คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บำนาญ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1842/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33(4) คือ 5 ปี
ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (4) บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องเงินค้างจ่าย คือ เงินเดือน เงินปี เงินบำนาญ ค่าอุปการะเลี้ยงดู และเงินอื่นๆ ในลักษณะทำนองเดียวกับที่มีการกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา ให้มีกำหนดอายุความ 5 ปี ดังนั้น การที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินสงเคราะห์รายเดือนหรือเงินบำนาญจึงมีอายุความ 5 ปี ซึ่งไม่อาจนำอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มาใช้บังคับได้เพราะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว โจทก์จึงต้องยื่นเรื่องราวขอรับเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) ภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่อาจใช้สิทธิเรียกร้องขอรับเงินได้ แต่เมื่อโจทก์ยื่นเรื่องราวขอรับเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) เกินกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1842/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) ต้องใช้บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (4) คือ 5 ปี
ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (4) บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องเงินค้างจ่าย คือ เงินเดือน เงินปี เงินบำนาญ ค่าอุปการะเลี้ยงดู และเงินอื่น ๆ ในลักษณะทำนองเดียวกับที่มีการกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาให้มีกำหนดอายุความ 5 ปี เมื่อโจทก์เรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินสงเคราะห์รายเดือนหรือเงินบำนาญ จึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี กรณีไม่อาจนำอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 มาบังคับได้เพราะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1842/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) กำหนด 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33(4)
โจทก์มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) จากจำเลย ตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2536 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ถูกให้ออกจากงาน แต่โจทก์ยื่นเรื่องราวขอรับเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2541 ซึ่งการเรียกร้องเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) ดังกล่าว เป็นการเรียกร้องเงินในลักษณะทำนองเดียวกับที่มีการกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (4) ซึ่งกำหนดให้มีอายุความ 5 ปี เมื่อโจทก์เรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) จึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี กรณีไม่อาจนำอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มาใช้บังคับได้ เพราะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว โจทก์จึงต้องยื่นเรื่องราวขอรับเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) ภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่อาจใช้สิทธิเรียกร้องขอรับเงินดังกล่าวได้ซึ่งคือวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2536 แต่โจทก์ยื่นเรื่องราวขอรับเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2541 จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3379/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณบำนาญในโครงการเอื้ออาทร: จำนวนปีที่ทำงานตามข้อบังคับธนาคาร
