คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ซื้อทราบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1674-1675/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญาซื้อขายที่ดินโดยผู้ขายยังไม่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่เข้าข่ายฉ้อโกง หากผู้ซื้อทราบข้อเท็จจริง
การทำสัญญาจะซื้อจะขาย ผู้จะขายหาจำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่จะขายในขณะที่ทำสัญญาไม่ เพียงแต่จะต้องขวนขวายหาทรัพย์นั้นมาโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้จะซื้อได้ตามกำหนดในสัญญาเท่านั้น
ผู้เสียหายทราบตั้งแต่เมื่อทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับจำเลยแล้วว่าที่ดินแปลงที่ทำสัญญากันยังเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลอื่น จำเลยมิได้แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแต่กรณีพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างจำเลยกับเจ้าของกรรมสิทธิ์ ทำให้จำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ผู้เสียหายได้ จำเลยเพียงแต่ยังไม่มีเงินคืนให้ผู้เสียหายได้ตามที่เรียกร้องและผู้เสียหายไม่ยอมเปลี่ยนไปเอาที่ดินในโครงการอื่นของจำเลยตามที่จำเลยเสนอให้ การกระทำของจำเลยเป็นเพียงการผิดสัญญาทางแพ่ง หาใช่เป็นการหลอกลวงอันจะเป็นความผิดฐานฉ้อโกงไม่ การที่จำเลยไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินและบ้าน ก็เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานจะดำเนินการแก่จำเลยเอง ไม่อาจนำมาเกี่ยวข้องในการวินิจฉัยความผิดฐานฉ้อโกงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2008/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างของผู้อื่น ผู้ซื้อทราบสิทธิของผู้อื่นก่อนทำสัญญา ผู้ขายไม่ต้องรับผิด
หนังสือที่จำเลยที่ 1 มีไปถึงโจทก์แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 ตกลงขายที่ดินและอาคารให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์เสนอขอซื้อ มีข้อความระบุไว้ชัดแจ้งว่า การตกลงขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไม่ได้รวมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสำนักงานของจำเลยที่ 2 พร้อมกับเครื่องจักรและเครื่องชั่งซึ่งปรากฏในแผนที่สังเขปตามที่จำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าแล้ว เพราะสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 แต่โจทก์ก็ยังตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่ 1 ดังนี้ โจทก์ทราบถึงการรบกวนขัดสิทธิของจำเลยที่ 2 ในที่ดินที่ซื้อแล้ว แม้ว่าผู้ขายมีหน้าที่ต้องส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อขายให้อยู่ในเงื้อมือของผู้ซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 461 และ 462 และผู้ขายต้องรับผิดในกรณีที่มีผู้มาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สินโดยปกติสุขตามมาตรา 475 แต่ในกรณีนี้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อทราบอยู่แล้วในเวลาซื้อขายว่ามีทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 อยู่ในที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในการรื้อถอนและขนย้ายเครื่องจักร เครื่องชั่ง และค่าเสียหายแก่โจทก์ตามมาตรา 476 จำเลยที่ 2 รบกวนสิทธิของโจทก์ในการเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อมาโดยปกติสุข ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแม้จำเลยที่ 1 ผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ก็ตามแต่เมื่ออาคาร เครื่องจักร และเครื่องชั่งของจำเลยที่ 2ซึ่งได้จำนองไว้แก่จำเลยที่ 1 ตั้งอยู่ในที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจากจำเลยที่ 1 โดยไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดิน จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ที่จะคงอยู่บนที่ดินของโจทก์ เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 รื้อถอนไปภายใน 15 วัน และจำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือบอกกล่าวนั้นแล้วในวันที่ 26 พฤษภาคม 2533 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2533 เป็นต้นไปพร้อมดอกเบี้ยของค่าเสียหายในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224นับแต่ผิดนัดแต่ละเดือนไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2008/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างของผู้อื่น ผู้ซื้อทราบข้อเท็จจริงก่อนทำสัญญา ผู้ขายไม่ต้องรับผิด
