คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บังคับขาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความ, การไม่บังคับขายหลักทรัพย์, และความเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด ประกอบธุรกิจเงินทุนและหลักทรัพย์ มีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นกรรมการ โจทก์เป็นลูกค้าของจำเลยที่ 1 โดยทำสัญญาตัวแทนนายหน้าและบัญชีเดินสะพัดเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ ต่อมาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ออกประกาศกำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ให้กู้ยืมเงินแก่ลูกค้าเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ ดำเนินการบังคับขายหลักทรัพย์ที่ลูกค้าวางเป็นประกัน เมื่อมีอัตราส่วนระหว่างมูลค่าหลักทรัพย์ที่วางเป็นประกันรวมกับทรัพย์สินที่วางเป็นประกันหักด้วยหนี้ต่อมูลค่าของหลักทรัพย์ที่วางเป็นประกันเท่ากับหรือต่ำกว่าร้อยละ 15 ในวันทำการถัดจากวันที่มูลค่าลดลงในอัตราดังกล่าว ประกาศนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของบริษัทหลักทรัพย์สมาชิกและผู้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์หรือลูกค้าโดยรวม การที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งโจทก์ในวันที่ 17 ตุลาคม 2539 ว่าหลักทรัพย์ของโจทก์ตามบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2539 มีอัตราส่วนลดลงเท่ากับร้อยละ 7.0511 ให้โจทก์ชำระเงินหรือนำตั๋วเงินหรือทรัพย์สินอื่นตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดมาประกันเพิ่มเติม โดยไม่บังคับขายหลักทรัพย์ เป็นการฝ่าฝืนต่อประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยดังกล่าว ย่อมก่อความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ผู้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ทันทีนับแต่วันที่จำเลยทั้งหกฝ่าฝืน เมื่อความผิดตาม ป.อ. มาตรา 353, 354 เป็นความผิดอันยอมความได้ โจทก์ซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำดังกล่าวทราบเรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิดในวันที่ 17 ตุลาคม 2539 แต่ไม่ได้ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีภายใน 3 เดือน นับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์สำหรับข้อหานี้จึงเป็นอันขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96
การที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งโจทก์ให้ชำระเงินหรือนำตั๋วเงินหรือทรัพย์สินอื่นตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดมาประกันเพิ่มเติม แต่โจทก์มิได้วางประกันเพิ่มเติม ทั้งมิได้สั่งให้จำเลยที่ 1 ขายหลักทรัพย์ตามข้อตกลงในสัญญาตัวแทนนายหน้าและบัญชีเดินสะพัด พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์สมัครใจให้จำเลยที่ 1 ฝ่าฝืนไม่ดำเนินการบังคับขายหลักทรัพย์ของโจทก์ในวันถัดจากวันที่อัตราส่วนดังกล่าวลดลงต่ำกว่าร้อยละ 15 ตามประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ขายหลักทรัพย์ของโจทก์ไป โดยขณะขายหลักทรัพย์จะมีอัตราส่วนดังกล่าวลดลงอยู่ที่ร้อยละ 20 ก็เป็นผลมาจากการผิดนัดผิดสัญญาไม่ชำระเงินหรือหาหลักประกันมาวางเพิ่มเติมตามสัญญาตัวแทนนายหน้าและบัญชีเดินสะพัดเท่านั้น เมื่อไม่ได้ความว่า จำเลยทั้งหกได้รับประโยชน์อันมิควรได้โดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือได้กระทำการโดยทุจริต จึงมิใช่การเอาไปเสีย ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินของโจทก์อันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลมีหน้าที่ดูแลหรือที่อยู่ในความครอบครองของนิติบุคคลนั้น ตามมาตรา 309 แห่งพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5692/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บังคับขายที่ดินตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ ผู้รับโอนไม่ได้รับการชดใช้ค่าใช้จ่ายในการโอน ย่อมไม่เป็นธรรม
การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยที่2ผู้รับโอนที่ดินพิพาทขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์เป็นการพิพากษาตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา54วรรคหนึ่งซึ่งเป็นการบังคับขายตามกฎหมายมิใช่เป็นการซื้อขายโดยสมัครใจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บทบัญญัติกฎหมายมาตราดังกล่าวมิใช่เพียงแต่ต้องการคุ้มครองผู้เช่านาให้ได้สิทธิซื้อที่นาที่เช่าอยู่ก่อนคนอื่นเท่านั้นแต่ยังต้องการคุ้มครองผู้รับโอนซึ่งเป็นบุคคลภายนอกให้ไม่ต้องเสียหายเกินสมควรโดยให้ได้รับการชดใช้คืนซึ่งสิ่งที่ได้ลงไปในการซื้อที่นานั้นมาอย่างบริบูรณ์ด้วยการให้ผู้รับโอนรับภาระค่าธรรมเนียมการโอนและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งอาจเป็นจำนวนท่วมราคาซื้อขายทั้งๆที่ผู้รับโอนถูกบังคับขายเช่นนี้ย่อมเห็นได้ว่าทำให้ผู้รับโอนมิได้รับการชดใช้ซึ่งสิ่งที่ได้ลงไปในการซื้อที่นามาอย่างบริบูรณ์และไม่เป็นธรรมแก่ผู้รับโอนตามเจตนารมณ์ของกฎหมายค่าธรรมเนียมในการโอนและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในกรณีนี้จึงเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้เช่านาจะต้องรับภาระเองดังนั้นแม้คำพิพากษาศาลฎีกาจะมิได้กำหนดให้โจทก์เป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมการโอนและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโจทก์ก็จะอาศัยบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการซื้อขายหักค่าใช้จ่ายดังกล่าวจากราคาซื้อขายที่กำหนดในคำพิพากษาไม่ได้ เมื่อโจทก์ไม่ปฎิบัติตามคำพิพากษาและจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลโดยมิใช่คำร้องที่สามารถทำได้ฝ่ายเดียวศาลย่อมมีอำนาจส่งสำเนาให้โจทก์เพื่อให้โอกาสคัดค้านและเมื่อศาลฟังคู่ความทั้งสองฝ่ายแล้วก็สามารถมีคำสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา21(2)หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งแล้วหากโจทก์ยังคงไม่ปฎิบัติตามคำพิพากษาจำเลยที่2ก็ชอบที่จะขอออกคำบังคับและหมายบังคับคดีเพื่อบังคับคดีแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6953/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อคืนนาพิพาทตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ ศาลบังคับขายได้ตามคำวินิจฉัยอนุญาโตตุลาการ
การที่โจทก์ร้องขอซื้อนาพิพาทต่อ คชก. ตำบล และ คชก. ตำบลวินิจฉัยให้โจทก์ซื้อนาพิพาทคืนจากจำเลยทั้งสองตามราคาและวิธีการชำระเงินที่จำเลยทั้งสองซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้นแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากันโดยมิได้กำหนดราคาให้ เป็นเรื่องโจทก์ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 54 วรรคสองแล้ว เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ยอมขายนาพิพาทให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของ คชก. ตำบลที่ถึงที่สุดแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองเพื่อบังคับให้จำเลยทั้งสองขายนาพิพาทให้แก่โจทก์ได้
คำวินิจฉัยของ คชก. ตำบลไม่ได้ระบุให้ซื้อนาพิพาทคืนได้ในราคาเท่าใด จึงเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องฟังจากพยานหลักฐานในสำนวนว่าจะให้โจทก์ซื้อในราคาใดเท่านั้น จำเลยทั้งสองจะนำเรื่องคำเสนอคำสนองมาใช้ในกรณีนี้โดยกำหนดระยะเวลาให้โจทก์สนองตอบว่าจะซื้อนาพิพาทตามราคาที่จำเลยทั้งสองกำหนดไว้มิได้เพราะจะขัดกับคำวินิจฉัยของ คชก. ตำบล ซึ่งถือเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแล้วว่าให้โจทก์ซื้อนาพิพาทได้
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองโอนขายนาพิพาทแก่โจทก์ตามจำนวนเนื้อที่ตามคำขอท้ายฟ้องเป็นการพิพากษาไม่เกินคำขอ ส่วนการกำหนดราคานาพิพาทเป็นเรื่องโจทก์กะประมาณราคาของนาพิพาทในราคา 1,075,831 บาทเพื่อคำนวณเสียค่าขึ้นศาล การที่จำเลยทั้งสองนำสืบได้ว่าซื้อนาพิพาทมาในราคา1,175,831 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่า จำเลยทั้งสองมีสิทธิได้รับตามมาตรา 54แห่ง พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 คำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองจึงไม่เกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4749/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องซื้อที่ดินเช่า: ต้องเพิกถอนคำวินิจฉัย คชก.จังหวัดก่อน จึงจะฟ้องบังคับขายได้
ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 57 คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด จะต้องฟ้อง คชก.จังหวัดเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด หากคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดยังไม่ถูกเพิกถอน คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดก็ยังมีผลใช้บังคับได้ โจทก์ซึ่งเป็นคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดสมุทรปราการ แต่ไม่ได้ฟ้องคชก.จังหวัดสมุทรปราการเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดสมุทรปราการ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนที่นาที่เช่าให้ขายที่นาที่เช่าให้แก่โจทก์ตามราคาที่โจทก์ต้องการ แต่เป็นราคาที่แตกต่างไปจากราคาตามคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดสมุทรปราการได้ และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องแล้วการที่โจทก์ขอเพิ่มเติมคำขอท้ายฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดสมุทรปราการจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีเพราะศาลไม่อาจพิพากษาบังคับตามคำขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อที่ดิน: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการขายโดยไม่บอกก่อน มิอาจบังคับให้ขายได้
เช่าที่ดินของเขา เพื่อปลูกเรือนอาศัย มีกำหนด 20 ปี มีข้อสัญญาอยู่ข้อหนึ่งว่า เมื่อผู้ให้เช่าประสงค์จะขายที่ดินนั้น ผู้ให้เช่าต้องบอกขายกับผู้เช่าก่อน ฯลฯ ดังนี้ ครั้นผู้ให้เช่าผิดสัญญาขายที่ดินนั้นแก่ผู้อื่นไปโดยไม่บอกผู้เช่าก่อน ผู้เช่าย่อมมีสิทธิเพียงฟ้องเรียกค่าเสียหายเท่านั้น ผู้เช่าจะฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินนั้นระหว่างผู้ให้เช่ากับบุคคลภายนอก และบังคับให้ขายแก่ผู้เช่าไม่ได้ เพราะกำหนดในสัญญาดังกล่าวไม่พอให้ถือว่าเป็นคำมั่นหรือจะซื้อขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของร่วม vs. เจ้าของทรัพย์สินที่มีส่วนแบ่งชัดเจน, สิทธิในการบังคับขายตามสัญญา, และเบี้ยปรับ
เจ้าของรวมตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1357 นั้น ต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สสินอันรวมกันไม่ทราบว่าส่วนของใครเท่าไร ตรงไหนในทรัพย์นั้น ๆ กฎหมายจึงสันนิษฐษนไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากัน
โฉนดที่ดินมีชื่อบุคคล 2 คนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ แต่ได้จดทะเบียนบรรยายส่วนของใครไว้ในโฉนดแล้วว่า ของใครไว้ในโฉนดแล้วว่า ของใครอยู่ตอนไหน เป็นจำนวนเนื้อที่เท่าไร ชัดแจ้งแล้ว เช่นนี้ หาใช่ เป็นเจ้าของรวมไม่
เงื่อนไขแห่งนิติกรรมานั้นหมายถึงเหตุการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจะเกิดขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอน
สัญญาจะซื้อขายมีข้อตกลงกันว่าผู้ซื้อขายกันในวันมาทำการจะทะเบียนแบ่งแยกที่ดินนั้น หาใช่เป็นเงื่อนไขไม่
