คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผิดซ้ำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง การกระทำผิดซ้ำ และการไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการลงโทษ
แม้ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างจะกำหนดขั้นตอนการลงโทษเป็นข้อ ๆ ตาม ลำดับว่า 1. ตักเตือนด้วย วาจา2. ตักเตือน เป็นลายลักษณ์อักษร 3. พักงานชั่วคราวโดย ไม่ได้รับค่าจ้าง 4. ตัด ค่าจ้าง 5. ปลดออก 6. ไล่ออก เว้นแต่กรณีความผิดร้ายแรง นายจ้างเลิกจ้างได้โดย ไม่ต้องลงโทษตาม ขั้นตอนก็ตามแต่ ก็ได้ กำหนดไว้ด้วย ว่า พนักงานซึ่ง ไม่ปฏิบัติตาม ระเบียบวินัยและข้อบังคับอาจถูก ผู้บังคับบัญชาหรือฝ่ายบุคคลพิจารณาลงโทษได้ตาม ลักษณะความผิดเป็นกรณี ๆ ไป โดย ไม่จำเป็นต้อง เป็นไปตามลำดับขั้นตอน ดัง นั้น เมื่อพนักงานกระทำความผิดในกรณีไม่ร้ายแรงแต่ เป็นการกระทำผิดซ้ำ คำตักเตือน นายจ้างก็มีอำนาจปลดออกหรือไล่ออกได้ หาจำต้องลงโทษตาม ขั้นตอนที่กำหนดไว้ไม่ ก่อนมีคำสั่งเลิกจ้าง จำเลยเคยมีหนังสือตักเตือน โจทก์เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2532 ระบุว่า โจทก์หยุดงานโดย ไม่ลาและไม่มีเหตุอันควรในวันที่ 1,4,6 และ 8 กันยายน 2532 เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในเรื่องการหยุดงานโดย ไม่มีเหตุอันสมควรคำตักเตือนของจำเลยจึงเป็นการตักเตือน โจทก์เกี่ยวกับการหยุดงานโดย ไม่ลากิจ ล่วงหน้า หรือลาป่วยตาม ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย การที่โจทก์ขาดงานในวันที่ 4,9,20,23,31มกราคม 2533 และวันที่ 1,3 กุมภาพันธ์ 2533 โดย ไม่มีเหตุอันสมควรและไม่ยื่นใบลากิจ หรือลาป่วยเช่นเดียวกันอีก จึงเป็นการกระทำผิดซ้ำ คำเตือน จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ โดย ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5453/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่กระทำผิดซ้ำ และการรับฟังพยานหลักฐานสำเนาในคดีแรงงาน
แม้ตามข้อบังคับหรือคำสั่งของจำเลยจะไม่ได้กำหนดตัวผู้มีอำนาจลงโทษตักเตือนลูกจ้างไว้ แต่การออกใบเตือนโจทก์ทั้งสองฉบับก็มีผู้จัดการทั่วไปกับหัวหน้าแผนกอาหารและเครื่องดื่มผู้บังคับบัญชาโดยตรงของโจทก์เป็นผู้ลงชื่อ แล้วเสนอใบเตือนให้กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยลงชื่อรับทราบเป็นทางปฎิบัติเช่นนี้ตลอดมา เมื่อเกิดเหตุคดีนี้ขึ้นผู้จัดการแผนกบุคคลได้เสนอผู้จัดการทั่วไปให้ปลดโจทก์ออกจากงานผู้จัดการทั่วไปได้มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงาน แล้วสำเนาคำสั่งแจ้งกรรมการผู้จัดการ กรรมการบริหาร กับหัวหน้าแผนกอาหารและเครื่องดื่มทราบทั้งได้ปิดประกาศแจ้งให้พนักงานทั่วไปทราบด้วยพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่ากรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยมอบอำนาจโดยปริยายให้ผู้จัดการทั่วไปมีอำนาจออกใบเตือนให้โจทก์ทั้งสองฉบับดังกล่าวแล้ว เมื่อโจทก์กระทำผิดซ้ำในเรื่องเดียวกันกับเรื่องที่เคยถูกเตือนนั้นอีก โดยละทิ้งหน้าที่กลับก่อนเวลาเลิกงาน จำเลยชอบที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นการกระทำผิดประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ใบเตือนเป็นหนังสือของจำเลยผู้เป็นนายจ้างแจ้งให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทราบว่า โจทก์ได้กระทำผิดระเบียบข้อบังคับและว่ากล่าวตักเตือนไม่ให้โจทก์กระทำผิดอีก ต้นฉบับใบเตือนจึงอยู่ในความครอบครองของโจทก์ จำเลยย่อมไม่สามารถนำต้นฉบับมาแสดงต่อศาลได้ ทั้งเมื่อจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อน ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวต่อศาลเพื่อใช้ยันโจทก์ โจทก์ก็ไม่คัดค้านว่าต้นฉบับเอกสารไม่มีหรือเอกสารปลอม หรือสำเนาไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 125 ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจรับฟังสำเนาพยานเอกสารแทนต้นฉบับได้ ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่กำหนดว่าเมื่อลูกจ้างกระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจะถูกพิจารณาลงโทษตักเตือนเป็นหนังสือ ตัดค่าจ้าง ลดค่าจ้างพักงาน หรือเลิกจ้างตามควรแก่กรณี ไม่ใช่กำหนดขั้นตอนการลงโทษจำเลยจะลงโทษลูกจ้างสถานใดย่อมเป็นดุลพินิจของจำเลยตามที่สมควร ตามความร้ายแรงแห่งการกระทำผิดของลูกจ้างโดยจำต้องลงโทษลูกจ้างเรียงตามลำดับโทษที่กำหนดไว้ การที่จำเลยลงโทษเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยหลายครั้ง จึงไม่ใช่ลงโทษข้ามขั้นตอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047-1048/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดซ้ำคำเตือน แม้การกระทำหลังแตกต่างจากครั้งแรก หากเป็นการละทิ้งหน้าที่อันเป็นวินัยเดียวกัน
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย กำหนดวินัยของลูกจ้างไว้ว่า ต้องไม่ปฏิบัติงานล่าช้า ละทิ้งหน้าที่ละเลย หรือหลีกเลี่ยงการทำงานการที่โจทก์ทั้งสองกับพวกหยอกล้อและเล่นกันในระหว่างเวลาทำงานเป็นความผิดครั้งแรกและเล่นหมากฮอสในระหว่างเวลาทำงานเป็นความผิดครั้งหลังล้วนแต่เป็นการละทิ้งหน้าที่อันเป็นการกระทำผิดวินัยตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยดังกล่าวทั้งสองครั้ง เมื่อจำเลยได้ลงโทษตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร ในการที่โจทก์ทั้งสองละทิ้งหน้าที่อันเป็นความผิดครั้งแรกแล้ว โจทก์ทั้งสองกลับละทิ้งหน้าที่โดยเล่นหมากฮอสในระหว่างเวลาทำงานอันเป็นความผิดครั้งหลังอีก ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว ตามข้อ 47(3) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 278/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษผู้กระทำผิดซ้ำในคดีพนัน: โทษที่รอลงโทษยังไม่ถือว่าพ้นโทษ
พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.2478 มาตรา 14 ทวิ ซึ่งเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.2485 มาตรา 3 ได้บัญญัติการเพิ่มโทษผู้กระทำผิดกฎหมายซ้ำกันไว้เป็นพิเศษ
โทษจำคุกในเรื่องการพนันที่ยังอยู่ในระหว่างรอการลงโทษนั้นไม่ถือว่าพ้นโทษไปแล้ว ฉะนั้นผู้ที่ทำผิดพระราชบัญญัติการพนันซ้ำในระหว่างรอการลงโทษจำคุกในคดีก่อนย่อมจะถูกเพิ่มโทษไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 257/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำคุกทวีคูณสำหรับผู้กระทำผิดซ้ำในคดีอาญาภายใน 5 ปี
การที่จำเลยเคยต้องโทษมาแล้ว 2 ครั้ง ๆ ที่ 1 ฐานลักทรัพย์ตาม ม.295 จำคุก 3 ปี ครั้งที่ 2 ฐานชิงทรัพย์ ตาม ม.299 จำคุก 1 ปี 6 เดือน แล้วกลับมากระทำผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ในคดีนี้อีก (เป็นครั้งที่ 3) ภายใน 5ปี ดังนี้ จำต้องเพิ่มโทษจำเลยเป็นทวีคูณตาม ม.74.
(อ้างฎีกาที่ 1266/2481)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษทางอาญาสำหรับผู้กระทำผิดซ้ำ: เลือกใช้บทโทษหนักได้เพียงทางเดียว
การที่จำเลยกะทำผิดซ้ำครั้งเดียวต้องด้วยบทกดหมายที่ไห้เพิ่มโทส 2 ทาง สาลต้องเลือกเพิ่มตามกดหมายที่เปนโทสหนักจะเพิ่ม 2 ทนไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องขอส่งตัวไปอยู่ต่างจังหวัดสำหรับผู้กระทำผิดซ้ำ
ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ส่งตัวจำเลยไปอยู่ต่างจังหวัดเพราะได้ทำผิดหลายครั้งนั้นโจทก์ต้องฟ้องเสียภายใน 1 ปีนับแต่วันพันโทษครั้งสุดท้าย มิฉะนั้นคดีขาดอายุความตาม ม.78(4) อ้างฎีกา 376/2469 โทษปรับจะนับรวมเข้าในเรื่องต้องโทษหลายครั้งตาม พ.ร.บ.ดัดสันดานคนจรจัดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 63/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับสิทธิฟ้องคดีอาญาเนื่องจากกรรมเดียวกัน และการพิจารณาโทษจำเลยที่กระทำผิดซ้ำ
ปัญหาเรื่องสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จะระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ซึ่งศาลอุทธรณ์ยกขึ้นอ้างได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง แต่ปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบในศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ฐานช่วยเหลือซ่อนเร้นเพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุม โดยมิได้ยกปัญหาข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างว่า ฟ้องโจทก์เป็นการกระทำกรรมเดียวกันกับคดีก่อน ศาลอุทธรณ์จะหยิบปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยว่า สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับตามมาตรา 39 (4) จึงไม่อาจรับฟังได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ยกฟ้องโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