พบผลลัพธ์ทั้งหมด 102 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5634/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีนี้ไม่ใช่คดีมรดก แต่เป็นคดีเจ้าของรวมพิพาทกัน จึงไม่อาจใช้อายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754
การฟ้องคดีมรดกตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1754 หมายถึงคดีที่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกด้วยกันพิพาทกันด้วยเรื่องสิทธิเรียกร้องในส่วนแบ่งทรัพย์มรดก
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นภรรยาและเป็นผู้จัดการมรดกของ ม. ซึ่งมีชื่อเป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกับจำเลยในที่ดินและมีคำขอบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งทางด้านทิศตะวันตกตามที่ ม. มีสิทธิครอบครอง จำเลยให้การว่า ม. ยกที่ดินส่วนของ ม. ให้แก่จำเลย และจำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินส่วนที่ ม. ยกให้จนได้สิทธิครอบครองแล้ว ซึ่งเท่ากับเป็นการต่อสู้ว่า ม. มิใช่เจ้าของรวม แม้จำเลยจะให้การว่า ม. กับโจทก์ไม่มีบุตรด้วยกันและจำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับ ม. ก็เป็นการยกขึ้นอ้างเพื่อสนับสนุนว่า ม. ยกที่ดินส่วนของ ม. ให้แก่จำเลยเท่านั้น จำเลยมิได้ให้การว่าจำเลยเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกของ ม. ด้วยผู้หนึ่ง จึงมิใช่เรื่องที่โจทก์และจำเลยพิพาทกันด้วยเรื่องสิทธิเรียกร้องในส่วนแบ่งทรัพย์มรดก แต่พิพาทกันในเรื่องความเป็นเจ้าของรวมที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุมาฟ้องขอแบ่งทรัพย์ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความหาใช่การฟ้องคดีมรดกไป จึงไม่อาจนำอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 มาใช้บังคับได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นภรรยาและเป็นผู้จัดการมรดกของ ม. ซึ่งมีชื่อเป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกับจำเลยในที่ดินและมีคำขอบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งทางด้านทิศตะวันตกตามที่ ม. มีสิทธิครอบครอง จำเลยให้การว่า ม. ยกที่ดินส่วนของ ม. ให้แก่จำเลย และจำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินส่วนที่ ม. ยกให้จนได้สิทธิครอบครองแล้ว ซึ่งเท่ากับเป็นการต่อสู้ว่า ม. มิใช่เจ้าของรวม แม้จำเลยจะให้การว่า ม. กับโจทก์ไม่มีบุตรด้วยกันและจำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับ ม. ก็เป็นการยกขึ้นอ้างเพื่อสนับสนุนว่า ม. ยกที่ดินส่วนของ ม. ให้แก่จำเลยเท่านั้น จำเลยมิได้ให้การว่าจำเลยเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกของ ม. ด้วยผู้หนึ่ง จึงมิใช่เรื่องที่โจทก์และจำเลยพิพาทกันด้วยเรื่องสิทธิเรียกร้องในส่วนแบ่งทรัพย์มรดก แต่พิพาทกันในเรื่องความเป็นเจ้าของรวมที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุมาฟ้องขอแบ่งทรัพย์ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความหาใช่การฟ้องคดีมรดกไป จึงไม่อาจนำอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 มาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8844/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: การวินิจฉัยประเด็นนอกฟ้อง และการพิสูจน์สิทธิครอบครองโดยการยกให้จากมารดา
จำเลยให้การว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเพราะมารดายกให้และจำเลยครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา จึงไม่มีปัญหาเรื่องแย่งการครอบครอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะที่ดินเป็นของผู้อื่น เมื่อจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยและจำเลยครอบครองเองจึงไม่เป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่วันเวลาที่ถูกแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง หรือไม่ ดังที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ซึ่งเป็นการมิชอบ ทั้งปัญหานี้มิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยแต่ว่าโจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่จำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเพื่อเอาคืนการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง โดยอ้างว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4277/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้จัดการบริษัทเพื่อคุ้มครองประโยชน์ผู้ถือหุ้นข้างมาก กรณีพิพาทเกี่ยวกับอำนาจกรรมการ
จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นฝ่ายข้างน้อยเป็นผู้บริหารดำเนินกิจการของบริษัทที่พิพาท โดยจำเลยทั้งสองร่วมกับบุคคลภายนอกปลอมรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นว่าที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติปลดโจทก์ที่ 6 ออกจากกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทที่พิพาทและตั้งจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 6 จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งหกมีเหตุสมควรที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกในระหว่างการพิจารณาเพื่อให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการบริษัทเพื่อบริหารกิจการในระหว่างการพิจารณาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 264 และโดยที่โจทก์ทั้งหกเป็นผู้ถือหุ้นฝ่ายข้างมาก การกำหนดสัดส่วนของผู้จัดการฝ่ายโจทก์ทั้งหกให้มีจำนวน 5 คนให้ร่วมกับจำเลยทั้งสองเป็นผู้จัดการเพื่อบริหารบริษัทที่พิพาทเป็นการชั่วคราวในระหว่างการพิจารณานั้น นับว่าเหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว
คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 264 ที่ให้อำนาจศาลตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้านที่ทำการค้าพิพาทได้ ทั้งเป็นคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาให้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษาเท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องแก้ไขหรือเพิกถอนอำนาจกรรมการที่ได้จดทะเบียนไว้ ส่วนการกำหนดให้ผู้จัดการจำนวน 4 ใน 7 คนลงลายมือชื่อร่วมกันมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทที่พิพาทได้นั้น ก็เป็นกรณีมีคำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกในอันที่จะทำให้บริษัทที่พิพาทสามารถดำเนินกิจการไปได้โดยไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคในระหว่างการพิจารณาก่อนที่ศาลจะได้พิพากษา
คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 264 ที่ให้อำนาจศาลตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้านที่ทำการค้าพิพาทได้ ทั้งเป็นคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาให้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษาเท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องแก้ไขหรือเพิกถอนอำนาจกรรมการที่ได้จดทะเบียนไว้ ส่วนการกำหนดให้ผู้จัดการจำนวน 4 ใน 7 คนลงลายมือชื่อร่วมกันมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทที่พิพาทได้นั้น ก็เป็นกรณีมีคำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกในอันที่จะทำให้บริษัทที่พิพาทสามารถดำเนินกิจการไปได้โดยไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคในระหว่างการพิจารณาก่อนที่ศาลจะได้พิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความและการหักบัญชีหนี้จากการจำหน่ายหนังสือ กรณีพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลย
คำให้การของจำเลยว่า หนี้ขาดอายุความเพราะฟ้องเกิน 2 ปีนับจากวันหักทอนบัญชีตามที่ตกลงกันไว้ โดยไม่ได้ระบุให้ชัดแจ้งว่าหนังสือแต่ละเล่มหักทอนบัญชีกันเมื่อไร และโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตั้งแต่เมื่อใดจึงไม่ได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความ ไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8073/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจัดการมรดก: กรณีพิพาทสิทธิในที่ดินระหว่างผู้ร้องและผู้คัดค้าน ไม่จำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดก
เมื่อที่ดินตามคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องจึงไม่อาจกล่าวอ้างว่าเป็นกรณีมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตาย แม้ภายหลังผู้ตายถึงแก่กรรมเจ้าพนักงานที่ดินปฏิเสธไม่ยอมแก้ไขชื่อในโฉนดที่ดินจากผู้ตายมาเป็นของผู้ร้องก็ตาม ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านที่ขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายกล่าวแต่เพียงว่า ที่ดินตามคำร้องขอเป็นของผู้ตายและเป็นมรดกตกได้แก่ผู้คัดค้าน และผู้ร้องไม่ได้เป็นทายาทของผู้ตาย ไม่มีส่วนได้เสียในที่ดินมรดกเท่านั้นแต่ผู้คัดค้านไม่ได้กล่าวอ้างว่า มีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเช่นกัน
ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างโต้เถียงกันว่า ฝ่ายใดมีสิทธิในที่ดินตามคำร้องขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อฝ่ายใดเห็นว่าตนถูกอีกฝ่ายโต้แย้งสิทธิในที่ดินดังกล่าว ก็ชอบที่จะเสนอคดีของตนเรียกร้องเอาที่ดินจากฝ่ายที่โต้แย้งโดยตรงอย่างคดีมีข้อพิพาท กรณีไม่จำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดกเพราะไม่เป็นประโยชน์แก่กองมรดกกรณีของผู้ร้องและผู้คัดค้านไม่ต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1713 (1) (2) ที่จะใช้สิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกรายนี้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 ปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านที่ขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายกล่าวแต่เพียงว่า ที่ดินตามคำร้องขอเป็นของผู้ตายและเป็นมรดกตกได้แก่ผู้คัดค้าน และผู้ร้องไม่ได้เป็นทายาทของผู้ตาย ไม่มีส่วนได้เสียในที่ดินมรดกเท่านั้นแต่ผู้คัดค้านไม่ได้กล่าวอ้างว่า มีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเช่นกัน
ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างโต้เถียงกันว่า ฝ่ายใดมีสิทธิในที่ดินตามคำร้องขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อฝ่ายใดเห็นว่าตนถูกอีกฝ่ายโต้แย้งสิทธิในที่ดินดังกล่าว ก็ชอบที่จะเสนอคดีของตนเรียกร้องเอาที่ดินจากฝ่ายที่โต้แย้งโดยตรงอย่างคดีมีข้อพิพาท กรณีไม่จำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดกเพราะไม่เป็นประโยชน์แก่กองมรดกกรณีของผู้ร้องและผู้คัดค้านไม่ต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1713 (1) (2) ที่จะใช้สิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกรายนี้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 ปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6676/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: กรณีพิพาทคืนภาษี แม้ไม่ใช่การประเมิน ก็มีอำนาจฟ้องได้หากมีการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรจากจำเลยตามแบบ ค.10 ที่จำเลยกำหนดไว้ แต่ต่อมาจำเลยพบว่าโจทก์ได้รับค่าภาษีอากร เกินไปจำนวน 5,497,022.41 บาท จึงได้มีหนังสือแจ้งให้ ส่งคืนภาษีอากรผิดพลาดดังกล่าว แม้หนังสือแจ้งให้ส่ง คืนเงินภาษีอากรผิดพลาดจะไม่ใช่หนังสือแจ้งการประเมินก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากร ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7(3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 ซึ่ง ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีอากรตามแบบ ค.10 ให้ผิดไปตามแบบที่จำเลยกำหนด โดยจำเลยได้ทำการพิจารณา คำร้องของโจทก์ดังกล่าวจนมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ส่ง เงินภาษีอากรส่วนที่เกินคืน ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิของ โจทก์ในการขอคืนเงินภาษีอากรจากจำเลยแล้ว เมื่อโจทก์ได้ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและ วิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 9 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้ใช้ที่ดินไม่ถือเป็นการบุกรุก กรณีพิพาทค่าเช่าเป็นเรื่องแพ่ง