แม้สัญญาจะซื้อขายที่ดินได้กำหนดเบี้ยปรับกันไว้ ในเมื่อผู้ขายผิดสัญญาก็ดี ตามป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 380 บัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าหนี้เลือกเรียกเอาเบี้ยแรับชำระหนี้แต่อย่างหนึ่งอย่างใดได้ ฉะนั้นถ้าผู้ขายทำผิดสัญญาโดยไม่ยอมขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อ ผู้ซื้อก็ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องผู้ขายขอให้ศาลบังคับให้โอนขายตามสัญญาได้
(อ้างฎีกาที่ 131 / 1449)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาจะซื้อขาย: ผู้ซื้อมีสิทธิขอให้บังคับขายได้ แม้ไม่มีกำหนดเวลา
ทำสัญญาจะขายที่ดินและห้องแถวให้แก่เขาแล้ว แม้สัญญาจะไม่มีกำหนดเวลาโอน ต่อมากลับเอาไปตกลงขายให้คนอื่นเสียอีก จนถูกฟ้อง ศาลบังคับให้ขาย ผู้ซื้อคนแรกก็ได้ร้องสอดใช้สิทธิของเขาในคดีนั้นแล้ว เช่นนี้ถือว่าผู้ขายผิดสัญญาต่อผู้ซื้อคนแรก ผู้ซื้อคนแรกจึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับให้ผู้ขายโอนที่ โดยไม่ต้องบอกกล่าวให้ผู้ขายปฏิบัติตามสัญญาก่อนได้ ทั้งตามมาตรา 203 ก็ให้อำนาจโจทก์เรียกร้องได้โดยพลัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการบังคับขายทรัพย์สินโดยไม่มีอำนาจ แม้เชื่อโดยสุจจริต ผู้กระทำและผู้รับซื้อต้องรับผิด
การพิจารณาคดีส่วนแพ่งตาม ป.ม.วิ.อาญา ม.46 ให้ศาลถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ส่วนการชี้ขาดคดีส่วนแพ่ง ศาลต้องดำเนินตามมาตรา 47 กล่าวคือ ดูว่าตามข้อเท็จจริงที่ได้จากคำพิพากษาคดีส่วนอาญานั้น จำเลยต้องรับผิดในทางแพ่งประการใดหรือไม่ ทั้งนี้โดยไม่คำนึงถึงเลยว่าจำเลยผิดในทางอาญา และต้องมีโทษหรือไม่อย่างไร
ปลัดอำเภอบังคับให้ผู้แจ้งปริมาณเสื้อผ้า ขายเสื้อผ้าต่าง ๆ แก่ผู้อื่นโดยราคาถูก แม้จะเชื่อโดยสุจจริตว่า ทำไปโดยมีอำนาจ โดยชอบด้วยกฎหมาย และผู้ซื้อรับซื้อโดยคิดว่าถูกต้องก็ตาม ถ้าปรากฏว่า การกระทำนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยกฏหมาย เพราะได้มีประกาศยกเลิกการควบคุมในการนั้นแล้ว ปลัดอำเภอและผู้รับซื้อก็ต้องรับผิดฐานละเมิด
โจทก์กล่าวบรรยายข้อเท็จจริงไว้เป็นตอน ๆ ได้ความชัดว่า จำเลยที่ 1 บังคับให้โจทก์ขายผ้าให้จำเลยที่ 2, 3, 4 ในราคาถูกโดยไม่มีความชอบธรรมที่จะทำได้ตามกฎหมาย เป็นการเพียงพอที่จะให้ค่าสินไหมทดแทนในทางแพ่งแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับขายสินค้าโดยไม่มีอำนาจ และความรับผิดฐานละเมิด แม้จะเชื่อโดยสุจริต
การพิจารณาคดีส่วนแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46 ให้ศาลถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาส่วนการชี้ขาดคดีส่วนแพ่ง ศาลต้องดำเนินตามมาตรา 47 กล่าวคือดูว่าตามข้อเท็จจริงที่ได้จากคำพิพากษาคดีส่วนอาญานั้นจำเลยต้องรับผิดในทางแพ่งประการใดหรือไม่ ทั้งนี้โดยไม่คำนึงถึงเลยว่าจำเลยผิดในทางอาญา และต้องมีโทษหรือไม่อย่างไร
ปลัดอำเภอบังคับให้ผู้แจ้งปริมาณเสื้อผ้า ขายเสื้อผ้าต่างๆ แก่ผู้อื่นโดยราคาถูกแม้จะเชื่อโดยสุจริตว่า ทำไปโดยมีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายและผู้ซื้อรับซื้อโดยคิดว่าถูกต้องก็ตามถ้าปรากฏว่าการกระทำนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะได้มีประกาศยกเลิกการควบคุมในการนั้นแล้ว ปลัดอำเภอและผู้รับซื้อต้องรับผิดฐานละเมิด
โจทก์กล่าวบรรยายข้อเท็จจริงไว้เป็นตอนๆ ได้ความชัดว่าจำเลยที่ 1 บังคับให้โจทก์ขายผ้าให้จำเลยที่ 2,3,4 ในราคาถูกโดยไม่มีความชอบธรรมที่จะทำได้ตามกฎหมายเป็นการเพียงพอที่จะให้ค่าสินไหมทดแทนในทางแพ่งแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1360/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การบังคับขายตามผลการรังวัดที่ดินที่ถูกต้อง
สัญญามีความว่าเมื่อเจ้าพนักงานป่าไม้และกรมการอำเภอไปรังวัดตรวจที่ได้เท่าใดแล้ว ผู้ซื้อจะจ่ายเงินให้ไร่ละ 200 บาทดังนี้ เมื่อเจ้าพนักงานป่าไม้และกรมการอำเภอไปรังวัดตรวจที่ได้ แน่นอนเพียง 6 ไร่เศษ ผู้ขายก็ต้องขายให้ผู้ซื้อเท่านั้นก่อน ฎีกาอุทธรณ์ ปัญหากฎหมาย แปลสัญญาเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
of 2