หนังสือที่จำเลยที่1มีไปถึงโจทก์แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่1ตกลงขายที่ดินและอาคารให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์เสนอขอซื้อมีข้อความระบุไว้ชัดแจ้งว่าการตกลงขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไม่ได้รวมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสำนักงานของจำเลยที่2พร้อมกับเครื่องจักรและเครื่องชั่งซึ่งปรากฏในแผนที่สังเขปตามที่จำเลยที่1ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าแล้วเพราะสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่1แต่โจทก์ก็ยังตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่1ดังนี้โจทก์ทราบถึงการรบกวนขัดสิทธิของจำเลยที่2ในที่ดินที่ซื้อแล้วแม้ว่าผู้ขายมีหน้าที่ต้องส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อขายให้อยู่ในเงื้อมือของผู้ซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา461และ462และผู้ขายต้องรับผิดในกรณีที่มีผู้มาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สินโดยปกติสุขตามมาตรา475แต่ในกรณีนี้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อทราบอยู่แล้วในเวลาซื้อขายว่ามีทรัพย์สินของจำเลยที่2อยู่ในที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดในการรื้อถอนและขนย้ายเครื่องจักรเครื่องชั่งและค่าเสียหายแก่โจทก์ตามมาตรา476 จำเลยที่2รบกวนสิทธิของโจทก์ในการเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อมาโดยปกติสุขย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแม้จำเลยที่1ผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ก็ตามแต่เมื่ออาคารเครื่องจักรและเครื่องชั่งของจำเลยที่2ซึ่งได้จำนองไว้แก่จำเลยที่1ตั้งอยู่ในที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจากจำเลยที่1โดยไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินจำเลยที่2จึงไม่อาจอ้างสิทธิใดๆที่จะคงอยู่บนที่ดินของโจทก์เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่2รื้อถอนไปภายใน15วันและจำเลยที่2ได้รับหนังสือบอกกล่าวนั้นแล้วในวันที่26พฤษภาคม2533จำเลยที่2จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายตั้งแต่วันที่27พฤษภาคม2533เป็นต้นไปพร้อมดอกเบี้ยของค่าเสียหายในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224นับแต่ผิดนัดแต่ละเดือนไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1380/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานรับของโจร: การซื้อขายรถยนต์ที่ถูกลักมา โดยผู้ซื้อทราบถึงความผิด
จำเลยได้ รับซื้อ และขายรถของกลางโดย รู้อยู่แล้วว่าเป็นรถที่ถูก คนร้ายลักมา ถึง แม้จำเลยได้ ทำในนามของบริษัท จ.จำกัดหรือบริษัท อ. จำกัด ในฐานะ ที่จำเลยเป็นลูกจ้างก็ตาม ถือ ได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการรับซื้อ ไว้และช่วย จำหน่ายซึ่ง ทรัพย์อันได้ มาโดย การกระทำผิดฐาน ลักทรัพย์ จำเลยจึงมีความผิด ฐานรับของโจร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2873-2878/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิหน้าที่ในสัญญาจะซื้อขาย: ผู้ซื้อทราบข้อพิพาท ย่อมผูกพันตามสัญญาเดิม
จำเลยที่ 1 (จำเลยที่ 1 ในสามสำนวนแรก) และ จ. เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ 2133 และสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินได้ทำสัญญาจะซื้อขายห้องแถวไม้ 3 ห้อง พร้อมที่ดินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดที่ 2133 ให้แก่โจทก์ทั้ง 3 (โจทก์ในสามสำนวนแรก) คนละห้อง โดยให้ผ่อนชำระเป็นรายเดือน แล้วจำเลยที่ 1 และ จ. ได้ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 (จำเลยที่ 2 ที่ 3 ในสามสำนวนแรก) โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทั้ง 3 ทราบ โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้ซื้อทราบอยู่ก่อนแล้วว่าจำเลยที่ 1 และ จ. กับโจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกัน และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ยอมรับทั้งสิทธิ์และหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และ จ. ผู้ขาย ซึ่งเท่ากับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ทำสัญญาตกลงกับจำเลยที่ 1 และ จ. (คู่สัญญาของโจทก์ทั้งสาม) ว่าตนจะชำระหนี้แก่โจทก์ทั้ง 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยที่ 2 ที่ 3 มิได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและห้องพิพาทกับโจทก์ทั้ง 3 ขึ้นใหม่ คงถือตามสัญญาเดิม เมื่อต่อมาจำเลยทั้ง 3 ได้แจ้งเรื่องการซื้อขายระหว่างจำเลยต่อโจทก์ทั้ง 3 ว่าถ้าโจทก์ทั้ง 3 ยังประสงค์จะซื้อที่ดินและห้องแถวอยู่ก็ให้ส่งเงินที่ค้างทั้งหมดแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ภายใน 7 วัน โจทก์ทั้ง 3 มีหนังสือตอบตกลงขอให้จำเลยที่ 2 นัดวันโอนกรรมสิทธิ์ ดังนี้ ย่อมเป็นการแสดงเจตนาของโจทก์ทั้ง 3 ที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 สิทธิ์ของโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้เกิดมีขึ้นแล้ว คู่สัญญาหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิ์นั้นในภายหลังได้ไม่ จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องผูกพันตนร่วมกับจำเลยที่ 1 และ จ. เป็นคู่สัญญารับผิดในการปฏิบัติตามสัญญานั้นต่อโจทก์ทั้งสามด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ซื้อทราบการครอบครองที่ดินก่อนซื้อ ถือเป็นการซื้อโดยไม่สุจริต สิทธิครอบครองย่อมยกขึ้นต่อสู้ได้
ผู้ซื้อเห็นอยู่แล้วในขณะซื้อว่ามีผู้ครอบครองตั้งบ้านเรือนอยู่ส่วนหนึ่งของที่ดินในโฉนดผู้ครอบครองที่ส่วนนั้นย่อมยกขึ้นต่อสู้ผู้ซื้อได้ว่าไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6026/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเนื่องจากเจ้าหนี้เสียเปรียบจากข้อมูลที่ผู้ซื้อทราบก่อน และการผิดสัญญาของผู้ขาย
ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทไม่ได้มีข้อสัญญาห้ามมิให้นำสินค้าของโจทก์คือถังแก๊สหุงต้มเข้าไปในอาคารพิพาท อาคารพิพาทเป็นอาคารพาณิชย์โจทก์ซื้อมาเพื่อทำการค้า การขายแก๊สหุงต้มเป็นอาชีพสุจริตไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่เหมือนกับการขายยาเสพติด แม้การขนย้ายถังแก๊สหุงต้มเข้าไปในอาคารพิพาทจะไม่ได้แจ้งต่อทางราชการ ก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้เพราะเป็นคนละส่วนกับสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาท จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาจึงต้องเสียค่าปรับให้โจทก์เป็นเงิน 100,000 บาท
หลังจากโจทก์โอนขายอาคารพาณิชย์ของตนให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์ได้ย้ายเข้าไปอยู่ในอาคารพิพาท และจำเลยที่ 2 รู้ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทกับจำเลยที่ 1 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะโอนขายที่ดินและอาคารพิพาทให้แก่ตน จำเลยที่ 2 รู้ถึงความจริงข้อนี้อันเป็นทางให้โจทก์ต้องเสียเปรียบ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 แม้โจทก์จะไม่ใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6399/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินมีข้อห้ามโอน ผู้ซื้อทราบแต่ยังทำสัญญา สัญญาเป็นโมฆะ และผู้ซื้อไม่สามารถเรียกเงินมัดจำคืนได้
โจทก์ทราบดีมาแต่แรกว่าขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทนั้น มีข้อกำหนดห้ามโอน 10 ปี แต่โจทก์ก็ยอมตนเข้าผูกพันทำสัญญาดังกล่าว ซึ่งมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 การที่โจทก์ชำระเงินมัดจำไป 400,000 บาท จึงเป็นการชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. ลักษณะ 4 ว่าด้วยลาภมิควรได้ มาตรา 411 บัญญัติว่า บุคคลใดได้กระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ท่านว่าบุคคลนั้นหาอาจจะเรียกร้องคืนทรัพย์ได้ไม่ โจทก์จึงไม่อาจเรียกเงินมัดจำ 400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยคืนจากจำเลย