พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3578/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์: ผู้รับมอบอำนาจจัดเก็บค่าตอบแทน ไม่ใช่ผู้เสียหาย
โจทก์เป็นผู้รับมอบอำนาจจาก ป. ให้จัดเก็บค่าตอบแทนการนำเพลงอันมีลิขสิทธิ์ของ ป. ออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ผู้ที่ประสงค์จะนำเพลงอันมีลิขสิทธิ์ของ ป. ออกเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตจากโจทก์ก่อน การที่โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยนำเอาเพลง "รักสาวผมแดง" อันเป็นงานดนตรีกรรมซึ่ง ป. เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ออกให้ปรากฏซึ่งดนตรีและคำร้องที่หน้าจอเครื่องรับโทรทัศน์ภายในห้องคาราโอเกะในร้าน ป. กุ้งเผาของจำเลยเพื่อให้บริการอันเป็นการนำงานดนตรีกรรมอันมีลิขสิทธิ์ออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์นั้น จากการบรรยายฟ้องและหนังสือมอบอำนาจเห็นได้ชัดว่าโจทก์เป็นเพียงผู้รับมอบอำนาจจัดเก็บค่าตอบแทนการใช้สิทธิในลิขสิทธิ์และดำเนินคดีแก่ผู้กระทำละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมเพลง "รักสาวผมแดง" หรือในงานโสตทัศนวัสดุ ที่บันทึกเสียงดนตรีและคำร้องเพลงดังกล่าว โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ในนามตนเอง ทั้งการกระทำของจำเลยที่นำเพลงดังกล่าวไปเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อการค้าหากำไรโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ย่อมไม่เป็นความผิดตามฟ้องเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3616/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจผู้รับมอบอำนาจ: การมอบอำนาจต้องระบุชัดเจนถึงขอบเขตการกระทำแทน
แม้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 47 จะมิได้กำหนดแบบของหนังสือมอบอำนาจไว้ก็ตาม แต่ข้อความในหนังสือมอบอำนาจก็ต้องระบุไว้ว่า ให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจกระทำการใดแทนผู้มอบอำนาจได้บ้างอันจะทำให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจกระทำแทนผู้มอบอำนาจได้เท่าที่ได้รับมอบอำนาจเท่านั้น เมื่อตามหนังสือมอบอำนาจผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้มอบอำนาจได้มอบอำนาจให้ ธ. ติดต่อขอรับรถของกลางจากพนักงานสอบสวนและให้ถ้อยคำต่อพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับการติดต่อขอรับรถของกลางคืนเมื่อคดีถึงที่สุดเท่านั้น ผู้มอบอำนาจไม่ได้มอบอำนาจให้ ธ. ยื่นคำร้องต่อศาลหรือดำเนินคดีในชั้นศาล ดังนั้น ธ. ย่อมไม่มีอำนาจยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีลิขสิทธิ์: ผู้รับมอบอำนาจรู้ความผิด ถือว่าโจทก์รู้ด้วย
ร. เป็นผู้รับมอบอำนาจให้ทำการแทนโจทก์ในประเทศไทยรู้เรื่องการกระทำความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 69 และ 70 ประกอบมาตรา 30 และ 31 ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 ส่วนการตรวจสอบคอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่ซื้อมา ก็เพื่อให้ได้หลักฐานชัดเจนยิ่งขึ้นอันจะเป็นประโยชน์ในการฟ้องคดี ไม่ใช่เพื่อให้รู้ถึงการกระทำความผิดเมื่อ ร. มีอำนาจร้องทุกข์และฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์แทนโจทก์ เช่นเดียวกับผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นของโจทก์ ร. ก็ดี ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นของโจทก์ก็ดีต้องดำเนินการร้องทุกข์หรือฟ้องร้องภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 ซึ่งเป็นวันที่ ร. รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเป็นครั้งแรกแม้โจทก์จะเพิ่งรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2542 ก็ไม่ทำให้อายุความขยายออกไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 915-976/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวเลิกจ้างต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบโดยตรงหรือผู้รับมอบอำนาจ การปิดประกาศอย่างเดียวไม่ถือว่าเป็นการบอกกล่าวโดยชอบ
การที่จำเลยส่งประกาศเลิกจ้างพนักงานไปยัง ธ. ผู้จัดการโรงงานทางโทรสารเพื่อปิดประกาศให้พนักงานโรงงานทราบนั้น ไม่ใช่เป็นการที่จำเลยส่งโทรสารไปถึงโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 62 โดยตรง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยมอบหมายให้ ธ. บอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 62 ซึ่งการบอกกล่าวเลิกจ้างในลักษณะนี้เป็นการแสดงเจตนาที่กระทำต่อบุคคลซึ่งอยู่เฉพาะหน้าจะมีผลก็ต่อเมื่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 62 ได้ทราบการแสดงเจตนาบอกกล่าวเลิกจ้างนั้นแล้ว แม้ว่า ธ. ได้สั่งให้พนักงานนำสำเนาประกาศเลิกจ้างไปปิดประกาศไว้แล้วแต่ก็เป็นการปิดใกล้เวลาเลิกงาน พนักงานต่างไม่ทราบประกาศดังกล่าวในวันนั้น มารับทราบในวันรุ่งขึ้นบ้าง วันถัดไปบ้าง จึงต้องถือว่าการบอกกล่าวเลิกสัญญาจ้างของจำเลยแก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 62 ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4561/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้าง: เจตนาของคู่กรณีสำคัญกว่าเอกสาร หากเจตนาคือมอบอำนาจ ไม่ใช่โอนสิทธิ ผู้รับมอบอำนาจย่อมไม่มีสิทธิในเงินนั้น
การเบิกเงินค่าจ้างจากจำเลยทุกงวดโจทก์จะมีหนังสือส่งมอบงานและขอเบิกเงินจากจำเลยแล้วบริษัท ค. จะมีหนังสือขอรับเงินจากจำเลย เป็นกรณีที่โจทก์กับบริษัท ค. ตกลงกันให้บริษัท ค. รับเงินจากจำเลยเพื่อนำมาชำระหนี้ที่โจทก์มีอยู่ต่อบริษัท ค. ก่อน เงินส่วนที่เหลือจากการหักชำระหนี้บริษัท ค. ต้องคืนให้โจทก์ หรืออีกนัยหนึ่งเงินส่วนที่เหลือยังเป็นของโจทก์อยู่ แม้ตามหนังสือขอรับเงินจะใช้ข้อความว่าโจทก์โอนสิทธิรับเงินค่าจ้างให้แก่บริษัท ค. แต่ตามเจตนาของคู่กรณีหาใช่เป็นการโอนสิทธิเรียกร้องกันไม่ เป็นเพียงโจทก์มอบอำนาจให้บริษัท ค. รับเงินแทนโจทก์เท่านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระค่าจ้างที่ค้างชำระแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8879/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีโดยผู้รับมอบอำนาจของนิติบุคคล ถือเป็นการได้รับแจ้งการประเมินตามกฎหมาย
คำว่า "บุคคล" ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ย่อมหมายความรวมถึงบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลด้วย ดังนั้น เมื่อผู้รับมอบอำนาจของโจทก์รับหนังสือแจ้งการประเมินจากเจ้าพนักงานสรรพากรแล้ว ก็ต้องถือว่าโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินให้ไปเสียภาษีในวันดังกล่าวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8879/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งการประเมินภาษี การรับหนังสือโดยผู้รับมอบอำนาจ และกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์
คำว่า "บุคคล" ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 หมายความรวมถึงบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8328/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตเลื่อนคดีและการพิจารณาพยาน: ความรับผิดของผู้รับมอบอำนาจและทนายโจทก์
ข้อที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางและพิพากษาให้เป็นไปตามคำฟ้องของโจทก์ทุกประการเป็นคำขอที่เกินเลยไปจากคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ที่อุทธรณ์คัดค้านเฉพาะแต่เรื่องการไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดี ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจึงไม่อาจวินิจฉัยและพิพากษาตามคำขอของโจทก์ในข้อนี้ให้ได้
ผู้รับมอบอำนาจโจทก์กำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ โดยไม่คำนึงว่าทนายโจทก์จะว่างมาว่าความให้โจทก์ได้หรือไม่ รวมทั้งมิได้แจ้งวันนัดให้ทนายโจทก์ทราบ ถือว่าเป็นความบกพร่องของผู้รับมอบอำนาจโจทก์เอง และแสดงให้เห็นว่าทนายโจทก์ไม่เอาใจใส่ในคดีของโจทก์ ทั้งเมื่อนับจากวันที่มีการกำหนดนัดสืบพยานจนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าวก็เป็นระยะเวลานานถึง 71 วัน หากเกิดเหตุผิดพลาดทำให้ทนายโจทก์นัดซ้อนวันกับศาลอื่น ก็ชอบที่ฝ่ายโจทก์จะต้องรีบร้องขอเลื่อนคดีนี้เสียแต่เนิ่น ๆ แต่ฝ่ายโจทก์ก็หาได้กระทำไม่ พฤติการณ์ที่ฝ่ายโจทก์มิได้ให้ความสำคัญแก่วันเวลานัดของศาล กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ฝ่ายโจทก์เลื่อนคดีได้
ผู้รับมอบอำนาจโจทก์กำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ โดยไม่คำนึงว่าทนายโจทก์จะว่างมาว่าความให้โจทก์ได้หรือไม่ รวมทั้งมิได้แจ้งวันนัดให้ทนายโจทก์ทราบ ถือว่าเป็นความบกพร่องของผู้รับมอบอำนาจโจทก์เอง และแสดงให้เห็นว่าทนายโจทก์ไม่เอาใจใส่ในคดีของโจทก์ ทั้งเมื่อนับจากวันที่มีการกำหนดนัดสืบพยานจนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าวก็เป็นระยะเวลานานถึง 71 วัน หากเกิดเหตุผิดพลาดทำให้ทนายโจทก์นัดซ้อนวันกับศาลอื่น ก็ชอบที่ฝ่ายโจทก์จะต้องรีบร้องขอเลื่อนคดีนี้เสียแต่เนิ่น ๆ แต่ฝ่ายโจทก์ก็หาได้กระทำไม่ พฤติการณ์ที่ฝ่ายโจทก์มิได้ให้ความสำคัญแก่วันเวลานัดของศาล กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ฝ่ายโจทก์เลื่อนคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6911/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจในการยื่นคำร้องขอคืนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ผู้รับมอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจช่วง
การขอคืนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36เป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา ตามหนังสือมอบอำนาจของผู้ร้องระบุไว้ชัดเจนให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจดำเนินคดีแทนทั้งทางแพ่งทางอาญาและล้มละลายจนกว่าคดีถึงที่สุด และยังระบุให้ผู้รับมอบอำนาจตั้งตัวแทนหรือผู้รับมอบอำนาจช่วงด้วย ดังนั้น ศ. ผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอคืนของกลางแทนผู้ร้องได้ และเมื่อ ศ. มอบอำนาจให้ อ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงดำเนินการยื่นเรื่องลงชื่อในเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการขอรับรถจักรยานยนต์ของกลางคืนอันหมายถึงการยื่นคำร้องขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืนต่อศาลนั้นเอง จึงถือได้ว่าผู้ร้องได้มอบอำนาจให้ อ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงยื่นคำร้องต่อศาลขอคืนของกลางได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คที่สมบูรณ์ แม้ผู้รับมอบอำนาจเป็นผู้กรอกรายละเอียดเช็ค โดยผู้สั่งจ่ายลงลายมือชื่อเท่านั้น
จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์ร่วม โดยส่งมอบเช็คให้ อ. พนักงานของโจทก์ร่วมในทันทีที่จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่าย เมื่อ อ. รับเช็คแล้วได้กรอกจำนวนเงินและวัน เดือน ปี ที่ออกเช็คลงในเช็คต่อหน้าจำเลยและโดยความยินยอมของจำเลย แม้จำเลยเพียงแต่ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็ค แต่รายการดังกล่าว จำเลยหาจำต้องเป็นผู้เขียนลงไว้ด้วยลายมือของจำเลยเองไม่ ถือได้ว่าเป็นการออกเช็คที่สมบูรณ์แล้วเมื่อจำเลยเป็นผู้ออกเช็ค และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4