ตามข้อบังคับว่าด้วยการแบ่งส่วนงานและการปฏิบัติงานของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด ฉบับที่ 2 ว่าด้วยเรื่องบำเหน็จ บำนาญ กำหนดวิธีการคำนวณ "บำนาญ" ว่า ให้นำเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีที่ทำงานแล้วหารด้วย 50 ผลลัพธ์จะเป็นบำนาญซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องจ่ายให้แก่พนักงานเป็นรายเดือนตลอดชีวิต ส่วนข้อความว่า "จำนวนปีที่ทำงาน" หมายถึง จำนวนปีที่โจทก์ได้ทำงานกับจำเลยที่ 1 จริงๆ มิได้มีความหมายให้นับรวมไปจนถึงวันที่โจทก์เกษียณอายุและพ้นจากตำแหน่งหน้าที่เมื่ออายุครบ 60 ปีด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 อนุมัติให้โจทก์ลาออกตามโครงการเอื้ออาทรน้องพี่มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2539 แล้วโจทก์ก็ไม่ได้ทำงานกับจำเลยที่ 1 อีกต่อไป ย่อมไม่มีเวลาทำงานกับจำเลยที่ 1 จึงไม่มี "ปีที่ทำงาน" ตามที่กำหนดในข้อบังคับดังกล่าว โจทก์เข้าทำงานเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2505 เมื่อนับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2538 โจทก์มีอายุการทำงาน 33 ปี 8 เดือนเศษ ซึ่งตามข้อบังคับดังกล่าวให้นับอายุการทำงานเป็นเวลา 34 ปี เมื่อจำเลยที่ 1 คำนวณบำนาญโดยนำเงินเดือนเดือนสุดท้ายของโจทก์คูณด้วย 34 ซึ่งเป็นจำนวนปีที่ทำงานแล้วหารด้วย 50 จึงเป็นการคิดคำนวณบำนาญตามระเบียบของธนาคารตรงตามที่กำหนดไว้ในโครงการเอื้ออาทรน้องพี่และถูกต้องตามข้อบังคับว่าด้วยเงินบำเหน็จ บำนาญแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3379/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณบำนาญกรณีลาออกตามโครงการเอื้ออาทรน้องพี่ ต้องคำนวณจากระยะเวลาทำงานจริงตามข้อบังคับ
ตามข้อบังคับว่าด้วยการแบ่งส่วนงานและการปฏิบัติงานของธนาคารกรุงเทพ ฯ พาณิชย์การ จำกัด ฉบับที่ 2 ว่าด้วยเรื่องบำเหน็จ บำนาญ กำหนดวิธีการคำนวณ "บำนาญ" ว่า ให้นำเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีที่ทำงานแล้วหารด้วย 50 ผลลัพธ์จะเป็นบำนาญซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องจ่ายให้แก่พนักงานเป็นรายเดือนตลอดชีวิต ส่วนข้อความว่า "จำนวนปีที่ทำงาน" หมายถึง จำนวนปีที่โจทก์ได้ทำงานกับจำเลยที่ 1 จริง ๆ มิได้มีความหมายให้นับรวมไปจนถึงวันที่โจทก์เกษียณอายุและพ้นจากตำแหน่งหน้าที่เมื่ออายุครบ 60 ปีด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 อนุมัติให้โจทก์ลาออกตามโครงการเอื้ออาทรน้องพี่มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2539 แล้วโจทก์ก็ไม่ได้ทำงานกับจำเลยที่ 1 อีกต่อไป ย่อมไม่มีเวลาทำงานกับจำเลยที่ 1 จึงไม่มี "ปีที่ทำงาน" ตามที่กำหนดในข้อบังคับดังกล่าว โจทก์เข้าทำงานเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2505 เมื่อนับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2538 โจทก์มีอายุการทำงาน 33 ปี 8 เดือนเศษ ซึ่งตามข้อบังคับดังกล่าวให้นับอายุการทำงานเศษของปีที่เกิน 6 เดือน ให้นับเป็น 1 ปี เพราะฉะนั้นโจทก์จึงมีอายุการทำงาน 34 ปี เมื่อจำเลยที่ 1 คำนวณบำนาญโดยนำเงินเดือนเดือนสุดท้ายของโจทก์คูณด้วย 34 ซึ่งเป็นจำนวนปีที่ทำงานแล้วหารด้วย 50 จึงเป็นการคิดคำนวณบำนาญตามระเบียบของธนาคารตรงตามที่กำหนดไว้ในโครงการเอื้ออาทรน้องพี่และถูกต้องตามข้อบังคับว่าด้วยเงินบำเหน็จ บำนาญแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ได้คิดเงินบำนาญให้โจทก์ขาดไปแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้างการรถไฟฯ ไม่ใช่ลูกจ้างรัฐบาล สิทธิบำนาญถูกบังคับคดีได้
การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทยฯ ไม่ขึ้นอยู่กับกระทรวงทบวงกรมใด รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่เพียงกำกับโดยทั่วไปหามีอำนาจร่วมจัดกิจกรรมและควบคุมดูแลโดยตรงไม่ แสดงอยู่ในตัวว่าเป็นการแยกกิจการการรถไฟฯ ออกจากรัฐบาลเป็นเอกเทศต่างหาก ทั้งการรถไฟฯยังจัดทำงบประมาณประจำปีของตนเอง ไม่รวมอยู่ในงบประมาณแผ่นดินอีกด้วยจำเลยเป็นลูกจ้างของการรถไฟฯ ซึ่งผู้ว่าการรถไฟฯ มีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอนเลื่อนหรือลดขั้นเงินเดือนและรับรายได้เป็นเดือนจากงบประมาณของการรถไฟฯ ซึ่งมิใช่เงินจัดสรรงบประมาณเหมือนข้าราชการและลูกจ้างของรัฐบาล จำเลยจึงหาใช่ลูกจ้างของรัฐบาลตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2)ไม่ ดังนั้น สิทธิเรียกร้องเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) ของจำเลยที่มีต่อการรถไฟฯผู้เป็นนายจ้าง จึงตกอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(3) เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์600,000 บาท การที่ถูกอายัดยอดเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) เพียงเดือนละ8,000 บาทเศษ จึงนับว่าเป็นจำนวนที่เหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6660/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้รับบำนาญและผลกระทบจากการกลับเข้ารับราชการใหม่ รวมถึงหน้าที่แจ้งข้อมูลและการเรียกคืนเงิน
พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2500มาตรา 34 วรรคแรก กำหนดหลักเกณฑ์สำหรับข้าราชการบำนาญที่กลับรับราชการใหม่ไว้ว่า ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ซึ่งได้รับหรือมีสิทธิในบำนาญปกติแล้วภายหลังกลับเข้ารับราชการใหม่ ถ้าเงินเดือนที่ได้รับในขณะที่เข้ารับราชการครั้งใหม่น้อยกว่าเงินเดือนเดิมเมื่อก่อนออกจากราชการ จะขอรับบำนาญรวมกันไปด้วยก็ได้ แต่ถ้าเงินเดือนรวมกับบำนาญสูงกว่าเงินเดือนเดิม ต้องลดบำนาญลงในระหว่างที่รับราชการครั้งหลังจนเงินเดือนใหม่รวมกับบำนาญไม่สูงกว่าเงินเดือนเดิม ดังนั้น เมื่อจำเลยได้รับเงินเดือนในขณะที่เข้ารับราชการครั้งใหม่น้อยกว่าเงินเดือนเดิมเมื่อก่อนออกจากราชการเป็นเงิน 290 บาท บำนาญแต่ละเดือนที่จำเลยมีสิทธิได้รับจึงมีไม่เกิน290 บาท และสำหรับเงินช่วยค่าครองชีพข้าราชการบำนาญที่จำเลยรับไปจากโจทก์ระหว่างวันที่ออกจากราชการนั้น เมื่อจำเลยเข้ารับราชการใหม่แล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าวอีกตาม พ.ร.ฏ.ช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ.2521 มาตรา 5 เดิม ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2521 และที่แก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ.2523
เมื่อเป็นหน้าที่ของจำเลยในอันที่จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยกลับเข้ารับราชการใหม่ในหน่วยราชการอื่นเพื่อโจทก์จะได้จ่ายเงินบำนาญให้แก่จำเลยได้ถูกต้องตามสิทธิของจำเลย การที่จำเลยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงการกลับเข้ารับราชการใหม่ทำให้โจทก์จ่ายเงินบำนาญรวมเงินเพิ่ม และเงินช่วยค่าครองชีพข้าราชการบำนาญแก่จำเลยไปเกินกว่าสิทธิที่จำเลยจะได้รับนั้นเป็นการปิดบังทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ในฐานะเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5644/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับบำนาญข้าราชการเมื่อกลับเข้ารับราชการใหม่ และการเรียกร้องเงินบำนาญเกินสิทธิ
สิทธิของจำเลยในการขอรับบำนาญจากโจทก์เมื่อกลับเข้า รับราชการใหม่จะต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติ บำเหน็จบำนาญ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2500 มาตรา 34 ที่กำหนดว่า ถ้าเงินเดือนที่ได้รับในขณะที่เข้ารับราชการครั้งใหม่น้อยกว่า เงินเดือนเดิมเมื่อก่อนออกจากราชการจะขอรับบำนาญรวมกัน ไปด้วยก็ได้ แต่ถ้าเงินเดือนรวมกับบำนาญสูงกว่าเงินเดือนเดิม ต้องลดบำนาญลงในระหว่างที่รับราชการครั้งหลังจนเงินเดือน ใหม่รวมกับบำนาญไม่สูงกว่าเงินเดือนเดิม ถ้าเงินเดือนใหม่ เท่าหรือสูงกว่าเงินเดือนเดิมก็ให้งดบำนาญในระหว่างนั้น ดังนั้น