โจทก์ยินยอมให้บุคคลภายนอกเข้ามาเช่าปลูกร้านค้าเพื่อขายของในที่ดินของโจทก์ ดังนี้การที่จำเลยเข้าปลูกร้านค้าเพื่อขายของในที่ดินของโจทก์จึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก คดีโจทก์จึงไม่มีมูลที่ศาลจะรับไว้พิจารณา
เหตุที่โจทก์ให้จำเลยรื้อถอนเต็นท์ออกไปจากที่ดินของโจทก์เนื่องมาจากโจทก์ขอเก็บเงินค่าที่ดินตามเจตนาของโจทก์ที่ประสงค์ให้บุคคลภายนอกเข้ามาเช่าปลูกร้านค้าขายของ แต่จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าเช่าที่ดินแก่โจทก์จึงเป็นกรณีที่มีข้อพิพาทกันในทางแพ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้เช่าที่ดินเป็นรายวันและในวันเกิดเหตุโจทก์ให้จำเลยรื้อถอนเต็นท์ออกไปจากที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยออกไปจากที่ดินของโจทก์แล้วกลับเข้ามาใหม่อีกพฤติการณ์จึงเป็นกรณีที่จำเลยกระทำต่อเนื่องมาจากวันเกิดเหตุ ย่อมไม่มีความผิดฐานบุกรุก
เหตุที่โจทก์ให้จำเลยรื้อถอนเต็นท์ออกไปจากที่ดินของโจทก์เนื่องมาจากโจทก์ขอเก็บเงินค่าที่ดินตามเจตนาของโจทก์ที่ประสงค์ให้บุคคลภายนอกเข้ามาเช่าปลูกร้านค้าขายของ แต่จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าเช่าที่ดินแก่โจทก์จึงเป็นกรณีที่มีข้อพิพาทกันในทางแพ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้เช่าที่ดินเป็นรายวันและในวันเกิดเหตุโจทก์ให้จำเลยรื้อถอนเต็นท์ออกไปจากที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยออกไปจากที่ดินของโจทก์แล้วกลับเข้ามาใหม่อีกพฤติการณ์จึงเป็นกรณีที่จำเลยกระทำต่อเนื่องมาจากวันเกิดเหตุ ย่อมไม่มีความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลกรณีผู้ร้องสอด - ทุนทรัพย์ที่พิพาทคือราคาที่ดินพิพาทและเงินมัดจำ ไม่ใช่จำนวนเงินที่โจทก์ฟ้อง
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเชิดหรือรู้อยู่แล้วให้พระอธิการช. บุตรจำเลย ซึ่งเป็นผู้ร้องสอดในคดีนี้เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนของจำเลยและรับเงินมัดจำส่วนของจำเลยจำนวน 220,000 บาท จากโจทก์ ต่อมาจำเลยไม่ยอมโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้พิพากษาบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยรับเงินส่วนที่เหลือ5,893,250 บาท หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย และให้จำเลยชำระค่าเสียหายเป็นเงิน 30,000,000 บาท ให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับตั้งแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยให้การว่าจำเลยไม่เคยเชิดหรือรู้แล้วยอมให้ผู้ร้องสอดเชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายหรือรับเงินมัดจำจากโจทก์จำเลยไม่ได้ขายที่ดินของจำเลยให้แก่บุคคลใดเลย ดังนั้นที่ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 อ้างว่าผู้ร้องสอดเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทเพียงคนเดียว ผู้ร้องสอดได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทและริบเงินมัดจำกับโจทก์ในนามของตนเองไม่เกี่ยวกับจำเลย โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท ขอให้พิพากษายกฟ้องโจทก์และให้ผู้ร้องสอดริบเงินมัดจำจำนวน 220,000 บาทที่โจทก์วางไว้กับผู้ร้องสอดนั้น จึงเป็นการที่ผู้ร้องสอดขอเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามเพื่อให้ได้รับความรับรองคุ้มครอง และบังคับตามสิทธิของผู้ร้องสอดอ้างว่าตนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว อันเป็นการขัดกับข้ออ้างของโจทก์และข้อต่อสู้ของจำเลย จึงเป็นการเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามและเป็นปฏิปักษ์ทั้งต่อโจทก์และต่อจำเลยและต่อจำเลยมิใช่เป็นการเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามเพื่อต่อสู้คดีกับโจทก์ฝ่ายเดียวดังนั้น ผู้ร้องสอดจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่ผู้ร้องสอดเรียกร้อง สำหรับทุนทรัพย์ที่ผู้ร้องสอดเรียกร้องนั้น โดยในส่วนที่ผู้ร้องสอดขอให้พิพากษายกฟ้องโจทก์เป็นการขอให้ศาลรับรอง คุ้มครอง และบังคับตามสิทธิที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าผู้ร้องสอดมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว จำเลยมิใช่เจ้าของที่ดินพิพาทผู้ร้องสอดจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ของราคาที่ดินพิพาท ซึ่งเท่ากับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือจำนวน5,893,250 บาท รวมกับเงินมัดจำจำนวน 220,000 บาทที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าโจทก์วางไว้กับผู้ร้องสอดเป็นเงินรวม6,113,250 บาท และในส่วนที่ผู้ร้องสอดขอให้พิพากษาให้ผู้ร้องสอดริบเงินมัดจำจำนวน 220,000 บาท ที่โจทก์วางไว้กับผู้ร้องสอดนั้น หากศาลวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องสอดและพิพากษาเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท ผู้ร้องสอดก็ย่อมมีสิทธิริบเงินมัดจำจำนวน220,000 บาท ที่โจทก์ได้มอบให้ผู้ร้องสอดไว้นั้นได้เองอยู่แล้วเงินจำนวนดังกล่าวจึงมิใช่ทุนทรัพย์ของคดีที่ผู้ร้องสอดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลด้วย ผู้ร้องสอดจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ของราคาที่ดินพิพาทจำนวน6,113,250 บาท แต่ปรากฏว่าผู้ร้องสอดได้ชำระค่าขึ้นศาลสำหรับทุนทรัพย์จำนวนเพียง 220,000 บาท ยังชำระค่าขึ้นศาลไม่ถูกต้องครบถ้วน ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งให้ผู้ร้องสอดชำระค่าขึ้นศาลให้ครบถ้วนตามจำนวนทุนทรัพย์ราคาที่ดินพิพาทจำนวน 6,113,250 บาท เท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องสอดชำระค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องเป็นจำนวนถึง 35,893,250 บาท และสั่งไม่รับคำร้องของผู้ร้องสอดเมื่อผู้ร้องสอดไม่ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มตามคำสั่งนั้นจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับคำร้องของผู้ร้องสอดและให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ผู้ร้องสอดชำระค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องจำนวน 35,893,250 บาท โดยให้ผู้ร้องสอดเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ราคาที่ดินพิพาทจำนวน6,113,250 บาท ให้ครบถ้วนภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนด และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2784/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในชั้นฎีกา: ทุนทรัพย์พิพาทต่ำกว่าเกณฑ์
มูลค่าหุ้นที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านมีหนังสือยืนยันให้ผู้ร้องชำระมีราคาเพียง 75,000 บาท จึงต้องถือว่าคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเพียง 75,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2714/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านการออกโฉนดที่ดินที่มีข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ ศาลชอบที่จะสืบพยานเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง
โจทก์ดำเนินการขอออกโฉนดที่ดินต่อจากบิดาโจทก์ แต่จำเลยยื่นหนังสือคัดค้านโดยอ้างว่าที่ดินของโจทก์เป็นของจำเลย แม้การยื่นคำคัดค้านดังกล่าวจะเป็นการใช้สิทธิตาม ป.ที่ดิน มาตรา 60 แต่เนื้อหาในคำคัดค้านที่จำเลยอ้างว่าที่ดินที่โจทก์ขอออกโฉนดที่ดินเป็นที่ดินของจำเลยนั้น เป็นการโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลย ถือว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 แล้ว ทั้งตามคำฟ้องของโจทก์ได้แนบสำเนาหนังสือคัดค้านที่มีข้อความระบุว่าจำเลยได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามเอกสารแนบท้ายคำฟ้อง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง และโจทก์ได้ขอให้บังคับจำเลยและบริวารมิให้เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท ซึ่งย่อมมีความหมายรวมถึงการที่จำเลยไปคัดค้านการออกโฉนดที่ดินของโจทก์ด้วย ซึ่งหากโจทก์ชนะคดี ศาลย่อมมีอำนาจบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ได้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไปการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษายกฟ้องนั้นเป็นการไม่ชอบ