พบผลลัพธ์ทั้งหมด 307 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ต้องเกี่ยวเนื่องกับหน้าที่โดยตรง
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 จะต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่ซึ่งอยู่ในหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้นเองโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือโดยทุจริต ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงแล้วย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ เมื่อขณะที่จำเลยทั้งสองมาเอารถยนต์แท็กซี่จากโจทก์ไป จำเลยที่ 2 แต่งเครื่องแบบตำรวจเท่านั้น ทั้งตามฎีกาโจกท์ยังยอมรับด้วยว่าจำเลยที่ 2 กระทำไปโดยไม่มีกฎหมายรองรับ ไม่มีอำนาจหน้าที่จะต้องทำแสดงว่าการไปเอารถยนต์แท็กซี่จากโจทก์นั้น มิใช่การกระทำที่เกี่ยวกับหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีมูลเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 774/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน และทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยรู้ว่ากำลังถูกผู้เสียหายที่ 2 กับพวกซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจติดตามจับกุม การที่จำเลยกอดปล้ำต่อสู้และใช้มีดฟันแทงผู้เสียหายที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 138, 140 และเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติงานตามหน้าที่ด้วย
การเป็นอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297 (8) นั้น ต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน แต่ผู้เสียหายที่ 2 มีบาดแผลที่ต้นขาซ้ายด้านหลังต้องรักษาที่โรงพยาบาล 11 วัน หลังจากนั้นให้กลับไปรักษาตัวที่บ้านและต้องไปทำแผลทุกวัน ในระหว่างรักษาบาดแผลผู้เสียหายที่ 2 ยังสามารถทำงานได้ตามปกติและต้องไปล้างแผลทุกวัน แสดงว่าผู้เสียหายที่ 2 มิได้ป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือประกอบกรณียกิจไม่ได้ จึงไม่เข้าลักษณะอันตรายสาหัสตาม ป.อ. 297 (8) เพียงแต่เป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ป.อ. มาตรา295 เท่านั้น การที่จำเลยทำร้ายร่ายกายผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 296
การเป็นอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297 (8) นั้น ต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน แต่ผู้เสียหายที่ 2 มีบาดแผลที่ต้นขาซ้ายด้านหลังต้องรักษาที่โรงพยาบาล 11 วัน หลังจากนั้นให้กลับไปรักษาตัวที่บ้านและต้องไปทำแผลทุกวัน ในระหว่างรักษาบาดแผลผู้เสียหายที่ 2 ยังสามารถทำงานได้ตามปกติและต้องไปล้างแผลทุกวัน แสดงว่าผู้เสียหายที่ 2 มิได้ป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือประกอบกรณียกิจไม่ได้ จึงไม่เข้าลักษณะอันตรายสาหัสตาม ป.อ. 297 (8) เพียงแต่เป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ป.อ. มาตรา295 เท่านั้น การที่จำเลยทำร้ายร่ายกายผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 296
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9187/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจผู้รับมอบฉันทะ: การฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และการปฏิบัติหน้าที่ตามมอบหมาย
ใบมอบฉันทะของโจทก์ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 ได้มอบอำนาจให้ ว. ไปฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 และลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งศาลในคดีนี้โดยมิได้ระบุว่าให้ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในวันเวลาใด ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ว. ก็ยังมีอำนาจฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 อยู่จนกว่าโจทก์จะถอนหรือยกเลิกใบมอบฉันทะ การที่ ว. มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 เวลา 16.15 นาฬิกา หลังจากที่ศาลมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 เวลา 10 นาฬิกา แล้วให้เลื่อนการฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไปเป็นวันที่ 11 มีนาคม 2546 เวลา 9 นาฬิกา และออกหมายจับจำเลยรวมทั้งปรับนายประกันแล้วก็ต้องถือว่า ว. ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบฉันทะจากโจทก์ มิใช่กระทำโดยพลการดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้ ว. ฟังก็ต้องถือว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้โจทก์ฟังโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3071/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดของข้าราชการปฏิบัติหน้าที่: ความรับผิดของกรมในฐานะผู้แทนและขอบเขตการใช้กฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
