจฉัยประการต่อไปมีว่า หลังจากเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดแล้วโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นในอัตราเท่าใด
++ จำเลยฎีกาว่า นับถัดจากวันเลิกสัญญาแล้ว โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นได้ในอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี ไม่ใช่ร้อยละ 18 ต่อปี นั้น
++ เห็นว่าโจทก์มีอำนาจปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้เป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยระหว่างเดินสะพัดทางบัญชีกันอยู่นั้น โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเอกสารหมาย จ.18 หลังเลิกสัญญาแล้วโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวนั้นได้ต่อไป มิใช่ต้องคิดในอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปีมิฉะนั้นแล้วก็จะกลายเป็นว่าการปฏิบัติผิดสัญญาทำให้จำเลยได้ประโยชน์ ++
++ ปัญหาต่อไปตามฎีกาของจำเลยมีว่า โจทก์มีสิทธิปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.5 และ จ.7 ภายหลังจากที่จำเลยผิดนัดแล้วได้หรือไม่
++ เห็นว่า ตามสัญญากู้เงินดังกล่าวกำหนดข้อตกลงกันไว้ในข้อ 4 ว่า หากผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งชำระตามอัตราและข้อกำหนดแห่งระยะเวลาที่กล่าวในข้อ 2 ผู้กู้ยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ เมื่อตามสัญญาในข้อ 3 ตกลงกันให้โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้ตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โจทก์จึงปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยได้แม้หลังวันที่จำเลยผิดนัดแล้ว กรณีเป็นการปรับเปลี่ยนตามข้อตกลงในสัญญามิใช่เพราะเหตุจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง จึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ++
++ ปัญหาข้อสุดท้ายตามฎีกาของจำเลยมีว่า โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยโดยชอบแล้วหรือไม่
++ นางชุตินันท์ ยุววิทยาพาณิชนิติกรของโจทก์เบิกความว่า ได้มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้บอกเลิกสัญญาและบอกกล่าวบังคับจำนองเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม2537 โดยส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยตามที่จำเลยให้ไว้ในสัญญากู้และสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตามหนังสือบอกกล่าวและใบตอบรับเอกสารหมาย จ.9 และ จ.10 การบอกกล่าวทวงถามบอกเลิกสัญญาและบอกกล่าวบังคับจำนองเป็นหน้าที่ของนิติกร ซึ่งตามระเบียบของธนาคารได้มอบอำนาจให้อยู่แล้ว การใดที่นิติกรได้กระทำไปถือว่าธนาคารโจทก์ให้สัตยาบัน จำเลยฎีกาโต้แย้งว่า โจทก์มิได้นำสืบหรือส่งระเบียบของธนาคารหรือมีหลักฐานการมอบอำนาจเป็นหนังสือ เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 และ 798นั้น
++ เห็นว่า แม้โจทก์จะไม่ได้ส่งระเบียบหรือหนังสือมอบอำนาจ จึงยังไม่พอฟังว่าได้มีการมอบอำนาจให้บอกกล่าวบังคับจำนองโดยทำเป็นหนังสือก็ตาม แต่นางชุตินันท์เป็นนิติกรของโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์ เมื่อจำเลยได้รับหนังสือแล้วไม่ชำระหนี้โจทก์จึงนำคดีมาฟ้อง แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองของนางชุตินันท์ เป็นการให้สัตยาบันในการกระทำของนางชุตินันท์ซึ่งเป็นตัวแทนแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823การบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยจึงชอบแล้ว ++
++ พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา 5,000 บาทแทนโจทก์. ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้แย้งกันฟังได้ยุติว่า เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2533 จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์จำนวน 2,000,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.4และในวันเดียวกันจำเลยทำสัญญากู้เงินจากโจทก์จำนวน3,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 16.5 ต่อปี ตามเอกสารหมาย จ.5 โดยจดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 30146 ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง เป็นประกันในวงเงิน5,000,000 บาท ตามสัญญาจำนองเอกสารหมาย จ.6 จำเลยตกลงให้บัญชีเงินฝากกระแสรายวันเลขที่ 001-1-06240-3 เป็นบัญชีเดินสะพัด ต่อมาวันที่ 18 มีนาคม 2536 จำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์จำนวน 2,500,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 18.5 ต่อปีตามสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.7 และจดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 22653 ตำบลสันกลาง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่เป็นประกันตามสัญญาจำนองเอกสารหมาย จ.8 ต่อมาจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้โจทก์
++ ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยในประการแรกมีว่า โจทก์ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินอีก 2 ฉบับ โดยไม่แจ้งให้จำเลยทราบหรือไม่ซึ่งจะได้วินิจฉัยพร้อมกันไป
++
++ ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเอกสารหมายจ.4 ข้อ 3 สัญญากู้เงินฉบับลงวันที่ 17 กันยายน 2533 เอกสารหมาย จ.5 ข้อ 3 และสัญญากู้เงินฉบับลงวันที่ 18 มีนาคม 2536เอกสารหมาย จ.7 ข้อ 3 มีข้อความอย่างเดียวกันว่า หากตามประเพณีการค้าซึ่งธนาคารปฏิบัติกันโดยมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่ประกาศโดยผู้ให้กู้ก็ดี หรือหากมีกฎหมายหรือประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับเงินกู้ประเภทต่าง ๆ ก็ดี ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีอำนาจที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยตามสัญญานี้ได้ตามสมควรตามดุลพินิจของผู้ให้กู้ โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากผู้กู้ก่อน แต่หลังจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวแล้ว ผู้ให้กู้จะต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบในเวลาอันสมควร โจทก์นำสืบว่าได้ปิดประกาศอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยตามเอกสารหมาย จ.18 และตามประกาศของธนาคารโจทก์ไว้ที่ธนาคารของโจทก์ทุกสาขา และทำสำเนาบัญชีกระแสรายวันตามเอกสารหมาย จ.11 ส่งให้แก่จำเลยทุกสิ้นเดือน ฝ่ายจำเลยนำสืบว่าได้นำเงินไปผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ด้วยตนเองเกือบทุกเดือนไม่ทราบว่าโจทก์ได้ปิดประกาศแจ้งการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้ลูกค้าทราบหรือไม่เพราะไม่ได้สังเกต เมื่อได้รับสำเนาบัญชีกระแสรายวันแล้วจำเลยไม่เคยโต้แย้งเรื่องอัตราดอกเบี้ย ไม่ได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นว่าโจทก์ไม่ได้ปิดประกาศแจ้งการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว
++ จึงฟังได้ว่าโจทก์ได้ปิดประกาศไว้ที่ธนาคารโจทก์ทุกสาขาเพื่อให้ลูกค้าทราบแล้วจริง เมื่อตามข้อสัญญาเอกสารหมาย จ.4 จ.5 และ จ.7 ข้อ 3 ไม่ได้กำหนดวิธีการแจ้งการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยให้ผู้กู้ทราบว่าจะต้องกระทำโดยวิธีใดการที่โจทก์ปิดประกาศไว้ดังกล่าวถือได้ว่าได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้ว ++
++ ปัญหาวินิจฉัยประการต่อไปมีว่า หลังจากเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดแล้วโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นในอัตราเท่าใด
++ จำเลยฎีกาว่า นับถัดจากวันเลิกสัญญาแล้ว โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นได้ในอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี ไม่ใช่ร้อยละ 18 ต่อปี นั้น
++ เห็นว่าโจทก์มีอำนาจปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้เป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยระหว่างเดินสะพัดทางบัญชีกันอยู่นั้น โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเอกสารหมาย จ.18 หลังเลิกสัญญาแล้วโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวนั้นได้ต่อไป มิใช่ต้องคิดในอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปีมิฉะนั้นแล้วก็จะกลายเป็นว่าการปฏิบัติผิดสัญญาทำให้จำเลยได้ประโยชน์ ++
++ ปัญหาต่อไปตามฎีกาของจำเลยมีว่า โจทก์มีสิทธิปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.5 และ จ.7 ภายหลังจากที่จำเลยผิดนัดแล้วได้หรือไม่
++ เห็นว่า ตามสัญญากู้เงินดังกล่าวกำหนดข้อตกลงกันไว้ในข้อ 4 ว่า หากผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งชำระตามอัตราและข้อกำหนดแห่งระยะเวลาที่กล่าวในข้อ 2 ผู้กู้ยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ เมื่อตามสัญญาในข้อ 3 ตกลงกันให้โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้ตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โจทก์จึงปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยได้แม้หลังวันที่จำเลยผิดนัดแล้ว กรณีเป็นการปรับเปลี่ยนตามข้อตกลงในสัญญามิใช่เพราะเหตุจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง จึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ++
++ ปัญหาข้อสุดท้ายตามฎีกาของจำเลยมีว่า โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยโดยชอบแล้วหรือไม่
++ นางชุตินันท์ ยุววิทยาพาณิชนิติกรของโจทก์เบิกความว่า ได้มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้บอกเลิกสัญญาและบอกกล่าวบังคับจำนองเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม2537 โดยส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยตามที่จำเลยให้ไว้ในสัญญากู้และสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตามหนังสือบอกกล่าวและใบตอบรับเอกสารหมาย จ.9 และ จ.10 การบอกกล่าวทวงถามบอกเลิกสัญญาและบอกกล่าวบังคับจำนองเป็นหน้าที่ของนิติกร ซึ่งตามระเบียบของธนาคารได้มอบอำนาจให้อยู่แล้ว การใดที่นิติกรได้กระทำไปถือว่าธนาคารโจทก์ให้สัตยาบัน จำเลยฎีกาโต้แย้งว่า โจทก์มิได้นำสืบหรือส่งระเบียบของธนาคารหรือมีหลักฐานการมอบอำนาจเป็นหนังสือ เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 และ 798นั้น
++ เห็นว่า แม้โจทก์จะไม่ได้ส่งระเบียบหรือหนังสือมอบอำนาจ จึงยังไม่พอฟังว่าได้มีการมอบอำนาจให้บอกกล่าวบังคับจำนองโดยทำเป็นหนังสือก็ตาม แต่นางชุตินันท์เป็นนิติกรของโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์ เมื่อจำเลยได้รับหนังสือแล้วไม่ชำระหนี้โจทก์จึงนำคดีมาฟ้อง แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองของนางชุตินันท์ เป็นการให้สัตยาบันในการกระทำของนางชุตินันท์ซึ่งเป็นตัวแทนแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823การบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยจึงชอบแล้ว ++
++ พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา 5,000 บาทแทนโจทก์. ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2577/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ, หนังสือยินยอมสามี, บอกกล่าวบังคับจำนอง, ดอกเบี้ยเกินอัตรา, และดอกเบี้ยผิดนัด
คดีก่อนโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลย บรรยายฟ้องว่า ก่อนฟ้องโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง คดีก่อนที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องเพราะโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ต่อมาเมื่อโจทก์ปฏิบัติตามเงื่อนไขแล้วฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ หนังสือให้ความยินยอมของสามีโจทก์ ไม่เป็นใบมอบอำนาจที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ การบอกกล่าวบังคับจำนอง กำหนดเวลาให้ชำระหนี้ ภายใน 30 วันเป็นเวลาอันสมควร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสัตยาบันการกระทำของตัวแทนที่ไม่เป็นไปตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด ทำให้การบอกกล่าวบังคับจำนองชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ตั้ง ส. ทนายความผู้รับมอบอำนาจเป็นตัวแทนบอกกล่าวบังคับจำนองโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 แต่เมื่อ ส. มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลย จำเลยได้รับแล้วไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์จึงนำคดีมาฟ้อง แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองของ ส.เป็นการให้สัตยาบันแก่การกระทำของส.ซึ่งเป็นตัวแทนแล้ว ถือได้ว่า ส. เป็นตัวแทนของโจทก์โดยชอบตามมาตรา 823 ซึ่งการตั้งตัวแทนลักษณะเช่นนี้ไม่ต้องทำเป็นหนังสือการบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 374-375/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกเงินเกินบัญชี, ผิดนัดชำระหนี้, การบอกกล่าวบังคับจำนอง: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี 300,000 บาท กำหนดชำระภายใน 6 เดือนเป็นเรื่องของสัญญาบัญชีเดินสะพัด ลูกหนี้เบิกเงินเกิน 300,000 บาท และเกินเวลา 6 เดือน ก็ยังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ยังไม่ผิดนัดจนกว่าจะหักทอนบัญชีเรียกให้ชำระเงินคงเหลือต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นทุกเดือน
หนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองส่งทางไปรษณีย์ถึงผู้จำนอง ณ ภูมิลำเนาแต่ผู้รับไม่ยอมรับ แสดงว่ามีผู้รับแต่ไม่ยอมรับแทน เป็นการหลีกเลี่ยงไม่ยอมรับคำบอกกล่าวโฆษณาทางหนังสือพิมพ์จะแพร่หลายหรือไม่ไม่สำคัญ ถือเป็นการมีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 แล้ว
หนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองส่งทางไปรษณีย์ถึงผู้จำนอง ณ ภูมิลำเนาแต่ผู้รับไม่ยอมรับ แสดงว่ามีผู้รับแต่ไม่ยอมรับแทน เป็นการหลีกเลี่ยงไม่ยอมรับคำบอกกล่าวโฆษณาทางหนังสือพิมพ์จะแพร่หลายหรือไม่ไม่สำคัญ ถือเป็นการมีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัดต่ออายุโดยปริยาย & ดอกเบี้ยทบต้นหลังบอกกล่าวบังคับจำนอง
สัญญาบัญชีเดินสะพัดมีกำหนดเวลา 1 ปี 6 เดือน แต่หลังจากนั้นคู่สัญญายังติดต่อให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ถือว่าเลิกกันเมื่อเจ้าหนี้บอกกล่าวบังคับจำนอง เจ้าหนี้เรียกดอกเบี้ยทบต้นหลังจากนั้นอีกไม่ได้
คำสั่งให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ศาลสั่งในคำพิพากษาได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167 แม้โจทก์มิได้มีคำขอมาในฟ้อง
คำสั่งให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ศาลสั่งในคำพิพากษาได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167 แม้โจทก์มิได้มีคำขอมาในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 817/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวบังคับจำนอง: ประเด็นข้อพิพาทจำกัดเฉพาะการได้รับหนังสือบอกกล่าว ไม่ใช่ความชอบด้วยกฎหมายของการมอบอำนาจ
ฟ้องโจทก์ตั้งประเด็นเกี่ยวกับการบอกกล่าวบังคับจำนองว่าโจทก์มอบอำนาจให้ทนายโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองปรากฏตามสำเนาหนังสือบอกกล่าวท้ายฟ้อง จำเลยให้การต่อสู้ในประเด็นข้อนี้แต่เพียงว่าโจทก์ไม่เคยบอกกล่าวบังคับจำนองใดๆ ไปยังจำเลย จำเลยไม่เคยได้รับหนังสือบอกกล่าวจากทนายโจทก์เลย จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ถึงเรื่องการมอบอำนาจว่าไม่ชอบประการใดเลยประเด็นข้อโต้เถียงย่อมมีเพียงว่า จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวการบังคับจำนองแล้วหรือไม่เท่านั้นไม่มีประเด็นไปถึงการมอบอำนาจให้บอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์นั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21819/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดหนี้เบิกเงินเกินบัญชีและหนังสือค้ำประกัน, การบอกกล่าวบังคับจำนอง, และดอกเบี้ยที่ชอบด้วยกฎหมาย
หนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น อันเป็นเอกสารมหาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้และถูกต้อง เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 5 ที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันจะต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร
จำเลยที่ 5 ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์หากโจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากการค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยสัญญาดังกล่าวมีข้อความในข้อ 1 ระบุว่า ตามที่จำเลยที่ 1 ได้ขอให้โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันต่อบุคคลหรือนิติบุคคลต่าง ๆ ไม่ว่าจะออกหนังสือค้ำประกันฉบับเดียวหรือหลายฉบับในเวลานี้หรือเวลาหนึ่งเวลาใดในภายหน้า... เป็นเงินรวมกันไม่เกิน 14,700,000 บาท ซึ่งถ้าหากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือเงื่อนไขที่ขอให้โจทก์ค้ำประกัน และโจทก์จะต้องรับผิดชดใช้เงินให้แก่เจ้าหนี้ ...จำเลยที่ 5 ตกลงยินยอมชดใช้เงินตามจำนวนที่โจทก์ได้ชดใช้แทนไปนั้น คำว่า ในเวลานี้ในสัญญาดังกล่าว ย่อมหมายถึง การที่จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์ออกหนังสือค้ำประกัน เป็นประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่แล้วในขณะทำสัญญา ดังนี้ สัญญาที่จำเลยที่ 5 ทำไว้กับโจทก์ดังกล่าวจึงครอบคลุมถึงหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญาค้ำประกันด้วย มิใช่จำเลยที่ 5 ยอมรับผิดเฉพาะหนี้ที่เกิดขึ้นนับแต่วันทำสัญญาดังกล่าวเท่านั้น แม้คำขอให้ออกหนังสือรับรองและค้ำประกันได้ระบุหลักประกันอื่นโดยมิได้ระบุถึงจำเลยที่ 5 ไว้ก็มิได้ทำให้จำเลยที่ 5 หลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วย
การที่จำเลยที่ 5 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ดังกล่าวโดยมีข้อความระบุไว้ในข้อ 8 ว่า เพื่อประกันการชำระหนี้ตามสัญญานี้ทั้งหมด จำเลยที่ 5 ตกลงจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 447 พร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้กับโจทก์ และในวันเดียวกันจำเลยที่ 5 ทำสัญญาจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 447 ไว้กับโจทก์ โดยระบุในสัญญาจำนองว่า เพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 5 และหรือจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่กับผู้รับจำนอง ในวงเงิน 11,800,000 บาท ก็เป็นการที่จำเลยที่ 5 ทำสัญญาจำนองเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันการชำระหนี้ค่าสินค้าของจำเลยที่ 1 เท่านั้น จำเลยที่ 5 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองในต้นเงินไม่เกิน 14,700,000 บาท เท่านั้น มิใช่ต้องรับผิดในวงเงินตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองรวมกันแต่อย่างใด
สำหรับความรับผิดตามสัญญาจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีนั้น เมื่อสัญญาจำนองฉบับนี้ระบุว่า จำนองเป็นประกันหนี้ที่ผู้จำนองและหรือจำเลยที่ 1 มีอยู่กับผู้รับจำนองทุกลักษณะในเวลานี้หรือเวลาหนึ่งเวลาใดในภายหน้า ทั้งนี้ให้รวมถึงหนี้ที่จะก่อให้เกิดขึ้นใหม่ทุกลักษณะเป็นจำนวน 14,000,000 บาท ดังนั้น คำว่า ประกันหนี้ในเวลานี้ จึงมีความหมายว่า เป็นประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ธนาคารโจทก์อยู่แล้วในขณะทำสัญญา ดังนั้นสัญญาจำนองหนี้เบิกเงินเกินบัญชีนี้จึงครอบคลุมถึงหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญาจำนอง จำเลยที่ 5 จึงต้องรับผิดในหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ก่อนทำสัญญาจำนองด้วย และจำเลยที่ 5 คงต้องรับผิดตามสัญญาจำนองที่จำกัดวงเงินไม่เกิน 14,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยและหนี้อุปกรณ์เท่านั้น เพราะจำเลยที่ 5 จำนองที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 39209 โดยจำกัดวงเงินไม่เกิน 14,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยและหนี้อุปกรณ์เท่านั้น แม้จะมีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองว่า การกำหนดต้นเงินตามสัญญาจำนองไม่เป็นการตัดสิทธิผู้รับจำนองที่จะบังคับจำนองสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินตามสัญญาจำนองไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ นั้นเป็นข้อตกลงที่ทำให้สัญญาจำนองไม่มีจำนวนเงินที่แน่นอน หรือไม่มีจำนวนขั้นสูงสุดที่ได้เอาทรัพย์จำนองตราไว้เป็นประกัน จึงฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 708 และเป็นช่องทางให้หลีกเลี่ยงการเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจำนอง จึงตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลใช้บังคับ ดังนั้นโจทก์จึงมีสิทธิบังคับจำนองสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินที่กำหนดไว้เฉพาะกรณีมีดอกเบี้ยหรือหนี้อุปกรณ์รวมกันเกินวงเงินจำนองเท่านั้น จำเลยที่ 5 ในฐานะผู้จำนองประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในวงเงิน 14,000,000 บาท จึงต้องร่วมรับผิดตามสัญญาจำนองดังกล่าว ในวงเงิน 14,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเท่านั้น
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นเอกสารที่จำเลยทั้งห้าทำขึ้นให้ไว้แก่โจทก์ โดยจำเลยทั้งห้าแต่ฝ่ายเดียวต่างลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน จึงเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เบิกเงินบัญชีและผู้ค้ำประกันเท่านั้น มิใช่หนังสือสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และมิใช่หนังสือสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ ตามความมุ่งหมายแห่ง ป.รัษฎากร มาตรา 103, 104 และ 118
การบอกกล่าวบังคับจำนองเป็นการแสดงเจตนาต่อบุคคลผู้ซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า เมื่อการแสดงเจตนาส่งไปถึงภูมิลำเนาของจำเลยที่ 5 แล้ว แม้จะไม่มีผู้รับ ก็ถือว่าการบอกกล่าวบังคับจำนองชอบแล้ว
จำเลยที่ 5 ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์หากโจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากการค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยสัญญาดังกล่าวมีข้อความในข้อ 1 ระบุว่า ตามที่จำเลยที่ 1 ได้ขอให้โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันต่อบุคคลหรือนิติบุคคลต่าง ๆ ไม่ว่าจะออกหนังสือค้ำประกันฉบับเดียวหรือหลายฉบับในเวลานี้หรือเวลาหนึ่งเวลาใดในภายหน้า... เป็นเงินรวมกันไม่เกิน 14,700,000 บาท ซึ่งถ้าหากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือเงื่อนไขที่ขอให้โจทก์ค้ำประกัน และโจทก์จะต้องรับผิดชดใช้เงินให้แก่เจ้าหนี้ ...จำเลยที่ 5 ตกลงยินยอมชดใช้เงินตามจำนวนที่โจทก์ได้ชดใช้แทนไปนั้น คำว่า ในเวลานี้ในสัญญาดังกล่าว ย่อมหมายถึง การที่จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์ออกหนังสือค้ำประกัน เป็นประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่แล้วในขณะทำสัญญา ดังนี้ สัญญาที่จำเลยที่ 5 ทำไว้กับโจทก์ดังกล่าวจึงครอบคลุมถึงหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญาค้ำประกันด้วย มิใช่จำเลยที่ 5 ยอมรับผิดเฉพาะหนี้ที่เกิดขึ้นนับแต่วันทำสัญญาดังกล่าวเท่านั้น แม้คำขอให้ออกหนังสือรับรองและค้ำประกันได้ระบุหลักประกันอื่นโดยมิได้ระบุถึงจำเลยที่ 5 ไว้ก็มิได้ทำให้จำเลยที่ 5 หลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วย