เมื่อจำเลยได้รับเงินเดือนใหม่ในอัตราเดือนละ 750 บาท จำเลยมีสิทธิได้รับบำนาญเพียงเดือนละ 250 บาท ซึ่งเมื่อรวม กับเงินเดือนแล้วไม่สูงกว่าเงินเดือนก่อนลาออกจากราชการ ที่รับอยู่ในอัตราเดือนละ 1,000 บาท และเมื่อเงินเดือนใหม่ ของจำเลยสูงขึ้น สิทธิในการรับบำนาญของจำเลยก็จะต้องลดลง จนเมื่อเงินเดือนใหม่เป็นอัตราเดือนละ 1,000 บาท ขึ้นไป จึงให้งดบำนาญเสียทั้งหมด สิทธิในการรับบำนาญของจำเลยในกรณีที่กลับเข้ารับราชการใหม่กับไม่เข้ารับราชการใหม่ จึงไม่ เหมือนกันและเป็นหน้าที่ของจำเลยในอันที่จะต้องแจ้งให้โจทก์ ทราบว่าจำเลยกลับเข้ารับราชการใหม่ในหน่วยราชการอื่น เพื่อ โจทก์จะได้จ่ายเงินบำนาญให้แก่จำเลยได้ถูกต้องตามสิทธิของ ของจำเลย การที่จำเลยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงการกลับ เข้ารับราชการใหม่ทำให้โจทก์จ่ายเงินบำนาญแก่จำเลยไปเกินกว่า สิทธิที่จำเลยจะได้รับนั้นเป็นการปิดบังโจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ในฐานะเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกเงินจำนวนนี้ คืนจากจำเลยอันเป็นการใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์ ของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ กรณีไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินบำนาญหลังถูกไล่ออก: ประเด็นอายุความลาภมิควรได้และการคำนวณระยะเวลา
จำเลยได้รับราชการจนเกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 30 กันยายน2530 จำเลยได้รับเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2530เป็นต้นมาจนถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2533 เป็นเงินทั้งสิ้น 178,293.75 บาท และโจทก์ได้มีคำสั่งลงโทษไล่จำเลยออกจากราชการเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2533โดยให้มีผลนับตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2530 ดังนั้น การที่จำเลยได้รับเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพเป็นการได้มาในขณะที่โจทก์ยังมิได้มีคำสั่งลงโทษไล่จำเลยออกจากราชการ จำเลยมีสิทธิที่จะได้รับเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพ พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการและ พ.ร.ฎ.เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญอันเป็นสิทธิของจำเลยที่พึงได้ตามกฎหมาย การที่จำเลยรับเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพจึงมิใช่เป็นการรับชำระเงินไว้โดยปราศจากมูลที่จะอ้างได้ตามกฎหมายและมิใช่เป็นทางให้บุคคลอื่นเสียเปรียบแต่ประการใด กรณีจึงมิใช่ลาภมิควรได้การที่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 419การจ่ายเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพเป็นการกระทำที่ถูกต้องตามกฎหมาย มิใช่เป็นการจ่ายเงินไปตามอำเภอใจตาม ป.พ.พ.มาตรา 407 จำเลยจึงต้องคืนเงินที่รับมานั้นให้แก่โจทก์ และโจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินดังกล่าวได้ในกำหนด 10 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
เมื่อโจทก์มีคำสั่งไล่จำเลยออกจากราชการแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพให้แก่จำเลยตั้งแต่วันที่ 16พฤศจิกายน 2533 เป็นต้นไป และจำเลยก็ไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าวอีกต่อไป การที่จำเลยรับเอาเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพไปจากโจทก์ตั้งแต่วันที่ 16พฤศจิกายน 2533 จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2534 จึงเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ เข้าลักษณะลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 406 จำเลยจำต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ แต่อายุความสำหรับเรียกเอาคืนในเรื่องลาภมิควรได้นั้น ป.พ.พ.มาตรา 419 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน ปรากฏว่าโจทก์มีคำสั่งไล่จำเลยออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2533 ถือว่าโจทก์รู้ความจริงที่โจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยโดยปราศจากมูลหนี้ในวันนั้น ดังนั้น เงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพที่จำเลยได้รับไปนับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปเกินหนึ่งปี คือตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2533 จนถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2534 จึงขาดอายุความโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืน จำเลยจำต้องคืนเงินที่จำเลยได้รับไปเฉพาะส่วนที่นับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปไม่เกินหนึ่งปีเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความลาภมิควรได้: การคืนเงินบำนาญหลังไล่ออกจากราชการ, ระยะเวลาที่โจทก์รู้สิทธิ, และข้อยกเว้นอายุความ
จำเลยได้รับราชการจนเกษียณอายุราชการเมื่อวันที่30กันยายน2530จำเลยได้รับเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพตั้งแต่วันที่1ตุลาคม2530เป็นต้นมาจนถึงวันนี้15พฤศจิกายน2533และโจทก์ได้มีคำสั่งลงโทษไล่จำเลยออกจากราชการเมื่อวันที่16พฤศจิกายน2533โดยให้มีผลนับตั้งแต่วันที่30กันยายน2530การที่จำเลยได้รับเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพเป็นการได้มาในขณะที่โจทก์ยังมิได้มีคำสั่งลงโทษจำเลยออกจากราชการจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการและพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญอันเป็นสิทธิของจำเลยที่พึงได้ตามกฎหมายการที่จำเลยรับเงินบำนวญและเงินช่วยค่าครองชีพจึงมิใช่เป็นการรับชำระเงินไว้โดยปราศจากมูลที่จะอ้างได้ตามกฎหมายและมิใช่เป็นทางให้บุคคลอื่นเสียเปรียบแต่ประการใดกรณีจึงมิใช่ลาภมิควรได้โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด1ปีจึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตร419การจ่ายเงินบำนาญและเงินค่าครองชีพเป็นการกระทำที่ถูกต้องตามกฎหมายมิใช่เป็นการจ่ายเงินไปตามอำเภอใจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา407จำเลยจึงต้องคืนเงินที่รับมานั้นให้แก่โจทก์และโจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินดังกล่าวได้ในกำหนด10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30 เมื่อโจทก์มีคำสั่งไล่จำเลยออกจากราชการแล้วโจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพให้แก่จำเลยตั้งแต่วันที่16พฤศจิกายน2533เป็นต้นไปและจำเลยก็ไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าวอีกต่อไปการที่จำเลยรับเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพไปจากโจทก์ตั้งแต่วันที่16พฤศจิกายน2533จนถึงวันที่30พฤศจิกายน2534จึงเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบเข้าลักษณะลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา406จำเลยจำต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์แต่อายุความสำหรับเรียกเอาคืนในเรื่องลาภมิควรได้นั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา419ห้ามมิให้ฟ้องคดีเพื่อกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันเวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนปรากฏว่าโจทก์มีคำสั่งไล่จำเลยออกจากราชการตั้งแต่วันที่16พฤศจิกายน2533ถือว่าโจทก์รู้ว่าความจริงที่โจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยโดยปราศจากมูลหนี้ในวันนั้นดังนั้นเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพที่จำเลยได้รับไปนับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปเกินหนึ่งปีคือตั้งแต่วันที่16พฤศจิกายน2533จนถึงวันที่25พฤศจิกายน2534จึงขาดอายุความโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืน
of 3