จำเลยที่ 1 เป็นอาจารย์สอนวิชาสุขศึกษาทราบอยู่แล้วว่าผู้ตายป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาและมีอาการเหนื่อยง่าย การที่จำเลยที่ 1 สั่งทำโทษผู้ตายซึ่งเป็นนักเรียนโดยให้ผู้ตายทำสก็อตจัมพ์(กระโดดขึ้นลง) จำนวน 100 ครั้ง จึงเป็นการสั่งทำโทษที่เกินกว่าเหตุ ทั้งขณะที่ผู้ตายทำสก็อตจัมพ์จำเลยที่ 1 ก็ไม่สนใจดูแลผู้ตายอย่างใกล้ชิดเพื่อดูว่า ผู้ตายจะรับการลงโทษดังกล่าวได้หรือไม่ และเมื่อผู้ตายทำสก็อตจัมพ์เสร็จแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ออกจากห้องเรียนไปโดยไม่สนใจดูแลว่าผู้ตายจะเป็นอย่างไร ผู้ตายมีอาการหายใจไม่ออกและถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา ดังนี้ ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ตาย
จำเลยที่ 1 ได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณแผ่นดินอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรมในรัฐบาล ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เข้าสอนในชั้นเรียนของผู้ตายและสั่งลงโทษผู้ตายจึงเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ อย่างหนึ่งและมีฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาผู้ตาย จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อ ความเสียหายนั้นให้แก่โจทก์ทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2539 แต่ พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2539 ดังนั้น ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรมในรัฐบาลจึงจัดอยู่ภายใต้บังคับ ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง มิใช่อยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
จำเลยที่ 1 ได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณแผ่นดินอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรมในรัฐบาล ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เข้าสอนในชั้นเรียนของผู้ตายและสั่งลงโทษผู้ตายจึงเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ อย่างหนึ่งและมีฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาผู้ตาย จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อ ความเสียหายนั้นให้แก่โจทก์ทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2539 แต่ พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2539 ดังนั้น ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรมในรัฐบาลจึงจัดอยู่ภายใต้บังคับ ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง มิใช่อยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2919/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อละเมิดของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่
เมื่อสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมซึ่งมีฐานะเป็นกรม เป็นนิติบุคคลในสังกัดของกระทรวงจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมจึงเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ด้วย การที่จำเลยที่ 1 ขับรถคันเกิดเหตุเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกระทรวงเจ้าสังกัดจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2174/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความถูกจำหน่ายชื่อออกจากทะเบียน การปฏิบัติหน้าที่ทนายความโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และละเมิดอำนาจศาล
คำสั่งของคณะกรรมการสภาทนายความที่ให้จำหน่ายชื่อผู้ถูกกล่าวหาออกจากทะเบียนทนายความตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 43 ย่อมมีผลให้ผู้ถูกกล่าวหาขาดจากการเป็นทนายความตามมาตรา 44 (4) ทันที แม้ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งต่อสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความเพื่อให้วินิจฉัยอีกชั้นหนึ่งได้ การอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวก็ไม่ถือว่าเป็นการทุเลาคำสั่งของคณะกรรมการสภาทนายความ ดังนั้น เมื่อผู้ถูกกล่าวหาทราบว่าคณะกรรมการสภาทนายความมีคำสั่งให้จำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนทนายความแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาต้องหยุดกระทำหน้าที่เป็นทนายความในระหว่างที่รอฟังคำวินิจฉัยของสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ เพราะในระหว่างนั้นผู้ถูกกล่าวหาต้องห้ามมิให้ปฏิบัติหน้าที่ทนายความตามมาตรา 33
ผู้ถูกกล่าวหาทำการเป็นทนายความในแต่ละครั้งถือว่าเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมมิใช่กรรมเดียว และเมื่อผู้ถูกกล่าวหาปฏิบัติหน้าที่ทนายความขณะถูกห้ามทำการเป็นทนายความเป็นการกระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหลายคดี ศาลให้นับโทษติดต่อกันได้.