การที่จำเลยที่ 5 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ดังกล่าวโดยมีข้อความระบุไว้ในข้อ 8 ว่า เพื่อประกันการชำระหนี้ตามสัญญานี้ทั้งหมด จำเลยที่ 5 ตกลงจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 447 พร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้กับโจทก์ และในวันเดียวกันจำเลยที่ 5 ทำสัญญาจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 447 ไว้กับโจทก์ โดยระบุในสัญญาจำนองว่า เพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 5 และหรือจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่กับผู้รับจำนอง ในวงเงิน 11,800,000 บาท ก็เป็นการที่จำเลยที่ 5 ทำสัญญาจำนองเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันการชำระหนี้ค่าสินค้าของจำเลยที่ 1 เท่านั้น จำเลยที่ 5 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองในต้นเงินไม่เกิน 14,700,000 บาท เท่านั้น มิใช่ต้องรับผิดในวงเงินตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองรวมกันแต่อย่างใด
สำหรับความรับผิดตามสัญญาจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีนั้น เมื่อสัญญาจำนองฉบับนี้ระบุว่า จำนองเป็นประกันหนี้ที่ผู้จำนองและหรือจำเลยที่ 1 มีอยู่กับผู้รับจำนองทุกลักษณะในเวลานี้หรือเวลาหนึ่งเวลาใดในภายหน้า ทั้งนี้ให้รวมถึงหนี้ที่จะก่อให้เกิดขึ้นใหม่ทุกลักษณะเป็นจำนวน 14,000,000 บาท ดังนั้น คำว่า ประกันหนี้ในเวลานี้ จึงมีความหมายว่า เป็นประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ธนาคารโจทก์อยู่แล้วในขณะทำสัญญา ดังนั้นสัญญาจำนองหนี้เบิกเงินเกินบัญชีนี้จึงครอบคลุมถึงหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญาจำนอง จำเลยที่ 5 จึงต้องรับผิดในหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ก่อนทำสัญญาจำนองด้วย และจำเลยที่ 5 คงต้องรับผิดตามสัญญาจำนองที่จำกัดวงเงินไม่เกิน 14,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยและหนี้อุปกรณ์เท่านั้น เพราะจำเลยที่ 5 จำนองที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 39209 โดยจำกัดวงเงินไม่เกิน 14,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยและหนี้อุปกรณ์เท่านั้น แม้จะมีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองว่า การกำหนดต้นเงินตามสัญญาจำนองไม่เป็นการตัดสิทธิผู้รับจำนองที่จะบังคับจำนองสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินตามสัญญาจำนองไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ นั้นเป็นข้อตกลงที่ทำให้สัญญาจำนองไม่มีจำนวนเงินที่แน่นอน หรือไม่มีจำนวนขั้นสูงสุดที่ได้เอาทรัพย์จำนองตราไว้เป็นประกัน จึงฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 708 และเป็นช่องทางให้หลีกเลี่ยงการเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจำนอง จึงตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลใช้บังคับ ดังนั้นโจทก์จึงมีสิทธิบังคับจำนองสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินที่กำหนดไว้เฉพาะกรณีมีดอกเบี้ยหรือหนี้อุปกรณ์รวมกันเกินวงเงินจำนองเท่านั้น จำเลยที่ 5 ในฐานะผู้จำนองประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในวงเงิน 14,000,000 บาท จึงต้องร่วมรับผิดตามสัญญาจำนองดังกล่าว ในวงเงิน 14,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเท่านั้น
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นเอกสารที่จำเลยทั้งห้าทำขึ้นให้ไว้แก่โจทก์ โดยจำเลยทั้งห้าแต่ฝ่ายเดียวต่างลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน จึงเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เบิกเงินบัญชีและผู้ค้ำประกันเท่านั้น มิใช่หนังสือสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และมิใช่หนังสือสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ ตามความมุ่งหมายแห่ง ป.รัษฎากร มาตรา 103, 104 และ 118
การบอกกล่าวบังคับจำนองเป็นการแสดงเจตนาต่อบุคคลผู้ซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า เมื่อการแสดงเจตนาส่งไปถึงภูมิลำเนาของจำเลยที่ 5 แล้ว แม้จะไม่มีผู้รับ ก็ถือว่าการบอกกล่าวบังคับจำนองชอบแล้ว