ผู้ถูกกล่าวหาทำการเป็นทนายความในแต่ละครั้งถือว่าเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมมิใช่กรรมเดียว และเมื่อผู้ถูกกล่าวหาปฏิบัติหน้าที่ทนายความขณะถูกห้ามทำการเป็นทนายความเป็นการกระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหลายคดี ศาลให้นับโทษติดต่อกันได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2174/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความปฏิบัติหน้าที่หลังถูกจำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนทนายความ ถือละเมิดอำนาจศาล
คณะกรรมการสภาทนายความมีคำสั่งให้จำหน่ายชื่อผู้ถูกกล่าวหาออกจากทะเบียนทนายความตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 43 แล้วย่อมมีผลให้ผู้ถูกกล่าวหาขาดจากการเป็นทนายความตามมาตรา 44(4) ทันทีแม้ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งต่อสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความได้แต่การอุทธรณ์ไม่ถือว่าเป็นการทุเลาคำสั่งของคณะกรรมการสภาทนายความ ดังนั้นเมื่อผู้ถูกกล่าวหาทราบว่าคณะกรรมการสภาทนายความมีคำสั่งให้จำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนทนายความแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาต้องหยุดกระทำหน้าที่เป็นทนายความในระหว่างที่รอฟังคำวินิจฉัยของสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ เพราะในระหว่างนั้นผู้ถูกกล่าวหาต้องห้ามมิให้ปฏิบัติหน้าที่ทนายความตามมาตรา 33
ผู้ถูกกล่าวหาได้ทราบคำสั่งของคณะกรรมการสภาทนายความตั้งแต่วันที่ 10เมษายน 2540 แต่ว่าความให้แก่จำเลยเรื่อยมาจนกระทั่งวันที่ 22 เมษายน 2542จึงขอถอนตัวจากการเป็นทนายความ การกระทำผู้ถูกกล่าวหาย่อมเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล อันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
การปฏิบัติหน้าที่ทนายความของผู้ถูกกล่าวหาในแต่ละครั้งถือเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมมิใช่กรรมเดียว ทั้งผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหลายคดี จึงนับโทษติดต่อกันได้
ผู้ถูกกล่าวหาได้ทราบคำสั่งของคณะกรรมการสภาทนายความตั้งแต่วันที่ 10เมษายน 2540 แต่ว่าความให้แก่จำเลยเรื่อยมาจนกระทั่งวันที่ 22 เมษายน 2542จึงขอถอนตัวจากการเป็นทนายความ การกระทำผู้ถูกกล่าวหาย่อมเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล อันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
การปฏิบัติหน้าที่ทนายความของผู้ถูกกล่าวหาในแต่ละครั้งถือเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมมิใช่กรรมเดียว ทั้งผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหลายคดี จึงนับโทษติดต่อกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6884/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุป้องกันตัวไม่อ้างได้เมื่อผู้ถูกกระทำเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายก่อน และเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ชอบ
การอ้างเหตุป้องกันตัวตามบทบัญญัติของ ป.อ. มาตรา 68 ผู้ยกขึ้นอ้างต้องเป็นผู้ถูกกระทำโดยผู้กระทำกระทำโดยละเมิดต่อกฎหมาย จำเลยยอมรับว่าได้ใช้อาวุธปืนยิงในหมู่บ้านโดยใช่เหตุ เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย การที่ ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจะเข้าจับกุมจำเลย จึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่จำเลยวิ่งหนี เมื่อผู้เสียหายกับพวกไล่ตามไปเพื่อจับกุม จำเลยก็ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย และแม้จะฟังอย่างที่จำเลยอ้างว่าเจ้าพนักงานตำรวจ ใช้อาวุธปืนยิง ก็คงเป็นการยิงขู่เพื่อให้จำเลยยอมให้จับกุมมากกว่ามีเจตนาฆ่าจำเลย เพราะหากเป็นเช่นนั้นจำเลยคงต้องถูกกระสุนปืนบ้างไม่มากก็น้อย ข้อเท็จจริงเป็นเรื่องที่จำเลยเป็นผู้กระทำผิดกฎหมาย โดยผู้เสียหายเป็นเจ้าพนักงาน ที่ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุป้องกันตัวขึ้นมาอ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6884/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุป้องกันตัวต้องเป็นผู้ถูกกระทำก่อน การยิงต่อสู้เจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายจึงไม่อาจอ้างได้
การอ้างเหตุป้องกันตัวตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 68 นั้น ผู้ยกขึ้นอ้างเป็นผู้ถูกกระทำโดยผู้กระทำได้กระทำโดยละเมิดต่อกฎหมาย จำเลยยอมรับว่าได้ใช้อาวุธปืนยิงในหมู่บ้านโดยใช่เหตุอันเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย การที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจะเข้าจับกุมจำเลย จึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่จำเลยวิ่งหนี เมื่อผู้เสียหายกับพวกไล่ตามไปเพื่อจับกุม จำเลยก็ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายแม้จะฟังอย่างที่จำเลยอ้างว่าเจ้าพนักงานตำรวจใช้อาวุธปืนยิงก็คงเป็นการยิงขู่เพื่อให้จำเลยยอมให้จับกุมมากกว่ามีเจตนาฆ่าจำเลย เพราะหากเป็นเช่นนั้นจำเลยคงต้องถูกกระสุนปืนบ้างไม่มากก็น้อย ข้อเท็จจริงจึงเป็นเรื่องที่จำเลยเป็นผู้กระทำผิดกฎหมาย โดยผู้เสียหายเป็นเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุป้องกันตัวขึ้นมาอ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5824/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ: อำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากหน่วยงานของรัฐเมื่อเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่
การที่เจ้าพนักงานตำรวจทำร้ายร่างกายโจทก์ขณะควบคุมโจทก์ไปส่งที่สถานีตำรวจ ต้องถือว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในการปฏิบัติหน้าที่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากกรมตำรวจซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐได้